การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปในปี 2020

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 3.863 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับตัวเลขที่ได้ถูกบันทึกไว้ในปี 2019 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการระบาดของโควิด-19 และ Brexit ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป 3.203 พันล้านดอลลาร์ และได้ทำการนำเข้าสินค้าจากสหภาพยุโรปจำนวน 659 ล้านดอลลาร์ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 คณะกรรมาธิการยุโรปแนะนำให้สหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) ที่ให้แก่กัมพูชาร้อยละ 20 ของข้อตกลงการค้าภายใต้สิทธิพิเศษ โดยอ้างว่ากัมพูชาละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน รวมถึงเรื่องของประชาธิปไตยภายในกัมพูชาเป็นหลัก ซึ่งทางสหภาพยุโรปได้ถอดถอนสัตยาบันไปแล้วเมื่อวันที่ 12 สิงหาคมปีที่แล้ว โดยสหภาพยุโรปได้รับการจัดอันดับให้เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของกัมพูชาในปี 2019 โดยคิดเป็นร้อยละ 11.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819696/trade-with-eu-valued-at-3-8-billion-in-2020/

เมียนมาลุ้นส่งออกน้ำผึ้งไป EU ภายในปีนี้

สมาคมการเลี้ยงผึ้งเมียนมาและกระทรวงพาณิชย์เผย ผู้เลี้ยงผึ้งอยู่ในช่วงเตรียมการเพื่อส่งออกน้ำผึ้งไปยังตลาดสหภาพยุโรปคาดว่าสิ้นปีนี้สามารถส่งออกได้กว่า 50% และส่งออกได้ถึง 800 ตันในปีงบประมาณ 63-64 ปัจจุบันตลาดหลักคือญี่ปุ่น อุตสาหกรรมส่งออกน้ำผึ้งสร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 4 ดอลลาร์สหรัฐ มีฟาร์มผึ้งประมาณ 670 เฮกตาร์ที่สามารถผลิตน้ำผึ้ง 4,000 ถึง 5,000 ตันต่อปี ซึ่งทั่วประเทศมีโรงงานทำน้ำผึ้ง 6 แห่งโดยจะส่งออกระหว่าง 2,000 ถึง 3,000 ตันไปยังญี่ปุ่นและจีนในทุกๆ ปี ทั้งนี้ผู้เลี้ยงผึ้งต้องปฎิบัติตามมาตรฐานสากล เช่น การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (HACCP) โดยการสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์และศูนย์การค้าระหว่างประเทศในการจัดหลักสูตร HACCP และส่วนแบ่งการตลาดสำหรับผู้เลี้ยงผึ้ง นอกจากนี้น้ำผึ้งยังสามารถผลิตได้จากน้ำหวานที่เก็บจากไนเจอร์ งา ดอกทานตะวัน สะระแหน่ เถาวัลย์ ถั่วแระ ดอกไม้ป่า และต้นลิ้นจี่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-export-honey-eu-year.html

ระบบขนส่งด้านศุลกากร ออนไลน์ใหม่ของอาเซียนและสหภาพยุโรป เพิ่มการค้าในภูมิภาคอาเซียน

ปัจจุบันภาคเอกชนในอาเซียนสามารถเข้าถึงระบบออนไลน์ใหม่อันทรงพลัง นั่นคือ ระบบการขนส่งด้านศุลกากรของอาเซียน (ASEAN Customs Transit System หรือ ACTS) ซึ่งจะลดอุปสรรคในการค้าภายในกลุ่มสมาชิกประเทศอาเซียน เพื่อให้บริษัทต่างๆได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างมีอิสระตลอดทั่วภูมิภาคอาเซียน โดยในปี พ.ศ.2560 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนตั้งเป้าหมายสองเป้าหมายที่เหมือนกันในการลดค่าใช้จ่ายด้านธุรกรรมการค้าลงถึง 10% ภายในปี 2563 และเพิ่มการค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นสองเท่าภายในปี 2560 ถึง 2563 เมื่อตระหนักถึงเป้าหมายนี้ จึงได้มีการพัฒนาระบบขนส่งด้านภาษีของอาเซียนเพื่อทำให้ภาคธุรกิจยื่นการแจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าโดยตรงกับหน่วยงานด้านศุลกากรของอาเซียน และติดตามการเคลื่อนย้ายสินค้าจากการบรรทุกจากสถานที่นำสินค้าออกมาจนถึงจุดหมายปลายทางที่ส่งสินค้า ทั้งนี้ นายดาโต๊ะ ลิม จ็อค ฮอย เลขาธิการอาเซียนเปิดเผยว่า การนำระบบ ASEAN Customs Transit System มาบังคับใช้ จึงมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างราบรื่นในภูมิภาค ผมเชื่อว่า ระบบนี้จะเป็นเครื่องมือยอดเยี่ยมในการเพิ่มการค้าและเครือข่ายการผลิตของอาเซียน เช่นเดียวกับการจัดตั้งตลาดที่รวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวมากขึ้นสำหรับบริษัทและผู้บริโภค ระบบ ACTS ยังอาจช่วยการฟื้นฟูทางการค้าหลังวิกฤติโควิด-19 โดยการเร่งการเคลื่อนย้ายการขนส่งอุปกรณ์การแพทย์ วัคซีน และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลระหว่างประเทศสมาชิก

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/201168

อียู ให้เงินสนับสนุนอาเซียนเดินหน้าโครงการ Smart Green ASEAN Cities

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้มีมติเห็นชอบความตกลงทางการเงินระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อดำเนินโครงการ Smart Green ASEAN Cities เป็นความตกลงเพื่อแสดงว่าอียูจะสนับสนุนงบประมาณ 5 ล้านยูโร สำหรับการดำเนินโครงการฯเวลา 72 เดือน ที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความเป็นเมืองที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับพลเมืองอาเซียน โดยสนับสนุนให้เมืองต่างๆ ในอาเซียนใช้ประโยชน์จากแนวทางเมืองอัจฉริยะ ทั้งนี้มีสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศเข้าร่วมดำเนินโครงการ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ ไทย โดยตั้งเป้าผลผลิต 3 ข้อ คือ 1.ยกระดับการออกแบบ วางแผน และดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะสำหรับเข้าร่วมดำเนินโครงการ 2.เสริมสร้างศักยภาพประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะ ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน และ 3.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะระหว่างสหภาพยุโรปและภายในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/news/2020-732378c251cb42fc3f36615ea1929c94

สหภาพยุโรปวางแผนร่วมพัฒนาโลจิสติกส์เพื่อเสริมสร้างการค้าระหว่างประเทศ

สมาคมธุรกิจโลจิสติกส์ (LOBA) และ หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งยุโรป ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อพัฒนาการลงทุนการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างกัมพูชาและจีน โดยประธาน LOBA กล่าวถึงโอกาสสำหรับทั้งนักลงทุนและการพัฒนาธุรกิจในอนาคตของทั้งสองประเทศ ซึ่งการทำงานร่วมกันระหว่าง LOBA และ EACHAM จะช่วยให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกจากทั้งสองประเทศในการขนส่งสินค้าและการซื้อขายที่มีศักยภาพ ทั้งยังง่ายต่อการติดต่อและเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจร่วมด้วย โดยกัมพูชาและจีนยังได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่กำหนดไว้ว่าภาษีในการส่งออกของกัมพูชาจะลดลงเหลือร้อยละ 0 (สำหรับสินค้าส่วนใหญ่) เพื่อเป็นการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785080/mou-aims-to-improve-logistics-to-strengthen-cambodia-china-trade/

สปป.ลาวจับมือพันธมิตรเปิดตัวระบบนวัตกรรมการเกษตร

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ คณะผู้แทนสหภาพยุโรปและสถาบันวิจัยเกษตรและป่าไม้แห่งชาติ เปิดตัวโครงการใหม่เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งโครงการพัฒนาขีดความสามารถในระบบนวัตกรรมการเกษตรของการขยายกรอบแพลตฟอร์มเกษตรเขตร้อน (TAP AIS) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิผลความสามารถในการแข่งขัน TAP-AIS เป็นโครงการระดับโลกที่เป็นส่วนหนึ่งของความริเริ่มของสหภาพยุโรป“ การพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะผ่านการวิจัยด้านการเกษตร (DeSIRA): สู่ระบบเกษตรและนวัตกรรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ”  จะนำไปสู่การส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงการเกษตรและระบบอาหารที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ โดยการพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในระดับประเทศ ซึ่งรวมถึงการร่วมมือกันในการจัดการการผลิตที่ดีขึ้นและการเข้าถึงตลาดใหม่  การใช้เมล็ดพันธุ์ใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่เพื่อผลิตมากขึ้นโดยใช้ยาฆ่าแมลงน้อยลง มีคุณภาพดีขึ้น ช่วยให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจ สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยทางโภชนาการ ทั้งนี้โครงการ TAP-AIS ในสปป.ลาวยังมุ่งเน้นไปที่วิธีการในการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถทั้งสามมิติสำหรับนวัตกรรมทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กรและสภาพแวดล้อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_228.php

พาณิชย์ถกสภาธุรกิจอียู-อาเซียน หาแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

“พาณิชย์” หารือสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน และบริษัทชั้นนำของยุโรปที่ทำธุรกิจในอาเซียนกว่า 50 ราย ผ่านระบบทางไกล แลกเปลี่ยนมุมมองการรับมือวิกฤตโควิด-19 และแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจ นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2563 ที่ผ่านมา ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เข้าร่วมหารือกับสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC) ผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองของไทยเกี่ยวกับการรับมือกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการฟื้นเศรษฐกิจในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยไทยได้ใช้โอกาสนี้สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนสหภาพยุโรปว่า ไทยให้ความสำคัญกับการยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหภาพยุโรป การอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การยกระดับมาตรฐานสินค้าส่งออกของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/898079

สหภาพยุโรปสนับสนุนเงินทุน 2.5 ล้านยูโร ในโครงการป้องกันและบรรเทา COVID-19

สหภาพยุโรปได้จัดหาเงินจำนวน 2.5 ล้านยูโรให้กับสปป.ลาวภายใต้โครงการที่ชื่อว่า“ Civil Society Action to Prevent and Mitigate Covid-19” ภายใต้ความร่วมมือ Plan International องค์กรภาคประชาสังคมสปป.ลาว และสมาคมพัฒนาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม พวกเขามีเป้าหมายที่จะสนับสนุนรัฐบาลสปป.ลาวในการบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพสังคมและเศรษฐกิจจากการระบาด COVID-19 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานองค์กรภาคประชาสังคม นอกจากนี้ยังเสริมสร้างแผนการพัฒนาด้านสาธารณสุขรวมถึงให้ความสำคัญกับต่อเศรษฐกิจสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นปัญหาที่สปป.ลาวเผชิญมาตลอด เงินทุนดังกล่าวจะเข้ามาช่วยทำให้สปป.ลาวพัฒนาต่อไปได้ภายใต้ปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคงในแต่ละด้าน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EU161.php

สหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัมพูชาบางส่วนแล้ว

ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมูลค่าราว 7 พันล้านดอลลาร์ต่อปีของกัมพูชากำลังจะถูกถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) บางส่วนที่สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (EU) โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการตัดสินใจของสหภาพยุโรปตั้งแต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่ารัฐบาลและภาคเอกชนจะพยายามเจรจาต่อรองให้ EU ไม่ดำเนินการหรืออย่างน้อยก็ชะลอการถอดถอนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาและในเดือนกุมภาพันธ์คณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการยุโรปได้แนะนำให้ถอดถอนบางส่วนของโครงการ EBA ตั้งแต่เดือนสิงหาคมโดยอ้างถึงการละเมิดหลักการของกัมพูชาอย่างร้ายแรงในด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงานภายในประเทศที่ยังไม่ถูกแก้ปัญหา โดยการระงับดังกล่าวส่งผลกระทบต่อหนึ่งในห้า (1.08 พันล้านดอลลาร์) ของการส่งออกประจำปีของกัมพูชาที่ทำการส่งออกสินค้าไปยัง 27 ประเทศ ของกลุ่มสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50753939/the-eus-tax-free-status-partially-withdrawn/

AFD สหภาพยุโรปพยายามรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของสปป.ลาว

สหภาพยุโรป (EU) ร่วมกับ Agence Française de Développement (AFD) สนับสนุน 6.5 ล้านยูโรแก่สปป.ลาวเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและดำเนินการจัดการแบบบูรณาการของพื้นที่ที่อุดมด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในสปป.ลาว โครงการจะดำเนินการจัดการแบบบูรณาการพื้นที่ที่อุดมด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสามแห่งซึ่งประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติน้ำแอด-ภูเลย พื้นที่บางส่วนของจังหวัดบอริคำไซและพื้นที่ชุ่มน้ำ “Xe Champhone Ramsar” วัตถุประสงค์ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปเพื่อสนับสนุนชุมชนและเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการบรรเทาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการลงทุนขนาดใหญ่และโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันสปป.ลาวถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญระดับโลกและได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 200 bioregions ที่สำคัญที่สุดของโลกสปป.ลาวเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญระดับโลกและได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 200 bioregions ที่สำคัญที่สุดของโลกบริษัท เอกชนดำเนินธุรกิจสีเขียว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_AFD151.php