รัฐบาลกัมพูชาตั้งกองทุนพิเศษสำหรับรองรับฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวในปีนี้

ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) ได้เริ่มสนับสนุนกองทุนพิเศษมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ให้กับโรงสีและผู้ส่งออกข้าวเพื่อทำการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในกัมพูชาในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวปีนี้ โดยผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าเงินสนับสนุนจะถูกปล่อยออกมาทีละช่วง ซึ่งในช่วงแรกปล่อยออกมาประมาณ 3 ล้านดอลลาร์ แล้วจะค่อยๆกระจายยอดไปในระหว่างการเก็บเกี่ยว โดยเกษตรกรขายข้าวเปลือกให้กับ Amru ในราคาที่ 1,620 เรียลต่อกิโลสำหรับข้าวคุณภาพดีที่สุดและ 1,580 เรียลต่อกิโลสำหรับเกรดรองลงมา ซึ่งรายได้รวมจากการส่งออกข้าวของกัมพูชาแตะ 366.44 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ตามรายงานของ CRF อยู่ที่ 536,035 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชาทำการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ไปยังตลาดเวียดนามอย่างไม่เป็นทางการมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ตามตัวเลขจากกระทรวงเกษตรกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781705/special-fund-keeps-rice-harvests-on-firm-track-despite-heavy-floods/

กัมพูชากังวลการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ของโควิด-19

ภาคธุรกิจในกัมพูชาโดยเฉพาะฝากฝั่งธุรกิจด้านการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเริ่มเห็นถึงผลกระทบจากความกังวลที่อาจจะเกิดการระบาดระลอกที่ 2 ของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการที่รัดกุมในการควบคุมโรค เพราะหากเกิดการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่อาจจะส่งผลทำให้มีธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวเผชิญกับความเสี่ยงที่จะต้องปิดกิจการลงรวมถึงกิจการที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาลได้สั่งปิดสถานบริการความบันเทิงบางส่วน และโรงภาพยนตร์ทำให้คนงานในสถานประกอบการเหล่านั้นตกงานอีกครั้ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781586/possibility-of-second-c-19-wave-causes-deep-concern/

ยันไทยชาติแรกในอาเซียนมี 5G เชิงพาณิชย์ ครอบคลุม EEC เกือบทั้งหมดแล้ว

รองนายกฯ พล.อ.ประวิตร ย้ำประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0 ปลื้มเป็นประเทศแรกในอาเซียนใช้ 5G เชิงพาณิชย์ ยันรัฐบาลจริงจังลุยแผนพัฒนาดิจิทัลฯ หนุนพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เปิดงานสัมมนา “Powering Digital Thailand 2021” จัดโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) ในระหว่างวันที่ 11-14 พ.ย. 2563 ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอาเซียนพัฒนาเทคโนโลยี 5G มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ขณะนี้ครอบคลุมพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก หรือ EEC เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเฉพาะระบบ 5G ระบบคลาวด์และเอไอจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลภูมิภาค จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต นำไปสู่การต่อยอดนวัตกรรมแบบไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1974383

พาณิชย์ นำร่องตั้งกองทุนหนุนการค้าไทย-ลาว สกัดชาติมหาอำนาจรุกหนัก

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สั่งการให้สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD เร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง “กองทุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ไทย-สปป. ลาว” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ระหว่างไทยกับ สปป. ลาว โดยการยกระดับประสิทธิภาพด้านการขนส่งสินค้าข้ามแดน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุนให้แก่นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ไทย และ สปป.ลาว ทั้งนี้ แนวคิดการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกทางการค้าไทย-ลาว เกิดจากการได้ลงพื้นที่พบปะกับนักธุรกิจไทยที่ได้เข้าไปทำการค้าและลงทุนใน สปป.ลาว ซึ่งมักพบปัญหาหลายอย่าง เช่น ต้นทุนในการติดต่อประสานงานในการค้าขายและต้นทุนการขนส่งสินค้าข้ามแดนสูง การขนส่งสินค้าทางเรือ และการจัดการเอกสารการค้าผ่านแดน รวมถึงการขออนุญาตนำเข้าส่งออกใช้เวลานาน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การตรวจคนเข้าเมือง การศุลกากร และการกักกัน มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและมีต้นทุนแฝงที่ค่อนข้างสูง ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อการค้าขายระหว่างกันของไทยและสปป.ลาว

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2434800

หอการค้าฯ เผยเวียดนามควรมีกฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสนับสนุน

ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) กล่าวว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ระลอกใหม่ จะมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมสนับสนุน ดังนั้น หากอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศไม่ได้รับการพัฒนาให้ไปอยู่ในระดับสูงขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากการแปรรูปสินค้า และถึงแม้ว่าเวียดนามจะสามารถดึงดูดเม็ดเงิน FDI ได้หลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐก็ตาม ทั้งนี้ ธุรกิจญี่ปุ่นหลายรายได้ตัดสินใจเลือกย้ายฐานการผลิตและการทำธุรกิจมายังเวียดนาม ในขณะเดียวกัน ทางตัวแทนของซัมซุงเวียดนาม ระบุว่ามีการสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกรุงฮานอย อีกทั้ง ธุรกิจเวียดนามและสหรัฐฯ ได้มีการลงนามข้อตกลงด้านการลงทุน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ สำนักกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งศึกษาและสร้างกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป จึงส่งให้รัฐบาลเพื่อขออนุมัติ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/804469/viet-nam-should-have-law-on-supporting-industry-vcci-chairman.html

นักเศรษฐศาสตร์ คาดเศรษฐกิจเวียดนามโต 6% ในปี 2564

นาย Duong Manh Hung นักวิเคราะห์อาวุโสของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ขยายตัวร้อยละ 2.62 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังจากไตรมาสที่ 2 อยู่ในระดับต่ำที่สุด ร้อยละ 0.39 ด้วยความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เป็นแรงผลักดันต่อเศรษฐกิจทุกภาคส่วนกลับมาดำเนินธุรกิจใหม่ ตัวอย่างเช่น ภาคอุตสาหกรรมเติบโตร้อยละ 3.6 ในเดือนต.ค. และจำนวนธุรกิจกว่า 5,000 รายกลับมาดำเนินกิจการในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ประกอบกับจำนวนการจดทะเบียนธุรกิจใหม่มากกว่า 12,000 แห่ง ด้วยเหตุนี้ จึงคาดว่าการขยายตัวของ GDP จะแตะอยู่ในระดับร้อยละ 2 ในปีนี้ และร้อยละ 6 หรือมากกว่านั้นในปี 2564 อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจก็ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกด้วย โดยเฉพาะประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับเวียดนามอย่างมาก ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/gdp-growth-6-percent-in-2021-feasible-economists/190112.vnp

การค้าทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 25

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นมีมูลค่าอยู่ที่ 1,548 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี ซึ่งลดลงกว่าร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่น 1,208 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.6 ในขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทั้งสิ้น 339 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 14.8 ซึ่งปัจจุบันการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่การนำเข้าสินค้าของกัมพูชาจากญี่ปุ่นคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.1 ของการนำเข้าทั้งหมดของกัมพูชา โดยกัมพูชาได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เสื้อผ้า รองเท้า และจักรยาน ส่วนสินค้านำเข้าหลักคือเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781435/japan-and-cambodia-bilateral-trade-dropped-25/

กัมพูชายังคงต้องการข้อตกลงการค้าเสรีเพิ่มขึ้น

กัมพูชาต้องการการลงนามในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศและเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินการเพิ่มเติม ทั้งเพื่อดำเนินการประเมินผลกระทบทางการค้าโดยละเอียด (TIAs) เนื่องจากกัมพูชากำลังมองหาข้อตกลงการค้าทวิภาคีและพหุภาคีมากขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่านับตั้งแต่กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกในปี 2004 ซึ่งเขตการค้าเสรีทั้งหมดที่กัมพูชาได้เข้าร่วมและกำลังพิจารณาได้ผ่านการประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สุดเพื่อชั่งน้ำหนักผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยในปัจจุบันกัมพูชาได้เป็นสมาชิกของข้อตกลงการค้าเสรีพหุภาคีหลายฉบับรวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีอีกหลายฉบับ นอกจากนี้กัมพูชายังได้เข้าเป็นสมาชิกหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยปริมาณการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีมีมูลค่าอยู่ที่ 36,700 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 ตามตัวเลขจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781402/increased-free-trade-deals-need-many-more-experts/

NA เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต้นทุนพลังงานไฟฟ้า

รัฐบาลสปป.ลาวถูกเรียกร้องให้แก้ไขข้อเท็จจริงที่ว่าการซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการเขื่อนมีราคาสูงเกินไปแต่ขายในราคาที่ต่ำกว่าซึ่งขัดต่อหลักการทางธุรกิจทั่วไป สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเวียงจันทน์และรองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ขอให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องนี้และหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ “ เราขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้ในขณะที่กำลังมองหาตลาดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการส่งออกไฟฟ้าของสปป.ลาวเพื่อลดภาระหนี้ของประเทศ” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่ารัฐบาลจะพิจารณาการลงทุนในภาคพลังงานเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาให้ดีขึ้ เราต้องยึดข้อตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติหากนักลงทุนบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับต้นทุนการสร้างเขื่อนจะนำมาซึ่งปัญหาระยะยาว รัฐบาลจะประเมินต้นทุนการก่อสร้างเขื่อนที่แท้จริงอีกครั้งเพื่อให้การลงทุนเกิดประสิทธิภาพ สาเหตุที่รัฐบาลเข้ามากำหนดต้นทุนการสร้างเขื่อนที่แน่นอนเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงซึ่งปัจจุบันความต้องการพลังงานที่คาดการณ์ไว้สูงกว่าความต้องการที่แท้จริงรัฐบาลคาดการณ์ว่าโครงการอุตสาหกรรมจะต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากโดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษและกิจการเหมืองแร่ ดังนั้นหากต้นทุนด้านไฟฟ้าสูงจะทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบและจะมีผลต่อการเติบโตต่อเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_220.php

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกปีงบฯ 63-63 สินค้าเกษตรมีโอกาสเติบโต

เมียนมาคาดปริมาณการค้าปีงบประมาณ 63-64 มีแนวโน้มเติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าแม้จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยมีปริมาณการค้าสูงถึง 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งการส่งออกลดลงเหลือ 16.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว ในปีงบประมาณ 62-63 ปริมาณการค้าอยู่ที่ 36.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าที่คาดไว้ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยส่งออกรวม 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าสูงถึง 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกในปีนี้จะเป็น การเกษตร ปศุสัตว์และประมงเป็นหลักซึ่งคาดว่าจะชดเชยการผลิตสิ่งทอที่ลดลง โดยการส่งออกเสื้อผ้าลดลงกว่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการส่งออกเสื้อผ้าในปี 62-63 มีมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ ในปีนี้มีรายได้รวมเพียง 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งลดลงมากกว่า 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในทางตรงกันข้ามความต้องการพืชผลไม้ เช่น ข้าวโพดเพิ่มขึ้นและการส่งออกถั่วคาดว่าจะมีเสถียรภาพในขณะเดียวกันความต้องการการประมงก็เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ทั้งนี้ยังต้องเจอความท้าทาย เช่น ความไม่แน่นแน่ของชายแดนเมียนมา – จีน ความต้องการระหว่างประเทศที่ผันผวน ตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงซึ่งล้วนส่งผลทำให้ราคาไม่คงที่ ในปี 62-63 เมียนมาขาดดุลการค้า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณ 61-62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-raises-trade-target-aims-grow-agri-exports-year.html