รัฐบาลกำหนดมาตรการเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

รัฐบาลสปป.ลาวจะมีมาตราการในการลดอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจสำหรับนักธุรกิจในสปป.ลาวรวมถึงนักลงทุนต่างชาติ นายสมดีดวงดีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าว่ารัฐบาลมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจโดยขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและอุปสรรคอื่น ๆที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจออกไป ทั้งนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างแข็งขันและจะเริ่มดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นในปี 2563 เพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านการพัฒนาธุรกิจในประเทศ โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงการเงินสำหรับ SMEs รวมถึงการลดเวลาที่ใช้ในการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในสสป.ลาวและผู้ประกอบการสปป.ลาว การดำเนินมาตรการดังกล่าวจะเริ่มใช้อย่างจริงจังในปีนี้เพื่อเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนธุรกิจในสปป.ลาวให้มีการเติบโตและภาคธุรกิจจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/govt-drawing-measures-improve-business-environment-114030

โครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซสำหรับ SMEs ในกัมพูชา

กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัว “Go4eCam” ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออีคอมเมิร์ซสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของประเทศซึ่งเป็นภาคที่กำลังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งโครงการมีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐระยะเวลาของโครงการประมาณสามเดือนและมีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการในกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างประเทศและรัฐบาล ที่เรียกว่า Enhanced Integrated Framework (EIF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ให้การสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการค้าใน 48 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงประเทศกัมพูชา โดยได้มอบเงินช่วยเหลือประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับโครงการ ซึ่งส่วนอื่นมาจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและรัฐบาลกัมพูชา โดยกัมพูชามีธุรกิจ SMEs กว่า 500,000 รายซึ่งแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร 150,000 ราย สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารตามที่สมาคมสมาพันธ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งกัมพูชาคาดการณ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686950/pilot-project-to-boost-e-commerce-for-kingdoms-smes

ฝ่ายอุตสาหกรรมและการพาณิชย์นครหลวงเวียงจันทน์เผยแผนส่งเสริมความสำเร็จ SMEs ปี 63

ทางการเวียงจันทน์ได้วางแผนเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการเข้าถึงการเงินและตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปีนี้ร้อยละ 10ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมและการพาณิชย์นครหลวงเวียงจันทน์ได้เปิดเผยแผนดังกล่าวในการประชุมสภาประชาชนของนครหลวงเวียงจันทน์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยแผนมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับ SMEs รวมถึงเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานของ SMEs,การเข้าถึงการเงินที่ดีขึ้น, การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEsใหม่,การเข้าถึงและขยายตลาดที่มากขึ้น,การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการใช้บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs จดทะเบียน 474รายและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดีนอกจากจะมาจากการลงทุนจากภาคต่างประเทศแล้ว สปป.ลาวจะพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้รวมถึงสนับสนุนให้เกิดธุรกิจเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นรากฐานที่ดีของเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/city-commerce-department-reveals-plan-boost-success-smes-112776

จุรินทร์ถกทำแผนช่วย SMEs ผู้ประกอบการท้องถิ่นส่งออกตลาด CLMV

“จุรินทร์” ถก SMEs วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่น จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก หาทางช่วยส่งออกตลาด CLMV เตรียมใช้ 9 มาตรการเบิกทาง ก่อนลุยต่อช่วยผู้ประกอบการภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่น และผู้ผลิตสินค้าโอทอป จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก รวม 82 ราย กับผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ ว่ามีเป้าเพื่อผลักดันให้นักธุรกิจท้องถิ่นมีโอกาสที่จะช่วยเพิ่มตัวเลขการส่งออกให้กับประเทศได้มากขึ้น และให้โอกาสกับนักธุรกิจและผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจหรือส่งออกให้มีลู่ทางส่งออกต่อไปในอนาคต โดยจะเริ่มต้นจากตลาด มาหารือเพื่อหาลู่ทางเร่งรัดการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ก่อนจากแต่ละปีไทยมีมูลค่าการค้ากับตลาดใน CLMVประมาณ 27,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่ามูลค่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000007139

มูลค่าของเถื่อนเมียนมาสูงถึง 1.56 พันล้านจัต

ตั้งแต่ ก.ย. 61 ถึง ต.ค. 62 กระทรวงพาณิชย์ยึดของต้องห้ามมูลค่าประมาณ 15.6 พันล้านจัต ในเก้าภูมิภาค ปัจจุบันรัฐบาลดำเนินการตามแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมียนมา (2561-2573) ประกอบด้วยห้าเสาหลัก เพื่อสันติภาพ หลักนิติธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการต่อสู้กับยาเสพติด การฟอกเงินและการพัฒนาธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาของภาคเอกชนและ SMEs นอกจากนี้ยังเร่งป้องกันและปราบปรามเสพติดให้สอดคล้องกับกฎหมายต่อต้านยาเสพติด และให้ปลูกพืชทดแทน เช่น ดอกป๊อปปี้ การควบคุมสารเคมีที่ การให้ความรู้และการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ส่วนการทำหน้าที่ของตำรวจพบว่ามีคดีฟอกเงิน 10 คดีในปี 61 และ 16 คดีในปี 62 ปัจจุบันรัฐบาลได้เพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับการค้าที่ผิดกฎหมาย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/estimated-ks-156-billion-worth-of-contraband-seized

อนาคตของมหานครย่างกุ้ง

มหานครย่างกุ้งในอนาคตกำลังจะพัฒนาด้วยโครงการ 80 เมกกะโปรเจ็ค ผู้ประกอบการไทยที่ SMEs จะได้ประโยชน์จากโครงการเหล่านี้แน่นอน เพราะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ เรามีความสะดวกที่จะส่งสินค้าเข้าไปได้หลากหลายกว่าประเทศอื่นๆ ยกเว้นจีนที่เขามีชายแดนติดกับเมียนมายาวเช่นเดียวกับเรา แต่ไทยได้เปรียบเพราะใกล้เมืองหลวงเก่าเมืองย่างกุ้งกว่าจีน โครงการหนึ่งที่มีผลต่อการพัฒนามหานครย่างกุ้งอย่างมาก คือ โครงการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกรอบที่หนึ่งและรอบที่สอง ทางด่วนที่ก่อสร้างนี้จะเป็นทางยกระดับสองชั้น ที่มีทั้งถนนหกเลน และมีทางรถไฟอยู่ด้วย ข้างล่างจะเป็นทางถนนธรรมดา ซึ่งธุรกิจต่อเนื่องทั้งต้นน้ำปลายน้ำล้วนได้ประโยชน์ทั้งสิ้น เริ่มจากการที่สถาปนิกที่ใช้ออกแบบต่างๆ ซึ่งเมียนมานิยมจ้างสถาปนิกจากประเทศสิงคโปร์ ขณะที่ค่าจ้างของสถาปนิกไทยถูกกว่าสิงคโปร์มากกว่าครึ่งแต่คุณภาพไม่ต่างกัน ต่อมาวิศวกรอาชีพนี้ก็เช่นเดียวกัน และผู้ประกอบการที่ค้าขายอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ โอกาสของ SMEs ก็มีเช่นกัน อย่างผู้รับเหมาก่อสร้างที่สามารถรับช่วงงานต่อจากผู้เล่นรายใหญ่ ผู้ตกแต่งภายในที่จะมีมากขึ้นในการพัฒนาประเทศคราวนี้ ดังนั้นยังมีความต้องการอีกมากมายและยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน เมียนมาคือตลาดแห่งสุดท้ายของประเทศ CLMV ที่กำลังเปิดอยู่ ดังนั้นไทยควรรีบความโอกาสนี้ไว้ก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มดุเดือดขึ้น

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/604710

เอสเอ็มอีกัมพูชามองหาการสนับสนุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

สหพันธ์สมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งกัมพูชาเรียกร้องให้รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านภาษีเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาด SMEs โดยสมาคมยังคงให้การสนับสนุน SMEs ที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรในท้องถิ่นรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ทำการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งสมาคมวางแผนที่จะพูดคุยกับกระทรวงและสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่เผชิญรวมถึงขอความช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรในการผลิต โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมีต้นทุนที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่นำเข้า จึงพยายามที่จะช่วยลดต้นทุนโดยรวมทั้งภาษี วัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า และค่าจ้างแรงงานเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศสามารถแข่งขันได้ดีมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลของ FASMAC ประเทศกัมพูชามีผู้ประกอบการ SMEs ถึง 5 แสนราย โดยเป็นผู้ประกอบการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรถึง 1.5 แสนราย ที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/645740/smes-seek-support-to-boost-market-competitiveness/

10 ธนาคารพาณิชย์สปป.ลาว ลงนามขอสินเชื่อเพื่อส่งเสริม SMEs

ฝ่ายปฏิบัติการธนาคารภายใต้ธนาคารสปป.ลาวได้ลงนามใน 10 ธนาคารพาณิชย์เพื่อขอสินเชื่อ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศจีนเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสปป.ลาว บันทึกความเข้าใจสำหรับโครงการได้มีการลงนามระหว่างธนาคารการค้าต่างประเทศลาว, ธนาคารเพื่อการพัฒนาลาว , ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม, ธนาคารมารูฮานเจแปนลาวจำกัด, ธนาคารร่วมพัฒนาจำกัด , ธนาคารลาวจีนจำกัด, ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด จำกัด, ธนาคารเอสทีจำกัด, ธนาคารหุ้นส่วนการค้าทหาร สาขาลาวและธนาคารไซง่อนเทืองตินลาวจำกัด ลงนามเป็นสักขีพยานโดยผู้ว่าการ BOL วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลและเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนโดยการส่งเสริมการพัฒนาของ SMEs หลังจากการพิจารณาของแผนกธนาคารทั้งหมด 16 แห่งที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขได้ถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการอย่างไรก็ตามมีเพียง 10 ธนาคารเท่านั้นที่แสดงความตั้งใจที่จะเข้าร่วม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/ten-lao-banks-seek-loan-promotion-smes-104290

ทางกัมพูชาเรียกร้องให้ผู้ประกอบการ SMEs จดทะเบียนใน CSX

รัฐบาลได้เรียกร้องให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่น (SMEs) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและขยายกิจการ โดยบริษัทที่ต้องการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พวกเขาต้องดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐานตามกำหนด และจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกผู้ต้องการจดทะเบียนจะปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ เป้าหมายของรัฐฯคือต้องมีอย่างน้อย 80% ของ SMEs จะต้องจดทะเบียนอย่างเป็นทางการภายในปี 2568 และอย่างน้อย 50% ของ บริษัท เหล่านั้นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและการบันทึกบัญชีที่เหมาะสม โดยในปัจจุบันกัมพูชามีผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 520,000 รายแต่มีเพียงประมาณ 150,000 รายที่ทำการจดทะเบียนในระบบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50635096/ministry-urges-smes-to-join-csx/

เมียนมาอนุญาตจัดตั้งบริษัทเครดิตบูโร ข่าวดีสำหรับ SMEs เมียนมา

เดือน พ.ค.61 ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาเห็นชอบจัดตั้งบริษัท Myanmar Credit Bureau Ltd. เป็นบริษัทบูโรแห่งแรกของประเทศ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างสมาคมธนาคารเมียนมา (Myanmar Bank Association) กับ Asia Credit Bureau Holding จากสิงคโปร์ คาดว่าสามารถจัดตั้งได้ภายใน 1 ปีข้างหน้า เครดิตบูโรในเมียนมาส่งผลดีต่อใคร 1.สถาบันการเงินในเมียนมา การมีมีเครดิตบูโรทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในการปล่อยเงินกู้ 2. SMEs เมียนมา ทำให้ SMEs มีโอกาสได้รับสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงของธุรกิจ 3. ภาพรวมการลงทุนในเมียนมา มีส่วนช่วยให้การจัดอันดับ Ease of Doing Business ของ World Bank ในปี 61 อยู่ในอันดับ 171 จากทั้งหมด 190 ประเทศ การจัดอันดับจะเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ที่มา: https://kmc.exim.go.th/detail/20190927191138/20180725140613