ธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ : โอกาสที่ไม่ควรมองข้าม

ปัจจุบันเวียดนามกลายเป็นแหล่งส่งออกกาแฟกว่า 1.4 ล้านเมตริกตัน เป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล (2.5 ล้านเมตริกตัน) คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟวันละหลายแก้ว การบริโภคเฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นถึง 1.5 กิโลกรัม/ปี เพราะปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคกาแฟแบบเดิมเปลี่ยนไปและชนชั้นกลางที่มากขึ้น อย่างร้านกาแฟ/คาเฟ่ที่ได้รับความนิยมในนครโฮจิมินห์มักจะมีการตกแต่งที่ทันสมัย มีบริการ Wifi และเครื่องปรับอากาศ เป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางสังคม อีกทั้งการกินกาแฟยังมีแตกต่างกันออกไปโดยแบ่งเป็นภาคเหนือและภาคใต้ โอกาสของธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ 1) ภาคใต้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและมีชนชั้นกลางจำนวนมาก เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจแฟรนไซส์กาแฟเพราะทั้งรายได้ประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 2.) พฤติกรรมการบริโภคที่เร่งรีบมากขึ้น กาแฟแคปซูล จึ่งเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะมีการเติบโต 11% และกำลังตีตลาดในอาเซียน 3) กาแฟสำเร็จรูปของไทยมีคุณภาพและมีโอกาสที่จะทำตลาดได้ 4) อุตสาหกรรมสนับสนุนหรือธุรกิจต่อยอด เช่น การนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

เมษายน 2561

ทำไมคนเวียดนามในภาคใต้จึงนิยมบริโภคสินค้าไทย ?

ปัจจุบันชนชั้นกลางเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของเวียดนาม ด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจึงมีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยราคาสมเหตุสมผลคุณภาพทัดเทียมกับสินค้าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ปัจจัยที่พิสูจน์ว่าสินค้าไทยมีดีอย่างไร คือ 1) การเต็มใจจ่ายซื้อสินค้า 2) การซื้อสินค้าไม่เอาราคาเป็นที่ตั้ง 3) สัญลักษณ์ Made in Thailand สามารถการันตีได้ถึงคุณภาพ แม้ปัจจุบันจำนวนคู่แข่งจะมากขึ้นแต่โอกาสยังสดใสอยู่ โดยเฉพาะเมืองอย่างโฮจิมินห์ ดานัง และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพราะกำลังซื้อที่เพิ่มถึง 10% ในปี 2560 และคาดว่าในปี 2563 มูลค่าการค้าปลีกจะอยู่ที่ 180,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หนทางสำหรับสินค้าไทยยังมีอยู่มากจากความชื่นชอบสินค้าไทยในคุณภาพ ภาพลักษณ์ และราคา และการที่ปัจจัยทางด้านการคมนาคมที่เชื่อมกัน รวมถึงระบบโลจิสติกส์มีความเข้มแข็ง สินค้าที่มีศักยภาพในการเติบโตในภาคใต้เวียดนาม ได้แก่ สินค้าด้านการดูแลสุขภาพ เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม และการศึกษา

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

21 กันยายน 2560

จับตา “เบียร์คราฟท์”: ธุรกิจเกิดใหม่ที่โดดเด่นในภาคใต้ของเวียดนาม โอกาสของผู้ผลิตเบียร์จากไทย

ปัจจุบันวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ที่นิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่และจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการบริโภคเบียร์เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย มูลค่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ การบริโภคอยู่ที่ 4.84 ล้านลิตรต่อปี ในนครนครโฮจิมินห์เมืองพบว่ามีธุรกิจการผลิต “เบียร์คราฟท์” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่เป็นของชาวตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษ และมีชาวเวียดนามหันมาทำธุรกิจนี้มากขึ้น เพราะการบริโคของชนชั้นกลางหรือรุ่นใหม่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังตั้งตัวเองเป็นเมืองหลวงแห่งเบียร์คราฟต์ของภูมิภาคอาเซียน อาศัยความได้เปรียบในการผลิต ต้นทุนไม่สูง ใช้วัตถุดิบในประเทศ โอกาสของผู้ประกอบการคือ การจัดตั้งธุรกิจง่าย ไม่ยุ่งยาก ตลาดสามารถเติบโตได้อีก ที่ตั้งประเทศสามารถกระจายสินค้าได้ดี นักลงทุนไทยสามารถเข้ามาเปิดโรงงานผลิตหรือรับจ้างผลิตลักษณะ OEM เพื่อนำไปขายได้ทั้งในและต่างประเทศได้

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์

2 มีนาคม 2561

ไขกุญแจความสำเร็จโครงการมิกซ์ยูสในสิงคโปร์ สู่โอกาสการลงทุนในเวียดนาม

โครงการมิกซ์ยูสกำลังเป็นที่น่าสนใจของเวียดนามในตอนนี้ โดยมี 3 ส่วนที่ร่วมกันผลักดันคือ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตแบบ (live – work – play) ในสถานที่เดียว สำหรับปัจจัยความสำเร็จคือ การผสมผสานกันของประเภทอสังหาฯ ทำเล และระบบขนส่งสาธารณะ ยกตัวอย่างของ Marina Bay Sands ในสิงคโปร์ โดยรัฐบาลเวียดนามเล็งการพัฒนาโครงการที่แขวงถูเทียม นครโฮจิมินห์ เพื่อรองรับการขยายพื้นที่ CBD (Central Business District) มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมและลดระยะเวลาของเมืองถูเทียมกับ CBD เช่น สร้างอุโมงค์และสะพาน ส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่ง 40% แต่สิ่งที่พึงระวังคือ การลงทุนเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุนสูงและมีความซับซ้อน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการจัดการเงินทุน เลือกผู้ร่วมลงทุนที่สอดคล้องกับประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ส่วนการลงทุนในต่างประเทศควรดูเงื่อนไขการลงทุน กฎหมาย การจัดการที่ดิน และมาตรการการส่งเสริมภาครัฐเป็นสำคัญ

ชานมไข่มุก ฮิตในเวียดนาม แบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติรุมแบ่งเค้ก

ในปี 2013 ธุรกิจชานมไข่มุกกลับมาเริ่มบูมอีกครั้ง จากการเข้ามาทำตลาดของแบรนด์จากใต้หวันและฮ่องกง โดยเฉพาะในนครโฮจิมินห์ที่เปิดสาขาอย่างมากมายและกลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ในวัยเรียนและกลุ่มคนทำงานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลคนเวียดนามดื่มชาพร้อมดื่มและพร้อมเสิร์ฟมากกว่ากาแฟถึง 2 เท่า โดยเฉพาะชานม โดยมีแบรนด์แฟรนไชส์ชานมไข่มุกต่างชาติ ได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง ไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ที่เข้ามาลงทุน แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะโตไปจนถึงปี 2020 และปี 2560 ที่ผ่านมา โตเฉลี่ยถึง 5% ท้ายนี้ตลาดเครื่องดื่มในเวียดนามยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แต่จะมีอุปสรรคในเรื่องของการแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจากต่างชาติ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือประชากรส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีกำลังซื้อสูง และนิยมบริโภคสินค้าแปลกใหม่

ที่มา: http://www.thaismescenter.com/ชานมไข่มุก-ฮิตในเวียดนาม-แบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติรุมแบ่งเค้ก/

11 พฤษภาคม 2561

เวียดนามตอนกลาง ตลาดเนื้อหอมที่รอต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ

ปัจจุบันเขตเมืองเศรษฐกิจอย่างนครโฮจิมินและกรุงฮานอยเริ่มแออัดและเต็มศักยภาพ พื้นที่ตอนกลางจึงเป็นจุดที่น่าสนใจในการลงทุนเพราะมีเขตเศรษฐกิจพิเศษและนิคมอุตสาหกรรมในหลายจังหวัด เช่น กว๋างหงาย กว๋างนาม กวางจิ และดานัง โดยพบว่าสิ่งที่เป็นแหล่งดึงดูดคือ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับภาคการผลิต ระบบขนส่งทางเรือและโดยเฉพาะท่าอากาศยานนานาชาติดานัง และดานังนี่เองที่มีนิคมอุตสาหกรรมถึง 6 แห่ง ความน่าสนใจเชิงตลาด ตลาดและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น อย่างดานังมีประชากรราว 25 ล้านคน เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2% ต่อปี สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ และมีรายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 3,059 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม 17% จาก 2,617 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 ความน่าสนใจเชิงพื้นที่ยุทธศาสตร เป็นพื้นที่เชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้ง ระเบียงเศษฐกิจ GMS (Greater Mekong Subregion) โครงการ Belt and Road Initiative ของจีน เห็นได้ว่าเวียดนามมีศักยภาพในการรองรับทุนในหลายๆ ธุรกิจ

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49647_0.pdf

8 พฤษภาคม 2561

มองเวียดนามกับโอกาสของธุรกิจพลังงานหมุนเวียน

หลังจากเวียดนามประกาศยกเลิกแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าซึ่งเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันพบว่าธุรกิจพลังงานหมุนเวียนกำลังเป็นที่น่าจับตา ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญทดแทนพลังงานหลักของเวียดนามอย่างถ่านหินและพลังน้ำที่ต้องนำเข้าเป็นหลัก ทำให้รัฐบาลพยายามส่งเสริมการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนขากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพื่อลดการนำเข้าของถ่านหิน และการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อปีอยู่ที่ 10% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ปัจจุบันแม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นแต่เชื่อได้ว่าเวียดนามมีศักยภาพมากพอโดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานลม ดังนั้นนักลงทุนหรือผู้ประกอบการควรศึกษาและคว้าโอกาสนี้เอาไว้ให้ได้

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49486_0.pdf

10 กรกฎาคม 2561

สามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนเหนือ แหล่งลงทุนที่น่าสนใจในเวียดนาม

ปัจจุบันสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนเหนือเป็นที่เนื้อหอมของนักลงทุนต่างชาติ เพราะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง กรุงฮานอย จังหวัดไฮฟอง และจังหวัดกว๋างนิญ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นย่านเศรษฐกิจ การค้าและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และยิ่งกว่านั้นจุดเชื่อมโยงนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางโลจิสติกส์สำคัญอย่าง โครงการ Belt Road Initiative (BRI) ของจีน และในภาคการท่องเที่ยวพบว่ามีนักเดือนทาองเพิ่มมากขึ้น 128% ของครึ่งปีแรก เห็นได้ว่าโอกาสของนักลงทุนนั้นเปิดกว้าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่ต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ ความต่างกันของพฤติกรรมผู้บริโภคระหว่างเวียดนามเหนือที่อยู่ในเขตค่อนข้างหนา และเวียดนามใต้อากาศจะคล้ายกับไทยคือร้อนอบอ้าว และยังมีนักท่องเที่ยวที่หลากหลายและผู้บริโภคจากจีนที่จำเป็นจะต้องรู้ถึงพฤติกรรมการบริโภค

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49911_0.pdf

10 กรกฎาคม 2561

เศรษฐกิจ CLMV เติบโตดีต่อเนื่อง แม้เวียดนามอาจมีความเสี่ยงจากสงครามการค้า

ยังคงขยายตัวสูงที่ระดับ 6-7% ในปี 2018 และ 2019 หลักๆ มาจาก มูลค่าการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ขยายตัว 21%YOY จากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 63% ของ FDI ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงสำคัญคือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ ค่าเงินมีทิศทางอ่อนค่าลงตั้งแต่ต้นปีตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่อ่อนค่าในระดับต่ำกว่าค่าเงินประเทศเอเชียอื่นๆ เนื่องจากอยู่ภายใต้การควบคุมจากธนาคารกลาง

 

ที่มา: https://www.scbeic.com/th/detail/product/5081

 

ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายในเวียดนามตอนใต้

การบริโภคผลิตภัณฑ์ความงามในเวียดนามเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2559 โดยกลุ่มประชากรเป้าหมายเป็นเพศหญิลอายุ 20 – 44 ปี และจากการสำรวจพบว่ากลุ่มผู้บริโภคมีอายุและตำแหน่งการงานสูงขึ้น มักหันมาสนใจดูแลผิวพรรณมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคในจังหวัดทางตอนใต้ที่มีกำลังซื้อมากกว่ากลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งในปัจจุบัน มีบริษัทด้านความงามในเวียดนาม 400 บริษัท สำหรับช่องทางการซื้อ ส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ รองลงมาผ่านร้านตัวแทนจำหน่าย ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์ความงามจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้รับความนิยมจากคนเวียดนาม โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ แต่หากรวมผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย พบว่าผลิตภัณฑ์จากไทยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาย่อมเยา สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกำลังเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจขยายตลาดผลิตภัณฑ์ความงามในเวียดนาม ควรพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ “Organic” และพิจารณาช่องทาง E-Commerce อีกด้วย

ที่มา : http://www.thaiembassy.org/hochiminh/th/business/6900/95647-ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายในเวียด.html