5 เดือนแรกของงบฯ ปี 63-64 เมียนมานำเข้าเหล็กมากกว่า 315 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค. – ก.พ. )  มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของเมียนมามีมูลค่าประมาณ 315.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกรมศุลกากรเมียนมา ปัจจุบันเมียนมามีความต้องการเหล็กประมาณ 2.5 ล้านตันต่อปีและนำเข้าถึง 92% จากข้อมูลของ Myanmar Steel Association (MSA) ตลาดมีแนวโน้มเติบโตถึง 5.4 ล้านตันต่อปีในปี 2573 ดังนั้นจึงมีการจัดตั้ง บริษัท เอ็มเอสเอ จำกัด (มหาชน) ขึ้น และพยายามตั้งเขตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าเพื่อลดการนำเข้าและผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งการศึกษาเพื่อดำเนินโครงการจะอยู่ในเขตอิระวดี เขตตะนาวศรี รัฐยะไข่ และรัฐมอญ ดังนั้นรัฐจึงสนับสนุนโดยการลดหย่อนภาษีและสิทธิในที่ดินเพื่อควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมายและการทุ่มตลาด เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมเหล็กมีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม โครงการนี้จึงมีความจำเป็นเพราะถือว่าเป็นอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้จีนเป็นซัพพลายเออร์หลักของเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังนำเข้าจากอินเดียและสาธารณรัฐเกาหลี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-iron-steel-materials-imports-exceed-315-mln-in-five-months/

ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตร มัณฑะเลย์ ปล่อยกู้77 พันล้านจัต อุ้มเกษตรกรช่วงมรสุม

ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 64 เป็นต้นไป ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตร สาขามัณฑะเลย์ปล่อยเงินกู้เพื่อการเกษตรกว่า 77 พันล้านจัตให้กับเกษตรกรจาก 23 เมืองเพื่อการเพราะปลูกข้าวและพืชอื่นๆ ในช่วงฤดูมรสุม โดยธนาคารจะปล่อยกู้ให้กับเกษตรกรที่ชำระหนี้ของฤดูกาลที่แล้ว (2563) แล้วเท่านั้น และคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี โดยการปล่อยเงินกู้ให้เกษตรกรที่ปลูกพืชในช่วงฤดูมรสุมจะแบ่งเป็น การปล่อยเงินกู้ 150,000 จัตต่อเอเคอร์สำหรับการปลูกข้าวเปลือกและ 100,000 จัตต่อเอเคอร์สำหรับการปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว งา ไผ่ ถั่วลูกไก่ ถั่วดำ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฯลฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-k77-bln-loans-to-be-disbursed-to-farmers-to-grow-monsoon-crops-this-year/

สปป.ลาวได้เงินทุนสำหรับพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตร

สมาคมการพัฒนาระหว่างประเทศ ธนาคารโลกและรัฐบาลสปปป.จัดหาเงินจำนวน 29,300,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อเป็นเงินทุนให้กับโครงการความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรของสปป.ลาวซึ่งจะมีขึ้นในปี 2561 ถึง 2567 วัตถุประสงค์ของโครงการคือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรที่ โครงการนี้ได้ระบุพืชที่ให้ผลผลิตมากที่สุด 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ผัก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรใหม่ ๆ และการลดแรงงานและต้นทุนการผลิต โดยพื้นที่โครงการครอบคลุมพื้นที่การเกษตรมากกว่า 11,000 เฮกตาร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Funds101.php

กัมพูชาพลักดันการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้เรียกร้องให้ลูกค้าและผู้ค้าปลีกใช้ประโยชน์จาก e-wallets และแอพต่างๆ เช่น Bakong เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทางการกัมพูชามองว่าดิจิทัลแบงกิ้งจะมีส่วนช่วยลดจำนวนการแพร่ระบาดลงได้โดยลดความจำเป็นในการทำธุรกรรมระหว่างบุคคลลง ซึ่ง NBC ยังสนับสนุนให้ธนาคารและสถาบันหลักๆ ภายในประเทศให้สิ่งจูงใจแก่ผู้บริโภคและธุรกิจที่เลือกทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้ใช้ความระมัดระวังในการจับธนบัตรและแนะนำให้ประชาชนล้างมือให้สะอาดหลังจากได้สัมผัสเงิน โดยจากข้อมูลของ NBC ปัจจุบันชาวกัมพูชามากกว่าร้อยละ 59 ทำธุรกรรมช่องทางออนไลน์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50862261/customers-and-retailers-urged-to-pay-online-to-help-prevent-covid-19-spread/

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรในช่วง 5 เดือนแรกรวมกว่า 4.1 ล้านตัน

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรประมาณกว่า 4.1 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นถึง 1.1 ล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง ซึ่งเป็นการส่งออกข้าวเปลือกมากที่สุดจำนวน 1.6 ล้านตัน มันสำปะหลัง 1.2 ล้านตัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 800,000 ตันและข้าวโพด 134,000 ตัน ส่วนสินค้าส่งออกอื่น ๆ ได้แก่ ถั่ว 11,000 ตัน กล้วย 197,588 ตัน ส้มโอ 21,118 ตัน มะม่วง 152,090 ตัน น้ำมันปาล์ม 19,916 ตัน พริกไทย 6,800 ตัน พริก 56,500 ตัน และแยมมะม่วง 10,500 ตัน โดยตลาดหลักสำคัญสำหรับสินค้าเกษตรของกัมพูชา ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป ประเทศในกลุ่มอาเซียน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ออสเตรเลียและประเทศอื่นๆ อีกมากมาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50862233/4-1-million-tonnes-of-agricultural-products-exported-in-first-five-months/

ไทยฉีดวัคซีนแก่ประชาชน อันดับต้นๆของอาเซียน

ประเทศไทยเดินหน้าฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน รวมกว่า 3 ล้านโดสแล้ว ขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน ด้านพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประกาศให้การ “ฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ” และช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมารัฐบาลได้เร่งระดมฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข อสม. ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว ตามจำนวนวัคซีนที่เข้ามา ทั้งนี้จากรายงานล่าสุดเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564 ไทยมีจำนวนการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วถึง 3,024,313 โดส เป็นอันดับ 5 ของอาเซียนและจะเลื่อนขึ้นเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน ด้วยการระดมฉีดวัคซีนอีก 6-8 ล้านโดสภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนผ่านระบบหมอพร้อมแล้วกว่า 7,931,765 คน

ที่มา : https://www.businesstoday.co/covid-19/26/05/2021/70356/

มณฑลฉงชิ่งของจีนมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสปป.ลาวที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

มณฑลฉงชิ่งของจีนแสดงความปรารถนาที่จะยกระดับการค้าทวิภาคีกับสปป.ลาวโดยการสร้างเมืองแห่งมิตรภาพและตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าต่างๆระหว่างสองประเทศ ผู้แทนหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) ในมณฑลฉงชิ่งได้ให้ข้อเสนอแนะในระหว่างการพบปะกับ Mrs Khamphao Ernthavanh เอกอัครราชทูตสปป.ลาวประจำประเทศจีนในขณะที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าการลงทุนและการค้าตะวันตกของจีนครั้งที่ 3 เจ้าหน้าที่จีนกล่าวว่าพวกเขาต้องการที่จะสร้างการค้าทวิภาคีต่อไป พวกเขายังหวังที่จะให้บริการเที่ยวบินระหว่างสปป.ลาวและจีนมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการขยายธุรกิจของจีนในสปป.ลาวและส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_China_99.php

พิษโควิดฉุดอสังหาฯ เขตอีอีซี ค้างสต๊อก 2.2 แสนล้าน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เผย แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ในปี 64 มีทิศทางชะลอตัวลงชัดเจนจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ทำให้ยอดขายหดตัวลงทั้งจำนวนและมูลค่า จนคาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือค้างสต๊อกมากถึง 68,170 หน่วย มูลค่า 2.21 แสนล้านบาท

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/845527

ชาวสวนยางเมืองโฮนมะลี่นปลื้ม ยางพาราราคาพุ่ง สร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำ

ชาวสวนยางจากเมืองโฮนมะลี่น เขตซะไกง์ สร้างกำไรงามจากราคายางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขยับราคาจาก 700 จัตต่อปอนด์ เป็น 900 จัตต่อปอนด์ในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วผลผลิตยางต่อเอเคอร์อยู่ที่ประมาณ 800-1,000 ปอนด์ซึ่งเกษตรกรจะได้กำไร 400,000-500,000 จัต โดยแผ่นยางจากจะถูกส่งไปยังเมืองโมนยวา และ มัณฑะเลย์ การปลูกยางพาราของเมืองโฮมาลินเริ่มในปี 2548 พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นขึ้นทุกปี โดยในปี 2564 มีพื้นที่เพาะปลูกเถึง 8,187 อเคอร์ ซึ่งปีนี้สามารถกรีดยางได้ 531 เอเคอร์และสามารถผลิตยางธรรมชาติประมาณ 300,000 ปอนด์ต่อปี นอกจากนี้ยังมีการปลูกผสมผสานกับต้นกาแฟภายในสวนยางพาราเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-rubber-price-boosts-profit-in-homalin-township/#article-title

อุตสาหกรรมเสื้อผ้า CMP ส่งออกสูงสุด 1.4 พันล้านดอลลาร์ในรอบ 5 เดือน

5 เดือนแรก (ต.ค.64 – ก.พ.64) ของปีงบประมาณ 63-64 การส่งออกเสื้อผ้าของเมียนมาพุ่งเกิน 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้โรงงานต่างๆ กำลังเผชิญกับการยกเลิกคำสั่งซื้อใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม H&M ผู้ค้าปลีกสินค้าแฟชั่นสัญชาติสวีเดนเริ่มทยอยกลับมาสั่งซื้อตามด้วยแบรนด์อย่าง Primark และ Bestseller หลังหยุดการสั่งซื้อไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) และการได้รับสิทธิพิเศษจากประเทศตะวันตกกลายเป็นอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศ แต่การหยุดชะงักจากภาคโลจิสติกส์ อุปทาน และผลกระทบจากโควิด-19  และความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญ ภาคการผลิตเสื้อผ้าของเมียนมาจึงเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ จากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงทำให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าบางแห่งปิดตัวลงชั่วคราวและทำให้คนงานหลายพันคนต้องตกงาน เมียนมาสงออกเสื้อผ้า CMP ไปยังตลาดในญี่ปุ่นและยุโรปเป็นหลักตามด้วย สาธารณรัฐเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-exports-top-1-4-bln-in-five-months/#article-title