สศอ.ชี้อุตสาหกรรมไทยกลับมาฟื้นตัวใกล้ปีก่อนเกิดโควิดแล้ว

นางวรวรรณ ชิตอรุณ รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนก.ย. ขยายตัว 3.36% ส่วนภาพรวมไตรมาส 3/2565 (ก.ค.-ก.ย.2565) ขยายตัว 8.06% ส่งผลให้ 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.2565) ขยายตัว 2.83% ทำให้ทั้งปีเชื่อว่า เอ็มพีไอจะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1.5-2.5% ซึ่งเดือนพ.ย.จะปรับตัวเลขอีกครั้ง และเชื่อว่าปี 2566 จะสูงกว่าปีนี้แน่นอน เนื่องจากตลาดส่งออกหลัก ทั้งสหรัฐ อาเซียน และสหภาพยุโรป (อียู) ยังขยายตัวได้ ภาคการท่องเที่ยว ขยายตัวดี ส่งผลต่อสินค้าที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวขยายตัวดีเช่นกัน รวมถึงกิจกรรมกระตุ้นทางเศรษฐกิจของภาครัฐ

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/253726/

“เวียดนาม” รั้งตำแหน่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 3 ของอาเซียน ปี 2570

ตามรายงานล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามจะขยายตัวอย่างมากในช่วง 5 ปีข้างหน้า และขึ้นเป็นอันดับ 3 ในอาเซียนภายในปี 2570 โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาตัวเลขของขนาดเศรษฐกิจอินโดนีเซีย มีมูลค่าสูงถึง 1.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาประเทศไทย 522.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ขณะที่ประเทศอื่นๆ อาทิเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และเวียดนาม มีมูลค่าของ GDP อยู่ที่ 439.37, 424.43, 411.98 และ 408.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2568-2570 จีดีพีของเวียดนามจะขึ้นเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน +6

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnamese-gdp-set-to-rank-third-in-asean-by-2027-2066437.html

เดือนเม.ย.-ก.ค. 65 เมียนมามีรายได้จากการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ทะลุกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 (วันที่ 1 เม.ย.ถึงวันที่ 31 ก.ค.2565) เมียนมามีรายได้จาการส่งออกก๊าซธรรมชาติถึง 819.503  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณการส่งออกจำนวน 77.89 ล้านกิโลกรัม โดยการส่งออกก๊าซธรรมชาติของประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่แล้วจะมาจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในเมียนมานอกชายฝั่ง 4 โครงการ ได้แก่ ยาดานา, เยดากุน, ฉ่วย และซอติก้า

ที่มา : https://english.news.cn/20220826/0dedf051781f4e5bbbf355a8fc2c2c93/c.html

อาเซียน-สหรัฐฯ ดันแผนร่วมมือด้านเศรษฐกิจ พร้อมนัดแคนาดาถก FTA รอบแรก

อาเซียน-สหรัฐฯ หารือสานต่อแผนงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ปี 65-66 เน้นช่วย SMEs ฟื้นตัวจากพิษโควิด-19 เชื่อมโยงระบบศุลกากร อำนวยความสะดวกทางการค้า คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม เร่งเตรียมการเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา รอบแรกปลายเดือน ส.ค. นี้ ดันแผนความร่วมมือการค้าการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตยั่งยืน

ที่มา : http://www.acnews.net/detailnews.php?news_id=N256567451

ภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาของ “อาเซียน”

สํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 หรือ “แอมโร” องค์กรวิชาการอิสระ ที่ตั้งขึ้นตามกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ได้เผยแพร่ข้อมูลออกมาเมื่อเดือน ก.ค. 2022 คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของชาติสมาชิกอาเซียนในปีนี้น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.2 โดยประเทศที่มีภาวะเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่มอาเซียนได้แก่ สปป.ลาว เงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปัจจุบันราคาน้ำมันในสิงคโปร์เมื่อเดือน พ.ค. สูงขึ้นเกือบ 1 ใน 5 ของระดับราคาในช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน โดยในไทยราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเกือบ 1 ใน 3 ส่วนในฟิลิปปินส์ ราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นถึงร้อยละ 86 ลักษณะคล้ายคลึงกันเกิดขึ้นกับธัญพืชทั้งหลายที่ราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างมาก เพราะภาวะขาดแคลนในระดับโลก บวกกับต้นทุนการขนส่งสินค้าภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อในเอเชียไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะยาว กระทั่งอาจถึงจุดสูงสุดและเริ่มต้นลดระดับลงแล้วด้วยซ้ำ

ที่มา : https://www.prachachat.net/world-news/news-997137

พณ.เปิดตัวเลขการค้า RCEP ครึ่งปีแรกพุ่ง 169 พันล้านเหรียญสหรัฐ โตกว่า 13% หนุนใช้ประโยชน์เพิ่มช่องทางนำเข้าสินค้าทุน

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ติดตามสถิติการค้าของไทยกับกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP ในช่วงครึ่งปีแรก โดยได้รับรายงานว่า นับจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ผ่านมา การค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก RCEP ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.65) มีมูลค่ารวม 169,041 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปยังประเทศสมาชิก RCEP มูลค่า 78,172 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9% ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัวได้ดี อาทิ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ส่งออกภายใต้ความตกลง RCEP ในช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย.65 มีมูลค่า 204.13 ล้านเหรียญสหรัฐ (+2,296%) เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2565 ซึ่งเป็นเดือนแรกของการมีผลบังคับใช้ความตกลง RCEP โดยมีผู้ส่งออกขอใช้สิทธิ์ RCEP ไปยังญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ มากที่สุด และสินค้าที่ขอใช้สิทธิ์ส่งออกสูงสุด อาทิ น้ำมันดิบ ปลากระป๋องและแปรรูป มันสำปะหลัง ทุเรียนสด และรถจักรยานยนต์ สำหรับการนำเข้าโดยใช้สิทธิ์ RCEP มีมูลค่า 72.34 ล้านเหรียญสหรัฐ (+1,887%) และรายการสินค้าที่ใช้สิทธิ์นำเข้าสูงสุด อาทิ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคมีภัณฑ์ ไม้อัด เม็ดพลาสติก และส่วนประกอบเครื่องยนต์ (ลูกสูบ)

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/370441

อาเซียน-จีนลุยอัปเกรด “เอฟทีเอ” เดินหน้าขยายการค้าและลงทุน อำนวยความสะดวกลดอุปสรรค

นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้เป็นประธานฝ่ายอาเซียนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA-JC) ครั้งที่ 15 และการประชุม Special การประชุมครั้งนี้ได้ติดตามการดำเนินการตามความตกลงของคณะทำงานย่อยในเรื่องต่างๆ เช่น คณะทำงานด้านมาตรฐาน ด้านการลงทุน ด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า รวมถึงหารือแนวปฏิบัติของสมาชิกให้ทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น และบรรเทาปัญหาที่เกิดจากอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะจากจีน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2455178

“ตลาดฟินเทคเวียดนาม” มูลค่าสูงถึง 18 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567

ตามข้อมูลของนักวิเคราะห์จากบริษัทการเงิน Robocash Group เปิดเผยว่าตลาดฟินเทค (FinTech) ของเวียดนาม จะมีมูลค่าสูงถึง 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2567 โดยเวียดนามเป็นหนึ่งในผู้นำอาเซียนที่เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนแก่ธุรกิจฟินเทค รองจากสิงคโปร์ ทั้งนี้ กิจการส่วนใหญ่ราว 93% ดำเนินธุรกิจเงินร่วมลงทุน มุ่งเชื่อมโยงในการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์และกระเป๋าเงินออนไลน์

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ทางการตลาดถือว่ามีการแข่งขันกันสูง ปริมาณการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้น 152.8% นับตั้งแต่ปี 2559 และมีผู้ใช้ฟิคเทคหน้าใหม่กว่า 29.5 ล้านคน ด้วยเหตุนี้ ทุกๆวินาที ชาวเวียดนามจะใช้บริการฟินเทคอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ความต้องการบริการดิจิทัลของคนเวียดนามมีความหลากหลาย อาทิ การทำธุรกรรม การชำระเงินและกระเป๋าเงิน) นับว่าเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1270404/viet-nam-fintech-market-expected-to-reach-18-billion-by-2024.html

อัตราการว่างงานกัมพูชาต่ำสุดในอาเซียน

อัตราการว่างงานของกัมพูชาคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.31 ในปีนี้ ซึ่งต่ำที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิคอาเซียน ตามการรายงานของศูนย์ข้อมูลอาเซียน ซึ่ง สปป.ลาว อยู่ในอันดับที่สองโดยมีอัตราการว่างงานประมาณร้อยละ 1 รองลงมาคือประเทศเมียนมาคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.79, สิงคโปร์ร้อยละ 2.2, เวียดนามร้อยละ 2.46, มาเลเซียร้อยละ 3.9, ฟิลิปปินส์ร้อยละ 5.8 เป็นต้น ด้าน Hong Vannak นักวิเคราะห์เศรษฐกิจของ Royal Academy of Cambodia กล่าาว่า กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่จะสร้างงานให้กับประชาชนในด้านการผลิต การค้าภายในประเทศ และการส่งออก ควบคู่ไปกับความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในระดับทวิภาคี และพหุภาคี ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาสร้างรายได้กว่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ จากการค้าระหว่างประเทศภายใน 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501116561/cambodias-unemployment-rate-lowest-in-asean/

‘อีเบย์’ ยกอีคอมเมิร์ซอาเซียนโตไม่หยุด ‘ไทย’ ยืน 1 ตีตลาด 10 ประเทศทั่วโลก

นายวิทเมย์ ไนยนี ผู้อำนวยการประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย eBay International CBT (Cross Border Trade) กล่าวว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลมีส่วนช่วยให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกไปยังตลาดทั่วโลกได้อย่างลงตัว ด้วยพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่ดี มีบุคลากรที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งมีสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่ต้องการของตลาดมากมาย”

ทั้งนี้ ประเด็นน่าสนใจข้อหนึ่ง คือผู้ขายไทยที่ถือเป็นกิจการขนาดเล็กบนอีเบย์นั้น ขายสินค้าส่งออกทั้ง 100% แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มอีเบย์เป็นช่องทางที่ช่วยขยายโอกาสให้ผู้ขายเข้าถึงผู้ซื้อจากทั่วทุกมุมโลก ขณะที่ผู้ขายใหม่สามารถทำยอดขายแตะระดับ 10,000 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปี 2563 และก้าวขึ้นมาเป็นกิจการขนาดเล็กบนอีเบย์ได้ภายใน 4 ปี ซึ่งในบรรดาผู้ขายไทยที่นับว่าเป็นกิจการขนาดเล็กบนอีเบย์ในปี 2563 นั้น มีถึง 56% ที่เป็นผู้ขายใหม่

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/tech/1016195