“ทุเรียนไทย” ส่งออกไปเวียดนามพุ่งทะยาน 10,000% ประตูใหม่สู่จีน

จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกทุเรียนและทุเรียนแช่แข็งของไทย มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 63,627 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 166% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุด คือ ตลาดตจีนมีมูลค่า 62,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 170% จากปีก่อน รองลงมาฮ่องกงและไต้หวัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าตลาดเวียดนามเป็นตลาดอันดับ 10 ที่มีมูลค่าการส่งออกเพียง 0.15 ล้านบาท แต่เติบโต 10,769% ทั้งนี้ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่าสถานการณ์การส่งออกทุเรียนสดและแช่แข็งในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 100% อย่างไรก็ดีต้องทำการติดตามและประเมินถึงแนวโน้มครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะผลผลิตทุเรียนในภาคใต้ รวมไปถึงดูแลเรื่องการขนส่งผ่านด่านทางเวียดนามและสปป.ลาว เพื่อส่งออไปยังประเทศจีน

ที่มา : https://www.khaosodenglish.com/news/2023/06/24/thai-durian-exports-to-vietnam-soar-10000-as-new-gateway-to-china/

เริ่ม 1 ส.ค.2566 ธุรกรรมทางการเงินของการนำเข้าที่ชายแดนเมียนมา-จีน ผ่านระบบธนาคาร

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ได้ออกกฎระเบียบและข้อบังคับที่ 10/2566 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2566 ว่าด้วยเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับการนำเข้าที่ชายแดนเมียนมา-จีน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2566 โดบเบื้องแต้นเริ่มใช้ระบบการทำธุรกรรมผ่านธนาคารในวันที่ 1 พ.ย. 2565 ที่จุดผ่านแดนไทย-เมียนมา และระบบนี้จะเริ่มดำเนินการที่ชายแดนเมียนมา-จีน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2566 ทั้งนี้ ผู้นำเข้าจะต้องใช้ระบบธนาคารด้วยสกุลเงิน ‘หยวน’ นอกจากนี้ บริษัทต่างๆ ต้องแสดงรายได้จากการส่งออกหรืองบกำไรขาดทุน หรือรายการเดินบัญชีธนาคาร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/banking-transactions-for-imports-on-myanmar-china-border-to-commence-1-august/#article-title

“เมียนมา” ทำรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ ทะลุ 240 ล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา เปิดเผยว่าเมียนมาทำสถิติส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 310,000 ตัน และสร้างรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566-2567 โดยรายงานระบุว่า การขนส่งถั่วพัลส์ปริมาณข้างต้นแบ่งเป็นผ่านเส้นทางทางทะเลมากกว่า 280,816.8 ตัน คิดเป็นมูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเส้นทางการค้าผ่านช่องทางอื่นๆ 29,756.2 ตัน ทั้งนี้ ตลาดอินเดียมีความต้องการถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อการบริโภคในประเทศ อีกทั้งจากการร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมา-อินเดีย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ทำให้อินเดียมีแนวโน้มว่าจะนำเข้าถั่วเขียวผิวดำเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน จากเมียนมา เป็นระยะเวลา 5 ปี ในปีงบประมาณ 2568-2569 โดยข้อตกลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อโควต้ารายปีที่กำหนดไว้ของอินเดีย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-240-mln-in-export-of-pulses-within-two-months/#article-title

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาคาด GDP ปีนี้ โต 5.6%

Aun Pornmoniroth รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) ได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2023 ไว้ที่ร้อยละ 5.6 จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ในปีที่แล้ว โดยได้กล่าวไว้ในระหว่างการประชุมร่วมครั้งที่ 35 ของคณะกรรมาธิการ UNWTO (35th CAP & CSA) และการประชุม WTO ว่าด้วยมาตรฐานสากลการคุ้มครองนักท่องเที่ยว (ICPT) ณ Sokha Phnom Penh Hotel & Residence โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลมีมุมมองในแง่ดีสำหรับภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจของกัมพูชาที่กำลังจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ภาวะปกติ หลังประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในช่วงปี 2025 ทางการกัมพูชาคาดว่าจะกลับมาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวแตะ 7 ล้านคน และในปี 2026 คาดว่าจะให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวขึ้นไปถึงประมาณ 13 ล้านคน ใกล้เคียงกับจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2019 ภายใต้แนวคิด Public-Private Partnership (PPP) ผ่านความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501310040/pornmoniroth-puts-cambodias-2023-gdp-forecast-at-5-6/

รมว.เกษตรฯ กัมพูชา ชักชวนประเทศเช็ก นำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่ม

เพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ที่อันดี Dith Tina รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ได้เชิญชวนสาธารณรัฐเช็ก พิจารณาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของกัมพูชาและผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารที่มีศักยภาพอื่นๆ โดยกระทรวงหวังว่าจะดึงดูดผู้นำเข้าจากเช็กมากขึ้น ตามถ้อยแถลงของกระทรวงฯ Dith Tina ได้ตั้งข้อสังเกตว่าความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศมุ่งเน้นไปที่การค้าสินค้าเกษตรเป็นหลัก ซึ่งรัฐมนตรีหวังให้สาธารณรัฐเช็กเร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับสินค้าเกษตรของกัมพูชาเพิ่มเติม ด้านกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา รายงานว่า สาธารณรัฐเช็กถือเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับกัมพูชา โดยมีมูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศเฉลี่ยรวมในช่วงปี 2020-2021 ที่มูลค่า 80 ล้านดอลลาร์ต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501289971/minister-of-agriculture-invites-czech-republic-to-import-more/

คาดการค้าทวิภาคี กัมพูชา-กว่างซี ขยายตัว

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและมณฑลกว่างซีของจีนมีมูลค่ารวมแตะ 1.970 พันล้านหยวน ในปี 2022 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 88.2 เมื่อเทียบกับปี 2021 รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์กว่างซี ซึ่งตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นการส่งออกของกว่างซีไปยังกัมพูชาที่ 1.860 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.5 ในขณะที่กัมพูชาส่งออกไปยังกว่างซีมูลค่ารวม 110 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.3 ผ่านการที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การเกษตร การค้า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการปกป้องสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501277602/uptrend-in-cambodia-guangxi-bilateral-trade/

“เมียนมา” เผยปี 65-66 ส่งออกถั่วพุ่ง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในช่วงปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์ (Pulses) ไปยังต่างประเทศกว่า 1.9 ล้านตัน ทำรายได้ราว 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหากพิจารณาช่องทางการค้าของสินค้าดังกล่าว พบว่าในปีที่แล้ว เมียนมาส่วนใหญ่ส่งออกถั่วพัลส์และถั่วชนิดอื่นๆ ผ่านทางทะเล ปริมาณมากกว่า 1,640,777.1 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านด่านพรมแดนทางบก ปริมาณ 1,919,156.1 ตัน มูลค่า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ อินเดียมีความต้องการและบริโภคถั่วดำและถั่วแระมากขึ้น โดยอินเดียนำเข้าถั่วดำจากเมียนมา 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ทั้งสองประเทศร่วมลงนาม MOU เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2565

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-over-1-4-bln-from-pulses-exports-in-past-fy2022-2023/#article-title

ส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ไปตลาดคู่ FTA เดือนม.ค.66 เพิ่ม 8.4% ตลาดอาเซียนเบอร์ 1

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นมไปตลาดคู่ FTA เดือนม.ค.66 มีมูลค่ากว่า 49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม 8.4% ตลาดอาเซียนเบอร์ 1 เพิ่ม 8.6% มีสัดส่วน 86.5% ของการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ และสปป.ลาว เติบโตได้ดี ส่วนสินค้ามาแรงนม UHT นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต นมถั่วเหลืองที่มีนมผสม ระบุปัจจุบัน 14 ประเทศคู่ FTA ยกเลิกเก็บภาษีนมและผลิตภัณฑ์นมจากไทยแล้ว เหลือแค่ 4 ประเทศที่ยังเก็บอยู่

ที่มา : https://www.agrinewsthai.com/domestic-animal/61399

“เมียนมา” เผยสัปดาห์ที่ 2 ของ มี.ค. ส่งออกข้าว 3 หมื่นตัน มูลค่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน มี.ค. เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก (Broken Rice) ไปยังตลาดต่างประเทศ ด้วยปริมาณมากกว่า 33,250 ตัน คิดเป็นมูลค่า 13.289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และตั้งแต่วันที่ 11-17 มี.ค. เมียนมาส่งออกข้าวทางเรือไปยังประเทศในเอเชีย 10,090 ตัน และส่งออกข้าวมากกว่า 9,000 ตันไปยังกลุ่มประเทศยุโรป ตลอดจนส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ จีนและมาเลเซีย ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ เมียนมาส่งออกข้าวหักไปยังช่องทางการค้าชายแดนและทางทะเล มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4.673 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-30000-tonnes-of-rice-worth-us13-mln-exported-in-march-2nd-week/

“เมียนมา” ประกาศจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ประกาศว่าจะไม่อนุญาตให้ธุรกิจนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และไม่อนุญาตให้จัดเก็บสินค้าเข้าไปในคลังของกิจการได้ ในขณะที่กระบวนการออกใบอนุญาตนำเข้าเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยสาเหตุดังกล่าว ทางหน่วยงานรัฐฯ อ้างถึงผลกระทบของความล่าช้าที่จะทำให้มีผลต่อคุณภาพของสินค้านำเข้าและต้องการที่จะควบคุมตลาดให้ดีขึ้น โดยกฎระเบียบหรือข้อจำกัดที่เกี่ยวกับการค้าและอื่นๆ ได้รับการผ่อนปรนจากรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่ถูกเข็มงวดมากขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังเกิดรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงชั่วคราว เนื่องจากจะมีระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/import-sector-further-restricted-in-myanmar/