เวียดนามเผยกลางเดือนเม.ย. สินเชื่อโต 3.34%

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 16 เม.ย. การเติบโตของสินเชื่อ ขยายตัวมาอยู่ที่ 3.34% เมื่อเทียบกับปลายปี 2563 และเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยอัตราการเติบโตภายในสิ้นเดือนมี.ค. อยู่ที่ 2.93% เมื่อเทียบกับปลายปีที่แล้ว เป็นมูลค่าราว 411 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในแค่ 2 สัปดาห์ การเติบโคของสินเชื่อก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.41 จุด ทั้งนี้ สถาบันสินเชื่อและธนาคาร ทำการปรับโครงสร้างการชำระหนี้ให้กับลูกค้า จำนวน 262,000 ราย ด้านยอดสินเชื่อคงค้างในระบบโดยรวมอยู่ที่ 15.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่จำนวนลูกค้า 660,000 ราย มีเงินกู้ที่มีอยู่รวมกันอยู่ที่ 55.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้รับการชะลอการชำระหนี้และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาระดับของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 4% ในปี 2564 และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-credit-growth-expands-by-334-by-mid-april-317092.html

ธนาคารกลางกัมพูชารายงานสถานการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ภายในประเทศประจำเดือนธันวาคม 2020 อยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวแสดงถึงความมีเสถียรภาพมากขึ้นในส่วนของราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อภายในท้องถิ่น โดยธนาคารกลางกล่าวว่า CPI ของเดือนธันวาคมลดลงเหลือร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลง และราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันอยู่ที่ 4,069 เรียลต่อดอลลาร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนพฤศจิกายน 2020 แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกัมพูชาได้ทำงานอย่างหนักในการลดอำนาจค่าเงินดอลลาร์ลงเพื่อทำการควบคุมและเป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50832887/central-bank-december-data-indicates-an-increase-in-purchasing-power/

ไตรมาส 1 ปี 64 เศรษฐกิจเวียดนามโต 4.48%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2564 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 4.48% เป็นผลมาจากการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดี ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ขยายตัว 3.16% ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 6.3% และภาคบริการ 3.34% โดยทั้ง 3 ภาคเศรษฐกิจมีส่วนผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ 8.34% 55.96% และ 35.7% ตามลำดับ ภาคบริการมีการขยายตัวในเชิงบวก เนื่องจากผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก กิจกรรมการส่งออกและนำเข้ากลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าราว 152.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนามในไตรมาสแรก ยังคงมีเสถียรภาพและอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ประกอบกับควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ การควบคุมการระบาดของไวรัส และดำเนินการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ตลอดจนช่วยเหลือภาคเอกชนและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนของภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/915081/vietnamese-economy-expands-448-per-cent-in-q1.html

เวียดนามคาดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 3.5% ปี 64

บริษัทหลักทรัพย์ Viet Dragon Securities (VDSC) เปิดเผยว่าราคากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเวียดนาม ปี 2564 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าที่สมัชชาแห่งชาติได้ตั้งเป้าไว้ที่ 4% อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเวียดนามดำเนินมาตรการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของเงินเฟ้อ รวมถึงดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข็มงวด ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาทางด้านอุปทาน พบว่าสถานการณ์การผลิตของกลุ่ม OPEC และพันธมิตรอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่หินดินดานของสหรัฐฯ อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลไบเดน ในขณะเดียวกัน ทางฝั่งอุปสงค์ ความต้องการนำเข้ายังไม่ฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด แต่มีสัญญาว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตและคาดว่าจะสูงกว่าทางฝั่งอุปทาน นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เวียดนาม ปี 2563 เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี สาเหตุหลักที่ทำให้ดัชนีปรับตัวมาจากราคาของกลุ่มอาหารที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีนี้

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-inflation-expected-to-rise-to-35-in-2021-316245.html

เงินเฟ้อชะลอตัวแต่ยังอยู่ในระดับที่สูง

 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรชาวเวียงจันทน์จำนวนมากกล่าวว่ารายได้ของพวกเขาไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ราคายังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ค่าครองชีพในการดำเนินชีวิตยังคงสูงทำให้คุณภาพการชีวิตของพวกเขายังคงยากลำบาก ตามรายงานข้อมูลจากสำนักงานสถิติสปป.ลาว ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ 113.95 จุดในเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 2.01 เมื่อเทียบกับปี 63 ชะลอตัวจากเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 3.19 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งค่าเงินกีบที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อยังคงเติบขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_32.php

แบงก์ชาติเวียดนามตั้งเป้าสินเชื่อ 12% ในปี 64

ในปี 2564 ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ 12% ใกล้เคียงกับระดับเดียวกันของปีที่แล้วที่ 11-12% สิ่งนี้เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในปี 2564 ที่กำหนดไว้ในหนังสือเวียนฉบับ No.01/CT-NHNN โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ แบงก์ชาติเวียดนาม คาดว่าจะยังคงควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่า 4% เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในขณะที่ ภาคธนาคารมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพสินเชื่อ รวมถึงช่วยเหลือธุรกิจและผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติเวียดนาม ได้เน้นถึงความสำคัญในเรื่องการปรับโครงสร้างสถาบันสินเชื่อ โดยเฉพาะระบบธนาคารที่อ่อนแอ และแก้ไขปัญหาหนี้เสีย นอกจากนี้ เมื่อปี 2563 แบงก์ชาติเวียดนามได้หั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ครั้งที่ 4 เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-cbank-targets-credit-growth-at-12-in-2021-315835.html

เวียดนามคาดดัชนีราคาผู้บริโภค ปี 64 ต่ำกว่า 4%

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาม ถือเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่สำคัญ และคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 4% ในปี 2564 เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศจะฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ 2.91% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในส่วนของดัชนี CPI ปี 2563 ขยายตัว 3.23 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้จากสมัชชาแห่งชาติที่ 4% ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อขยายตัว 2.31% ทั้งนี้ ถึงแม้จะเผชิญกับการระบาดของโรคไวรัสครั้งใหญ่ของโลก ไข้หวัดหมูแอฟริกันและภัยธรรมชาติในปี 2562 แต่ว่าเวียดนามยังคงประสบความสำเร็จในแง่ของเศรษฐกิจ การดำเนินงานที่ดีของภาครัฐฯ และการควบคุมทางด้านอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ เรื่องวัคซีนโควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและในประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-consumer-prices-forecast-to-stay-below-4-in-2021-315763.html

NA อนุมัตินโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและกฎหมายเพิ่มเติม 5 ฉบับ

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติสมัยที่ 10 (NA) สมัยสามัญครั้งที่ 8 สิ้นสุดลงในวันอังคารหลังจากอนุมัตินโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและกฎหมาย 5 ฉบับ ช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาสมาชิกสภานิติบัญญัติได้ถกเถียงหารือเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล รวมถึงเรื่องภาระหนี้ที่เกิดขึ้นจากดำเนินนโยบายต่างๆในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19  ในปีนี้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19  และคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.3 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.72 ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลยังได้รับการร้องขอของสมาชิกให้เพิ่มการผลิตทางการเกษตรเพื่อการส่งออกในขณะที่ลดการนำเข้าให้น้อยที่สุดเพื่อเป็นการบรรเทาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้มีการอนุมัติเพิ่มเติมกฎหมาย 5 ฉบับเพื่อให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_225.php

เวียดนามเผยเงินเฟ้อเดือนก.ย.ชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี เหลือ 0.12%

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้วและร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2562 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 6 ใน 11 รายการที่มีผลต่อเงินเฟ้อ ชี้ให้เห็นถึงราคาในกลุ่มการศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน CPI ในไตรมาสที่สาม ขยายตัวร้อยละ 3.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาทองคำในประเทศยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดไปยังทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำในเดือนก.ย.ลดลงร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.37 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.และร้อยละ 30.33 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-september-inflation-slows-to-5-year-low-at-012-314350.html

ข้อมูลด้านค่าครองชีพภายในประเทศกัมพูชาขัดกับความเชื่อมั่นในท้องถิ่น

แรงงานในพื้นที่กล่าวว่ากำลังประสบกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ต่างจากรายงานด้านราคาสินค้าจำพวกอาหาร ค่าขนส่ง และค่ารักษาพยาบาล ที่มีรายงานว่ายังคงมีเสถียรภาพ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำประมาณร้อยละ 2 ต่อปีจนถึงปี 2022 เช่นเดียวกับรายงานราคาอาหารล่าสุดของ World Food Programme สรุปว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2019 ถึงเดือนสิงหาคม 2020 ในกัมพูชาราคาอาหารยังคงค่อนข้างคงที่สำหรับสินค้าอาหารหลักส่วนใหญ่ ซึ่ง COVID-19 และผลจากการเลิกจ้างแรงงานในหลายภาคส่วนส่งผลทำให้อุปสงค์ภายในประเทศลดลงร่วมด้วย โดยนักวิเคราะห์เศรษฐกิจกล่าวว่าระดับเงินเฟ้อควรอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 0 ถึง 5 และควรอยู่ในช่วงร้อยละ 2 ถึง 3 ดังนั้นค่าครองชีพในกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้การควบคุม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767708/cost-of-living-data-goes-against-local-sentiment/