EIU มองภายในปี 2024 เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตต่อเนื่อง

หน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ: Economist Intelligence Unit (EIU) คาดการณ์ว่ากัมพูชาจะเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจมีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ภายในช่วงปี 2024 โดยคาดว่าบรูไน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม จะมีการเติบโตในระดับสูงภายในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับ เอธิโอเปีย ยูกันดา และแทนซาเนีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตลาดเกิดใหม่ กล่าวโดย Tom Rafferty หัวหน้าฝ่ายพยากรณ์และเศรษฐศาสตร์ระดับโลกของ EIU สำหรับการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ในปีหน้า ซึ่งสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะประสบกับการชะลอตัวแต่ยังไม่ถึงขั้นถดถอย ในขณะเดียวกัน ภาวะเงินฝืดในญี่ปุ่นคาดว่าจะสิ้นสุดในปีหน้า และเศรษฐกิจของจีนถูกมองว่าอยู่ในสถานะอ่อนแอ แต่ยังคงมีเสถียรภาพ ด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเชียคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการส่งออก อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานที่ปรับตัวดีขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501368936/eiu-sees-cambodia-as-one-of-the-worlds-fastest-growing-economies-in-2024/

ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ ‘เวียดนาม’ ดาวรุ่งแห่งเอเชีย

ศาสตราจารย์ คาร์ล เทเยอร์ (Carl Thayer) นักวิชาการด้านการศึกษาในเวียดนาม ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวกับปัจจัยหรือสาเหตุใดที่จะผลักดันให้เวียดนามกลายมาเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่แห่งเอเชีย โดยเรื่องราวจะมุ่งเน้นไปที่การเติบโตของเวียดนามในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ ด้วยอัตราการเติบโตทางการค้าเป็นตัวเลขสองหลัก และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่มีนัยยะสำคัญ ทั้งนี้ ธนาคารโลก (WB) แสดงความคิดเห็นว่าเวียดนามยังคงเป็นจุดสว่างทางด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ชี้ว่าเวียดนามกลายมาเป็นดาวเด่นของเศรษฐกิจโลก

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-is-a-rising-star-in-asia-professor-2187344.html

‘เวียดนาม’ เป็น 1 ใน 6 ตลาดท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดของไทย

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มาจากประเทศในเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย จีน อินเดียและเวียดนาม เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เพิ่มขึ้น จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในปีนี้ ทั้งนี้ จากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้าประเทศไทยถึง 5.3 ล้านคนในปีนี้ ตามมาด้วยชาวซาอุดีอาระเบีย 150,000 คน และชาวยุโรป 6 ล้านคน นอกจากนี้ นายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองว่าการททท. กล่าวในงาน “Amazing Thailand Festival 2023” ที่จัดขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ว่าเวียดนามเป็น 1 ใน 6 ตลาดท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แสดงให้เห็นจากข้อมูลพบว่าไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9.47 ล้านคน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม 84,221 คน และหากพิจารณาข้อมูลสะสมตั้งแต่ต้นปีนี้ ประเทศไทยทำรายได้จากการท่องเที่ยว อยู่ที่ราว 391 พันล้านบาท (11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-among-six-largest-thai-tourism-markets-2146203.html

“สหรัฐฯ” เร่งนำเข้าชิปจากเวียดนามและตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย

จากข้อมูลของสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าตั้งแต่ต้นปี สหรัฐอเมริกานำเข้าผลิตภัณฑ์ชิปเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากกลุ่มประเทศในเอเชีย 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินเดียและกัมพูชา เป็นต้น โดยจากข้อมูลในเดือน ก.พ. สหรัฐฯ นำเข้าชิปเพิ่มขึ้น 17% คิดเป็นมูลค่า 4.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และหากคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าจากตลาดเอเชียอยู่ที่ 83% ของตลาดทั้งหมด โดยเฉพาะตลาดอินเดียที่สหรัฐฯ นำเข้าอย่างก้าวกระโดด มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น 34 เท่า เป็นมูลค่าที่ 152 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ตลาดเวียดนามและไทยต่างครองส่วนแบ่งทางการตลาดของการผลิตชิปในสหรัฐฯ ที่มีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนทางการค้าเพิ่มขึ้น 75% และ 62% ตามลำดับ และในปัจจุบัน เวียดนามมีสัดส่วนการนำเข้าชิปจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่า 10% เป็นเวลา 7 เดือนติดต่อกัน แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ ได้กระจายห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยทำการย้ายผู้ผลิตที่อยู่ในตลาดดั้งเดิมไปยังตลาดเกิดใหม่

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/us-increases-chip-imports-from-vietnam-and-emerging-asian-markets-2129952.html

‘ภาวะเงินเฟ้อ’ กดดันประเทศในเอเชีย ใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้น

รายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ฉบับใหม่ ระบุว่าแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นของหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงสปป.ลาว ผลักดันให้มีการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่มีผลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอกและทิศทางการส่งออกของภูมิภาคที่แย่ลง ทั้งนี้ สปป.ลาว มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในเอเชีย และคนจำนวนมากมีรายได้ที่ต่ำ ทำให้ต้องหันไปซื้อสิ้นค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

อีกทั้ง สำนักงานสถิติของสปป.ลาว เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อ ในเดือน ก.พ.2566 เพิ่มขึ้น 41.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. ที่ 40.3% การปรับเพิ่มขึ้นของราคาในครั้งนี้ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (49.3%) ในขณะเดียวกัน แขวงคำม่วน มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดของประเทศ (49.82%) รองลงมาแขวงเวียงจันทน์และแขวงหลวงพระบาง เป็นต้น

ที่มา : https://vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Inflation48.php

สื่ออินเดีย ชี้เวียดนามก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแห่งใหม่ของเอเชีย

บทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ “THE STAT READE TIMES” เปิดเผยว่าเวียดนามจะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย โดยเฉพาะเทคโนโลยีและเครื่องแต่งกาย โดยบทความข้างต้นระบุว่าบางประเทศในเอเชียยังอยู่ในช่วงค่อยๆ ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของไวรัส แต่เวียดนามยังคงมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และ GDP ของประเทศ เร่งขยายตัว 8.02% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 นับเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้ง เวียดนามมีแรงงานที่สามารถแข่งขันได้และต้นทุนการผลิตต่ำ ประกอบกับประชากรวัยหนุ่มสาว จำนวน 97 ล้านคน โดยสัดส่วนประชากร 70% อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 35 ปี ซึ่งเป็นกำลังแรงงานจำนวนมากสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต

ที่มา : https://en.nhandan.vn/indian-newspaper-vietnam-could-be-asias-next-industrial-hotspot-post121907.html

การท่องเที่ยวเอเชียฟื้นตัวสูงสุดในโลก!! ฝ่ายวิเคราะห์คาดดัน GDP พุ่งได้ถึง 35% ช่วง 2-3 ปี

จากรายงาน “Travel & Tourism Economic Impact” พบว่าในปี 2020 ที่โลกกำลังต่อสู้กับ COVID-19 รายได้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเอเชียหายไปกว่า 59% สำหรับในปัจจุบันเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังฟื้นตัวขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในนั้นคือการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชีย โดยจากรายงานพบว่าการเดินทางเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียเติบโตขึ้นถึง 71% ซึ่งอาจเป็นผลมาจากมาตรการต่าง ๆ ได้เริ่มผ่อนคลายทำให้ออกนอกประเทศได้ ซึ่งประเทศที่เริ่มผ่อนคลายก่อนใครเป็นอันต้นๆก็คือ อินเดียและออสเตรเลีย ตามด้วยมาเลเซียและไทย รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน อย่างไรก็ดีสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (WTTC) คาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวในภูมิภาคในปี 2023-2024 จะขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2025 ที่การท่องเที่ยวจะทำให้ GDP ของภูมิภาคเอเชียเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 35% เรียกได้ว่าเป็นการเติบโตที่มากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งนี้ ยังมีรายงานคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ 2.7% ตั้งแต่ปี 2022 ถึง 2032 ซึ่งในส่วนของการท่องเที่ยวที่มีต่อเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ยต่อปี 5.8% และสำหรับในภูมิภาคเอเชียการท่องเที่ยวทำให้ GDP คาดว่าจะเติบโตที่อัตราเฉลี่ยต่อปีที่ 8.5% ฉะนั้นแล้วเมื่อการท่องเที่ยวครึกครื้นเศรษฐกิจโลกคึกคัก ความต้องการของ “แรงงาน” ก็จำเป็นจะต้องเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.thebusinessplus.com/travelasia/

‘ADB’ หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจมาเลเซียและเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจเวียดนามและมาเลเซียในปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสที่ 3 ขณะเดียวกันปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียลงมาสู่ระดับ 7.0% ในปีนี้ และ 5.3% ในปี 2565 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.1% และ 5.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ ตามรายงาน “Asian Development Outlook” ระบุว่าในกลุ่มประเทศเอเชีย จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง และระดับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ไวรัสตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “โอมิครอน” เสี่ยงคุกคามเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม คาดว่าจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.0% ในปีนี้ จากที่คาดการณ์เดิมที่ระดับ 3.8% ก่อนที่จะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของมาเลเซีย คาดว่าจะขยายตัว 3.8% ในปีนี้ และ 5.9% ในปีหน้า

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/ADB-slashes-Malaysia-and-Vietnam-annual-growth-forecasts

ผู้นำเอเชีย ยุโรป สนับสนุนการฟื้นตัวหลังเกิดโรคระบาด

ผู้นำจากสปป.ลาวและอีก 30 ประเทศหารือเกี่ยวกับการควบคุมการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการฟื้นตัวของสังคมและเศรษฐกิจ ขณะเข้าร่วมการประชุมหุ้นส่วนรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 11 (ASEP 11) ทางวิดีโอลิงก์ ดร.ไซสมพร พรหมวิหาร ประธานรัฐสภาสปป.ลาว กล่าวในที่ประชุมว่า “เสถียรภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นเกี่ยวพันกัน ในขณะที่สันติภาพและความมั่นคงเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศเพื่อสนับสนุนสิ่งนี้ ลาวให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ” รัฐบาลได้รวมเป้าหมายเหล่านี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะเวลา 5 ปีสำหรับปี 2564-2568 และวิสัยทัศน์ปี 2030 เพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่จะนำลาวออกจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_AsiaEurope
227.php

ยอดค้าเวียดนามกับเอเชีย ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ แตะ 313 พันล้านเหรียญสหรัฐ

เอเชียคงเป็นคู่ค้าสำคัญของเวียดนาม ตามตัวเลขสถิติของกรมศุลกากรเวียดนามการค้า พบว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมกันทั้งสิ้น 313 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.7% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แบ่งเป็นการส่งออก 115.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14% และการนำเข้า 197.77 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 32.7% เวียดนามขาดดุลการค้ามากกว่า 82 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดภูมิภาค ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ สินค้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เหล็กและเหล็กกล้า วัตถุดิบสำหรับเสื้อผ้าและสิ่งทอ เครื่องจักรและอะไหล่ เป็นต้น โดยจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในเอเชีย มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 119.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาเกาหลีใต้ อาเซียนและญี่ปุ่น 56.39, 50.97 และ 30.91 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-trade-with-asia-reaches-over-us313-billion-in-nine-months-900573.vov