โรงกลั่นน้ำมันจำเป็นต้องดำเนินการเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศ

เมื่อบ่ายวานนี้ ในการเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันในเมือง Thanlyin เขตย่างกุ้ง ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพิจารณาต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงสำหรับความต้องการพลังงานในประเทศ และต้นทุนอื่นในการดำเนินงานโรงกลั่นของ ประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการพลังงานภายในประเทศ ซึ่งในขั้นต้นจะต้องเน้นไปที่การดำเนินงานโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (Thanlyin) โดยมีแผนจะอัพเกรดเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศได้สำเร็จ อย่างไรก็ดี ด้านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน U Ko Ko Lwin และกรรมการผู้จัดการ U Aung Myint จาก Myanma Petrochemical Enterprise รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (Thanlyin) การเตรียมการเพื่อให้เกิดความเพียงพอด้านพลังงานของประเทศโดยอาศัยการจัดตั้งแหล่งพลังงาน การผลิตน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศ การปรับปรุงโรงงาน และความพร้อมของวัตถุดิบ นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (ตันลยิน) โรงกลั่นน้ำมัน (B) โรงงานน้ำมันหล่อลื่น และถัง LNG รวมทั้งได้สั่งให้เจ้าหน้าที่พยายามดำเนินการโรงกลั่นให้เร็วที่สุดเพื่อจัดหาความต้องการเชื้อเพลิงของประเทศในด้านหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/oil-refineries-need-soonest-operation-for-fulfilling-domestic-energy-requirement/

กัมพูชาส่งออกยางในช่วง ม.ค.-พ.ย. พุ่งแตะ 445 ล้านดอลลาร์

รายงานจาก General Directorate of Rubber (GER) ระบุว่ากัมพูชาส่งออกยางแห้งไปยังตลาดโลกรวมกว่า 334,176 ตัน สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2023 เพิ่มขึ้นในแง่ปริมาณร้อยละ 3.6 จากปริมาณ 322,586 ตัน เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างรายได้เข้าประทศกว่า 445.4 ล้านดอลลาร์ ลดลงในแง่ของมูลค่าร้อยละ 4.4 จากมูลค่า 465.8 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจุบันยางแห้งหนึ่งตันมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,333 ดอลลาร์/ตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 111 ดอลลาร์/ตัน สำหรับประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญของกัมพูชายังคงเป็นมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน ด้านการเพาะปลูกกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 407,172 เฮกตาร์ ซึ่งร้อยละ 78.6 ของพื้นที่เพาะปลูก หรือประมาณ 320,184 เฮกตาร์ สามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501408025/cambodia-earns-over-445-million-from-rubber-exports-in-the-first-11-months/

มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การส่งออกสินค้าของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกของปี ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.2 หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 2.05 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานล่าของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของกัมพูชา ได้แก่ สหรัฐฯ เวียดนาม จีน ไทย และญี่ปุ่น โดยสหรัฐฯ ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาที่มูลค่าการนำเข้ารวม 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามและจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 37.8 และร้อยละ 18.5 ที่มูลค่า 2.61 พันล้านดอลลาร์ และ 1.31 พันล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ซึ่งเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จากการส่งออกกัมพูชามากที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501407510/cambodias-export-turnover-slightly-rises-in-11-months/

ผู้ประกอบการไทย-จีน MOU ซื้อขายมัน,กาแฟกว่า 5,430 ล้านบาท

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย-จีน ที่โรงแรม Wanda Vista Kunming นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ เกิดขึ้นตามนโยบาย Quick Win ของรัฐบาล ในการผลักดันการส่งออก โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าทางออนไลน์ล่วงหน้าให้กับผู้ประกอบการไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าแป้งมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์กาแฟ กับผู้นำเข้าสินค้าไทยในจีน (Thai-Yunnan Quick Win Business Matching and Networking) ซึ่งสามารถตกลงซื้อขายกันได้ และนำมาซึ่งการลงนามในครั้งนี้ ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้นำเข้าจีน โดยเป็นการตกลงสั่งซื้อสินค้าแป้งมันสำปะหลังและสตาร์ชที่ผลิตได้จากหัวมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์กาแฟ คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,430 ล้านบาท

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/politics/news_654821/#google_vignette

‘รถไฟความเร็วสูงเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์’ คาดว่าจสร้างแล้วเสร็จในปี 2571

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงสายหนองคาย-เวียงจันทน์ (HSR) เชื่อมโยงการค้าไทย-จีน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2571 ภายใต้มูลค่าลงทุนประมาณ 3 พันล้านบาท มีระยะทาง 7.3 กิโลเมตร ซึ่งจะเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และออกแบบโครงการขั้นสุดท้ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2567 ตามด้วยการประมูลก่อสร้างที่มีกำหนดการเริ่มเปิดประมูลในปี 2568 ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะมีระยะทางครอบคลุม 606 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ถึงหนองคาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการระยะแรก ซึ่งตั้งเป้าที่จะวางเส้นทาง 253 กิโลเมตรระหว่างกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา มูลค่าลงทุนกว่า 1.79 แสนล้านบาท ปัจจุบันเสร็จสมบูรณ์ 28.6% ซึ่งความล่าช้าที่เกิดจากปัญหาการเวนคืนที่ดินได้ขัดขวางความคืบหน้าในการก่อสร้าง กระทบต่อลำดับเวลาของโครงการ ซึ่งตามหลักการแล้วควรจะอยู่ที่ 50% อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับส่วนเชื่อมต่อนครราชสีมาถึงหนองคายได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว กระทรวงฯ รอการเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก รฟท. เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนต่างๆ เหล่านี้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างประเทศไทยและจีน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/12/15/high-speed-rail-linking-nong-khai-vientiane-expected-to-complete-in-2028/

ผลสำรวจเจโทร ชี้ธุรกิจญี่ปุ่นในเวียดนามทำกำไร ปี 2566

จากการสำรวจขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ในปี 2566 เปิดเผยว่าธุรกิจญี่ปุ่นในเวียดนามส่วนใหญ่เกินกว่า 50% มีผลกำไรในปีนี้ อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอาเซียนที่ 6.6% และในกลุ่มตัวอย่างราว 32% ระบุกำไรหรือผลประกอบการดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2565

ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจกำไรได้ในปีนี้ เนื่องมาจากความต้องการการผลิตไปยังตลาดส่งออกมีมากขึ้น และความต้องการภาคบริการของตลาดในประเทศดีขึ้น

นอกจากนี้ การปรับปรุงประสิทธิภาพและการลดต้นทุน ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในปีนี้

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20231216/over-half-of-japanese-companies-in-vietnam-report-2023-profits-survey/77290.html

‘กรมศุลกากร’ เผย 11 เดือน เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยมากที่สุด

จากรายงานทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าไทยขายรถยนต์ให้กับเวียดนาม จำนวนทั้งสิ้น 50,144 คัน มูลค่ามากกว่า 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18% และ 22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาอินโดนีเซียและจีนที่เป็นซัพพลายเออร์รถยนต์รายใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 โดยมียอดขายรถยนต์ 40,474 คัน และ 9,843 คัน ลดลง 36.7% และ 39% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2566 พบว่าเพียงเดือนเดียว เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 7,508 คัน มูลค่า 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นปริมาณลดลง 21.9% และมูลค่าลดลง 24.3%

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-imports-most-cars-from-thailand-over-11-months-2227668.html

คณะผู้แทนเมียนมาร์เข้าร่วมงานเปิดตัวศูนย์ US-ASEAN ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมร์รายงานว่า คณะผู้แทนเมียนมาร์เข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์ US-ASEAN ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งจัดขึ้นที่สาขา Washington School ของมหาวิทยาลัย American Arizona เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม โดยมีเอกอัครราชทูตจากสถานทูตอาเซียน อุปทูต และรัฐมนตรีสถานทูตเมียนมาร์ในกรุงวอชิงตัน U Thet Win พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ เข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส ยังเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐอเมริกาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อย่างไรก็ดี ศูนย์สหรัฐฯ-อาเซียนมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐอเมริกา โดยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรเอกชน มหาวิทยาลัยแอริโซนา ซึ่งเป็นเจ้าภาพศูนย์ฯ มีประวัติความร่วมมือกับประเทศอาเซียนในโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มหาวิทยาลัยยังมีส่วนร่วมกับ United States Agency for International Development (USAID) และอุตสาหกรรมของอเมริกา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-delegation-participates-in-us-asean-centre-launch-in-washington-dc/

การตรวจสอบคลังน้ำมันที่ท่าเรือติลาวา และร้านค้าน้ำมันในย่างกุ้ง

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้า จัดเก็บ และจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง U Thant Sin เข้าเยี่ยมชมสถานีจัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ท่าเรือติละวา เมือง Thanlyin ในเขตย่างกุ้ง ทั้งนี้ ยังพิจารณาสภาพการทำงานของระบบในการนำเข้าเชื้อเพลิงโดยเรือบรรทุกน้ำมันจากต่างประเทศ เงื่อนไขการรับเชื้อเพลิงที่ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และการกระจายเชื้อเพลิงโดยผู้ให้บริการขนส่งไปยังรัฐและภูมิภาค อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ สั่งการให้บริษัทที่นำเข้า จัดเก็บ และจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ดำเนินกิจกรรมรักษาความปลอดภัยตามสถานีจัดเก็บ ท่าเรือ และท่าเทียบเรือ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีน้ำมันรั่วไหลระหว่างการขนถ่ายและสามารถรักษาและกระจายคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงได้จากเจ้าหน้าที่ทุกระดับ เพื่อเปลี่ยนผ่านจากระบบสกัดลูกลอยแบบแมนนวลสำหรับรถหัวจ่าย ไปสู่การสกัดลูกลอยแบบออนไลน์ รวมถึง ติดตั้งและใช้ระบบซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมและติดตามสถานะการซื้อและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ ร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงควรใส่ใจเพื่อให้สามารถจำหน่ายและขายสินค้าตามคุณภาพและความต้องการด้วยบริการที่ดีแก่ประชาชน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fuel-storage-at-thilawa-port-fuel-stores-in-yangon-inspected/

“ทุเรียนเวียดนาม” มาแรง จีนนำเข้าพุ่ง 5.4 หมื่นล้าน คู่แข่งสำคัญ”ทุเรียนไทย”

ข้อมูลจากศุลกากรหนานหนิงระบุว่า มูลค่าสินค้านำเข้าจากเวียดนามผ่านด่านโหยวอี้กวน ช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมของปีนี้ รวมอยู่ที่ 9.14 หมื่นล้านหยวน (ราว 4.47 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้น 271.8% เมื่อเทียบปีต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าผลไม้เวียดนาม 1.17 หมื่นล้านหยวน (ราว 5.73 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 637.9% โดยมูลค่าการนำเข้าทุเรียนรวมอยู่ที่ 1.11 หมื่นล้านหยวน (ราว 5.43 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นกว่า 3,084% ทั้งนี้ ทุเรียนเวียดนามมีฤดูเก็บเกี่ยวยาวนานกว่า และราคาถูกกว่าได้รับอนุญาตให้เข้าถึงตลาดจีนภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในปี 2022 โดยปัจจุบันจีนกลายเป็นตลาดส่งออกทุเรียนแห่งหลักของเวียดนาม

ที่มา : https://www.prachachat.net/world-news/news-1459289