ภาคเอกชน ขอ ธปท.ดูอัตราดอกเบี้ย ชี้ไทยสูงกว่าประเทศอื่นในอาเซียน

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อยู่ระดับ 2.5% ซึ่งสูงในรอบ 10 ปี ว่า อยากเสนอแนะต่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แบงก์ชาติ ให้พิจารณาอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง และยังไม่มีกลไกกำกับดูแลว่า ควรจะอยู่ที่อัตราเท่าไหร่ หากเปรียบเทียบตัวเลขระหว่างเงินกู้ไทยเทียบกับประเทศอาเซียน ปรากฎว่า อัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยสูงกว่ามาก ดังนั้น อาจต้องพิจารณาระดับที่เหมาะสม

ที่มา : https://ch3plus.com/news/economy/ch3onlinenews/388225

“ศก.เวียดนาม” คาดเติบโตอันดับ 2 ในอาเซียน

ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ทวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม คาดว่าจะขยายตัว 5.8% ในปี 2566 อยู่ในอันดับที่ 2 ร่วมกับกัมพูชาในภูมิภาคอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวสูงขึ้นแตะ 6.9% ในปีหน้า ถือว่าเป็นตัวเลขสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเรื่องของหนี้สาธารณะเวียดนามที่คาดว่าจะอยู่ระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 8 ประเทศ

ทั้งนี้ ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สถาบันการเงินดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต โดยผู้เชี่ยวชาญได้ให้เหตุผลถึงการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางว่าเป็นการสร้างความยืดหยุ่นและจังหวะเวลา รวมถึงคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 7% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 10%

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-gdp-growth-forecast-to-rank-second-in-asean/251654.vnp

เวียดนามเผยกลางเดือนเม.ย. สินเชื่อโต 3.34%

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 16 เม.ย. การเติบโตของสินเชื่อ ขยายตัวมาอยู่ที่ 3.34% เมื่อเทียบกับปลายปี 2563 และเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยอัตราการเติบโตภายในสิ้นเดือนมี.ค. อยู่ที่ 2.93% เมื่อเทียบกับปลายปีที่แล้ว เป็นมูลค่าราว 411 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในแค่ 2 สัปดาห์ การเติบโคของสินเชื่อก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.41 จุด ทั้งนี้ สถาบันสินเชื่อและธนาคาร ทำการปรับโครงสร้างการชำระหนี้ให้กับลูกค้า จำนวน 262,000 ราย ด้านยอดสินเชื่อคงค้างในระบบโดยรวมอยู่ที่ 15.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่จำนวนลูกค้า 660,000 ราย มีเงินกู้ที่มีอยู่รวมกันอยู่ที่ 55.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้รับการชะลอการชำระหนี้และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาระดับของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 4% ในปี 2564 และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-credit-growth-expands-by-334-by-mid-april-317092.html

ธนาคารกลางเวียดนามเล็งปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เล็งปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามคำแถลงการณ์ของรองผู้ว่าธนาการกลาง เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา โดยทางผู้ว่าธนาคารกลาง กล่าวว่ายังคงให้การสนับสนุนกับทางสถาบันสินเชื่อในทุกวิธีทาง รวมถึงอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเวียดนามสนับสนุนสถาบันสินเชื่อ ให้ลดค่าใช้จ่าย-ต้นทุน และสนับสนุนลูกค้ารายใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน ก็ยังรักษามาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อวงเงินสูง เพื่อให้มั่นใจว่าภาคธนาคารมีเสถียรภาพในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ความต้องการเงินกู้ในปีนี้อยู่ในระดับต่ำ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตัวเลขของการเติบโตสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว สำหรับอัตราหนี้เสีย พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ดำเนินการตามแนวทาง Basel II

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/central-bank-eyes-further-interest-cut/187441.vnp

แบงก์ชาติเวียดนามปรับลดดอกเบี้ยแก่ผู้กู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

จากรายงานของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าทางธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ด้วยมูลค่ามากกว่า 1.12 ล้านล้านล้านด่ง (49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของผู้กู้ราว 322,190 รายที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงธนาคารยังขยายระยะเวลาการชำระหนี้ จำนวน 215,136 ราย สินเชื่อรวมประมาณ 137.94 ล้านล้านด่ง ในขณะที่ ยอดสินเชื่อใหม่คงค้างในระบบ ประมาณ 600 ล้านล้านด่ง พร้อมกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5-2.5 ต่อปี แก่ผู้กู้ราว 190,000 คน ทั้งนี้ ธนาคารกลางโอนเงินไปยังสถาบันการเงินเวียดนาม ด้วยมูลค่า 16 ล้านล้านด่ง ซึ่งทำตามนโยบายสังคม ดังนั้น นายจ้างสามารถกู้สินเชื้อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เพื่อจะนำไปจ่ายเงินเดือนแก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นอกจากนี้ ทางรองผู้ว่าธนาคารกลาง ระบุว่าภาคธุรกิจขนส่ง การท่องเที่ยว นำเข้า-ส่งออก จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากเชื้อไวรัสดังกล่าว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/banks-cut-interest-rates-for-borrowers-affected-by-covid19/173801.vnp

เวียดนาม คาดสินเชื่อปี 63 โต 9-10%

การเติบโตสินเชื่ออาจโตเพียงร้อยละ 9-10 ในปีนี้ หากเทียบกับปีที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 13 ถึงแม้ว่ามีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปได้ในทิศทางที่ดี ตามข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ โดยอัตราการเติบโตจะต่ำกว่าที่ธนาคารตั้งเป้าไว้ร้อยละ 11-14 ในปีนี้ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า กล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ของธนาคารกลางเวียดนามไว้ที่ระดับ 0.5 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อาจไม่ช่วยกระตุ้นความต้องการสินเชื่อของธุรกิจ ซึ่งการลดลงดังกล่าวจะมีผลกระทบในเชิงบวกต่อระบบธนาคารและอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าเมื่อเทียบกับการตัดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้นจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ลดต้นทุนแก่ธนาคารอย่างมีนัยสำคัญและสนับสนุนให้ธุรกิจขยายการชำระหนี้สินและการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็คาม อัตราดอกเบี้ยข้างต้นปรับตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งความต้องการของผู้บริโภคยังคงอยู่ในวงจำกัด ทำให้ธุรกิจไม่กู้ยืมแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม

ที่มา :https://en.vietnamplus.vn/credit-growth-forecast-to-slow-to-910-percent-in-2020/173671.vnp

ธนาคารกลางเมียนมาลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1.5% เป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 27 เมษายน 63 ที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของ COVID-19  CBM ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก 0.5 % ในวันที่ 12 มีนาคม ครั้งที่สองในวันที่ 24 มีนาคม และวันที่ 27 เมษายน 63 รวมเป็น 3% ภายในสองเดือน การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคาดว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้กู้และช่วยผลักดันเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-cuts-interest-rates-again.html

ผู้อำนวยการ NBC กล่าวถึงสกุลเงินเรียลและดอลลาร์ในช่วง Covid-19

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้เรียกร้องให้สาธารณชนเพิ่มการใช้สกุลเงิน riels เพื่อช่วยให้ธนาคารกลางใช้สกุลเงินท้องถิ่นของประเทศเป็นเครื่องมือในการกำหนดมูลค่าและอัตราดอกเบี้ยให้มีเสถียรภาพในตลาดในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 โดยทั่วไปเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นให้สถาบันสินเชื่อดำเนินการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้การปล่อยสินเชื่อภาครัฐในอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง นี่คือสาเหตุที่ธนาคารกลางเสนอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนให้ชาวกัมพูชานำเงินออกไปใช้ในระบบให้เป็นสกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีนโยบายเหล่านี้สินเชื่อบนสกุลเงิน riels ได้ลดลงจาก 25% ในปี 2559 เหลือ 10% ในปี 2563

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50710320/nbc-director-general-explains-economics-of-riels-and-dollars-during-the-covid-19-crisis/

ธ.กลางเวียดนามลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อรับมือกับแรงกระแทกของวิกฤตโควิด-19

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจากการแถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ระบุว่าได้ปรับลดอัตรารีไฟแนนซ์อ้างอิงสู้ระดับร้อยละ 5-6 และอัตราส่วนลดอยู่ในระดับร้อยละ 3.4-4 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมข้ามคืนระหว่างธนาคาร ได้ปรับลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 6-7 และการดำเนินการของธนาคารกลางผ่านตลาดการเงิน (OMO) ด้วยอัตราร้อยละ 3.5-4 นอกจากนี้ ธนาคารยังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้อยู่ในระดับร้อยละ 0.25-0.5 ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม การประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางธนาคารกลางเวียดนามกล่าวว่าการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินให้มีสภาพคล่องและอยู่ในตำแหน่งที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ธนาคารกลางได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เมื่อครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/central-bank-cuts-interest-rates-to-buffer-covid19-impact/170195.vnp

CBM อาจลดดอกเบี้ยหากมีความจำเป็น

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นหากมีความเป็น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันคือ 10% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากขั้นต่ำตั้งไว้ที่ 8% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่ 13% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยในเมียนมาจะสูงกว่านี้มาก ขณะที่ สส.บางส่วนเห็นว่าควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้สินเชื่อในธุรกิจท้องถิ่นมีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นซึ่งจะเอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาด้านการเงินแล้ว แต่เมียนมายังไม่ถึงขั้นนั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งเมียนมา (Hluttaw) CBM จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันเพราะอยู่ในอัตราที่เหมาะสมแล้ว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/cbm-set-reduce-interest-rates-if-needed.html