คณะผู้แทนไทยร่วมหารือนักลงทุนกัมพูชา ค้นศักยภาพการลงทุนในพระสีหนุ

อบจ.พระสีหนุ รับรองคณะผู้แทนจากกองพัฒนาผู้ประกอบการไทย หวังหารือศักยภาพการลงทุนในจังหวัดพระสีหนุ ซึ่งการหารือดังกล่าวนำโดย Long Dimanche รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระสีหนุ พร้อมด้วยคณะผู้แทนสมาคมการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสมาคมผู้ประกอบการ เข้าพบคณะผู้แทนไทยนำโดยนายนายอรรจน์สิทธิ สร้อยทอง เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา ด้านรองผู้ว่าฯ นำเสนอว่าจังหวัดพระสีหนุมีจุดเด่นคือชายหาดสวยงาม มีเกาะสำหรับการท่องเที่ยว 32 เกาะ และมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ รวมถึงมีท่าเรือน้ำลึกของจังหวัดมีความลึกอยู่ที่ 9.5 เมตร ซึ่งถือเป็นช่องทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่สำคัญแห่งหนึ่งของกัมพูชา โดยปัจจุบันมีการนำเข้าสินค้าประมาณกว่าร้อยละ 70 ผ่านท่าเรือดังกล่าว สำหรับปี 2030 ทางการกัมพูชาวางแผนที่จะพัฒนาท่าเรือให้มีความลึกเพิ่มเป็น 14.5 เมตร และ 17.5 เมตร ตามลำดับ เพื่อรองรับเรือขนส่งขนาดใหญ่ อีกทั้งจังหวัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีโรงงานประมาณกว่า 170 แห่ง ดำเนินการ สำหรับในช่วงที่ผ่านมาจังหวัดพระสีหนุได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีต่อจังหวัดตราดและจันทบุรีของไทย เพื่อหวังส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันในอนาคตอันใกล้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501345427/preah-sihanouk-thai-delegation-discuss-investment-potential/

CGCC ค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในกัมพูชา รวมกว่า 130 ล้านดอลลาร์

สถาบันค้ำประกันสินเชื่อ ประเทศกัมพูชา (CGCC) ได้สนับสนุนธุรกิจในกัมพูชามากกว่า 1,566 แห่ง ด้วยการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับภาคธุรกิจวงเงินรวมกว่า 132.74 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนมิถุนายนปีนี้ โดย CGCC กล่าวเสริมว่า ยอดสินเชื่อค้ำประกันคงค้างทั้งหมดในปัจจุบันอยู่ที่ 105 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ยอดรวมของยอดค้ำประกันคงค้างอยู่ที่ 75 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSME) จำนวน 1,432 ราย และธุรกิจขนาดใหญ่ 134 รายในกัมพูชา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน การลงทุน และการขยายธุรกิจ เป็นสำคัญ ด้าน Mey Vann รัฐมนตรีต่างประเทศกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง กล่าวว่า โครงการค้ำประกันสินเชื่อมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างผู้ประกอบการและปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงินในกัมพูชา โดยอำนวยความสะดวกในการกระจายสินเชื่อไปยังภาคธุรกิจต่างๆ ควบคู่ไปกับนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ เพื่อให้แน่ใจว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับการพัฒนาจากกลไลดังกล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501327208/cgcc-provides-130m-credit-guarantees-to-over-1500-businesses/

กระทรวงฯ พร้อมหนุน SMEs เพื่อความยั่งยืน

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกัมพูชา ถือมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้านกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (MISTI) จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการส่งเสริมให้ SMEs ด้วยหลักการของความยั่งยืนให้เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ ผ่านกลยุทธ์ IBeeC ซึ่งได้หารือกันในระหว่างการประชุม Sustainable Business Forum ที่จัดโดย Oxfam and Young Entrepreneurs Association of Cambodia (YEAC) เพื่อเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ร่วมกับภาคองค์กรพัฒนาเอกชนจะสามารถช่วยให้ SME/MSMEs ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ในขณะเดียวกัน Credit Guarantee Corporation of Cambodia (CGCC) พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการโดยในช่วงที่ผ่านมาองค์กรได้ค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการไปแล้วมูลค่ากว่า 113.6 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ กระจายไปยังภาคธุรกิจต่างๆ เกือบ 1,300 แห่ง ทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501321304/ministry-urges-smes-to-embrace-sustainability-inclusiveness/

นายกฯ ฮุน เซน เร่งส่งออกข้าวพรีเมียมไปยังสิงคโปร์มากขึ้น

นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวเกรดพรีเมียมไปยังสิงคโปร์เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันข้าวพรีเมียมเป็นที่ต้องการของสิงคโปร์อีกทั้งยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร โดยกัมพูชาคาดว่าจะกลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายสำคัญให้กับสิงคโปร์ในระยะต่อไป อีกทั้งสิงคโปร์ยังให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายล้านคนในแต่ละปี ทำให้สิงคโปร์ต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ เพื่อรองรับกับความต้องการที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งข้าวของกัมพูชา (Phka Rumduol) ได้รับรางวัล World’s Best Rice 2022 Award จากงาน World Rice Conference (WRC) โดยนับเป็นการได้รับรางวัลครั้งที่ 5 ในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมข้าวของกัมพูชา แสดงถึงคุณภาพและมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล สำหรับการส่งออกข้าวของกัมพูชาในช่วง 5 เดือนแรกของปีแตะ 278,184 ตัน ไปยัง 50 ประเทศทั่วโลก สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 191 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานของสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ด้านนายกฯ ยังขอให้เอกอัครราชทูตกัมพูชาส่งเสริมและสนับสนุนสินค้า วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของกัมพูชาผ่านการทูตเชิงพาณิชย์ต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501317626/pm-urges-premium-rice-exports-to-singapore/

“พาณิชย์” แนะผู้ประกอบการไทยเจาะตลาดเวียดนาม

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) แนะนำผู้ค้าปลีกไทยที่ลงทุนในตลาดเวียดนามให้ความสำคัญกับการกระบวนการผลิตสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและฉลากเขียว อีกทั้งแนะนำให้ผู้ประกอบการหันมาสนใจช่องทางโซเชียลมีเดียในเวียดนาม อาทิเช่น การขายสินค้าบน Facebook Live และ TikTok ซึ่งจะทำให้เข้าถึงผู้บริโภคชาวเวียดนามได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ อีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายการค้าไปยังตลาดเวียดนาม เนื่องจากใช้ต้นทุนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการเปิดร้านค้าจริง และยังช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าออนไลน์ ทำให้ธุรกิจที่ต้องการเข้าตลาดออนไลน์ในเวียดนาม จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษากฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซในประเทศเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/thai-retailers-advised-to-effectively-exploit-vietnamese-market/254883.vnp

บริษัทเบียร์ต่างชาติ 3 ราย จ่ายภาษีให้รัฐบาลเมียนมา 155 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

กลุ่มนักเคลื่อนไหวในเมียนมา “Justice for Myanmar” รายงานในเดือนที่แล้วว่าผู้ผลิตเบียร์ต่างประเทศ ได้แก่ ไฮเนเก้น (Heineken), คาร์ลสเบิร์ก (Carlsberg) และไทยเบฟเวอเรจ (Thai Beverage) ที่ดำเนินกิจการในเมียนมา หลังมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 โดยบริษัทเบียร์ต่างชาติดังกล่าวทำการจ่ายภาษี 155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การจ่ายภาษีในครั้งนี้ถือเป็นการสนับสนุนผู้ที่ก่ออาชญากรรมสงครามและยังมีส่วนร่วมโดยตรงต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้น ดังนั้นบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ต้องตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมเป็นอาชญากรรมของสภาทหารหรือไม่ หรือจะหยุดจ่ายภาษี

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/myanmar/beer-05082023095704.html

“พาณิชย์-DITP” ชี้เป้านักลงทุนไทยลงทุนธุรกิจโลจิสติกส์ในเวียดนาม

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้มอบหมายให้กรมฯ สำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับข้อมูลจาก นางสาวธนียา ฟูเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย ถึงการติดตามสถานการณ์การแข่งขันของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในเวียดนาม และโอกาสในการเข้าไปลงทุนด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการไทย

ทั้งนี้ ทูตพาณิชย์ได้รายงานแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในเวียดนามว่าเมื่อเร็วๆ นี้ นาย เล มินห์ ไค รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้ลงนามในข้อมติ No.163/NQ-CP ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินการงานหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศ เพื่อพัฒนาบริการโลจิสติกส์ให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเพื่อเชื่อมโยงกับการพัฒนาการผลิตสินค้า การนำเข้า การส่งออก และการค้าภายในประเทศ และการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านบริการโลจิสติกส์ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสการลงทุนธุรกิจโลจิสติกส์ในเวียดนามของนักลงทุนไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการคลังสินค้าและการขนส่งที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.thailandplus.tv/archives/670257

ผู้ประกอบการญี่ปุ่น ทำกำไรพุ่งในเวียดนาม ปี 65

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยผลการสำรวจบริษัทญี่ปุ่น จำนวนทั้งสิ้น 4,400 แห่งที่ดำเนินธุรกิจในเอเชียและโอเชียเนีย รวมถึง 600 แห่งในเวียดนาม พบว่าบริษัทญี่ปุ่นในเวียดนามส่วนใหญ่ 59.5% สามารถทำกำไรในปี 2565 เพิ่มขึ้น 5.2% จากปีที่แล้ว และหากศึกษาถึงแนวโน้มของทำกำไรของธุรกิจในปี 2565 แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิต มีอัตราการทำกำไรเฉลี่ยที่ 57.6% และอัตราสำหรับการเงินและการดูแลสุขภาพ และการเกษตร อยู่ที่ 100% ตลอดจนภาคอสังหาริมทรัพย์ ไอซีที เหมืองแร่ พลังงานและการค้าปลีก อยู่ที่ 81.5%, 57.1%, 52.9%, 50% และ 25% ตามลำดับ

นอกจากนี้ นาย Takeo Nakajima หัวหน้าสำนักงานผู้แทน JETRO กรุงฮานอย กล่าวว่าแม้จะมีความท้าทายหลายประการ แต่ว่าบริษัทญี่ปุ่นได้วางแผนที่จะขยายธุรกิจในเวียดนามในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพการเติบโตในตลาดท้องถิ่น

ที่มา : https://vir.com.vn/more-japanese-firms-profit-in-vietnam-in-2022-99738.html

SME Bank กัมพูชาปล่อยสินเชื่อเพื่อธุรกิจกว่า 2,000 ราย

ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งกัมพูชา จำกัด (มหาชน) (SME Bank) ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจ SME ภายในประเทศกัมพูชา มูลค่ามากกว่า 200 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นจำนวนผู้ประกอบการอย่างน้อย 2,500 ราย เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปล่อยสินเชื่อภายใต้โครงการร่วมทุนเพื่อการฟื้นฟูการท่องเที่ยว (TRCS) มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เริ่มเสนอเงินกู้ในเดือนกรกฎาคมปืที่ผ่านมา ขณะที่เดือนธันวาคม 2022 เพียงเดือนเดียว SME Bank ได้ปล่อยสินเชื่อไปกว่า 53.4 ล้านดอลลาร์ แก่ธุรกิจ 231 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501234112/sme-banks-loans-help-more-than-2000-businesses/

“เวียดนาม” เผยยอดธุรกิจจัดตั้งใหม่ ม.ค. 10,800 ราย

เวียดนามเปิดเผยว่าตัวเลขจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนมกราคม 2566 พบว่ามีจำนวน 10,800 ราย ลดลง 16.6% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจรวมทั้งหมด 15,100 รายที่กลับมาดำเนินกิจการ เพิ่มขึ้น 146.8% และลดลง 21.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้จำนวนวิสาหกิจและธุรกิจที่ตั้งขึ้นใหม่ทั้งหมดที่กลับมาเปิดดำเนินกิจการการในเดือนมกราคมอยู่ที่ 25,900 ราย

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/10-800-new-enterprises-established-in-vietnam-in-january-2023-2105124.html