สนง.สถิติแห่งชาติ คาด GDP เวียดนาม ปี 63 โต 2-3%

นาย Nguyen Bich Lam ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) กล่าวว่าในปีนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามเติบโตร้อยละ 2-3 ซึ่งตรงกับที่กระทรวงวางแผนและการลงทุนคาดการณ์ไว้และใกล้เคียงกับทางธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.8 เมื่อต้นเดือนนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และจะกลับมาฟื้นตัวที่ร้อยละ 6.3 ในปีหน้า ชณะที่ การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าว ยึดจากผลการดำเนินงานธุรกิจและการผลิตในเดือนสิ.ค.และในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รวมถึงความสำเร็จของรัฐบาลในการรับมือโควิด-19 และการเร่งเบิกจ่ายการลงทุนของภาครัฐและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจที่ดีขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA ที่จะช่วยให้ภาคเกษตร ประมงและอุตสาหกรรมเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-gdp-to-grow-23-percent-this-year-former-gso-director/186314.vnp

เวียดนามตั้งเป้า GDP ปี 64 โต 6.5%

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ได้ตั้งเป้าการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2564 ร้อยละ 6-6.5 ซึ่งเป้าหมายจากการประชุมรัฐบาลในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในปีนี้และแผนการณ์ในปีหน้า ทั้งนี้ ทางกระทรวง MPI ร่วมมือกับกระทรวงการคลังในเรื่องแผนการใช้งบประมาณในปีนี้และส่งให้นายกรัฐมนตรีลงนามอนุมัติต่อไป ทั้งสองกระทรวงข้างต้นจะรายงานเกี่ยวกับการใช้งบประมาณในวันที่ 25 กันยายนและเร่งเบิกจ่ายโครงการในปีนี้ นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐต่างๆ จะส่งแผนรายละเอียดการลงทุนที่ใช้งบประมาณในปี 2563 ภายในวันที่ 30 กันยายน หลังจากนั้น กระทรวง MPI จะร่วมมือกับกระทรวงการคลัง เพื่อประเมินโครงการและรายงานไปยังนายกรัฐมนตรี

 ที่มา : https://vietreader.com/business/16757-vietnam-targets-65-gdp-2021-growth.html

เอดีบี ชี้เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาเอเชียหดตัวรอบเกือบ 60 ปี ฟื้นยากแบบตัว L

เอดีบี เปิดรายงาน Asian Development Outlook 2020 Update วันนี้ (15 กันยายน 2563) ว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย คาดว่าจะหดตัวในปีนี้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบหกทศวรรษ หรือตั้งแต่ปี 2503 (ต้นทศวรรษ 1960s) ที่ร้อยละ 0.7 แต่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวในปีหน้าที่ร้อยละ 6.8 เนื่องจากภูมิภาคเริ่มฟื้นตัวจากหายนะทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส (COVID- 19) สาเหตุหลักของเศรษฐกิจที่หดตังลงมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และความขัดแย้งด้านการค้าและเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อในปีนี้จนถึงปีหน้า รัฐบาลในแถบนี้ได้ใช้เงินทั้งหมด 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15% เมื่อเทียบกับตัวเลขเศรษฐกิจ (GDP) ในแถบเอเชีย ทั้งนี้ เอดีบีรายงานเกี่ยวกับประเทศไทย แม้ว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ดี แต่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าว ส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยรายงาน ADO ล่าสุดในวันนี้ คาดว่า GDP ในปีนี้จะหดตัวที่ร้อยละ 8.0 ซึ่งหดตัวมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายนที่หดตัวร้อยละ 4.8 สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ปรับเพิ่มจากร้อยละ 2.5 ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายน

ที่มา : https://www.prachachat.net/world-news/news-521499

ADB หั่นการเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามในปี 63 เหลือ 1.8%

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามลงเหลือ 1.8% ในปี 2563 จากครั้งก่อนที่ปรับลดเหลือร้อยละ 4.1 ในเดือนมิ.ย. แต่คาดว่าในปี 64 การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 6.3 ซึ่งสาเหตุของเศรษฐกิจที่หดตัวลงมาจากการบริโภคในประเทศลดลงและความต้องการทั่วโลกอ่อนแอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามจะยังคงได้รับประโยชน์หลายประการ ได้แก่ การย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน และผลจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-อียู (EVFTA) เป็นต้น ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 3.3 ในปี 63 และร้อยละ 3.5 ในปี 64 แต่ทว่าทางธนาคาร ADB คาดว่าเวียดนามเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่เป็นบวกภายในปีนี้ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะหดตัวร้อยละ 3.8 ในปี 63

ที่มา : http://hanoitimes.vn/adb-cuts-vietnam-gdp-growth-forecast-to-18-in-2020-314210.html

รัฐบาลเมียนมาตั้งเป้า GDP โต 6% ในปีงบประมาณ 63-64

รัฐสภาได้อนุมัติกฎหมายการวางแผนแห่งชาติสำหรับปีงบประมาณ 63-64 ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 6 จากการคาดการณ์ของปีงบประมาณ 62-63 จะขยายตัวร้อยละ 7แต่เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 คาดว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 4.3 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการระบาดของ COVID-19 ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาจะเติบโตร้อยละ 7.2 ในปี 63-64 ขณะที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียการคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6 ภาคการผลิตไฟฟ้าคาดว่าจะเติบโตมากที่สุดร้อยละ 12.7 ในปีงบประมาณหน้า ส่วนที่สามารถเห็นการเติบโตได้คือการสื่อสาร การธนาคารและการเงินการ ขนส่ง และการก่อสร้าง ด้านการค้าคาดว่าจะเติบโตขึ้นด้วยการส่งออกรวม 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะสูงถึง 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทำให้ขาดดุลการค้า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-targets-6-gdp-growth-2020-21.html

สปป.ลาวเผชิญกับการส่งเงินกลับประเทศที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

คณะกรรมการวางแผนการเงินและตรวจสอบของสมัชชาแห่งชาติและนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกล่าวว่าการส่งเงินกลับประเทศในสปป.ลาวคาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 50 ในปี 63 อันเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด -19 ประธาน การส่งเงินกลับประเทศดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในเศรษฐกิจสปป.ลาวและความพยายามลดความยากจน ซึ่งแรงงานข้ามชาติสปป.ลาวมากกว่า 100,000 คนได้เดินทางกลับบ้านจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่วนใหญ่ทำงานในประเทศไทยส่วนที่เหลือทำงานในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น และแรงงานบางส่วนที่ทำงานในประเทศอื่น ๆ แต่มีจำนวนไม่มากนัก ตามรายงานของธนาคารโลกฉบับล่าสุดที่เปิดเผยเมื่อเดือนมิ.ย.ปีนี้ผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโควิด -19 ส่งผลเสียต่อสปป.ลาวในการส่งเงินเข้าประเทศและอาจผลักดันให้ผู้คนจำนวนมากถึง 214,000 คนเข้าสู่ความยากจน นับตั้งแต่เกิดการระบาดส่งผลให้มีการส่งเงินกลับประเทศลดลงประมาณ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 0.7% ของ GDP ในปี 63 ครัวเรือนในสปป.ลาวประมาณ 9 % ได้รับการโอนเงินจากต่างประเทศและการส่งเงินคิดเป็น 60% ของรายได้ครัวเรือน ตามรายงานของธนาคารโลกรายได้ครัวเรือนของผู้รับลดลงอย่างมากอาจส่งผลให้อัตราความยากจนเพิ่มขึ้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4 – 3.1 % ในปี 63 อย่างไรก็ตามการหยุดชะงักของประเทศขัดขวางกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเงินในประเทศและรายได้ของคนในท้องถิ่น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_to_159.php

“สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด” คาดเศรษฐกิจเวียดนามปี 63 โต 3%

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด มองว่าภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามปี 2563 น่าจะเติบโตแบบชะลอตัวต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ร้อยละ 3 เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวของธนาคารฯ สูงกว่าการคาดการณ์ของ IMF ไว้ที่ร้อยละ 2.7 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของ ADB ที่ร้อยละ 4.1 ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะกลับมาฟื้นตัว อันจะเป็นแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเวียดนามยังคงค่อนข้างพึ่งพาเศรษฐกิจโลก รองจากสิงคโปร์ โดยมีอัตราการค้าเทียบกับจีดีพี อยู่ที่ร้อยละ 198 อันดับสูงสุดในเอเชีย ได้แรงหนุนจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุนี้ จึงคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปี 63 โตร้อยละ 3 อีกทั้ง การส่งเสริมของนโยบายการเงินและการคลังจะเข้ามาผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของรัฐบาลไว้ที่ร้อยละ 4-5 นอกจากนี้ ยอดการลงทุน FDI จะลดลงในปีนี้ เนื่องจากความไม่แน่นอนและความเชื่อมั่นในการลงทุนทั่วโลกหดตัวลง คิดเป็นมูลค่ารวม 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-2020-growth-seen-at-3-stanchart-313393.html

คาดปีนี้ GDP เวียดนามโต 3.8%

สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจและนโยบายเวียดนาม (VEPR) คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปีนี้จะสูงถึงร้อยละ 3.8 หากสิ้นสุดการระบาดของเชื้อไวรัสในช่วงครึ่งหลังของปีและกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อยๆกลับมาดำเนินการต่อ ซึ่งมุมมองของหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ VEPR มองว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงว่าในปีนี้เศรษฐกิจจะโตร้อยละ 3.8 ขณะที่อีกฝั่งหนึ่ง หากโอกาสเป็นไปได้อยู่ในระดับต่ำ เศรษฐกิจจะโตแค่ร้อยละ 2.2 เนื่องจากการแพร่ระบาดลุกลามของโรคโควิด-19 ยังอยู่ต่อไป อย่างไรก็ตาม หากเชื้อไวรัสเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงินในระดับโลก ส่งผลให้หลายประเทศต้องขยายเวลาล็อคดาวน์ไปอีกจนกว่าไตรมาสที่สี่ของปีนี้ ผลที่ตามมากิจกรรมการส่งออก-นำเข้าของเวียดนามจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและจะไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในปีนี้ นำไปสู่ภาคการผลิตในประเทศอ่อนแอลง นอกจากนี้ อีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เศรษฐกิจเวียดนามกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คือ ข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) และการเร่งเบิกจ่ายไปยังโครงการลงทุนสาธารณะ ทำให้เกิดการขยายการลงทุนและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-gdp-forecast-to-grow-38-pct/178955.vnp

การเติบโตของเมียนมาที่ลดลงกว่าที่คาดไว้ในในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มขยายตัวเพียง 4.3% ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของรัฐบาลที่ 7 ผลมาจากการระบาดของ COVID-19 การขยายตัวทางเศรษฐกิจชดเชยการเติบโตของจีดีพีที่ 6% ในช่วงหกเดือนแรกของปีงบประมาณซึ่งส่งผลให้ผลผลิตรวมมีเพียง 74.5 ล้านล้านจัตระหว่างตุลาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 63% จากเดิมที่ 119 ล้านล้านจัตในช่วงเวลาดังกล่าว ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นาย U Set Aung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมรายงานจากกองทุนของรัฐและเงินกู้ระหว่างประเทศจำนวน 2.8 ล้านล้านจัตถูกนำไปใช้ในการดำเนินการตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ในปีงบประมาณ 2562-2563 เงินทุนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพ เงินสดและอาหารให้กับครัวเรือนที่ยากจนและสนับสนุนภาคเกษตรและปศุสัตว์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/steeper-growth-decline-expected-myanmar-year-govt.html

เศรษฐกิจภาพรวมของกัมพูชาซบเซาในช่วงครึ่งปีแรก

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาซบเซาในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เนื่องจากผลกระทบของการระบาด COVID-19 โดยคาดการณ์ว่า GDP ของประเทศจะหดตัวมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปีนี้ ซึ่งผู้ว่าการ NBC กล่าวว่าเสาหลักของเศรษฐกิจกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือภาคการผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบอยู่บ้างบางส่วน อย่างไรก็ตามภาคเกษตรกลับเติบโตเล็กน้อยใน ขณะที่ภาคการเงินก็ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ในทิศทางที่มีกำไร ซึ่งในรายงานครึ่งปีแรกของปี 2020 ที่เผยแพร่โดย NBC กล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 11 เมื่อเทียบปีต่อปีเนื่องจากการหยุดชะงักของอุปทานด้านวัตถุดิบขั้นพื้นฐานที่เข้มงวดขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกลดลงร้อยละ 12.5 ​​และเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 10 แต่การผลิตสำหรับตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบเป็นรายปีเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่ขยายตัวและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ลดลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744787/cambodias-economy-stagnant-in-first-half/