รถบรรทุกผลไม้กว่า 700 คันไปจีน ต้องพบกับความเสียหายที่ด่านชายแดนมูเซ

รถบรรทุกผลไม้กว่า 700 คัน ติดอยู่ที่ประตูพรมแดน Kyinsankyawt และ Pangsaing (Kyugok) ในด่านมูเซ ทางตอนเหนือของรัฐฉานพบว่าเกิดความเสียหายในการส่งออกไปจีนเนื่องจากพบปัญหาความล่าเพราะรถมีจำนวนมาก มีรถบรรทุกสินค้าเพียง 80 คันเท่านั้นที่สามารถเข้าและออกจากประเทศจีนได้หลังจากที่คนขับถูกพบว่าติด Covid-19 และปัญหาจากสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมา ซึ่งตอนนี้ตลาดเมลอนอยู่ในเกณฑ์ราคาดี แต่มีรถบรรทุกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าจีนได้หลังจากคนขับติดเชื้อไวรัส อีกทั้งรถบรรทุกประมาณ 600 คันติดอยู่ด้านนอก แต่มีเพียง 80 เท่านั้นที่สามารถเข้าไปได้ และยังพบว่าธนาคารเกิดปัญหาปิดทำการ เหตุดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งชาวจีนเน้นการใช้รถตัวเองในการบรรทุก ปัจจุบันค่าขนส่งผลไม้อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านจัตต่อการบรรทุกจากพะโคหรือย่างกุ้งและ 1.4 ล้านจัตจากมัณฑะเลย์หรือเขตสะกาย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/over-700-fruit-trucks-bound-for-china-stranded-face-damage-at-border-gates-in-muse

พนักงานของรัฐ 17 คนถูกพักงาน หลังเข้าร่วมประท้วงในเมียนมา

เจ้าหน้าที่สิบเจ็ดคนจากฝ่ายบริหารทั่วไปของรัฐมอญถูกสั่งพักงานเนื่องจากเข้าร่วมใน CDM (ขบวนการอารยะขัดขืน)ซึ่งกับคำสั่งของกรม ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการส่งหนังสือแจ้งไปยังหน่วยข้าราชการจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เข้าร่วมใน CDM อีกด้วย ในเมืองเมาะลำเลิงของรัฐมอญการประท้วงต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพยังคงดำเนินต่อไปในวันที่ 15 ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 64 การเดินขบวนมีข้าราชการ การรถไฟเมียนมา ไปรษณีย์พม่าและหน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ บริษัท เจ้าของร้านสหภาพนักศึกษาและผู้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าร่วมขบวนด้วย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/17-staff-from-mon-state-administration-dept-suspended-for-joining-strike

รัฐบาลเมียนมาทุ่มเงินหนุนการใช้ไฟฟ้าช่วงโควิด

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 64 กระทรวงไฟฟ้าและพลังงานประกาศว่ารัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนสำหรับการใช้ไฟฟ้าในประเทศจำนวน 150 หน่วยในเดือนนี้ ซึ่งออกมาตรการนี้ได้ถูกใช้ไปเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วเพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชากรในช่วงการระบาดของCOVID -19 จากนั้นเงินอุดหนุนจะขยายออกไปเป็นรายเดือนไป คาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 35,000 ล้านจัตต่อเดือน โดยถ้าใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยหรือเท่ากับ 11,550 จัตจะถูกเรียกเก็บเงินแบบก้าวหน้า ขณะที่มิเตอร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ จะไม่ถูกนำมารวมในมาตรการนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/government-extends-subsidies-electricity-myanmar.html

การค้าชายแดนปี’ 64 มีลุ้นเติบโต 4.3% จับตาการค้าข้ามแดนไปประเทศที่ 3

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch)

การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในปีที่ผ่านมาเผชิญความท้าทายอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทั่วโลกต้องประสบเป็นปีแรกไม่เพียงทำให้กำลังซื้อของคู่ค้าชะลอตัว ยังทำให้พรมแดนระหว่างประเทศจำเป็นต้องจำกัดจุดผ่านแดนเหลือเพียงเฉพาะช่องทางที่สำคัญเท่านั้น รวมทั้งเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการตรวจปล่อยรถขนส่งสินค้า สิ่งเหล่านี้กดดันการส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยในภาพรวมให้หดตัวร้อยละ 2.16 มีมูลค่า 766,314 ล้านบาท ในปี 2563

สำหรับปี 2564 เป็นอีกปีที่โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นกว่าเดิม มีทั้งปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่เข้ามาช่วยเสริมให้ตัวเลขการค้าชายแดนพลิกฟื้นกลับมา ขณะที่โครงสร้างการส่งออกสินค้าของไทยที่พึ่งพาตลาดประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยเกินกว่าครึ่ง (เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย) กลายเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ฉุดการส่งออกชายแดนในภาพรวมลดลงตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2564 การส่งออกชายแดนไปตลาดเหล่านี้จะยังมีทิศทางเติบโตเชื่องช้าต่อไปขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 มีมูลค่าการส่งออก 454,005 ล้านบาท ดังนี้

  • การส่งออกชายแดนของไทยเริ่มมีปัญหามีมูลค่าการค้าลดลงเรื่อยมา ด้วยข้อจำกัดด้านกำลังซื้อและจำนวนประชากรของคู่ค้า จึงทำให้ทิศทางการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้เติบโตได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยอย่าง สปป.ลาว และกัมพูชา
  • โครงสร้างการส่งออกสินค้าแบบเดิมของไทยตอบโจทย์ตลาดคู่ค้าได้น้อยลง

จะเห็นได้ว่าโครงสร้างการส่งออกของไทยไม่เอื้อต่อการส่งออกไปยังตลาดชายแดนหลักของไทยดังเช่นในอดีต ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดดาวรุ่งที่จะมาสนับสนุนการค้าชายแดนของไทยอยู่ที่การส่งสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 (สิงคโปร์ จีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ) ซึ่งเริ่มมีสัญญาณเติบโตมาระยะหนึ่ง โดยสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43 ของการส่งออกชายแดนและผ่านแดน (จากที่เคยมีสัดส่วนร้อยละ 37 ในปี 2561) อีกทั้งสินค้าไทยที่ไปตลาดนี้มีศักยภาพโดดเด่นจึงน่าจะเติบโตได้ดีกว่าตลาดอื่นๆ โดยคาดว่าปี 2564 จะเติบโตที่ร้อยละ 8.5 มีมูลค่าส่งออกราว 345,191 ล้านบาท

โดยสรุป ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ซึ่งได้ผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 มาได้อีกปีหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าหลายประเทศยังต้องพึ่งพาการบริโภคสินค้าจากไทย รวมถึงสินค้าในกลุ่ม IT มีสัญญาณเร่งตัวตามกระแสโลกอย่างต่อเนื่องยิ่งผลักดันการส่งออกสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 ให้มีบทบาทสำคัญ ด้วยแรงขับเคลื่อนดังกล่าว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยปี 2564 จะพลิกกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 มีมูลค่าการส่งออก 799,195 ล้านบาท (กรอบประมาณการเติบโตที่ร้อยละ 3.3-5.5 มีมูลค่าการส่งออก 791,602-808,461 ล้านบาท) โดยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าในการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ได้ดีเพียงใด การส่งออกไปตลาดส่วนใหญ่กลับมาขยายตัวยกเว้นบางประเทศที่หดตัวจากปัจจัยเฉพาะ อาทิ เมียนมาที่มีปัญหาการเมืองในประเทศฉุดเศรษฐกิจ และโรคระบาดในสุกรที่กัมพูชาทำให้ฐานปีก่อนสูงผิดปกติอย่างมาก

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องจับตาในระยะต่อไป ต้องยอมรับว่าโครงสร้างการผลิตและส่งออกของไทยในปัจจุบันไม่เอื้อให้ค้าชายแดนไทยเติบโตได้อย่างมั่งคงนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้ามีมูลค่าเพิ่มน้อยในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม ขนาดตลาดมีจำกัดจึงไม่สามารถผลักดันค้าชายแดนให้เร่งตัวได้มาก ทำได้เพียงแค่ประคองการเติบโตไปตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้าเป็นหลัก ขณะที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบในไทยอย่างยางพารากับผลไม้เมืองร้อน ซึ่งมีศักยภาพโดดเด่นในตัวเองมีส่วนช่วยขับเคลื่อนค้าชายแดนไทยไปยังประเทศจีนและเวียดนามได้อย่างต่อเนื่องและยังคงมีช่องทางอันสดใส แต่สินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงในกลุ่มยานยนต์ เทคโนโลยีโดยเฉพาะสินค้า IT ที่อยู่ในกระแสความต้องการของตลาดโลกยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างไม่หยุดยั้ง นับว่ามีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการค้าชายแดนของไทยนับจากนี้ไป แต่สินค้าเหล่านี้จะยังคงเป็นแรงส่งให้แก่ไทยได้อีกนานแค่ไหนนั้นคงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติว่าจะเลือกลงทุนในไทยหรือย้ายไปตั้งฐานการผลิตที่อื่น ดังนั้น การกระตุ้นการค้าชายแดนซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้าในภาพรวมของไทยก็คงต้องเริ่มจาการแก้ปัญหาโครงสร้างการผลิตของไทยให้ยกระดับไปอีกขั้น จนสินค้าไทยเกิดความโดดเด่นเป็นที่ต้องการของคู่ค้าเหนือคู่แข่งชาติอื่นๆ

ที่มา :

/1 https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Border-Trade-z3191.aspx

/2 https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-frontier-19022021

ราคาสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ตลาดมัณฑะเลย์ ราคาลดฮวบ 10%

Mandalay Brokerage House เผยการปิดทำการของธนาคารและการขนส่งจากการประท้วงในประเทศทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาถูกระงับ ส่งผลให้ราคาสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงถึง 10% โดย Mandalay Brokerage House ให้บริการใน 3 ตลาด ได้แก่ การส่งออกไปยังประเทศจีน การส่งออกผ่านย่างกุ้ง และตลาดในประเทศ ซึ่งเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองและการปิดบริการของธนาคารได้นำไปสู่ความยากลำบากในการค้ากับจีนและอินเดีย ทั้งนี้ธุรกิจจะกลับมาก็ต่อเมื่อประเทศมีเสถียรภาพและเมื่อธนาคารกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/mandalay-market-sees-10-pc-drop-prices.html

ส่งออกข้าวโพดไปไทยพุ่ง แต่นำเข้าลดลงกว่าครึ่ง

การส่งออกข้าวโพดไปยังไทยที่ด่านเมียวดีกำลังเติบโต แต่การนำเข้าจากเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลง เมียนมาส่งออกข้าวโพดกว่า 200 คัน ไปยังไทยทุกวันผลเกิดจากการยกวันภาษีการส่งออกสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป การนำเข้าสินค้าของไทยจึงลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความไม่สงบทางการเมืองและการปิดทำการของธนาคารสร้างความเสียหายอย่างมากต่อการค้าของเมียนมา ก่อนหน้านี้ด่านการค้าชายแดนมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ถั่วดิน พริก หัวหอม ปลาและกุ้ง ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 200 ถึง 300 คันที่ขนส่งข้าวโพดมายังไทยทุกวัน มีการประท้วงอย่างต่อเนื่องและการปิดธนาคาร ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การสั่งซื้อสินค้า อีกทั้งไม่สามารถเสียภาษีได้และปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก่อนหน้ามีรถบรรทุกจากไทยประมาณ 400 คันเข้าเมียนมาทุกวัน ตอนนี้มีเหลือเพียง 150 คันเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-corn-exports-rise-thai-imports-more-halved.html

EIC CLMV Outlook Q1/2021

โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลกและการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2020 โดยเวียดนามและเมียนมามีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ขณะที่เศรษฐกิจลาวและกัมพูชาเผชิญการหดตัวจากปัจจัยด้านลบรายประเทศเพิ่มเติม ในภาพรวมนั้นแม้เศรษฐกิจ CLMV จะมีสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 แต่ในช่วงที่ผ่านมาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นไปอย่างช้า ๆ ยกเว้นเวียดนามซึ่งได้อานิสงส์จากการส่งออกที่แข็งแกร่งและความสำเร็จในการควบคุมการระบาด COVID-19

สำหรับในปี 2021 EIC ประเมินว่าการฟื้นตัวเศรษฐกิจ CLMV ในภาพรวมจะยังคงเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่ยังไม่ทั่วถึง โดยขึ้นอยู่กับสามปัจจัยหลักได้แก่

  1. ประสิทธิภาพของมาตรควบคุมการระบาด COVID-19 และความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง
  2. ขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐเพื่อบรรเทาผลกระทบจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจ (scarring effects) ระหว่างที่รอการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในภูมิภาค (herd immunity) ซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นในปี 2022
  3. ปัจจัยเสี่ยงเฉพาะรายประเทศ เช่น ความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลลาว และสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ปะทุขึ้นในเมียนมา

ซึ่งหากเปรียบเทียบกันในภูมิภาคแล้วนั้นเศรษฐกิจของเวียดนามน่าจะขยายตัวได้เร็วที่สุดจากทั้งภาคการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังคงขยายตัวและอุปสงค์ภายในประเทศที่ฟื้นตัวได้ดี ในขณะที่เศรษฐกิจของเมียนมายังคงมีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่องในปีนี้จากปัจจัยลบทั้งสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ต่อเนื่องและปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง

กัมพูชา :

  1.  ฟื้นตัวอย่างค่อนเป็นค่อนไปตามเศรษฐกิจโลกและ FDI ที่ทยอยกลับมา โดยเฉพาะจากจีน
  2. ความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และมาตรการทางการคลังเป็นแรงสนับสนุนหลักต่ออุปสงค์ภายในประเทศ
  3. ข้อตกลงการค้าเสรีจีนกัมพูชาจะช่วยผลักดันการฟื้นตัวของการส่งออกในปี 2021
  4. การท่องเที่ยวที่ยังคงซบเซาต่อเนื่องเป็นความเสี่ยงสำคัญ

สปป.ลาว :

  1. ฟื้นตัวปานกลางด้วยอานิสงส์จากการกลับมาเปิดด่านค้าชายแดนและการคลายมาตรการ Lockdown ในประเทศ
  2. การค้าและ FDI ที่กลับมาฟื้นตัวจะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศทยอยฟื้นตัว
  3. มาตรการกระตุ้นทางการคลังจะยังมีขนาดเล็กจากขีดความสามารถการทำนโยบายการคลุง (fiscal space) ที่จำกัด
  4. หนี้สาธารณธที่อยู่ในระดับสูงขณะที่เงินกีบอ่อนค่าลงต่อเนื่อง การขาดแคลนเงินสำรองระหว่างประเทศ และการถูกปรับลดอันดับเครดิต ถือเป็นความเสี่ยงหลักต่อการบริหารจัดการหนี้

เมียนมา :

  1. ฟื้นตัวช้าท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่และความไม่แน่นอนทางการเมือง
  2. การส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโมฟื้นตัวไปอย่างช้าๆ หลังทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown
  3. FDI จะยังซบเซา เนื่องจากนักลงทุนชะลอแผนการลงทุนออกไปหลังเผชิญความไม่แน่นอนทางการเมือง
  4. เหตุการณ์ประท้วงที่ลุกลามในประเทศและแนวโน้วถูกคว่ำบาตรเป็นความเสี่ยงหลักการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

เวียดนาม :

  1. การส่งออกที่ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ยังคงเป็นแรงสนับสนุนหลักของเศรษฐกิจ
  2. เศรษฐกิจภายในประเทศกลับคืนสู่ภาวะปกติหลังภาครัฐใช้มาตรการควบคุม COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เครือข่ายข้อตกลงการค้าเสรีที่กว้างขวางจะช่วยผลักดันการส่งออกและดึงดูด FDI อย่างต่อเนื่องในระยะกลาง
  4. ความเสี่ยงที่ต้องจับตาคือการที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีเวียดนามเป็นประเทศผู้บิดเบือนค่าเงิน แม้จะยังไม่มีมาตรการตอบโต้จากสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการก็ตาม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7392

เมียนมา ตัดสัญญาณเน็ต กระทบธุรกิจออนไลน์ยอดขายลดฮวบ

ธุรกิจออนไลน์ของเมียนมากำลังเจอปัญหาจากการประกาศเคอร์ฟิว การปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลทหาร ตั้งแต่เวลา 01.00 น. ถึง 9.00 น. ร้านค้าออนไลน์กล่าวว่ายอดขายลดลงครึ่งหนึ่งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมจากการเชื่อมต่อที่หยุดชะงักและความเร็วที่ช้าลง จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาทำให้ธุรกิจหันเหปรับเปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอาหารออนไลน์อย่าง Food Panda  หรือธุรกิจอาหารและร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบต่อยอดขายที่ลดลงจากการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/internet-cut-spells-trouble-online-businesses-myanmar.html