รัฐบาลกำหนดมาตรการเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

รัฐบาลสปป.ลาวจะมีมาตราการในการลดอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจสำหรับนักธุรกิจในสปป.ลาวรวมถึงนักลงทุนต่างชาติ นายสมดีดวงดีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าว่ารัฐบาลมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจโดยขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและอุปสรรคอื่น ๆที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจออกไป ทั้งนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างแข็งขันและจะเริ่มดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นในปี 2563 เพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านการพัฒนาธุรกิจในประเทศ โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงการเงินสำหรับ SMEs รวมถึงการลดเวลาที่ใช้ในการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในสสป.ลาวและผู้ประกอบการสปป.ลาว การดำเนินมาตรการดังกล่าวจะเริ่มใช้อย่างจริงจังในปีนี้เพื่อเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนธุรกิจในสปป.ลาวให้มีการเติบโตและภาคธุรกิจจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/govt-drawing-measures-improve-business-environment-114030

สมาร์ทคอนกรีตโตรับอีอีซี คาดปี 63 ก่อสร้างขยายตัว

นายรังสี ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาร์ทคอนกรีต จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอิฐมวลเบาด้วยระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจปี 2563 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดี จากนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ผลักดันให้เกิดการลงทุนก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม คลังสินค้า โครงการเมกะโปรเจค งานโครงการก่อสร้างภาครัฐ และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทยอยลงทุนในโครงการใหม่ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ความต้องการสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง-อิฐมวลเบาปรับตัวดีขึ้น สำหรับกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจ บริษัทมีแผนเดินหน้าทำการตลาดเชิงรุก แนะนำสินค้าให้เป็นที่รู้จัก ผลักดันสินค้าผ่านช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งมุ่งเน้นการทำตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์ O2O (Online to Offline ) เพื่อกระตุ้นยอดขาย และสร้างการรับรู้กับลูกค้าในวงกว้าง ผ่านสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ส่วนการขยายตลาดกลุ่มประเทศ CLMV บริษัทมีการส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศกัมพูชาและสปป.ลาว เพื่อใช้ในงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยมีกระแสตอบรับที่ดี นอกจากนี้ บริษัทยังคงเดินหน้าเจรจาหาพันธมิตรเป็นตัวแทนจำหน่าย เพื่อขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ 490 ล้านบาท หรือเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% นอกจากนี้ ด้านผลประกอบการงวดไตรมาส 4/2562 มีรายได้รวม 124.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.90 ล้านบาท หรือ 25.11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 99.18 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 20.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุนสุทธิ 2.73 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 867.53% โดยผลประกอบการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากปริมาณการใช้งานวัสดุอิฐมวลเบาของโครงการเมกะโปรเจคภาครัฐ และโครงการก่อสร้างภาคเอกชน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/866674?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามคาดความต้องการใช้ปูนซีเมนต์โต 4-5% ในปีนี้

จากข้อมูลของกระทรวงก่อสร้างเวียดนาม คาดความต้องการใช้ซีเมนต์ในปีนี้เติบโตร้อยละ 4-5 จากการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยความต้องการใช้ซีเมนต์คาดอยู่ที่ 101-103 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4-5 ในปีก่อน หากจำแนกแหล่งที่มาของการใช้ซีเมนต์ พบว่าปริมาณการใช้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศราว 69-70 ล้านตัน และส่งออกไปยังต่างประเทศ 32-34 ล้านตัน ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมวัสดุก่อสร้างคาดว่ามีปูนซีเมนต์อยู่ 2 สายการผลิตในปีนี้ ส่งผลให้จำนวนสายการผลิตซีเมนต์ทั้งหมดของเวียดนามอยู่ที่ 86 ของผลผลิตรวม หรือปริมาณผลผลิต 105.84 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ตลาดวัสดุก่อสร้างในปีนี้ยังคงอยู่ในสถานการณ์ปกติ/ไม่เปลี่ยนแปลงจากในปีก่อนและอาจชะลอตัว สำหรับอุปสรรคของผู้ประกอบการซีเมนต์ในปัจจุบัน ได้แก่ ราคาเชื้อเพลิงและค่าแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งมีการหยิบข้อเสนอการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ผลิตซีเมนต์ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ระบุว่าการส่งออกซีเมนต์จากจีนและไทยจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายในการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดโลก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592356/cement-demand-forecast-to-climb-4-5-this-year.html

“สนามบินก่าเมา” ตั้งเป้ารองรับผู้โดยสาร 1 ล้านคนต่อปี

จากข้อมูลขององค์การบริหารการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) ได้เตรียมยกระดับขีดความสามารถของสนามบินก่าเมา (Ca Mau) ที่อยู่ในทางตอนใต้ของเวียดนามและตั้งเป้ารองรับผู้โดยสาร 1 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2573 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สนามบินมีความจุเพิ่มขึ้นสองเท่าจากแผนก่อนหน้า เพื่อที่จะรองรับผู้โดยสาร 1 ล้านคนต่อปี สำหรับแผนการอนุมัติในปี 2557 ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ในแผนการปี 2573 นั้น จะได้รับใบอนุญาตประเภท 4-C Category ตามมาตรฐานขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และยังสามารถให้บริการสนามบินทหารได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ca-mau-airport-planned-to-serve-1-million-passengers-per-year-410162.vov

แตงโมได้รับผลกระทบมากที่สุดหลังจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

การค้าระหว่างเมียนมาและจีนได้หยุดชะงักไปเกือบ 20 วันเนื่องจากไวรัสโคโรนา ที่มีแตงโมและแตงเมลอนได้รับผลกระทบมากที่สุด Facebook ของศูนย์ขายส่งกล่าวว่าจีนจะเปิดเส้นทางการขนส่งภายในไม่กี่วัน แต่ตลาดจะยังคงหายไปเจ็ดจังหวัดที่มีการระบาด จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่ารัฐบาลกำลังช่วยเหลือพ่อค้าในการหาตลาดท้องถิ่นและจำหน่ายในย่างกุ้ง แผนการตลาดในท้องที่นั้นรวมถึงการขายแตงในงานเทศกาลและตลาดในเมืองย่างกุ้งด้วยการเปิดร้านค้าในเขตเย่างกุ้งและการขายสินค้าแบบถึงมือผู้รับ (Door To Door) เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมูเซ (Muse 105th Mile Border Trade Zone) ออกแถลงการณ์ว่ามีความยากลำบากมากในการขายผลไม้เนื่องจากการจำกัดเส้นทางคมนาคมของจีนเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/melon-sales-most-affected-following-coronavirus-outbreak-in-china

สนามบินพะล่านพร้อมเปิดใช้งานเดือนพฤษภาคม

งานก่อสร้างของสนามบินพะล่าน (เซอบุ่ง) จะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคมและเครื่องบิน ATR-72 สามารถลงจอดที่สนามบินแห่งใหม่ได้ สนามบินตั้งอยู่ในใจกลางรัฐชินและเชื่อมต่อกับเมืองต่าง ๆ เช่น พะล่าน, เทือกเขาLonpi ,ฮ่าค่า , ทานตะลาน ตีเดนและทะเลสาบเรย เพื่อเข้าถึงสนามบินทั้งหมดในรัฐและภูมิภาค โครงการจะสร้างสนามบินพะล่านใหม่และเพื่อปรับปรุงสนามบินตั่งตแว โดยใช้งบประมาณของรัฐในปี 62-63 รันเวย์ยาว 6,000 ฟุต เทด้วยราดยางและคอนกรีต งานก่อสร้างอาคารสนามบินหอควบคุมการจราจรทางอากาศและอาคารบริการดับเพลิงเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้กระทรวงจะใช้งบ 141,112,000,000 จัตจากความช่วยเหลือจากต่างประเทศและสินเชื่อในปี 63-64 สนามบินถูกสร้างขึ้นเนื่องจากความลำบากของชาวบ้านในการขนส่งซึ่งเป็นเรื่องยากในฤดูฝน เมื่อสร้างเสร็จจะกลายเป็นประตูทางอากาศของรัฐชินและจะทำมีนักท่องเที่ยวเข้าถึงรัฐชินได้ในเวลาอันสั้น และสามารถส่งสินค้าของท้องถิ่นไปทั่วประเทศได้อย่างง่ายดาย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/falam-airport-to-open-in-may

โซล่าฟาร์ม 5 แห่งใหม่กำลังดำเนินการเชื่อมต่อกับกริดแห่งชาติ

กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่เปิดเผยว่าโซล่าฟาร์มจาก 5 จังหวัดจะเริ่มเปิดตัวในปีนี้ โดยในรายงานประจำปีระบุว่ากำลังเร่งงานก่อสร้างเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับกริดแห่งชาติให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยเพิ่มแหล่งพลังงานของประเทศโดยรวม 160 เมกะวัตต์ (mW) ต่อปี โดยแบ่งเป็นจาก สวายเรียง 20 เมกะวัตต์, โพธิสัตว์ 30 เมกะวัตต์, กำปงสปือ 20 เมกะวัตต์, พระตะบอง 60 เมกะวัตต์ และ บันทายมีชัย 30 เมกะวัตต์ ซึ่งปีหน้าตามที่กระทรวงระบุประเทศจะเปิดตัวอีก 60 เมกะวัตต์ ในกำปงชนังและในจังหวัดโพธิสัตว์เพิ่มอีก 60 เมกะวัตต์ โดยรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายแหล่งพลังงานในประเทศเนื่องจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจากกิจกรรมการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการก่อสร้างและการผลิต ซึ่งจากการศึกษาล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียระบุว่ากัมพูชามีศักยภาพด้านพลังงานน้ำประมาณ 10,000 เมกะวัตต์, 8,100 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์และประมาณ 6,500 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานที่มาจากลม โดยกัมพูชาสร้างพลังงานทั้งหมดได้จาก 2,635 เมกะวัตต์ ในปี 2018 เป็น 3,382 เมกะวัตต์ ในปี 2019 เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692029/five-new-solar-farms-to-be-connected-to-the-national-grid

การส่งออกการ์เม้นท์และสินค้าด้านการท่องเที่ยวกัมพูชามีมูลค่าถึง 9.3 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้า,รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวมูลค่ากว่า 9.35 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปีจากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมของกัมพูชา โดยรายงานดังกล่าวได้เผยแพร่ในการประชุมประจำปีเพื่อทบทวนและกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับปี 2563 ซึ่งรายงานระบุว่ามีโรงงานกว่า 1,069 แห่ง ในปีที่แล้วซึ่งมีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอประกอบด้วย 823 แห่ง โรงงานสินค้าด้านการท่องเที่ยว 114 และโรงงานรองเท้า 132 แห่ง มีการจ้างแรงงานรวมกัน 923,313 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกล่าวในการกล่าวเปิดงานว่ากระทรวงกำลังทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนในอุตสาหกรรมและจัดหาสินค้า รวมถึงบริการที่ดีขึ้น ซึ่งเป้าหมายของกระทรวงคือการช่วยให้ภาคเอกชนมีความก้าวหน้าซึ่งก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าแห่งกัมพูชา (GMAC) การส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชาคิดเป็น 75% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของกัมพูชาและ 90% ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้ซื้อเสื้อผ้ากัมพูชารายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692028/garment-footwear-and-travel-goods-exports-valued-at-9-3-billion

ผู้เชี่ยวชาญชี้เวียดนามจำเป็นหาตลาดข้าวใหม่ แทนตลาดจีน

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-2019) จะส่งผลต่อการส่งออกของเวียดนามไปยังประเทศจีน สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ใบไม้ผลิที่จะเริ่มต้นเก็บเกี่ยวในพื้นที่กู๋ลองยาง (ราบลุ่มแม่น้ำโขง) ทั้งนี้ ในจังหวัดเหิ่วซางมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ที่ 1,000 เฮกตาร์ ได้รับผลกระทบจากการรุกตัวของน้ำเค็ม แต่ชาวเกษตรได้เก็บเกี่ยวข้าวก่อนที่จะได้รับผลกระทบอยู่หลายร้อยเฮกตาร์และผลผลิตเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 7.7 ตันต่อเฮกตาร์ ในส่วนราคาสินค้าเกษตรยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากต้องหาตลาดใหม่ นอกจากนี้ ทางบริษัท VinaFood เปิดเผยว่าเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดจีนเป็นตลาดข้าวของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ในปัจจุบันมีการขยายตัวส่งออกไปยังหลายๆประเทศ แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของไวรัสอาจไม่กระทบมากนักต่อการส่งออกของเวียดนาม ซึ่งในปีที่แล้ว ตลาดฟิลิปปินส์ถือเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่วุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงควรขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ได้แก่ แอฟริกาและตะวันออกลาง เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592304/viet-nam-needs-to-find-new-rice-markets-to-replace-china-experts.html

การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเวียดนามในไตรมาสที่ 1 คาดว่าขยายตัว 3%

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถ้าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อยู่ในการควบคุมได้ ซึ่งอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศและมีส่วนแบ่งของสาขาอุตสาหกรรมมากที่สุด มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.38 สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ส่วนประกอบนำเข้าจากประเทศจีน จะได้รับผลกระทบอย่างมากเนื่องจากจีนเป็นแหล่งซัพพลายเออร์วัสดุและส่วนประกอบรายใหญ่ของเวียดนาม ขณะเดียวกัน อุตฯการผลิตที่ได้รับผลกระทบในทิศทางลบ ได้แก่ กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มผลิตยานยนต์และโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวดำเนินไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนี้ ทางสำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) ได้เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส ได้แก่ การหาซัพพลายเออร์ ลดอัตราภาษีการส่งออก-นำเข้าและกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมไปถึงควบคุมเงินเฟ้อและรักษาเสียรภาพเศรษฐกิจมหภาคและตลาดการเงิน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592301/industrial-sectors-growth-likely-to-hit-almost-3-in-q1.html