ADB ชี้ RCEP-FTA ผลักดันเศรษฐกิจกัมพูชา

Anthony Gill ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ประจำสาขากัมพูชา กล่าวว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี (FTA) จะสร้างประโยชน์ให้กับกัมพูชาเป็นอย่างมากในระยะยาว โดยเฉพาะในด้านของการค้าและการลงทุนเป็นสำคัญ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่น และก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในประเทศ โดย ADB ระบุว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5.3 ในปี 2022 และเติบโตร้อยละ 6.5 ในปี 2023 อันเนื่องมาจากภาคการส่งออกสินค้า และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงสถานการณ์การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501054249/adb-says-rcep-bilateral-ftas-to-bring-great-benefits-to-cambodia/

โควิดปี 2020 ทำให้ชาวอาเซียนกว่า 4.7 ล้านคน ‘ยากจนขั้นรุนเเรง’ ตกงาน-ไม่มีรายได้

การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่เเล้ว มีส่วนทำให้ประชาชนในอาเซียนเข้าสู่ภาวะ ‘ยากจนขั้นรุนแรง’  (Extreme Poverty) เพิ่มขึ้นกว่า 4.7 ล้านคน เเละสูญเสียงานถึง 9.3 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโรคระบาด แม้ว่า ADB คาดว่าการเติบโต 5.1% ในปี 2022 จากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ก็เตือนว่าหากเกิดไวรัสกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ก็สามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8% ทั้งนี้ ADB เรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมในระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาจเพิ่มขึ้นอีก 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้มีมูลค่าเเตะ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 3%

 

ที่มา : https://positioningmag.com/1377981

‘ADB’ ชี้ 3 ทางเลือกที่ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม

นายโดนัลด์ แลมเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาธุรกิจภาคเอกชนของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้เปิดเผย 3 ทางเลือกให้กับคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม ธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของนั้นกลายมาเป็นตัวเร่งให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเวียดนามมีผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจกว่า 24% อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SMEs ที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการเงิน ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานจะคล้ายกับผู้ชายที่เป็นเจ้าของธุรกิจและมีโอกาสต่ำกว่า 10% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการชายที่ต้องการกู้เงินจากธนาคาร ข้อจำกัดเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสำหรับผู้ประกอบการหญิงเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นปัญหาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของธนาคาร ADB ได้เสนอทางเลือก 3 ด้านในการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม ได้แก่ 1) กลยุทธ์ เจ้าหน้าที่ธนาคารต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ประกอบการหญิง 2) กลยุทธ์ขององค์กรว่ามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ 3) ข้อมูลพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ โครงสร้างลูกค้า ฯลฯ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-specialist-proposes-ways-to-empower-women-owned-firms-in-vietnam-post928967.vov

ADB กัมพูชา ร่วมหารือโครงการสนับสนุนด้านการค้าภายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้หารือเกี่ยวกับความช่วยเหลือด้านเทคนิคของธนาคาร ในการดำเนินการตามโครงการสนับสนุนภาคการค้าและการแข่งขันของกัมพูชา ภายใต้ความช่วยเหลือทางเทคนิคตามนโยบาย เพื่อเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา แสดงความขอบคุณต่อความช่วยเหลือทางการเงินและทางเทคนิคอย่างต่อเนื่องจาก ADB ซึ่งสอดคล้องกับลำดับความสำคัญของกระทรวง ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายใรประเทศ
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50993255/cambodia-adb-discuss-trade-and-competitiveness-programme/

‘ADB’ หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจมาเลเซียและเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจเวียดนามและมาเลเซียในปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสที่ 3 ขณะเดียวกันปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียลงมาสู่ระดับ 7.0% ในปีนี้ และ 5.3% ในปี 2565 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.1% และ 5.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ ตามรายงาน “Asian Development Outlook” ระบุว่าในกลุ่มประเทศเอเชีย จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง และระดับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ไวรัสตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “โอมิครอน” เสี่ยงคุกคามเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม คาดว่าจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.0% ในปีนี้ จากที่คาดการณ์เดิมที่ระดับ 3.8% ก่อนที่จะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของมาเลเซีย คาดว่าจะขยายตัว 3.8% ในปีนี้ และ 5.9% ในปีหน้า

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/ADB-slashes-Malaysia-and-Vietnam-annual-growth-forecasts

เอดีบีลงขันมูลค่า 665 ล้านเหรียญ ฟื้นฟูเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม

กลาสโกว์ สหราชอาณาจักร (2 พฤศจิกายน 2564) พันธมิตรทั้ง 4 ได้ให้คำมั่นร่วมกันในการจัดตั้งกองทุนจำนวน 665 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับแพลตฟอร์มที่บริหารจัดการโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ เอดีบี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะระดมเงินทุน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้สำหรับโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีคาร์บอนต่ำและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเร่งการฟื้นตัวของภูมิภาค จากเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) การระดมทุนดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในการประชุมครั้งที่ 26 ของการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ โดยความร่วมมือดังกล่าวนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (ASEAN Green Recovery Platform) เพื่อสนับสนุนกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Catalytic Green Finance Facility (ACGF) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Infrastructure Fund) ที่บริหารจัดการโดยเอดีบี

ที่มา : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/667142

ADB อนุมัติเงินกู้เพื่อการปรับปรุงถนนแก่รัฐบาลกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้จำนวน 82 ล้านดอลลาร์ ให้กับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อใช้ในการปรับปรุงถนนในเขตพื้นที่จังหวัด ไพรแวง และกันดาล โดยคาดว่าโครงการนี้จะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจอนุภาคกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่ง ADB ได้ให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นระยะที่ 2 ของโครงการปรับปรุงเครือข่ายถนน โดยความพยายามนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับเวียดนาม และสนับสนุนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกข้ามพรมแดนระหว่างจังหวัด ไพรแวง และกันดาล ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดแผนในการพัฒนาระดับชาติเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง และมีมันคง โดยสามารถรองรับภาคการขนส่งภายในประเทศที่กำลังเผชิญอยู่กับความท้าทายในปัจจุบัน อาทิเช่น ถนนในชนบทส่วนใหญ่เป็นถนนราดยาง และมีเส้นทางอยู่จำกัด ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดด้านการขนส่ง รวมถึงเพื่อรองรับปัจจัยด้านการเติบโตของประชากรและการจ้างงานของประเทศภายในปี 2030

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50944155/adb-approves-82-million-loan-to-government-towards-road-improvement-projects/

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) รายงานโควิด-19 ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในลาว

รายงานจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ระบุว่า การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ไม่คาดคิดทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศลาวล่าช้า โดยการบริโภคได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการควบคุมไวรัสที่บังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน ขณะนี้เศรษฐกิจของลาวคาดว่าจะเติบโต 2.3% ซึ่งก่อนหน้านี้คสดกสรณ์ไว้ที่ 4.0% ในเดือนเมษายน ทั้งนี้รายงานระบุว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวจะได้รับการสนับสนุนจากการออกใบอนุญาตการลงทุนจากประเทศพัฒนาแล้วและรายได้จากการส่งออกไฟฟ้า ตลอดจนแผนเปิดทางรถไฟลาว-จีนมูลค่า 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนธันวาคม ซึ่งจะเชื่อมโยงเมืองหลวงของลาวกับจีนเข้าด้วยกันและการส่งเสริมการพัฒนาด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับลาวในการบรรเทาความยากจนและผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Covid186.php

ADB ปรับลดคาดการณ์ GDP กัมพูชา เหลือร้อยละ 1.9

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.9 จากการคาดการณ์ในเดือนเมษายนที่คาดการณ์การเติบโตไว้ที่ร้อยละ 4 โดยในปี 2020 เศรษฐกิจกัมพูชาหดตัวที่ร้อยละ 3.1 จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งธนาคาร ADB กล่าวว่าการระบาดที่ยืดเยื้อของโควิด-19 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทางธนาคารปรับลดการประมาณการณ์ลง อีกทั้งยังรายงานเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยทางการกัมพูชาพยายามเป็นอย่างมากในการแก้ปัญโควิด-19 ด้วยการเร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งปัจจุบันได้ทำการฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว มากกว่า 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด 16 ล้านคน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50939651/adb-slashes-kingdoms-gdp-forecast-to-1-9-due-to-covid/

IMF เตือนเศรษฐกิจเมียนมาอาจหยุดโตในปี 64

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยเศรษฐกิจเมียนมาคาดเติบโตช้าลงในปีนี้เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 แต่น่าจะพุ่งขึ้นในปีหน้า  ในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือ 0.5% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.2% จากปีที่แล้ว กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเอสเอ็มอีและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เสียงจะไก้รับผลกระทบ ทั้งนี้คาดว่าจะฟื้นตัวในปีหน้า 7.9% จากผลกระทบคาดว่าปัญหาความยากจนจะเพิ่มขึ้น ด้านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งเมื่อต้นปีนี้ที่ผ่านมาคาดการณ์ว่าการเติบโตของเมียนมาจะชะลอตัวลงเหลือ 1.8% ในปีงบประมาณที่ 63 ส่วนปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็น 6% ทั้งนี้ IMF ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือจำนวน 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/imf-projects-muted-growth-2021-economy.html