ได้ฤกษ์ปัดฝุ่นเจรจา เอฟตา ไทยส่งออกผลไม้กระหึ่มโลก

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ผู้แทนของสมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟตา) 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์ มาเข้าพบ และยื่นหนังสือเพื่อขอเริ่มต้นการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับไทย ที่กรมต้องเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอเดิม และเริ่มต้นเจรจาเอฟทีเอกับประเทศใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเจรจากับเอฟตาที่ขณะนี้ อยู่ระหว่างนำผลการศึกษาที่เคยทำมาตั้งแต่ปี 2549 มาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อดูว่ามีประเด็นใด ที่จะนำเข้าสู่การเจรจาเพิ่มเติมอีก รวมถึงจะหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงผลดี ผลเสีย มาตรการเยียวยา โดยจะรวบรวมทำเป็นข้อสรุป เสนอนโยบายเพื่อตัดสินใจต่อไป โดยล่าสุด เอฟทีเอ ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ทำให้ประเทศคู่ค้าเอฟทีเอได้ลด/เลิกเก็บภาษีนำเข้าผลไม้จากไทย ทำให้การส่งออก 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.) เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีมูลค่าการส่งออก 3,213 ล้านเหรียญสหรัฐ มากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก รองจากสเปน เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก สหรัฐฯ ชิลี ขยับขึ้นจากอันดับ 10 เมื่อปี 2561 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 41% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน และจีน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1729453

เวียดนามเผยยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนพุ่งสูงขึ้น

เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าสินค้าเกษตรหลายรายการของเวียดนามจะขนส่งไปยังตลาดใกล้เคียง ปัจจุบันเวียดนามเผชิญกับความท้าทายในการส่งออกสินค้าไปยังจีน เนื่องมาจากการเข็มงวดของคุณภาพสินค้าและการค้าข้ามพรมแดน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าปริมาณส่งออกเม็ดม่วงหิมพานต์ไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 58,100 ตัน คิดเป็นมูลค่า 447.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ที่มีการเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของเวียดนาม ซึ่งจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cashew-nut-exports-to-china-rise-sharply-407644.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกยาง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกยางอยู่ที่ 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นปริมาณ 1.5 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ในแง่ของมูลค่า และ 8.1 ในแง่ของปริมาณ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกยาง 200,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และ 16.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ประกอบกับราคาส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกยางธรรมชาติ (NR) ในปี 2563 จะมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rubber-exports-top-2-billion-usd-in-11-months-407445.vov

เวียดนามเผยยอดการส่งออกผักและผลไม้ ลดลงเล็กน้อย

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2562 โดยยอดการส่งออกลดลงดังกล่าว เป็นผลมาจากยอดขายของแก้วมังกรลดลงร้อยละ 9 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้รวม, ทุเรียน (ลดลง 17.4%), มะพร้าว (ลดลง 35%), ลำไย (ลดลง 56%) และแตงโม (ลดลง 26.4%) เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและพัฒนาตลาด ระบุว่าการส่งออกไปยังจีนลดลงอย่างมาก ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 66.8 ของมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้รวม ทางด้านยอดการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้นั้น ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่ว่ายังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการลดลงของตลาดจีนได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fruit-vegetables-exports-see-slight-decrease-407397.vov

Hoa Phat Steel Pipe ส่งออกท่อเหล็กพุ่งสูงขึ้น 22.3% ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 62

บริษัทฮว่า ฟ้าด กรุ๊ป (Hoa Phat Group) ได้แตกธุรกิจท่อเหล็กเป็นบริษัทฮว่า ฟ้าด สตีลไพพ์ จำกัด ระบุว่าปริมาณการส่งออกท่อเหล็กอยู่ที่ 17,000 ตัน ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อเมริกาเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และละตินอเมริกา เป็นต้น ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน บริษัทฯได้จำหน่ายท่อเหล็กกว่า 72,500 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้บริษัทฯนั้นเป็นซัพพลายเออร์ผลิตท่อเหล็กรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 31 ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ายอดการขายท่อเหล็กอยู่ที่ 750,000 ตัน ในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ภายในปี 2562 และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 10 ในปี 2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hoa-phats-steel-pipe-export-surges-223-pct-in-11-months-407398.vov

ส่งออกอัญมณีเครื่องประดับ แรงไม่หยุด10เดือนเพิ่ม37.59% ผลจากทองคำ-พลอยสี-ตลาดอาเซียน

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในช่วง 10 เดือนของปี2562 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 13,974.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.59 หากหักทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความผันผวนออก การส่งออกมีมูลค่า6,900.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24 โดยปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในช่วง 10 เดือนของปีนี้เพิ่มขึ้น ยังคงมาจากการส่งออกทองคำที่ยังคงขยายตัว แม้ว่าเฉพาะเดือน ต.ค.2562 จะชะลอตัวลง เป็นผลจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และนักลงทุนมีการเทขายทองคำออก รวมไปถึงหันไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงแทน ทั้งนี้หากดูเป็นรายสินค้า พลอยสียังคงเป็นสินค้าดาวรุ่ง ทั้งพลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน สำหรับตลาดส่งออกที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อาเซียน อินเดีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ส่วนฮ่องกงที่ยังคงเป็นตลาดอันดับ 1 แต่มีการชะลอตัวลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและการประท้วง นักท่องเที่ยวลด ทำให้ร้านค้าปลีกหลายรายปิดตัวลง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ และขยายตัวในการส่งออกไปยังตลาดที่เติบโตได้ดีอยู่ ประกอบกับใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA และสร้างมูลค่าสินค้าด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/ news_1782723

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกเครื่องนุ่งห่ม 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศ ยังคงตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2562 แม้ว่าจะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เพื่อให้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อุตสาหกรรมดังกล่าวต้องมีอัตราการเจริญเติบโตในการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 11-12 ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น เช่น จีน อินเดีย และบังคลาเทศ เป็นต้น และทางสมาคมหวังว่าผู้ประกอบการจะได้รับยอดคำสั่งซื้อขนาดใหญ่ เพื่อให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญของผู้ประกอบการ คือ การหาตลาดใหม่และการร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้า ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ได้แก่ EVFTA และ CPTPP เป็นต้น นอกจากนี้ ทางผู้บริหารระดับสูงของสมาคมสิ่งทอเวียดนาม มองว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน นับว่าเป็นไปได้ยากที่อุตสาหกรรมสิ่งทอจะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ภายในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/569282/garment-export-target-of-40-billion-a-long-shot.html#lGuhOAC3rkrrqwYh.97

การส่งออกมะม่วงไปเกาหลีใต้ได้รับการอนุมัติ

หลังจากการเจรจาเรื่องข้อกำหนดการส่งออกมาเป็นเวลานาน โดยการส่งออกมะม่วงในประเทศรอบแรกจะถึงเกาหลีใต้ก่อนสิ้นปีตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีใต้ ซึ่งการประชุมระหว่างกันในครั้งนี้ถูกจัดขึ้น ณ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเมืองปูซานของเกาหลีใต้ โดยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการเกษตร ซึ่งกัมพูชาสามารถเริ่มส่งออกมะม่วงอย่างเป็นทางการไปยังตลาดเกาหลีได้ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง Veng Sakhon อธิบายว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างประเทศในภาคเกษตรกรรมและขอความช่วยเหลือจากเกาหลีในการปรับปรุงภาคการเกษตรของกัมพูชาให้ทันสมัย ซึ่งผู้บริโภคชาวเกาหลีมีความคาดหวังเป็นอย่างมากสำหรับมะม่วงของกัมพูชา โดยประธานสมาคมกำปงสปือได้ชื่นชมการทำงานของรัฐบาลในการขยายตลาดสำหรับผู้ส่งออกมะม่วง ซึ่งกำปงสปือสามารถผลิตผลไม้ได้ 500,000 ถึง 700,000 ตันต่อปี ราคาต่อกิโลกรัมอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.50 เหรียญสหรัฐ ถึง 0.86 เหรียญสหรัฐ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664792/mango-exports-to-south-korea-given-greenlight/

การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนของกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้โควตาของปีที่แล้ว

ซีอีโอของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (RDB) กล่าวว่า Cofco ผู้ผลิตและผู้ค้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของจีนยังไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อใดๆ สำหรับข้าวสารที่ผลิตในกัมพูชาในปี 2562 โดยโควตาสำหรับปี 2562 อยู่ที่ 400,000 ตัน ซึ่งผู้ส่งออกข้าวในประเทศบางรายกำลังพยายามส่งข้าวไปยังประเทศจีนตามโควตาสำหรับปี 2018 ที่ 300,000 ตัน โดยจีนได้ให้คำมั่นที่จะซื้อข้าว 400,000 ตันจากกัมพูชาในปีนี้ ซึ่งคำปฏิญาณดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคมระหว่างการประชุมที่ปักกิ่งระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและประธานาธิบดีจีนจินผิงโดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมปีนี้กัมพูชาส่งข้าวสารจำนวน 184,844 ตัน ไปยังประเทศจีน คิดเป็น 40% ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชาที่ 457,940 ตัน เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากข้อมูลของ SOWS-REF สหภาพยุโรปเป็นผู้ซื้อข้าวกัมพูชารายใหญ่เป็นอันดับสองโดยซื้อข้าวสารจำนวน 155,950 ตัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคมเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานแสดงให้เห็นว่า 83 บริษัท ส่งออกข้าวกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศรวมทั้ง บริษัท Baitang (Kampuchea) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664440/rice-exports-to-china-still-under-last-years-quota-crf/

เวียดนามเผยยอดส่งออกปลาหมึกพุ่งสูงขึ้นไปยังตลาดสหรัฐฯ ในปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกปลาหมึกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จะสูงถึง 11.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 63.7 ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ปลาหมึกแห่ง ปลาหมึกหมัก ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็ง และปลาหมึกแปรรูป เป็นต้น ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าปลาหมึกรายใหญ่ อยู่อันดับที่ 6 ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมื่อเกิดสถานการณ์กดดันทางการค้าสหรัฐฯ และจีน  ทำให้สหรัฐฯ ต้องเพิ่มอัตราภาษีในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาหมึกที่มาจากจีน ขณะเดียวกัน นับว่าเหตุการณ์ดังกล่าว จะสร้างโอกาสทางการค้าแก่เวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-export-of-squid-octopus-to-us-surges-in-2019-406397.vov