บจ.อ่วมผลงาน’ทรุด’พิษศก.-เงินบาทแข็ง

ตลท. เผยบริษัทจดทะเบียนรับผลกระทบรอบด้าน เศรษฐกิจชะลอ กระทบค่าเงิน ราคาปิโตรฯ การแข่งขันรุนแรงฉุดยอดขายทรุด หนี้พุ่ง กำไรงวด 9 เดือนลดลง 15% เฉพาะไตรมาส 2 ร่วงไปกว่า 18% โดยนายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงาน ผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลักทรัพย์จดทะเบียนจำนวน 693 หลักทรัพย์ หรือคิดเป็น 97.1% จากทั้งหมด 714 หลักทรัพย์ นำส่งผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2562  มียอดขายรวม 8,623,725 ล้านบาท ลดลง 1.3% มีกำไรจากการดำเนินงานหลัก 660,734 ล้านบาท ลดลง 24.6% มีกำไรสุทธิ 645,647 ล้านบาท ลดลง 15.4% จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งหมวดธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานเติบโตได้ดี คือ หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์  จากการขยายสินเชื่อส่วนบุคคล, หมวดอาหารและเครื่องดื่มจากกลุ่ม อาหารสด เครื่องดื่ม และการขยายตลาดไปกลุ่มประเทศ CLMV รวมถึง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งยอดขายและกำไรสุทธิปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน

ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 พ.ย. 2562

การกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมา

การใช้นโยบายลดความร้อนแรงในตลาดอสังหารัมทรัพย์ ในช่วงปี 58 เพราะในช่วงดังกล่าวการเก็งกำไรทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ ราคากระโดดไปสูงมาก ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตก็หยุดชงักลง ดังนั้นจึงออกมาตรการกฎหมายเงินขาว-เงินดำ คือให้จ่ายภาษีซื้อ-ขายอสังหาริทรัพย์ด้วยอัตรา 30% ทำให้เกิดการชะงักทันที เกิดปัญหาในตลาดอสังหาฯ ในย่างกุ้งเพราะเมื่อไม่มีการซื้อขาย ทำให้กระแสเงิน M1 M2 M3 ขาดไปจากตลาดจนเกิดปัญหาเงินฝืด การลงทุนภาคการผลิตลดลง จับจ่ายใช้สอยของประชาชนฝืดเคืองลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีกฎหมายใหม่ออกมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 62 นี้ คือลดภาษีซื้อ-ขายสินค้าทุกชนิดรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราก้าวหน้าทั้งหมด กล่าวคือ การซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้าน ให้เสียภาษี 3% 101 ล้านถึง 300 ล้าน ให้เสียภาษี 5% 301 ล้านถึง 1,000 ล้าน ให้เสียภาษี 10% 1001 ล้านถึง 3,000 ล้าน ให้เสียภาษี 15% 3001 ล้านขึ้นไป ให้เสียภาษี 30% สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีน้อยลงไปทันที ราคาสินค้าถูกลง สิ่งที่จะตามมาคือกลับเข้าสู่ภาคเงินออม Saving Money เงินเหล่านี้มีบางส่วนจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปของการบริโภค เมียนมาเพียงลดอัตราดอกเบี้ยลง คนก็จะไม่นิยมฝากเงิน เพราะได้ไม่มากเท่าการนำเงินไปลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะส่งผลไปยังภาคการผลิตทันที ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว รัฐบาลมีอิสระในการจัดการแก้ปัญหา เพียงแต่ปัญหาของเมียนมาเริ่มมีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/603433

อุตสาหกรรมนำหรือสกัดทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของกัมพูชา

รัฐบาลกล่าวว่าอุตสาหกรรมสกัดเป็นเส้นทางหลักทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว เสื้อผ้าและภาคการเกษตร ซึ่งรัฐบาลกำลังมองหาความหลากหลายในอุตสาหกรรม โดยภาคการผลิตจะกลายเป็นแรงหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญ กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน ในระหว่างการประชุมฟอรั่มอุตสาหกรรมสกัดครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งอุตสาหกรรมนี้จะเป็นแรงหลังของเศรษฐกิจกัมพูชา ที่จะสร้างแหล่งรายได้ใหม่และสร้างงานให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งบริษัท KrisEnergy จากสิงคโปร์คาดว่าจะเริ่มการสกัดน้ำมันได้ในปีหน้า โดยรายได้จากน้ำมันที่สกัดในกัมพูชาจะถูกนำไปใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงด้านการศึกษา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่ารายได้จากภาคเหมืองแร่และน้ำมันสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนคือรายได้จากภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี โดยรายได้ที่มิใช่ภาษีหมายถึงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสัญญาเช่าที่ดินและค่าสิทธิที่จ่ายให้กับรัฐบาล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50663802/extractive-industry-to-become-new-economic-driver-ministry/

รัฐมั่นใจ อีอีซี ดันไทยผงาดเอเชีย

สุริยะ เร่งเดินหน้า อีอีซี ดึงทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจ ให้ประเทศพ้นปัจจัยลบเศรษฐกิจโลกผันผวนย้ำ อีอีซี คือความหวังดันไทยผงาดภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ อุตตม กล่าวถึงนักลงทุนทั้งไทย-ต่างประเทศต่างสนใจลงทุนภายในประเทศ มั่นใจเป็นโอกาสและจุดเปลี่ยนประเทศ ด้าน ณัฏฐพล เร่งแผนผลิตบุคลากรป้อน อีอีซี โดยนายสุริยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา “EEC NEXT: ทุนไทย-เทศ ปักหมุด EEC” หัวข้อ “ดึงอุตสาหกรรม เป้าหมายลงพื้นที่ EEC” ถึงสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าและระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมาที่สงครามการค้าระหว่างประเทศ ยักษ์ใหญ่อย่างจีนและสหรัฐ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การส่งออกในภาพรวมของโลกชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่มั่นใจว่า อีอีซี จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นประตูสู่เชื่อมต่อไปยังประเทศเศรษฐกิจ

ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 พ.ย. 2562

นายกรัฐมนตรีเล็งเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ในสปป.ลาว

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว แสดงความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นในปีหน้าเนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งจะเริ่มเปิดตัว เช่น รถไฟสปป.ลาว – จีนซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 64 และทางด่วนทางรถไฟและสะพานที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการเปลี่ยนแปลงของสปป.ลาวจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นเส้นทางเชื่อมโยงภูมิภาคจะนำไปสู่การเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะในภาคธุรกิจการเกษตรและการท่องเที่ยว ตามรายงานของรัฐบาล เศรษฐกิจจะเติบโตเพียง 6.4% ในปี 62 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่รับรองโดยสมัชชา 0.3% เพื่อให้มั่นใจว่าในปี 63 เศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง รัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการเติบโตและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีจะพบกันในวันที่ 18 พ.ย.เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการบริการการลงทุนแบบครบวงจร ปรับปรุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสร้างเงื่อนไขให้กับธุรกิจเพื่อให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายและดึงดูดนักท่องเที่ยวระดับสูงให้มากขึ้น จะเร่งปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ให้มีความทันสมัย นอกจากนี้รัฐบาลจะรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและอัดฉีดเงินเข้าสู่ธุรกิจ SMEs เพื่อกระตุ้นการเติบโตและการสร้างงาน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_sees_251.php

“อุตตม” คาดเศรษฐกิจ’63 ยังผันผวน พร้อมออกมาตรการดูแล เล็งใช้ตลาดทุนขับเคลื่อนศก.ไทย

นายอุตตม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมการลงทุนแห่งปี SET in the City 2019” ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2563 ยังคงมองว่ามีความผันผวน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มองว่าเศรษฐกิจไม่ดี เพียงแต่ว่ามีความไม่แน่นอนสูง รัฐจึงจะต้องเตรียมความพร้อมด้วยการออกมาตรการมาดูแลอย่างใกล้ชิดจะต้องพิจารณาในความเหมาะสม เนื่องจากต้องการที่จะประคับประครองเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ดี ยังคงมองว่าตลาดทุนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไทย โดยกระทรวงการคลังได้ขอให้ตลาดหลักทรัพย์เข้ามามีส่วนช่วยในการดูแลและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการให้ความรู้ทางด้านการเงินแก่ประชาชนในต่างจังหวัด เนื่องจากมองว่า การลงทุนจะเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะในเขตเมือง แต่ในต่างจังหวัดเองก็เป็นแหล่งทุนที่มีความมั่งคั่งที่จะทำให้เกิดการระดมทุนผ่านตลาดทุน โดยเฉพาะในภูมิภาคกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการระดมทุนในภูมิภาค

ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-391286

เศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 7.1% ในปีนี้

เศรษฐกิจของเมียนมาคาดขยายตัว 6.8% ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 61 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 62 เทียบกับ 6.5 % ในปีที่แล้วตามรายงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของอาเซียน +3 (AMRO) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจการเติบโตในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและผลิตภัณฑ์การผลิตอื่น ๆ การบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 6.6% สำหรับปีงบประมาณ 61-62 และ 6.8% ในปี 63-64 ส่วน IMF คาดว่าการเติบโตจะอยู่ที่ 6.4% ในปีงบประมาณ 61-62 และถ้าการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น.ในปี 62-63จะเติบโต 6.6 ผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงจากจีนเนื่องจากสงครามการค้า แต่ก็ยังได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนเนื่องจากการย้ายฐานการผลิตและหากสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แต่โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งที่ยากลำบาก ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ควรปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกลไกตลาดและดำเนินการสร้างทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อสานต่อความสามารถในการจัดการกับปัจจัยภายนอก ความเสี่ยงต่อการคาดการณ์ส่วนใหญ่มาจากความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่ ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการค้าและราคาพลังงาน กล่าวว่าความจำเป็นเร่งด่วนคือแก้ไขปัญหาคอขวดโครงสร้างพื้นฐานและข้อจำกัดด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนและเพิ่มศักยภาพการเติบโต  และในขณะที่การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าจะช่วยลดภาระทางการคลัง แต่จะช่วยเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะสูงถึง 8.8% ในปีงบประมาณ 61-62 และประมาณ 9% ในปีงบประมาณ 62-63 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/economy-expand-much-71-year-amro.html