INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยเม็ดเงินลงทุน FDI 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) อยู่ที่ประมาณ 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน) แบ่งออกเป็น 1,947 โครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 10.36 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ, 798 โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนต่ำกว่า 5.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 5,172 โครงการที่มาจากการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติด้วยมูลค่ารวม 5.73 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปมากที่สุด ด้วยมูลค่าราว 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.7 ของเงินลงทุนรวม รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า แก๊สและน้ำ มูลค่ามากกว่า 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (20.3% ของเงินลงทุนรวม), ภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่าราว 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.1% ของเงินลงทุนรวม), การค้าปลีกค้าส่งและซ่อมยานยนต์ มูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (6.1% ของเงินลงทุนรวม) และภาคอื่นๆ ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fdi-reaching-212-billion-usd-in-first-nine-months/187681.vnp

เผยตัวเลขการผลิตเพิ่มขึ้น 3 เดือนติด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.อยู่ที่ระดับ 85.47 ขยายตัวจากเดือน มิ.ย. 3.12% เป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แต่หดตัว 14.69% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว รวมถึงประเทศไทย ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 56.01% จากเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 55.07% ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังทยอยฟื้นตัวขึ้น สู่ระดับปกติในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบที่ 2 กรณีดังกล่าว ได้ส่งผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคได้ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยารักษาโรค ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน รวมถึงปัญหาน้ำท่วมจีน ได้ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกต้องชะงักลง และอุตสาหกรรมบางประเภทต้องขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต เกิดปัญหาด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบจากฐานการผลิตในต่างประเทศ ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายราย ต้องย้ายฐานการผลิตออกเพื่อกระจายความเสี่ยง นับเป็นโอกาสของประเทศไทย กรณีดังกล่าว จึงสอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมที่จะย้ายเข้ามาใหม่ได้ รวมถึงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีการเตรียมความพร้อมในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติได้ทันที.

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1918876

INFOGRAPHIC : ผู้ผลิตอุตสาหกรรมและแปรรูปเวียดนาม 80.6% เห็นว่าแนวโน้มธุรกิจไปในทิศทางที่ดีขึ้น

สถานการณ์ธุรกิจในประเทศ คาดว่าจะดีขึ้นหรือยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 แบ่งออกเป็นประเภทธุรกิจ ดังต่อไปนี้

คาดการณ์แนวโน้มการทำธุรกิจในช่วงไตรมาสที่ 3/2563 (% จากการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจของผู้ประกอบการ)

  • ภาพรวมธุรกิจ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 80.6% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 19.4% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • ธุรกิจ FDI : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 75.9% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 24.1% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • รัฐวิสาหกิจ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 79.7% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 20.3% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น
  • ธุรกิจเอกชน : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 82.6% มองว่าในอนาคตมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือทรงตัว และ 17.4% ทำธุรกิจได้ยากขึ้น

คาดการณ์แนวโน้มการผลิตและยอดตำสั่งซื้อในช่วงไตรมาสที่ 3/2563 (% จากการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจของผู้ประกอบการ)

  • ปริมาณการผลิต : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 48.8% มองว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมา 33.1% ไม่เปลี่ยนแปลง และ 18.1% แย่ลง ตามลำดับ
  • ยอดคำสั่งซื้อ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 45.1% มองว่าได้รับยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รองลงมา 36.6% ไม่เปลี่ยนแปลง และ 18.3% แย่ลง ตามลำดับ
  • ส่งออกคำสั่งซื้อ : ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 43.9% มองว่าได้รับยอดส่งออกคำสั่งซื้อไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมา 34.2% เพิ่มขึ้น และ 21.9% แย่ลง ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/806-processing-manufacturing-firms-optimistic-about-business-outlook/179048.vnp

เมียนมานำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อลดปัญหาขาดแคลนสัตว์ปีกในประเทศ

สำนักงานอุตสาหกรรมปศุสัตว์แห่งมัณฑะเลย์เผยรัฐบาลอนุญาตให้เกษตรกรนำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสัตว์ปีกที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 นับตั้งแต่เดือนที่ผ่านมาการผลิตไก่ลดลงมากถึง 40% ราคาขายส่งไก่เพิ่มขึ้นเป็น 5,000-5,500 จัต (4 ดอลล่าร์สหรัฐ) และราคาขายปลีกอยู่ที่ 8,000-10,000 จัต ทำให้ราคาไก่ในฟาร์มเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุญาตให้นำเข้าไก่จำนวน 19.2 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกรกฎาคม ส่วนเครื่องเพาะพันธุ์ไก่มีกำลังการผลิตเพียงพอ แต่สามารถอนุญาตให้นำเข้าได้เนื่องจากการขาดแคลนอุปทาน คาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติในเดือนกรกฎาคม และราคาไก่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยราคาสูงสุดจะอยู่ที่ 5,500 จัต ต่อ 1.63 กิโลกรัมและตอนนี้อยู่ที่ 4,400 จัต ผู้ผลิตสัตว์ปีกได้หันมามาทำห้องเย็นที่ทันสมัยและปรับปรุงพันธุ์จากโรงงานเพื่อรับมือกับความท้าทายจากจำนวนคู่แข่งต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในภาคนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-imports-over-19-million-chicks-ease-poultry-shortage.html

คาดอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในกัมพูชากำลังจะเติบโต

ภาคปศุสัตว์ในกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 ในปีนี้ โดยอัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 ในปี 2564 ตามรายงานล่าสุดจากรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังของการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่โดยเฉพาะสุกรและไก่สด รวมถึงส่งผลให้คนในท้องถิ่นได้บริโภคเนื้อสัตว์ในราคาที่เหมาะสม โดยรัฐบาลมีการสนับสนุนและจะช่วยสร้างงานและสร้างรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแรงงานกลุ่มที่อพยพกลับมายังประเทศรวมถึงแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 ซึ่งประธานสมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชากล่าวว่าสัตว์ปีกถือเป็นกลุ่มที่มีการศักยภาพมากที่สุด โดยสังเกตเห็นว่าไก่และเป็ดประมาณ 10,000-12,000 ตัว ถูกส่งไปยังตลาดในประเทศทุกวัน รวมถึงภายในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนเนื้อหมูอยู่ประมาณ 300 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นหมูสดประมาณ 3,000 ตัว ทำให้มองเห็นถึงโอกาสในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737483/animal-husbandry-to-rise/

กัมพูชาคาดกลุ่มอุตสาหกรรมนอกเหนือกลุ่มเครื่องนุ่งห่มยังคงแข็งแกร่งในปีหน้า

อุตสาหกรรมนอกเหนือกลุ่มเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชาคาดว่าจะยังคงแข็งแกร่งในปีหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเกษตรและบริการตามแผนยุทธศาสตร์งบประมาณของรัฐบาลในปี 2564-2566 ท่ามกลางการระบาดของ Covid-19 รัฐบาลวางแผนที่จะลดงบประมาณของรัฐในปี 2021 เป็นประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 50 จากปีนี้ ตามแผนงบประมาณรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะหดตัวมาอยูที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปี 2020 แต่จะดีดตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในปี 2021 ที่คาดว่าจะหนุนโดยภาคเกษตรที่เติบโตร้อย 1.6 และภาคบริการที่เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโต ร้อยละ 4.1 ผ่านการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ไม่ใช่เสื้อผ้า รวมถึงการเติบโตจะมาจากการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ เช่น จีน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยเฉพาะการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, วัสดุก่อสร้าง, การประกอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734782/non-garment-sectors-predicted-to-remain-healthy-next-year/

ลมแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับภาคอุตสาหกรรมพลังงานของกัมพูชา

บริษัท พลังงานชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วางแผนที่จะสร้างฟาร์มกังหันลมแห่งแรกในกัมพูชา โดยThe Blue Circle บริษัทชาวสิงคโปร์กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้า Electricite du Cambodge (EDC) ของรัฐเพื่อเจรจาข้อตกลงการซื้อไฟฟ้า (PPA) ในฟาร์ม ซึ่งจะตั้งอยู่บนภูเขา Bokor ในจังหวัดกำปอต ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยค่า PPA อาจต่ำเพียง 7 เซ็นต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง วิกเตอร์โจนาผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงพลังงานกล่าว เมื่อมีการตกลงกันแล้วการก่อสร้างฟาร์มพลังงานสะอาดซึ่งจะมีกังหันลมอย่างน้อย 10 แห่ง สามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ 80 เมกะวัตต์ต่อปี โดยทั่วไปหนึ่งเมกะวัตต์สามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของบ้านได้ระหว่าง 225-300 ครัวเรือนต่อปี โดยการใช้พลังงานทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 23% เมื่อปี 2561 ซึ่งจากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประเทศกัมพูชามีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำถึง 10,000 เมกะวัตต์ (mW) ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมพลังงาน 8,100 mW และ 6,500 mW ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50716028/winds-of-change-for-energy-industry/

การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเวียดนามในไตรมาสที่ 1 คาดว่าขยายตัว 3%

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถ้าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อยู่ในการควบคุมได้ ซึ่งอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศและมีส่วนแบ่งของสาขาอุตสาหกรรมมากที่สุด มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.38 สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ส่วนประกอบนำเข้าจากประเทศจีน จะได้รับผลกระทบอย่างมากเนื่องจากจีนเป็นแหล่งซัพพลายเออร์วัสดุและส่วนประกอบรายใหญ่ของเวียดนาม ขณะเดียวกัน อุตฯการผลิตที่ได้รับผลกระทบในทิศทางลบ ได้แก่ กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มผลิตยานยนต์และโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวดำเนินไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนี้ ทางสำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) ได้เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส ได้แก่ การหาซัพพลายเออร์ ลดอัตราภาษีการส่งออก-นำเข้าและกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมไปถึงควบคุมเงินเฟ้อและรักษาเสียรภาพเศรษฐกิจมหภาคและตลาดการเงิน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592301/industrial-sectors-growth-likely-to-hit-almost-3-in-q1.html

อุตสาหกรรมบริการ สปป.ลาวกับความท้าทายในการทำธุรกิจ

ในการเตรียมการสำหรับthe 13th Lao Business Forum (LBF)สำนักเลขาธิการ LBF ได้จัดประชุมคณะทำงานภาคเอกชนครั้งแรกของปีนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายที่ภาคเอกชนต้องเผชิญในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาที่ภาคธุรกิจบริการระบุว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ขั้นตอนการจดทะเบียนองค์กร การอนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจและการคืนภาษี การประชุมคณะทำงานของภาคเอกชนเริ่มต้นกระบวนการเจรจาระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนภายใต้กลไก LBF ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่ากฎหมายจะถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสะดวกในการทำธุรกิจ จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชนผ่านการปรับปรุงภาพรวมธุรกิจในสปป.ลาว ในท้ายที่สุดมันจะช่วยรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยหนึ่งในนั้นคือสปป.ลาวหลุดพ้นออกจากสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/service-industry-discusses-challenges-doing-business-113783

บริษัทยางจากเวียดนามที่บริหารงานโดยรัฐวางแผนขยายกิจการในกัมพูชา

Vietnam Rubber Group (VRG) กำลังวางแผนที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยปัจจุบันในกัมพูชา VRG ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฯเวียดนามได้ลงทุนในฟาร์มยางขนาดใหญ่ใน 7 จังหวัด โดยเปิดเผยแผนการขยายตัวในระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรในกรุงพนมเปญ ซึ่งระบุว่า บริษัท เก็บน้ำยาง 50,000 ตันจากพื้นที่ในกัมพูชา 47,000 เฮกตาร์เมื่อปีที่แล้ว โดย VRG ดำเนินธุรกิจผ่าน บริษัท ย่อย 19 แห่งในกัมพูชามีรายงานการลงทุนมูลค่าประมาณกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในปี 2019 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 23 ซึ่งทำรายได้อยู่ที่ประมาณ 1.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัท ซึ่งมีพื้นที่เกือบ 10,000 เฮคตาร์ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลในการทำสวนยางพาราในจังหวัดพระวิหารได้ลงทุน 40 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างงาน 3,000 ตำแหน่งให้แก่คนงาน จากข้อมูลของธนาคารแห่งชาติกัมพูชาระบุว่ากัมพูชาสร้างรายได้มากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วจากการส่งออกยางในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50682038/state-run-vietnam-rubber-firm-plans-expansion-in-kingdom