ข้าวเปลือกเก่า เมืองบ้านเมาะ เขตซะไกง์ พุ่ง ตะกร้าละ 8,000 จัต

ข้าวเปลือกเก่าขายในราคา 8,000 จัตต่อตะกร้า (1 ตะกร้าเท่ากับ 46 ปอนด์) ของเมืองบ้านเมาะ อำเภอกะตา เขตซะไกง์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี โดยราคาก่อนหน้าอยู่แค่ 4,000 จัตต่อตะกร้า จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ปีนี้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 80 ถึง 100 ตะกร้าต่อเอเคอร์ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกในบ้านเมาะ มากกว่า 4,000 เอเคอร์ และชาวนามักปลูกข้าวพันธุ์ชิน 3 ทั้งนี้ราคาข้าวเปลือกตามเกณฑ์ที่รับซื้อ อยู่ที่ความชื้น 14% ตั้งราคาไว้ที่ 540,000 จัตต่อ 100 ตะกร้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/old-rice-paddy-fetches-k8000-per-basket-in-bamauk-township/#article-title

สาธารณรัฐเกาหลีมอบเงิน 9 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อการพัฒนาชนบท

สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของเกาหลี (KOICA) และกระทรวงเกษตรและป่าไม้ได้ลงนามเพื่อริเริ่มโครงการพัฒนาชนบทแบบบูรณาการในแขวงจำปาสัก สระวาน และเซกอง โดยโครงการจจะดำเนินการจนถึงปี 2568 ด้วยงบประมาณรวม 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุมชนชนบทเพื่อสร้างการสร้างรายได้ในชนบท ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนและเจ้าหน้าที่ และเพิ่มความรู้ด้านการเกษตรเพื่อรับประกันความมั่นคงด้านอาหารในแขวง นอกจากนี้ โครงการจะสร้างศูนย์ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการผลิตทางการเกษตร การแปรรูป และการตลาดเพื่อการพัฒนาการเกษตร

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Republic216.php

สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคกัมพูชา กลับมาฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 3

เครดิตบูโรกัมพูชา (CBC) รายงานถึงความต้องการสินเชื่อทางฝั่งผู้บริโภคพุ่งสูงขึ้น โดยมีการยื่นขอสินเชื่อจำนอง บัตรเครดิต และการเงินส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 38 ในช่วงของไตรมาสที่ 3 ของปี ทางด้านของการขอสินเชื่อบ้านก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CBC กล่าวว่า ตลาดสินเชื่อกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคในไตรมาสนี้มีการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ แสดงถึงความต้องการที่ค่อนข้างสูงขึ้น หลังจากก่อนหน้าที่เกิดการชะลอตัวในไตรมาสที่แล้ว ที่มีคำขอสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 34 ที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.65 หรือคิดเป็นจำนวน 1.32 ล้านบัญชี ซึ่งคุณภาพของสินเชื่อดีขึ้นเล็กน้อย โดยมีเพียงร้อยละ 2.56 ของยอดค้างชำระเกิน 30 วัน (30+ DPD) เทียบกับร้อยละ 2.57 ในไตรมาสที่ 2

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50963864/consumer-loan-demand-rebounds-38-percent-in-third-quarter-cbc-says/

วันแรกของเดือน พ.ย. กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปกว่า 41,000 ตัน

ตามฐานข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ในวันแรกของเดือนพฤศจิกายน กัมพูชาทำการส่งออกสินค้าเกษตรรวมกว่า 41,671.20 ตัน ไปยัง 10 ประเทศ ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญในช่วงดังกล่าว ได้แก่ ข้าวสารจำนวน 16 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม, มันฝรั่ง 11.25 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนามและไทย, ถั่วเหลือง 2.5 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม, มะม่วงสด 3,570.58 ตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม จีน และไทย และกล้วยสด 3,532.96 ตัน ส่งออกไปยังจีน โดยเวียดนามและไทยยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญสำหรับสินค้าเกษตรของกัมพูชา ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เวียดนามได้กลายเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในปัจจุบัน โดยสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญของกัมพูชา ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลังแห้ง มันสำปะหลังสด แป้งมันสำปะหลัง กากมันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด ถั่วเหลือง กล้วยสด ส้มโอ มะม่วงสด น้ำเชื่อมมะม่วง น้ำมันมะพร้าว พริกไทย ยาสูบ และผักนานาชนิด เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50964166/in-just-one-day-cambodia-exported-more-than-41000-tons-of-agricultural-products-main-to-vietnam/

เอดีบีลงขันมูลค่า 665 ล้านเหรียญ ฟื้นฟูเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม

กลาสโกว์ สหราชอาณาจักร (2 พฤศจิกายน 2564) พันธมิตรทั้ง 4 ได้ให้คำมั่นร่วมกันในการจัดตั้งกองทุนจำนวน 665 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับแพลตฟอร์มที่บริหารจัดการโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ เอดีบี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะระดมเงินทุน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้สำหรับโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีคาร์บอนต่ำและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเร่งการฟื้นตัวของภูมิภาค จากเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) การระดมทุนดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในการประชุมครั้งที่ 26 ของการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ โดยความร่วมมือดังกล่าวนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (ASEAN Green Recovery Platform) เพื่อสนับสนุนกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Catalytic Green Finance Facility (ACGF) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Infrastructure Fund) ที่บริหารจัดการโดยเอดีบี

ที่มา : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/667142

KOICA มอบเงิน 13 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการอัพเกรดถนนแห่งชาติหมายเลข 8

สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของเกาหลี (KOICA) ในประเทศสปป.ลาวและกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ลงนามเกี่ยวกับโครงการ ‘การยกระดับ 6 สะพานและความปลอดภัยทางถนนบนถนนแห่งชาติหมายเลข 8 (ทางหลวงเอเชีย 15)’ โดย KOICA จะมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 13 ล้านเหรียญสหรัฐ โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับสะพาน 6 แห่ง เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยให้อยู่ในระดับ Asian Highway Class II และยกระดับการเชื่อมต่อระหว่างลาวกับประเทศเพื่อนบ้านเวียดนามและไทย ตลอดจนการเชื่อมต่อทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังจะเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ของรัฐในงานสาธารณะและภาคการขนส่งผ่านการถ่ายทอดทักษะทางเทคโนโลยีขั้นสูงของเกาหลี ซึ่งรวมถึงการบำรุงรักษาสะพานและการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_KOICA_215_21.php

รัฐบาลจับตาแหล่งที่มารายได้ใหม่ 2,000 พันล้านกีบจากการขุด bitcoin

รัฐบาลคาดว่าจะมีรายได้ 2,000 พันล้านกีบจากการขุด bitcoin ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รายรับดังกล่าวจะได้รับจากการขุดและการค้าสกุลเงินดิจิทัลและคาดการณ์ไว้สำหรับปี 2565 ขึ้นจะมีรายได้เพิ่มขึนร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 2564 จากการขุด Bitcoin จะทำให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายเงินในโครงการสำคัญๆ ได้มากขึ้นซึ่งรวมถึงการเพิ่มเงินสนับสนุนเพื่อให้ครอบคลุมค่าครองชีพของเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ Covid-19 และการชำระหนี้ในโครงการใหญ่ๆ ของประเทศ รัฐบาลคาดว่าจะใช้เงินทั้งหมดในการพัฒนาและริเริ่มลงทุน 34,595 พันล้านกีบในปี คิดเป็น 18.14 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ดังนั้นแหล่งรายได้ใหม่นี้ของไทยจะนำพาสปป.ลาวก้าวสู่ประเทศที่มีเทคโนโลยีการเงินทีดีขึ้นรวมถึงการผลักดันเศรษฐกิจสปป.ลาวให้เติบโตอีกทางหนึ่ง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govteyes_215_21.php

สรท.คาดส่งออกปี 65 ขยายตัว 5% จากปีนี้คาดโตได้ราว 12%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก คาดการณ์ภาวะการส่งออกของไทยในปี 65 จะมีอัตราการขยายตัวที่ระดับ 5% ส่วนในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 12% เนื่องจากฐานที่ต่ำในปี 63 จากผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 “จากการประเมินแล้วมั่นใจว่าปีนี้อยู่ในกระเป๋าแล้วอย่างน้อย 12% ส่วนในปีหน้าได้นำข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ มาประเมินแล้วคาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 5%”

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/141392

‘เวียดนาม’ ชี้การส่งออก กุญแจสำคัญเร่งผลักดันเศรษฐกิจโต

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 63 อยู่ที่ 2.9% ถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เริ่มดำเนินนโยบายโด่ย​ เหม่ย “Doi Moi” แต่นับว่ายังเป็นสถานการณ์ที่ดีเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังเผชิญกับภาวะถดถอยรุนแรง หดตัว 4% ทั้งนี้ ในช่วง Q3/63 – Q2/64 ภาวะเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ด้วยอัตราการเติบโตที่ 5.6% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ การระบาดของเชื้อโรค ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจ หดตัวที่ 6.2% อีกทั้ง ปัจจัยที่ทำให้เป็นแรงผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่าเมื่อแยกตัวชี้วัดของอุปสงค์ในประเทศจะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ชี้ว่าการบริโภตหดตัวอย่างมาก การลงทุนหยุดชะงัก ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อัตราการขยายตัวที่ 24%ดถอยรุนแรงภาวะเแต่เริ่มดำเนินการน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1070812/exports-of-goods-an-important-momentum-for-growth.html

‘ภาคการผลิตเวียดนาม’ กลับมาเติบโต เหตุสถานการณ์โควิดดีขึ้น

ตามรายงานของ IHS Markit ได้เปิดเผยว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขดีขึ้นและการผ่อนคลายข้อจำกัดจากเชื้อไวรัส ทำให้ภาคการผลิตของเวียดนามกลับมาเติบโตอีกครั้งในเดือน ต.ค. สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ยอดคำสั่งซื้อใหม่และกิจกรรมการจัดซื้อ ในขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจพุ่งอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากพื้นที่อาศัยของคนงานอยู่ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโรค ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม ในเดือน ต.ค. กลับมาอยู่เหนือกว่าระดับไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม (50.0) มาอยู่ที่ระดับ 52.1 จุด จาก 40.2 จุดในเดือน ก.ย. ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงสัญญาการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในทุกภาคส่วนและสิ้นสุดการลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ตลอดจนการผ่อนคลายข้อจำกัดของโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งในเดือน ต.ค.

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-manufacturing-sector-returns-to-growth-as-pandemic-situation-improves/