“เวียดนาม-รัสเซีย” ลงนาม MOU ที่ประชุม SPIEF 2023

บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย ‘Rosseti’ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับบริษัท National Power Transmission Corporation (EVNNPT) ซึ่งเป็นบริษัทรองของกลุ่มการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) เพื่อกลับมาดำเนินกลยุทธ์ระยะยาว หลังจากหยุดการดำเนินงานชั่วคราวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทั้งสองบริษัทตกลงที่จะพัฒนาโครงการร่วมกันตามศักยภาพของแต่ละฝ่าย ตลอดจนแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีและดิจิทัล การฝึกอบรมบุคลากรและความปลอดภัยในการทำงาน นอกจากนี้ บริษัทพลังงานรัสเซีย จะช่วยเหลือบริษัทพลังงานเวียดนามในการปรับปรุงสายส่งไฟฟ้าและการเชื่อมต่อไฟฟ้าแรงสูงข้ามชาติจากการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-russian-power-companies-sign-mou-at-spief-2023/254854.vnp

กัมพูชาคาดญี่ปุ่นจะเป็นพันธมิตรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

ญี่ปุ่นยังคงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกัมพูชาสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต กล่าวโดย Chea Serey รองผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่น ซึ่งความร่วมมือของญี่ปุ่นมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมฟินเทค และอุตสาหกรรมการเกษตรอย่าง AgriTech ที่ยังคงมีโอกาสเติบโตจากการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันบริษัท Soramitsu จากทางญี่ปุ่น ได้ร่วมพัฒนาสกุลเงิน “Bakong” ในการให้หบริการชำระเงินดิจิทัลที่ริเริ่มโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมระหว่างธนาคารง่ายขึ้น และถือเป็นการลดการใช้เงินสด นอกเหนือจาก Soramitsu แล้ว บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งรวมถึง Nippon Express ซึ่งเป็นบริษัทด้านขนส่งและโลจิสติกส์, Oji Group บริษัทบรรจุภัณฑ์ และ บริษัทต่างๆ ยังได้ดำเนินกิจการในกัมพูชาและมีความพร้อมในการให้ความร่วมมือกับทางการในการพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาให้เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501298087/japan-key-partner-in-digital-economy-drive/

‘Apple’ มองเวียดนามขึ้นแท่นตลาดร้อนแรงในเอเชีย

บริษัทยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีสหรัฐฯ ‘แอปเปิล’ (Apple) ได้เปิดตัวร้านค้าออนไลน์ในเวียดนาม เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกของเวียดนามที่มีโอกาสซื้อผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลโดยตรง การเปิดตัวในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากมีการเปิดร้านค้าปลีกแห่งแรกในอินเดีย ทำให้บริษัทรับทราบถึงความต้องการของตลาดเกิดใหม่ โดยตลาดต่างๆ ได้แก่ เวียดนาม อินเดียและอินโดนีเซีย เป็นตลาดที่มีความสำคัญมากขึ้นแก่แอปเปิล เนื่องจากตลาดจีนชะลอตัวลง ทั้งนี้ คุณ Chiew Le Xuan นักวิเคราะห์ของ Canalys มองว่าการเปิดร้านค้าออนไลน์ของแอปเปิลในเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ต้องการที่จะเชื่อมโยงกับตลาดเกิดใหม่มากขึ้น และยังมุ่งมั่นในการเข้ามาทำธุรกิจในภูมิภาคในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทั้งการส่งเสริมการจัดจำหน่ายและเครือข่ายผู้ค้าปลีก โดยเฉพาะตลาดมาเลเซีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-emerges-as-a-rising-market-for-apple-post1021861.vov

“แอปเปิล” เตรียมเปิดร้านออนไลน์แห่งแรกในเวียดนาม สัปดาห์หน้า!

บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ “แอปเปิล” เตรียมเปิดสโตร์ในเวียดนามที่จะนำเสนออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และการให้บริการต่างๆ โดยเฉพาะการให้บริการจัดส่งสินค้าและการให้บริการสำหรับลูกค้าแต่ละคน โดยลูกค้าชาวเวียดนามสามารถซื้อไอโฟน (iPhone), ไอแพด (iPads) และแมคบุ๊ค (MacBooks) รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ของแอปเปิลเวียดนามได้ ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. เป็นต้นไป ทั้งนี้ การดำเนินการของบริษัทเกิดขึ้นหลังจากแอปเปิลเพิ่งเปิด Apple Store สาขาแรกในอินเดียและมุมไบ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าการเปิดร้านออนไลน์แห่งแรกของแอปเปิลในเวียดนาม นับว่าเป็นก้าวสำคัญของการเปิดร้านค้าปลีกในประเทศ

ที่มา : https://vietreader.com/news/83865-apple-to-open-first-online-shop-in-vietnam-next-week.html

‘ถอดบทเรียนเวียดนาม’ การเมืองนิ่ง เศรษฐกิจรุ่ง

ถ้าจะพูดถึงเพื่อนบ้านอาเซียนในฝั่งอินโดจีนเวียดนามถือว่ามีพัฒนาการมากที่สุด การเขียนถึงเวียดนามในวันนี้นับเป็นเวลาอันเหมาะสม ใกล้ถึงวันครบรอบ “ไซ่ง่อนแตก” 30 เม.ย.2518 ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์เวียดนามยุคใหม่  เมื่อแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้หรือเวียดกงเข้ายึดกรุงไซ่ง่อนของเวียดนามใต้ สหรัฐผู้สนับสนุนแตกกระเจิงกลับประเทศ นำไปสู่การรวมชาติในนาม “สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม” ในวันที่ 2 ก.ค.2519

ช่วงรวมชาติได้ใหม่ๆ เวียดนามยังเป็นประเทศยากจนเพราะเพิ่งผ่านศึกสงคราม จากการที่เวียดนามมีสหภาพโซเวียตเป็นลูกพี่ใหญ่ แน่นอนว่าต้องเป็นศัตรูกับสหรัฐ (ก็เพิ่งไล่เขากลับประเทศไปหมาดๆ) ส่วนจีนที่เป็นเพื่อนบ้านก็ไม่ได้ญาติดีกัน กับเพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมองหน้ากันได้ไม่สนิทนัก ตอนตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ก็เคยถูกเวียดนามวิจารณ์

แต่สถานการณ์เปลี่ยนเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามตัดสินใจปฏิรูปประเทศใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแบบตลาดทีละน้อยๆ ปี 2530 เวียดนามออกกฎหมายว่าด้วยกฎหมายการลงทุนของต่างชาติ ความเปลี่ยนแปลงในทางบวกค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างที่เราเห็นในวันนี้ นักลงทุนต่างชาติแห่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม ที่น่าสนใจคือธุรกิจค้าปลีกเพราะเป็นตัวชี้วัดว่าไลฟ์สไตล์คนเวียดนามเปลี่ยนไป ชนชั้นกลางเติบโตขึ้น รายได้มากขึ้น พร้อมจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการเพื่อความสะดวกสบายในชีวิตไปจนถึงเพิ่มความหรูหรา นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นประเทศที่ประชากรหนุ่มสาวมาก พวกเขาสนใจในเทคโนโลยี ยังไม่เข้าสู่สังคมสูงวัยเหมือนไทย โอกาสที่เศรษฐกิจเติบโตจึงมีอีกมาก เรียกได้ว่า เข้าไปลงทุนทำอะไรในเวียดนามตอนนี้มีแต่ได้กับได้

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/politics/1064510

สื่อสิงคโปร์! ย้ำเวียดนามมีศักยภาพการเติบโตของฟินเทค

‘AsiaOne’ สื่อชื่อดังของสิงคโปร์ เผยแพร่บทความ “Vietnam: Can it become the Fintech Mecca of the east?” โดยเน้นว่าฟินเทคของเวียดนามได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดใหม่ และยังเติบโตสูงขึ้นจากกรอบกฎหมายใหม่ ในขณะเดียวกัน โครงการปรับเปลี่ยนประเทศสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ของเวียดนามในปี 2565 เป็นตัวเร่งให้ไปสู่ฟินเทค ทั้งนี้ ผลจากการบรรลุความสำเร็จขององค์กรฟินเทคที่สามารถเชื่อมโยงกับภาคธนาคารได้ ทำให้เกิดการสร้างความผสมผสานความร่วมมือระหว่างองค์กรได้อย่างเข็มข้นขึ้น นอกจากนี้ สมาคมธนาคารเวียดนาม (VNBA) เป็นแนวหน้าในการนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่อุตสาหกรรมบริการทางการเงินของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าบริการ SMS หรือส่งเสริมผู้ให้บริการอย่าง Visa และ Mastercard ลดค่าธรรมเนียมหลายประเภทของธนาคารเวียดนามในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/singaporean-site-highlights-vietnams-potential-for-fintech-growth/250293.vnp

คาดอุตสาหกรรมเกมมือถือกัมพูชาโตแตะ 34.28 ล้านดอลลาร์

หลังจากประชาชนคนกัมพูชาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีมือถือ ควบคู่ไปกับจำนวนประชากรในกลุ่มเยาวชนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมกลุ่มเกมมือถือขยายตัวอย่างรวดเร็วในกัมพูชา โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวกว่าร้อยละ 8.54 ซึ่งภายในปี 2027 คาดว่ามูลค่าตลาดภายในประเทศจะสูงถึง 47.57 ล้านดอลลาร์ โดยในปีนี้คาดว่ารายได้ของอุตสาหกรรมเกมมือถือจะอยู่ที่ประมาณ 34.28 ล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจาก statista.com ซึ่งได้คาดการเพิ่มเติมว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2027) จำนวนผู้บริโภคเกมมือถือในประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.1 ของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501230311/kingdoms-mobile-games-revenue-may-reach-34-28m/

‘ธนาคารดิจิทัลเวียดนาม’ ระดมทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ

จากข้อมูลรายงานของ TechInAsia เปิดเผยว่าธนาคารดิจิทัลเวียดนาม “Timo” ประกาศระดมทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระดับโลกอย่าง Square Peg ตลอดจนซิสโก้และจังเกิล เวนเจอร์ส (Jungle Ventures) , Granite Oak, Phoenix Holdings และนักลงทุนอิสระรายอื่นๆ ยังได้เข้าร่วมในการระดมทุนครั้งนี้

ทั้งนี้ การระดมทุนดังกล่าว ธนาคาร Timo จะนำเงินไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีและมุ่นเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์เฉพาะด้านสำหรับตลาดเวียดนาม นอกจากนี้ ตามรายงานของ McKinsey & Company ชี้ว่าผู้ใช้บริการจากบริษัทฟืนเทคในเวียดนาม เพิ่มขึ้นจาก 16% ในปี 2560 เป็น 56% ในปี 2564 ซึ่งความนิยมของการใช้ E-wallets และ Fintech ในเวียดนามนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/sci-tech-environment/vietnamese-digital-banking-startup-gets-20-million-usd-809687.html

พาณิชย์พร้อมใช้เทคโนโลยีรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP หนุนส่งออก

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ระบบออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP ระบบการตรวจสอบคุณสมบัติด้านถิ่นกำเนิดของสินค้า หรือ ROVERs และระบบการขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต (Self-Certification) เพื่อใช้ประโยชน์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ได้พร้อมเปิดให้บริการแล้ว ซึ่งเป็นการยกระดับการให้บริการให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และได้เริ่มเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ระบบออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP ที่กรมฯ ได้พัฒนาขึ้นเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทยและช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง ในอีกทางหนึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทย เนื่องจากตลาด RCEP มีขนาดใหญ่และมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก ซึ่งจะช่วยผลักดันการส่งออกของไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังได้ประโยชน์ในด้านการนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบจากประเทศสมาชิกในกลุ่ม RCEP เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าไทยโดยใช้กฎการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าและส่งออกไปยังประเทศสมาชิกในกลุ่ม RCEP เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ณ ประเทศปลายทาง โดยผู้ประกอบการไทยสามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่มีความหลากหลายและสามารถนำมาสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าได้จากทุกประเทศที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม RCEP ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตและสร้างแต้มต่อให้แก่ในตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/59593/

ตลาดเรียนออนไลน์เวียดนามโต 3 พันล้านดอลล์

เว็บไซต์นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ในเวียดนาม แถมเป็นการแพร่ระบาดในอัตราที่รวดเร็วขึ้น แต่กลับทำความต้องการเรียนหนังสือทางออนไลน์กับสถาบันการศึกษาชื่อดังเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้มูลค่าทางการตลาดของตลาดเทคโนโลยีด้านการศึกษาทะยานถึง 3,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 2,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2562
ทั้งนี้ ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดเทคโนโลยีด้านการศึกษาของเวียดนามคือ “เอฟพีที” ผู้ให้บริการด้านไอทีในเวียดนาม โดยใช้เทคโนโลยี AI ในการส่งประสบกาณณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียนแต่ละคน
นอกจากนี้ ภายใต้แรงกดดันต้องมีการศึกษาที่ดีขึ้น แรงงานในเวียดนามจะได้รับการสนับสนุนให้ติดอาวุธทางปัญญารวมทั้งฝึกอบรมให้มีทักษะด้านดิจิทัล โดยเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามประกาศเป้าหมายเพื่อทำให้การศึกษาทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็น 90% สำหรับการเรียนระดับมหาวิทยาลัย และ 80% สำหรับการเรียนระดับมัธยม และการอบรมวิชาชีพ ภายในปี 2573
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/978384