2024 กัมพูชานำเข้าน้ำมันและก๊าซมูลค่ารวมกว่า 2.69 พันล้านดอลลาร์

รายงานจากกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาเปิดเผยว่า ในปี 2024 กัมพูชานำเข้าน้ำมันดีเซล น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่ารวม 2.69 พันล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลมูลค่ารวม 1.41 พันล้านดอลลาร์ น้ำมันปิโตรเลียม 946 ล้านดอลลาร์ และก๊าซปิโตรเลียม 334 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7, 11 และ 42 ตามลำดับ ซึ่งกัมพูชายังคงพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซทั้งหมด เนื่องจากยังไม่ได้เริ่มการสำรวจและผลิตน้ำมันจากแหล่งสำรองใต้ทะเลของประเทศ โดยคาดว่าความต้องการในการอุปโภคผลิตภัณฑ์น้ำมันของกัมพูชาจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านตันในปี 2030 จาก 2.8 ล้านตันในปี 2020 นอกจากนี้ กัมพูชายังนำเข้ายานพาหนะทุกประเภทมูลค่ารวม 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2024 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากปีก่อนหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501627507/cambodia-spents-2-69-bln-on-oil-gas-imports-in-2024/

เมียนมานำเข้าปุ๋ย 1.4 ล้านตัน และยาฆ่าแมลงมากกว่า 26,000 ตันในช่วง เม.ย.-ธ.ค. 67

ตามข้อมูลของคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดซื้อและจำหน่ายปุ๋ยยูเรีย เมียนมามีการนำเข้าปุ๋ยมากกว่า 1.4 ล้านตันในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์และการพัฒนาชนบทของสหภาพเมียนมา U Hla Moe ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการฯ กล่าวว่าคณะกรรมการจะยังคงทำการประเมินและแนะนำการนำเข้าปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่เหลือต่อไป ด้านสมาคมผู้ประกอบการปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และยาฆ่าแมลงของเมียนมา (MFSPEA) กล่าวว่าเสริมว่า ต้องมีการตรวจสอบบริษัทผู้นำเข้าแต่ละแห่ง ว่าสามารถนำเข้าตามปริมาณการนำเข้าที่กำหนดได้หรือไม่ โดยควรให้ใบอนุญาตเฉพาะกับบริษัทที่สามารถนำเข้าได้จริงและครบถ้วนเท่านั้น อย่างไรก็ตามคณะกรรมการกำกับดูแลได้รับการขอร้องให้กำกับดูแลร้านค้าในแต่ละภูมิภาคและรัฐว่าปฏิบัติตามราคาปุ๋ยอ้างอิงที่กำหนดหรือไม่ หลังจากบวกค่าขนส่งและอัตรากำไรที่กำหนดไว้ ให้รายงานการเรียกเก็บเงินเกิน ตรวจสอบการจัดการตลาดด้วยสต็อกที่สะสมไว้ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ รัฐมนตรีสหภาพยังได้กล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีความล่าช้าในการนำเข้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร การรับประกันคุณภาพ และความยุติธรรมด้านราคา

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา บังคับใช้บทลงโทษการนำเข้าก่อนกำหนดโดยไม่มีใบอนุญาต เริ่ม 1 กรกฎาคมนี้

กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่าจะเริ่มดำเนินการทางวินัยในวันที่ 1 กรกฎาคม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออก/นำเข้า หากสินค้านำเข้ามาถึงสนามบินและอาคารผู้โดยสารก่อนได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาต ยกเว้นสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จัดเก็บในคลังสินค้าของศุลกากร สินค้านำเข้าที่ไม่ได้รับอนุญาตจะถูกห้ามมิให้มาถึงท่าเรือและสนามบิน อย่างไรก็ดี คำสั่งที่ออกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2020 ระบุว่าบริษัทนำเข้าจะต้องถูกลงโทษภายใต้กฎหมายการส่งออก/นำเข้า หากสินค้าดังกล่าวมาถึงโดยไม่มีใบอนุญาตหรือใบอนุญาตนำเข้า แต่มักพบว่าสินค้านำเข้ามาถึงท่าเรือก่อนที่จะออกใบอนุญาต นอกจากนี้ รายงานยังระบุด้วยว่ากรมศุลกากรอนุญาตให้จัดเก็บสินค้าที่จำเป็นสำหรับภาคการผลิตและสุขภาพในประเทศไว้ในคลังสินค้าของศุลกากรตามระเบียบเท่านั้น กระทรวงจึงเรียกร้องให้บริษัทนำเข้าปฏิบัติตามกฎหมายและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-to-enforce-penalties-for-premature-arrival-of-imports-without-licences-starting-1-july/

เมียนมาตั้งเป้าการค้าต่างประเทศบรรลุมูลค่า 33 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2567-2568

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุเป้าหมายการค้าต่างประเทศมูลค่า 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งประกอบด้วยเป้าการส่งออกมูลค่า 16.7 พันล้านดอลลาร์และการนำเข้ามูลค่า 16.3 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า มูลค่าการค้าต่างประเทศของเมียนมา ณ วันที่ 17 พฤษภาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน มีมูลค่าสูงถึงกว่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 1.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็นการค้าทางทะเลมีมูลค่ารวม 2.85 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่มูลค่าการค้าชายแดนมีมูลค่า 684.56 ล้านดอลลาร์ มีดุลการค้ารวมอยู่ที่ 3.116 พันล้านดอลลาร์ โดยที่เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/foreign-trade-targeted-to-achieve-us33b-in-fy2024-2025/#article-title

‘เวียดนาม’ นำเข้ารถยนต์ 4 เดือนแรก มูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าเวียดนามนำเข้ารถยนต์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ จำนวน 43,805 คัน มูลค่ากว่า 929.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.4% และ 23.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเฉพาะเดือน เม.ย. พบว่าเวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในต่างประเทศทั้งคัน (CBU) จำนวน 11,565 คัน มูลค่าอยู่ที่ 255.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ อินโดนีเซีย ไทยและจีน เป็นซัพพลายเออร์รถยนต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยทั้งสามประเทศมียอดขายรถยนต์รวมกันทั้งสิ้น 42,154 คัน คิดเป็น 96.2% ของปริมาณการนำเข้ารถยนต์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยยอดขายรถยนต์ในประเทศ ไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลง 17% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655591/viet-nam-spends-nearly-1b-importing-cars-in-the-first-four-months-of-2024.html

การค้าต่างประเทศของเมียนมาทะลุ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรอบ 10 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมารายงานว่า การค้าระหว่างประเทศของเมียนมากับคู่ค้าต่างประเทศมีมูลค่า 25.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 12.135 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 13.378 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ซึ่งมูลค่าการค้ารวมของปีงบประมาณปัจจุบันลดลงอย่างมากถึง 3.15 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีมูลค่าการค้ารวม 28.66 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าของเมียนมาแบ่งออกเป็นการค้าทางทะเลอยู่ที่ประมาณ 18.787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การค้าดำเนินการที่ชายแดนมีมูลค่า 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-foreign-trade-exceeds-us25-bln-in-ten-months/

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาในช่วงเดือน ม.ค. 2024 ขยายตัวกว่าร้อยละ 16.7

ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาแตะมูลค่ารวม 4.05 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. ปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16.7 จากมูลค่า 3.47 พันล้านดอลลาร์ ที่ได้บันทึกไว้ในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นการส่งออกรวมของกัมพูชามูลค่า 1.96 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ขณะที่การนำเข้ารวมอยู่ที่ 2.09 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 8.7 ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ตามมาด้วยเวียดนาม สหรัฐฯ ไทย และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าส่งออกหลักยังคงเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว จักรยาน ยางแห้ง ข้าวสาร กล้วย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง และลำไย ด้านสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสินค้าท่องเที่ยว รวมถึงปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไปจนถึงสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439008/cambodias-international-trade-up-16-7-pct-in-january/

2023 มูลค่าการค้ารวมระหว่าง กัมพูชา-RCEP เกือบแตะ 3 หมื่นล้านดอลลาร์

การค้าระหว่างกัมพูชาและอีก 14 ประเทศ ในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีมูลค่าเกือบ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โดยคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชาไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวที่มูลค่ารวม 8.172 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 28  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2.129 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงกว่าร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของประเทศ โดยหลังจากการลงนามในข้อตกลงดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังกลุ่มสมาชิค RCEP เพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น อินโดนีเซียจากการเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 12 ของกัมพูชาในช่วงก่อนหน้านี้ ปรับมาเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 6 ของปีที่แล้ว โดยมีปริมาณการค้าทวิภาคีเกือบ 1.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบรายปีก่อนเกือบร้อยละ 15 คิดเป็นการส่งออกของกัมพูชามูลค่า 92.74 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 151.7

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501437300/cambodia-rcep-members-trade-hits-nearly-30-bn-in-2023/

2023 มูลค่าการส่งออก-นำเข้า ผ่าน SSEZ กัมพูชา แตะ 3.36 พันล้านดอลลาร์

ปริมาณการนำเข้าและส่งออกรวมของเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) มีมูลค่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 34.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการค้าผ่าน SSEZ คิดเป็นประมาณกว่าร้อยละ 7.18 ของปริมาณการค้าทั้งหมดของกัมพูชา สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ SSEZ ถือเป็นโครงการเรือธงภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ซึ่งร่วมลงทุนโดยนักลงทุนจีนและกัมพูชา ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพระสีหนุ โดยเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในแง่ของขนาดและจำนวนผู้ประกอบการในเขต ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรและบริษัทเอกชนรวมกว่า 180 แห่ง จากทั้งทางฝั่งจีน ยุโรป สหรัฐฯ และจากภูมิภาคอื่นๆ สร้างการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นเกือบ 30,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501435871/ssezs-export-import-valued-at-3-36-billion-in-2023/

การค้าระหว่างประเทศกัมพูชาลดลงร้อยละ 1.9 ที่ 46.82 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาในช่วงปี 2023 ลดลงร้อยละ 1.9 อยู่ที่ 46.82 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.8 แต่การนำเข้ากลับลดลงร้อยละ 5 ตามข้อมูลการค้าที่เผยแพร่โดยกรมศุลกากร และสรรพสามิต (GDCE) สำหรับการส่งออกรวมของกัมพูชาในช่วงปี 2023 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 22.64 พันล้านดอลลาร์ และการนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 24.18 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้กัมพูชาขาดดุลการค้าอยู่ที่ 1.53 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาด้วยมูลค่าการค้าทวิภาคี 12.26 พันล้านดอลลาร์ ภายใต้ความไม่แน่นอนจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ การปะทุของความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส และความกดดันด้านเงินเฟ้อที่ตามมา อีกทั้งการไม่ต่ออายุของระบบสิทธิพิเศษทั่วไป (GSP) จากสหรัฐฯ และผลประโยชน์จาก EBA จากสหภาพยุโรป (EU) ก็เป็นส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้ากลุ่ม GFT ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาเป็นอย่างมาก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501421111/cambodias-trade-declines-1-9-to-46-82-billion-in-2023/