IMF เตือนเศรษฐกิจเมียนมาอาจหยุดโตในปี 64

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยเศรษฐกิจเมียนมาคาดเติบโตช้าลงในปีนี้เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 แต่น่าจะพุ่งขึ้นในปีหน้า  ในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือ 0.5% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.2% จากปีที่แล้ว กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเอสเอ็มอีและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เสียงจะไก้รับผลกระทบ ทั้งนี้คาดว่าจะฟื้นตัวในปีหน้า 7.9% จากผลกระทบคาดว่าปัญหาความยากจนจะเพิ่มขึ้น ด้านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งเมื่อต้นปีนี้ที่ผ่านมาคาดการณ์ว่าการเติบโตของเมียนมาจะชะลอตัวลงเหลือ 1.8% ในปีงบประมาณที่ 63 ส่วนปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็น 6% ทั้งนี้ IMF ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือจำนวน 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/imf-projects-muted-growth-2021-economy.html

การส่งออกยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม ปี 64

หลังจากเติบโตไปในทิศทางที่เป็นบวก 6.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในปี 2563 ภาคการส่งออกคาดว่ายังคงเป็นแรงคับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้ นายเหงียน ซวน ทัญ (Nguyen Xuan Thanh) นักเศรษฐศาสตร์และที่ปรึกษาสำนักงานนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเครือข่ายตลาดส่งออก จะช่วยให้เวียดนามชดเชยจากการสูญเสียการส่งออกไปยังตลาดดั้งเดิมที่ลดลง อาทิ สหภาพยุโรปหรืออาเซียน อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังสหรัฐฯ จะเผชิญกับอุปสรรคมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากเวียดนามเกินดุลการค้า 62.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว แต่ด้วยข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) จะช่วยให้การค้าระหว่างประเทศดีขึ้น ทั้งนี้ ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) เปิดเผยว่ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ควรมีบทบาทมากขึ้นในการทำกิจกรรมระหว่างช่วงการบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามเป็นสมาชิกอยู่ รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมการค้าให้แก่ตลาดที่มีศักยภาพ และนำเทคโนโลยีมาใช้กับการค้าและอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/exports-set-to-remain-growth-driver-for-vietnam-in-2021-315931.html

เวียดนามส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ สูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดฟิลิปปินส์ในปีที่แล้ว ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีมูลค่าเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทางสำนักงานดังกล่าว ตั้งข้อสังเกตว่าฟิลิปปินส์เป็นผู้บริโภคข้าวเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ด้วยปริมาณการนำเข้า 2.22 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% และ 19.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ นอกจากเรื่องปริมาณการส่งออกข้าวจำนวนมากไปยังฟิลิปปินส์แล้วนั้น ราคาส่งออกข้าวไปยังตลาดดังกล่าว ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยอยู่ที่ 476 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 14.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ ตลาดฟิลิปปินส์ยังคงเป็นผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยสัดส่วน 35.5% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด และ 33.9% ของมูลค่าการส่งออกข้าวรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-rice-exports-to-the-philippines-reached-over-us1-billion-831365.vov

รัฐเล็งช่วยค่าจ้างแรงงานท่องเที่ยวคนละครึ่งพยุงกิจการ

“พิพัฒน์” เตรียมคุย “สุชาติ” ทำโค-เพย์ จ่ายค่าจ้างเดือนละครึ่ง 7,500 บาท หวังช่วยเอกชนท่องเที่ยวทั้งระบบจ้างงานเอาไว้ ไม่ต้องปิดกิจการจากผลกระทบของไวรัสโควิด นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้จะหารือกับนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือแรงงานภาคการท่องเที่ยวทั้งระบบที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เบื้องต้นรัฐบาลอาจนำแนวทางการร่วมจ่ายเงินค่าจ้าง (โค-เพย์) มาใช้ โดยรัฐบาลและผู้ประกอบธุรกิจจะร่วมกันจ่ายค่าจ้างให้พนักงานคนละครึ่ง ฝ่ายละ 7,500 บาทต่อเดือน เพื่อพยุงการจ้างงานเอาไว้ในระบบต่อไป หลังจากตอนนี้มีผู้ประกอบธุรกิจหลายรายได้รับความเดือดร้อนและอาจจำเป็นต้องปิดกิจการลงหากไม่มีแนวทางมาช่วยเหลือ ทั้งนี้ในการช่วยเหลือรูปแบบของการร่วมจ่ายเงินค่าจ้างรายเดือนนั้น จะกำหนดให้ช่วยเหลือครอบคลุมการจ่ายค่าจ้างสูงสุดรายละไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรัฐและผู้ประกอบธุรกิจจะช่วยกันจ่ายคนละครึ่ง แต่ระยะเวลาที่เหมาะสมนั้น เบื้องต้นยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะช่วยเหลือ 1 ปี หรือเป็นเวลากี่เดือน เพราะต้องพิจารณาวงเงินที่จะใช้ด้วย เช่น วงเงินของกองทุนประกันสังคม หรือขอใช้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหากใช้เงินในก้อนหลังก็ต้องหารือกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/819774

หัวหน้าพรรคปฎิวัติประชาชนสปป.ลาวเรียกร้องให้นักการเมืองเพิ่มความรับผิดชอบทางการเมือง

นายทองลุน สีสุลธิ์ เลขาธิการพรรคปฎิวัติประชาชนสปป.ลาวคนใหม่ ได้เรียกร้องให้ผู้นำพรรคทุกคนเสริมสร้างความรับผิดชอบทางการเมืองและทำตัวเป็นแบบอย่างของผู้นำเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประเทศชาติ แม้ว่าสปป.ลาวจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหลายประการในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาสปป.ลาวยังคงดำเนินตามแนวคิดสังคมนิยม แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลกก็ตาม การกำหนดนโยบายของพรรคมีรากเหง้าจากประเพณีอันดีงามของพรรคและแรงบันดาลใจของประชาชนสปป.ลาวทุกเชื้อชาติเป็นรากฐาน สปป.ลาวได้ดำเนินนโยบายปรับปรุงใหม่เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยว สิ่งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งโครงการลดความยากจนและการพัฒนาการศึกษาของสปป.ลาว ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจสปป.ลาวเติบโตในอัตราเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 5.8 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ GDP ต่อหัวก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามความท้าทายต่อการเติบโตเศรษฐกิจยังรออยู่ข้างหน้าตามกลางบริบทของโลกที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งต้องอาศัยความมุ่งมั่นทางการเมืองที่แข็งแกร่งเพื่อเอาชนะปัญหาทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Party_11.php

ความร่วมมือจากหลายหน่วยงานในการพัฒนาภาคการผลิตยางกัมพูชา

WWF กัมพูชาและกรมการยางกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง (MAFF) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานยางพาราให้เกิดความโปร่งใสและยั่งยืน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (BMZ) ของรัฐบาลเยอรมนี ผ่าน Welthungerhilfe ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีเพื่อการพัฒนาระดับโลกและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาองค์กร BMZ ได้มีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับผู้มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรรายย่อยในกัมพูชา ในเมืองมณฑลคีรี เพื่อส่งเสริมการผลิตยางพาราอย่างยั่งยืน ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของคนในท้องถิ่น โดยผู้อำนวยการ WWF กัมพูชา กล่าวว่าการส่งเสริมการปลูกยางพาราของเกษตรกรรายย่อยอย่างยั่งยืนจะไม่เพียงสร้างงานและรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่น แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาส่งออกยางพาราและต้นยางพารามูลค่ารวมกว่า 482.76 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแบ่งเป็นยาง 340,000 ตันและต้นยางพารา 158,400 ลูกบาศก์เมตร ตามรายงานของกระทรวงเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803833/rubber-production-to-receive-multi-agency-effort-to-improve/

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 แห่ง ในกัมพูชากำลังจะเริ่มส่งกระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากพลังงานแสงอาทิตย์จะเริ่มส่งผ่านกระแสไฟฟ้าในกัมพูชาเร็ว ๆ นี้ จากสถานีใหม่ 4 แห่ง ที่มีกำหนดจะเชื่อมโยงกับกริดในต้นปีนี้ ขณะนี้โครงการทั้ง 4 โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 90 ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ด้านพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าโครงการดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกัมพูชาในปลายปี 2019 สำหรับการก่อสร้าง รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อื่น ๆ ทั่วประเทศ รวมขนาด 110 เมกะวัตต์ (mW) ทั่วกัมพูชา เพื่อช่วยตอบสนองต่อความต้องการในการใช้พลังงานของประเทศในไม่ช้า โดยปัจจุบันกัมพูชาผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานลม โรงไฟฟ้าถ่านหิน การผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์และการนำเข้าพลังงานบางส่วน ซึ่งกัมพูชาผลิตไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 85 ของอุปสงค์ในประเทศ โดยมีการนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803921/four-solar-power-stations-coming-online/

เวียดนามเอาชนะจีน อินเดีย ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตถัดไป

ตามรายงานของ Economist Intelligence Unit (EIU) เผยว่าเวียดนามเป็นจุดหมายปลางทางของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเอเชีย หลังออกจากจีนและอินเดีย ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงเป็นศูนย์กลางการผลิตด้วยต้นทุนต่ำในห่วงโซ่อุปทานของเอเชีย ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเติบโตของประเทศนั้น ได้แก่ ข้อเสนอให้กับบริษัทระหว่างประเทศ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดตั้งหน่วยงานในการผลิตสินค้าไฮเทค ด้วยค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ และผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เป็นต้น อีกทั้ง หน่วยงาน EIU ระบุว่าเวียดนามมีคะแนนมากกว่าทั้งอินเดียและจีน เกี่ยวกับเรื่องนโนบาย FDI นอกจากนี้ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ FTA จะแสดงถึงจุดแข็งของความสัมพันธ์ทางการค้าของเวียดนาม และช่วยลดต้นทุนทางด้านการส่งออกอีกด้วย

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-beats-china-india-to-become-next-manufacturing-hub-831078.vov

นักเศรษฐศาสตร์ คาดเศรษฐกิจเวียดนามเร่งตัวพุ่งในปีนี้

การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตค่อนข้างช้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ประเมินว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเร่งพุ่งสูงขึ้น แค่รอโอกาสที่จะกลับมา ดังนั้น รัฐบาลจึงตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้อยู่ที่ 6.5% เพิ่มขึ้น 2 เท่าของปีที่แล้ว นับว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ สาเหตุจากยังคงมีความเสี่ยงจาก COVID-19 และความขัดแย้งทางการค้า รวมถึงความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองทั่วโลก อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าเวียดนามมีโอกาสอีกมากมายและเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ ประกอบกับโอกาสจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และการหันมานำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ รวมถึงการก่อตั้งของอุตสาหกรรมใหม่และโมเดลธุรกิจ นอกจากนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB), ธนาคารยูโอบี (UOB) และธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 6.3%, 7.1% และ 8.1% ในปีนี้ ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/858071/vietnamese-economy-tipped-to-bounce-back-in-2021.html

รัฐยะไข่ทุ่มเงิน 2 พันล้านจัต สร้างค่ายผู้ลี้ภัย

รัฐยะไข่ใช้เงินไปประมาณ 2.2 พันล้านจัต เพื่อสร้างและดูแลค่ายผู้ลี้ เนื่องจากการสู้รบระหว่างเมียนมาและกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่เริ่มมีความรุนแรงขึ้น เป็นผลให้ผู้ลี้ภัยได้รับความเดือดร้อนและถูกขับออกจากพื้นที่เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัย ดังนั้นงบประมาณ 1.5 พันล้านจัต ถูกใช้สร้างค่ายผู้ลี้ภัยเจ็ดแห่งใน โปนน่าจู้น(Ponnagyun), ระเต่ดอง (Rathedaung), เจาะตอ (Kyauktaw), มเยาะอู้ (Mrauk-U) และ มี่น-บย่า (Minbya) นอกจากนี้ยังใช้ในด้านดูแลสุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจนกว่าจะได้กลับหมู่บ้าน เงินจำนวน 88 ล้านจัตถูกใช้ไปกับค่ายผู้ลี้ภัยในเขตเมืองเจาะตอ และ 423 ล้านจัตถูกใช้สร้างค่ายผู้ลี้ภัยใน Angu Village Group, มเยโบน (Myebon) และยังนำไปใช้ในการสร้างค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองอ้าน (Ann ) อีกเช่นกัน รวมถึงการแบ่งปันอาหารเสื้อผ้า ห้องเรียน และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ สำหรับผู้ลี้ภัย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rakhine-expends-k2-billion-state-budget-refugee-camps.html