‘ไทย’ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ อันดับ 2 ของเวียดนาม

ประเทศไทยกลายมาเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกรวมสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และขึ้นแท่นเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ อันดับ 2 ของตลาดเวียดนามในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกัน ไทยนำเข้าทุเรียนจากเวียดนาม 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 82% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ นาย ดัง ฟุก เหงียน เลขาธิการสมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (Vinafruit) ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ ไทยนำเข้าทุเรียนจากเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ทุเรียนของไทยได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้หันมาสั่งซื้อทุเรียนจากประเทศอื่นๆ เพื่อตอบสนองกับความต้องการในประเทศและนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นผู้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ไทยก็เป็นผู้นำเข้าทุเรียนแช่แข็งรายใหญ่ของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656753/thailand-becomes-viet-nam-s-second-largest-durian-importer.html

‘ผลสำรวจ’ ชี้ 6 เดือน นักช้อปผู้ชาย ซื้อของออนไลน์ พุ่ง 100%

จากข้อมูลของบริษัทวิเคราะห์ตลาด ‘YouNet ECI’ เปิดเผยว่าผู้บริโภคในปัจจุบันไม่เพียงแต่ซื้อสินค้าในฤดูกาลลดราคาครั้งใหญ่ แต่จะพิจารณาข้อเสนอในแต่ละวัน รวมถึงปัจจัยสำคัญของผู้ซื้อ 2 ประการ ได้แก่ นิสัยของบุคคลและพฤติกรรมผู้บริโภค ในขณะที่บริษัทวิจัยการตลาด ‘Buzzmetrics’ ระบุว่าในปี 2565-2566 ความถี่ของการเข้าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพิ่มขึ้น 3 เท่า และยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 20-30 รายการคำสั่งต่อเดือนในปี 2566

ทั้งนี้ นาย Nguyen Phuong Lam จากบริษัทวิเคราะห์ตลาด กล่าวว่าในช่วงระยะแรกของตลาดอีคอมเมิร์ซ ผู้หญิงเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่สั่งซื้อสินค้าแฟชั่นและผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม แต่ว่าในปัจจุบันผู้บริโภคชายกลับมีการซื้อเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน และสินค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อจะเป็นสินค้าเทคโนโลยีและเครื่องใช้ไฟฟ้าในครังเรือน โดยยอดขายในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2566 เติบโตเฉลี่ย 100% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnamese-men-s-online-purchases-grow-by-100-in-six-months-2286711.html

หลวงพระบาง สปป.ลาว อนุมัติเขตเศรษฐกิจใหม่เพื่อการท่องเที่ยวและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว เตรียมเปิดตัวเขตเศรษฐกิจใหม่สำหรับการพัฒนาระบบนิเวศ การเกษตร และการท่องเที่ยว บนพื้นที่ 7,693 เฮกตาร์ ในเมืองหลวงพระบางและเขตเชียงเงิน จากการประชุมสภาประชาชนแขวงหลวงพระบาง สมัยสามัญครั้งที่ 1 (ชุดที่ 2) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในหลวงพระบางได้อนุมัติร่างข้อตกลงสองฉบับเพื่อร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้กับเมืองหลวงพระบาง โครงการนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการเกษตรในภูมิภาค ขณะเดียวกัน ได้กำหนดสิทธิและบทบัญญัติสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจ รวมถึงค่าชดเชยที่คาดหวังสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/05/30/luang-prabang-approves-new-economic-zone-for-tourism-economic-growth/

‘วินฟาสต์’ ชะลอเปิดโรงงานอีวี 4 พันล้านดอลลาร์อีกรอบ เหตุขาดทุนยับในสหรัฐ

ก่อนหน้านี้ วินฟาสต์ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) สัญชาติเวียดนาม ประกาศเมื่อปี 2565 ว่าจะสร้างโรงงานรถอีวี และแบตเตอรี่ในสหรัฐฯ โดยโรงงานดังกล่าวจะสามารถผลิตรถยนต์ได้ 150,000 คันต่อปี พยายามใช้ประโยชน์จากที่รัฐบาลโจ ไบเดน มีนโยบายอุดหนุนการลงทุนต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานรถอีวีในสหรัฐฯ ซึ่งเดิมทีบริษัทวางแผนการสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จในเดือน ก.ค.2567 แต่ต่อมาได้เลื่อนเปิดการดำเนินการไปปีหน้า และกำลังพิจารณาขยายการเปิดดำเนินการออกไปอีกครั้ง

ทั้งนี้ โฆษกของรัฐนอร์ทแคโรไลนา เปิดเผยว่าวินฟาสต์ได้ยื่นปรับแก้ขนาดอาคารของโรงงานดังกล่าวถึง 2 ครั้ง โดยล่าสุดได้ยื่นเข้ามาเมื่อเดือน เม.ย. และตอนนี้อยู่ระหว่างที่แผนการอนุญาตของเคาน์ตีรัฐนอร์ทแคโรไลนาทำการตรวจสอบอยู่

อย่างไรก็ตาม มีรายงานระบุว่ารถยนต์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในประเทศก็ขายให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยในปีที่แล้ว ผลประกอบการขาดทุนเพิ่มขึ้น 15% หรือ 2.4 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/1129137

‘เวียดนาม’ เผยยอดการค้า ม.ค.-พ.ค. พุ่ง 16%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่ามูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 305.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ข้อมูลในเดือน พ.ค.67 พบว่าการส่งออกของเวียดนาม ปรับตัวขึ้น 15.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี มูลค่าที่ 32.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 33.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้เวียดนามขาดดุลการค้าในเดือนนี้ อยู่ที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยตลาดสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีมูลค่าการส่งออกราว 44 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกัน เวียดนามนำเข้าจากจีนมากที่สุด อยู่ที่ 54.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/trade-revenue-up-over-16-in-jan-may/

‘เวียดนาม’ เผยเงินเฟ้อ CPI ช่วง 5 เดือนแรกปี 67 เพิ่มขึ้น 1.24%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน พ.ค.67 ปรับตัวขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้น 1.24% เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.66 และเพิ่มขึ้น 4.44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) โดยเป็นผลมาจากการขาดแคลนเนื้อหมูที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในช่วงปลายปี 2566 รวมถึงค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน พ.ค.67 เพิ่มขึ้น 2.68% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ พบว่าเพิ่มขึ้น 2.78% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656490/cpi-rises-by-1-24-in-the-first-five-months.html

กระทรวงการท่องเที่ยว สปป.ลาว แนะส่งเสริมตลาดเป้าหมายให้มีความแข็งแกร่ง

นายโพสี แก้วมันวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สปป.ลาว เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศลาวแล้วกว่า 1.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3.9 ล้านคนภายในสิ้นปี 2567 ทั้งนี้ รัฐบาล สปป.ลาว ได้ประชุมเพื่อหาแนวทางปรับปรุงการโฆษณาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวลาวและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นและตลาดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เข้าใจความเป็นจริงของการท่องเที่ยวในประเทศลาว โดยมุ่งเน้นไปที่ความจำเป็นในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวลาวและนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น โดยทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็สร้างรายได้มากขึ้นและเกี่ยวข้องกับภาคส่วนต่างๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น รวมถึงการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_102_Tourism_y24.php

เมียนมาตั้งเป้าการค้าต่างประเทศบรรลุมูลค่า 33 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2567-2568

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุเป้าหมายการค้าต่างประเทศมูลค่า 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งประกอบด้วยเป้าการส่งออกมูลค่า 16.7 พันล้านดอลลาร์และการนำเข้ามูลค่า 16.3 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า มูลค่าการค้าต่างประเทศของเมียนมา ณ วันที่ 17 พฤษภาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน มีมูลค่าสูงถึงกว่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 1.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็นการค้าทางทะเลมีมูลค่ารวม 2.85 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่มูลค่าการค้าชายแดนมีมูลค่า 684.56 ล้านดอลลาร์ มีดุลการค้ารวมอยู่ที่ 3.116 พันล้านดอลลาร์ โดยที่เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/foreign-trade-targeted-to-achieve-us33b-in-fy2024-2025/#article-title