บล.บัวหลวง ปักหมุด “ตลาดหุ้นเวียดนาม” น่าลงทุน รับเศรษฐกิจโตเกินคาด

หลักทรัพย์บัวหลวง เปิดมุมมองการลงทุน “ตลาดหุ้นเวียดนาม” ชี้ระยะยาว “ดัชนี VN Index” มีโอกาสกลับไปยืนกรอบเดิม 1,100-1,200 จุด หลังภาพรวมเศรษฐกิจเติบโตได้ดี และกำลังซื้อภายในประเทศคึกคักมากขึ้น ขณที่ 3 ดัชนีใหม่ในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์จะเป็นแรงดูดฟันด์โฟลว์หน้าใหม่ พร้อมเปิดโผ 3 หุ้นเด็ดต้องมีติดพอร์ต ซึ่งตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดหุ้นต่างประเทศที่เหมาะกัยการลงทุนในระยะยาว เหตุผสสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามน่าลงทุน เกิดจากกำลังซื้อภายในประเทศ เริ่มมีความคึกคักมากขึ้น สะท้อนได้จากตัวเลข GDP ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 หนุนโดยกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต และกลุ่มบริการที่ขยายตัว 10.1% และ 7.1% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ ตัวเลขการส่งออกนำเข้า และจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่เม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติหน้าใหม่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเวียดนามมากขึ้น โดย 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยแรก – FTSE หากเวียดนามปรับปรุงระบบการชำระราคาได้สำเร็จ มีโอกาสสูงที่อาจเห็นเวียดนามได้รับการอัพเกรดในช่วงปลายปี 63 ปัจจัยสอง – ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์เตรียมยกระดับการพัฒนาตลาดทุนด้วยการออก 3 ดันชีใหม่ ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนควรหาโอกาสสร้างผลตอบแทนและกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามอย่างน้อย 10-20% ของพอร์ต

ที่มา : https://www.smethailandclub.com/money-5013-id.html

เวียดนาม ตลาดปราบเซียน เหตุใดฟาสต์ฟูดตะวันตกแจ้งเกิดไม่ได้?

ธุรกิจ QSR (quick service restaurant) หรือที่เรียกว่า ธุรกิจฟาสต์ฟูดนั้น มีมูลค่ามากกว่า 651,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่างแมคโดนัลด์และเบเกอร์คิง มักจะได้รับการต้อนรับและธุรกิจเติบโตได้ดี จวบจนปัจจุบัน แต่ที่เวียดนามนั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เมื่อในปี 2014 แมคโดนัลด์เข้ามาเปิดสาขาแรกที่นครโฮจิมินห์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่หลังจากนั้นไม่นาน ความคึกคักก็ซาลง จากที่แมคโดนัลด์เคยตั้งเป้าจะขยายธุรกิจในเวียดนามให้ครบ 100 สาขา ภายใน 10 ปี จนถึงขณะนี้ แมคโดนัลด์ในเวียดนามมีเพียง 17 สาขาเท่านั้น ด้านเบอร์เกอร์คิงก็ไม่ต่างกันมากนัก มีสาเหตุมาจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากร้านอาหารท้องถิ่นและร้านต่างประเทศมีจำนวนมาก รวมไปถึงวัฒนธรรมอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ เฝอ และบั๋นหมี่ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยสำคัญ คือ รสชาติและราคา หากไม่พูดถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว ฟาสต์ฟูดตะวันตกไม่ได้ถูกปากลูกค้าชาวเวียดนามนัก เพราะพวกเขาคุ้นชินกับเฝอและบั๋นหมี่มากกว่า ทั้งนี้ ช่วงปี 2559-2561 จำนวนผู้บริโภคเวียดนามใช้บริการร้านฟาสต์ฟูดลดลง 31% และเดินเข้าร้านอาหารข้างทางมากขึ้น 70% อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีฟาสต์ฟูดจากต่างประเทศแบรนด์ไหนที่ถอดใจ ยังมีความพยายามจะปรับกลยุทธ์เพื่อพลิกกลยุทธ์จนพิชิตตลาดเวียดนามได้หรือไม่ คงต้องจับตาดู

ที่มา : https://www.smethailandclub.com/aec-3656-id.html

FinTech เวียดนาม โอกาสที่ Startup ไทยควรรีบคว้า

ในทุกๆปี องค์กรด้านการสนับสนุนและพัฒนาสตาร์ทอัพ (BSSC) จะจัดงาน Vietnam Startup Wheel ได้จัดงานประกวดสตาร์ทอัพใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ซึ่งในปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการและธุรกิจสตาร์ทอัพราว 4,000 บริษัท และประชาชนกว่า 90,000 คน โดยงานดังกล่าวสร้างมูลค่าสนับสนุนการลงทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งชาติเวียดนามยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฟินเทค เพื่อให้การสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศน์ของฟินเทคในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้ธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพในเวียดนามมีตลาดที่ชัดเจน เฟื่องฟูและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจ FinTech โดยสรุปได้ดังนี้ ภาวะขาดแคลนการระดมทุน, ความปลอดภัยในการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน, กระบวนการขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจด้านฟินเทคยังคงมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน และรัฐบาลยังขาดแคลนบุคลากรและหน่วยงานในการสนับสนุนหรือความเข้าใจในระบบของธุรกิจดังกล่าว เป็นต้น นอกจากนี้ แนวทางการดำเนินธุรกิจฟินเทคในเวียดนาม มองว่ามีศักยภาพด้านธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพในเวียดนามนับเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการลงทุนและขยายธุรกิจมายังเวียดนาม โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจการชำระเงินดิจิทัล การซื้อของออนไลน์ การท่องเที่ยว เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจการเงินส่วนบุคคลและนิติบุคคล ตลอดจนด้านเทคโนโลยีการเกษตร สำหรับผู้ที่จะเข้าตลาดฟินเทคสตาร์ทอัพเวียดนามจำเป็นต้องศึกษาบริบทของประเทศ และจำเป็นต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาลเวียดนามซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพยากรทั้งหมดของประเทศเสมอ

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/fintech-startup-vietnam

ขนส่งสินค้าผ่านแดนไปเวียดนาม โอกาสที่ไม่ควรมองผ่าน

โดย กมลมาลย์ แจ้งล้อม I ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ I SCBS

การค้าผ่านแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งถือเป็นประเทศคู่ค้าผ่านแดนสำคัญ มีสัดส่วนปริมาณการค้ากว่า 60% ของปริมาณการค้าผ่านแดนโดยรวม โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2014-2018) การค้าชายแดนไปเมียนมา ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย ขยายตัวราว 3% CAGR ขณะที่ การค้าผ่านแดนไปจีนตอนใต้ สิงคโปร์และเวียดนาม เติบโตกว่า 12%CAGR โดยในปี 2018 ปริมาณการค้าผ่านแดนไปเวียดนามสูงถึง 1.3 ล้านตัน หรือมีสัดส่วนกว่า 60% ของปริมาณการค้าผ่านแดนโดยรวม

เวียดนามจึงเป็นตลาดที่น่าจับตามองและเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปเวียดนาม ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็งและอบแห่ง, เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ในระยะกลาง (2019-2021) การค้าผ่านแดนของไทยกับเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 30%CAGR ตามทิศทางเศรษฐกิจเวียดนามที่เติยโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการผลิตและการบริโภคภาคในประเทศ เวียดนามถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเป็นอันดับต้นๆ ของโลกและยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติในการตั้งฐานการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะนักลงทุนจีนที่มีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนามมากขึ้นเพื่อเลี่ยงสงครามการค้า อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการผลิตของเวียดนามส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศ

ด้านการบริโภคภายในประเทศ ด้วยจำนวนประชากรชาวเวียดนามที่มากถึง 90 ล้านคนและราว 15% เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพ รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการขยายอย่างรวดเร็วของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade)

ที่ผ่านมา ปัญหาสภาพถนน ความแตกต่างของกฎหมายขนส่ง และความซับซ้อนของพิธีการศุลกากร ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขนส่งสินค้าผ่านแดนจากไทยไปเวียดนาม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการขนส่ง โดยส่วนใหญ่การขนส่งสินค้าผ่านแดนจากไทยไปเวียดนามใช้เส้นทาง R12 เป็นหลัก เนื่องจากระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางอื่นและเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังนครหนานหนิงมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีนใต้

เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ในเดือนมิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา กลุ่มประเทศสมาชิกในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจึงเริ่มเปิดเดินรถขนส่งสินค้าผ่านแดนอย่างเป็นทางการภายใต้ข้อตกลง GMS-CBTA ซึ่ง อีไอซี ประเมินว่า จะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งลงราว 45% และลดต้นทุนการขนส่งลงกว่า 20% โดยกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ (GMS-CBTA) เพื่อลดข้อจำกัดและอุปสรรคของการขนส่นผ่านแดนรูปแบบเดิม โดยครอบคลุทั้งทางด้านพิธีการศุลกากรและระบบการจราจร เช่น การดำเนินพิธีการศุลกากรแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (SWI) การปฏิบัติการร่วมกันในการตรวจสอบสินค้า ณ จุดผ่านแดน (SSI) และการกำหนดเส้นทางเดินรถที่ชัดเจน เป็นต้น ซึ่งตามกรอบความตกลงนี้จะอนุญาตให้รถบรรทุกสัญชาติไทยสามารถขนส่งสินค้าไปถึงเวียดนามได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าที่พรมแดนลาว

จากการเติบโตของการค้าผ่านแดนที่ผ่านมา ส่งผลให้รายได้ผู้ประกอบการเติบโตเฉลี่ยราว 10% และอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ที่ราว 20% และคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยของผู้ประกอบการภายใต้โควตา GMS-CBTA จะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากต้นทุนการขนส่งที่ลดลง จากการวิเคราะห์ของอีไอซี พบว่าจำนวนรถขนส่งสินค้าที่จดทะเบียนไม่ได้แสดงถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ สะท้อนจากอัตรากำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนรถขนส่งสินค้าน้อยกว่า 30 คันเฉลี่ยสูงถึงราว 23% และการเติบโตของรายได้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนรถขนส่งสินค้าระหว่าง 30-100 คันอยู่ที่ 13%

หลังจากเปิดการเดินรถขนส่งสินค้าผ่านแดนภายใต้กรอบความตกลง GMS-CBTA อีไอซี ประเมินว่าผู้ประกอบการที่ถือโควตาจะสามารถควบคุมต้นทุนการขนส่งและลดระยะเวลาในการขนส่งให้แข่งขันได้มากขึ้น จากการลดการพึ่งพาผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี ความท้าทายสำคัญของธุรกิจนี้ ได้แก่

  1. ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  2. การแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และจากผู้ประกอบการต่างชาติภายใต้โควตา GMS-CBTA
  3. การขยายโครงข่ายขนส่งระบบรางในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/6139

จับตาตลาดทุเรียนเวียดนาม ‘คู่แข่ง’ ทุเรียนไทย

จากการแข่งขันในตลาดส่งออกของทุเรียนไทย มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะสูญเสียผู้นำในด้านการเป็นผู้ส่งออกทุเรียนให้กับประเทศมาเลเซีย แต่ประเทศที่แข่งขันได้และน่าจับตามากที่สุด คือ เวียดนามที่มีพื้นที่ติดพรมแดนกับประเทศจีน ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วในด้านการขนส่ง ซึ่งจากข้อมูลสถิติของกระทรวงเกษตร ระบุว่าในปี 2561 เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 2 แสนไร่ โดยเฉพาะบริเวณราบสูงตะวันตกเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสําหรับการผลิตและส่งออกทุเรียนของเวียดนาม โดยในปีนี้สามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ด้วยปริมาณผลผลิตรวมมากกว่า 30,000 ตัน ด้านสายพันธุ์ทุเรียนที่ได้รับความนิยมเพาะปลูกในเวียดนามมีทั้งสายพันธุ์จากไทย ได้แก่ ชะนี หมอนทอง และก้านยาว  นอกจากนี้ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของเวียดนามคาดว่าสามารถทุเรียนได้ประมาณ 330,000 ตันต่อปี โดยพื้นที่ที่มีผลผลิตมากที่สุด แบ่งออกเป็นบริโภคในประเทศ 40%, ส่งออก 60% ในเดือนเมษายน 62 ที่ผ่านมา ราคาจําหน่ายทุเรียนสดหน้าสวนเฉลี่ยอยู่ที่  2.8 – 3.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อ กิโลกรัม แต่ในปัจจุบัน ประเทศจีนเข้มงวดการตรวจสอบผลไม้นําเข้าไปยังจีนมากขึ้น ส่งผลให้เวียดนามต้องใช้วิธีการลักลอบขนส่งทุเรียนผ่านช่องทางที่ไม่ใช่ช่องทางหลัก อาทิ การขนส่งโดยรถบรรทุกขนาดเล็ก และใช้แรงงานแบกหาม เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnamese-duria

ทำไม สินค้าไทยมาแรงตลาดเวียดนาม

เวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีประชากรราว 90 ล้านคนที่อยู่ในวัยทำงาน พร้อมกำลังซื้อสูงในชนชั้นกลาง ทั้งนี้ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ เวียดนาม รายงานว่าในปี 2560 ตลาดค้าปลีกเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 1.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4 ล้านล้านบาท) และยอดขายของร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าคาดว่าจะเติบโตเร็วมากที่สุด โดยเวียดนามถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีศักยภาพในตลาดค้าปลีกลำดับที่ 6 ของโลกจาก 30 ประเทศ โดยเฉพาะนครโฮจิมินห์ ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนาม พบว่าสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และเสื้อผ้า เป็นต้น เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และคาดว่าในปี 2563 ภาคการค้าปลีกจะขยายตัวสัดส่วนร้อยละ 45 ของภาคการค้าปลีกทั้งหมดในเวียดนาม หากสังเกตตามเมืองหรือชนบท พบว่าจะเห็นสินค้าไทยวางขายในร้านขายของชำ และร้านสะดวกซื้อ มีอยู่จำนวนมาก เนื่องมาจากคนเวียดนามมองสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดีกว่าสินค้าจีน แม้ว่าราคาจะแพงกว่าเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้สินค้าไทยเป็นที่นิยม เนื่องจากผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุนห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น จึงเปิดโอกาสให้สินค้าไทยเข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกของตลาดเวียดนาม สรุปได้ว่า เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตต่อเนื่องทุกปี กลุ่มชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกระแสความนิยมสินค้าไทยมาแรง จึงเป็นโอกาสทางของผู้ผลิตสินค้าไทยที่จะเข้าไปในตลาดเวียดนาม

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-product

ธุรกิจ E-commerce เวียดนามมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน

ในปัจจุบัน การทำธุรกิจในเวียดนามผ่านทาง “E-Commerce” มีศักยภาพสูงและเป็นทางเลือกหนึ่งในการขยายตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคในเวียดนาม โดยเฉพาะทางภาคใต้ เนื่องจากคนเวียดนามชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูง ซึ่งในช่วงปี 2559-2563 ธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามจะเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี และมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563 โดยจำนวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ใน 4 เมืองใหญ่ในเวียดนามเพิ่มขึ้น 8.8% จาก 5.4% ในปี 2560 ทำให้นักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจมาลงทุนด้าน E–Logistics ทั้งนี้ 5 อันดับสินค้าและบริการออนไลน์ส่วนใหญ่ที่ขายดีในเวียดนาม ได้แก่ เครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์ความงาม รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัวเรือน การจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน และอุปกรณ์สำนักงาน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเลือกชำระเงินปลายทางเนื่องจากการชำระเงินด้วยเงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่แพร่หลาย สะดวกและเชื่อถือได้มากที่สุด ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วิธีการและขั้นตอนการชำระเงินและรับสินค้าในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยกับเวียดนาม มีบริบทแตกต่างกัน นับว่าเป็นประเทศที่กระแสด้านอีคอมเมิร์ซแรงมากอีกประเทศ ด้านผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซของไทยควรศึกษาโอกาส เพื่อดูลู่ทางทำการค้าในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17759

เค้าชอบเรา! 5 เหตุผลที่เวียดนามนิยมไทย

จากรายงานของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอจิมินห์ เปิดเผยว่าสินค้าของประเทศไทยนับได้ว่าเป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากชาวเวียดนามไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแต่งกาย รองเท้า อุปกรณ์ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่าคู่แข่งในตลาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชาวเวียดนามพิจารณาว่าสินค้าของไทยมีคุณภาพและราคาที่สมเหตุสมผลกว่าสินค้าจากประเทศอื่นๆ โดยเหตุผลที่ชาวเวียดนามชื่นชอบสินค้าไทย ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ การลงทุนของกลุ่มผู้ประกอบการไทย,ราคาสมเหตุสมผล,ภาพลักษณ์สินค้าไทยที่มีคุณภาพสูง,บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม และกระแสนิยมไทย นอกจากนี้เหตุผลข้างต้น ยังมีเหตุผลที่เกื้อหนุนที่ทำให้ชาวเวียดนามนิยมสินค้าไทย เช่น เศรษฐกิจยังพุ่งทะยานสูงขึ้น สังคมเมืองยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ รัฐบาลเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ จากปัจจัยดังกล่าว เชื่อว่าคงเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการที่ต้องการขายสินค้าในเวียดนาม ได้กำหนดกลยุทธ์ในการบุกตลาดที่ถูกต้อง

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-thai-products

SME น่าลงทุนเวียดนาม เมื่อคนในประเทศกำลังซื้อสูงขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เผยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ที่ชี้ว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเวียดนาม เพิ่มขึ้นกว่า 9.31% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 เมื่อแยกอัตราเงินเฟ้อออกไป โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องใช้ในงานแต่งงาน, อุปกรณ์การเรียนในปีการศึกษาใหม่ และเสื้อผ้าสำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวเวียดนามยังเพิ่มความต้องการในการปรับปรุงที่พัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ ซึ่งกำลังซื้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันและการขนส่งที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น 3.45% ส่วนตัวเลขดัชนีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ รายได้จากการขายปลีกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประกอบกับผู้บริโภคใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น 13.3% รองลงมา คือ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ภายในบ้าน, ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษา และยานพาหนะ ตามลำดับ ส่งผลให้มีรายได้จากการให้บริการด้านที่พักอาศัยและอาหาร เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อน รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 15.6% และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.3% โดยเมืองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ Ho Chi Minh, Hai Phong, Thanh Hoa และ Da Nang เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17528

SME เพิ่มโอกาสรวยแบบก้าวกระโดด! บนตลาดกัมพูชากับเวียดนาม

งานสัมมนา “Krungsri Business Talk : กัมพูชา VS เวียดนาม ตลาดไหน ใช่เลย!” มีการนำผู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศมาถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญคือ ประเด็นที่ 1 การเติบโตและสินค้าที่เป็นไปได้ในตลาด กัมพูชาชอบดีทีวีไทยเป็นอย่างมากจึงไม่จำเป็นต้องทำโฆษณาตัวสินค้าไทยเพราะเป็นที่นิยมอยู่แล้ว ส่วนเวียดนาม มี FTA เชื่อมต่อการส่งออกของไทยและนิยมสินค้าอย่างเครื่องสำอางและไอที ประเด็นที่ 2 พฤติกรรมผู้บริโภค กัมพูชาเปิดรับสินค้าทุกอย่าง ไม่สนใจว่าฉลากจะเป็นภาษาไหนแต่ถ้าเป็นภาษาไทยจะยิ่งมีความเชื่อมั่น ส่วนเวียดนามมีรสนิยมในสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ชอบผลิตภัณฑ์ที่มีกิมมิคและแปลกใหม่ ประเด็นที่ 3 การจับจ่ายและกฎระเบียบ การเข้าไปทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศจะคล้ายคลึงกันคือหาคู่ค้าและตัวแทนจำหน่าย ด้านกฎระเบียบของเวียดนามจะมีความอ่อนไหวมากกว่าเพราะเปลี่ยนแปลงบ่อย สิ่งที่นักลงทุนพึงตระหนักคือการติดตามข้อมูลข่าวสาร นโยบายและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศอยู่ตลอด

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1258896

19 เมษายน 2561