รัฐบาลกัมพูชาร่วมกับหอการค้ายุโรป ส่งเสริม SME ผ่านเทคโนโลยีสีเขียว

กัมพูชาและสหภาพยุโรป (EU) มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันในการส่งเสริมการพัฒนา SME ผ่านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมสีเขียวในกัมพูชา โดยคำมั่นสัญญาดังกล่าวถูกกล่าวขึ้นในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมกับประธานหอการค้ายุโรปในกัมพูชา (EuroCham) ซึ่งได้กำหนดขอบเขตความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาเทคโนโลยีการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้วยเทคโนโลยีสีเขียว และการปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ ทั้งยังยืนยันการหารือก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับร่างกฎหมายการลงทุน ในการแก้ไขการทับซ้อนกันในการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ทรัพย์สินทางปัญญา และนวัตกรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50811281/cambodia-eurocham-to-boost-sme-technology-science-and-green-industry/

ธนาคาร ACLEDA สำรองเงินให้กู้สำหรับ SMEs ภายในประเทศกัมพูชา

ประธานและกรรมการผู้จัดการกลุ่มของธนาคาร ACLEDA Bank Plc. ได้ประกาศว่าธนาคารได้สำรองเงินทุนไว้เกือบ 600 ล้านดอลลาร์ สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้กับภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สำหรับการเพิ่มสภาพคล่อง ประคองธุรกิจ และการขยายธุรกิจ ในกัมพูชาสำหรับปี 2021 นอกจากโครงการปล่อยสินเชื่อโดยตรงให้กับ SMEs แล้ว ธนาคาร ACLEDA ยังเข้าร่วมกับ SME Bank ของกัมพูชาในโครงการ SME Co-Financial Scheme (SCFS) โดย SCFS มีมูลค่าทุนรวมกว่า 100 ล้านดอลลาร์ เปิดตัวในวันที่ 1 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งเงินทุนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนร่วมกันจาก SME Bank of Cambodia และสถาบันที่เข้าร่วม 33 แห่ง (PFIs) โดยกลุ่ม PFI ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ 24 แห่ง ธนาคารเฉพาะกิจ 6 แห่ง และ MFI 3 แห่ง ในการสนับสนุนภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50808671/acleda-bank-reserves-600-million-for-smes-this-year/

IMF เตือนเศรษฐกิจเมียนมาอาจหยุดโตในปี 64

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยเศรษฐกิจเมียนมาคาดเติบโตช้าลงในปีนี้เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 แต่น่าจะพุ่งขึ้นในปีหน้า  ในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือ 0.5% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.2% จากปีที่แล้ว กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเอสเอ็มอีและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เสียงจะไก้รับผลกระทบ ทั้งนี้คาดว่าจะฟื้นตัวในปีหน้า 7.9% จากผลกระทบคาดว่าปัญหาความยากจนจะเพิ่มขึ้น ด้านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งเมื่อต้นปีนี้ที่ผ่านมาคาดการณ์ว่าการเติบโตของเมียนมาจะชะลอตัวลงเหลือ 1.8% ในปีงบประมาณที่ 63 ส่วนปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็น 6% ทั้งนี้ IMF ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือจำนวน 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/imf-projects-muted-growth-2021-economy.html

พาณิชย์ปรับแผนหนุนเกษตรกร-เอสเอ็มอีใช้เอฟทีเอควบคู่ค้าขายออนไลน์

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ปรับกลยุทธ์การทำงาน ปี 2564 แก้เกมโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โดยให้เน้นการใช้เทคโนโลยีออนไลน์สำหรับกิจกรรมฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อติดอาวุธให้กับกลุ่มเกษตรกรเอสเอ็มอี สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน พร้อมใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถจับคู่ธุรกิจเพิ่มยอดขาย และบุกตลาดต่างประเทศได้จริง โดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เสริมว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กรม จะดำเนินการ ในปี 2564 และจะเพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ในการจับคู่ธุรกิจ ตามนโยบายของ รมช.พาณิชย์ ได้แก่ โครงการจัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ เน้นขยายตลาดส่งออกไปอาเซียนและจีน โครงการจับมือผู้ประกอบการใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ เพิ่มการส่งออกต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ ร่วมกับ ศอ.บต. โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทยให้สามารถเพิ่มการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าสหกรณ์ไทยสู่โลกการค้าเสรี และโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทยผ่านโลกการค้าเสรี ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีความตกลงเอฟทีเอ จำนวน 14 ฉบับ รวมอาร์เซ็ป กับ 18 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับประเทศคู่เอฟทีเอ 18 ประเทศ มีมูลค่ารวม 302,991 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2 ใน 3 สัดส่วน 63% ของมูลค่าการค้าไทย กับโลก

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_5726321

ธนาคารเพื่อการพัฒนาปล่อยเงินสนับสนุนให้กับภาคการเกษตรของกัมพูชา

ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าสถาบันการเงินได้ปล่อยวงเงินกู้รวม 245 ล้านดอลลาร์ ให้กับ ผู้ผลิตและส่งออกข้าว ภาคปศุสัตว์ และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคเกษตรกรรม โดย ARDB ได้เพิ่มกองทุนพิเศษอีก 50 ล้านดอลลาร์ สำหรับภาคธุรกิจ SMEs ซึ่งกระจายไปยังธุรกิจมากถึง 600 แห่ง เพื่อมุ่งเน้นเฉพาะด้านการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร การแปรรูปอาหาร ธุรกิจเกษตรพืชผล รวมทั้งผัก ปศุสัตว์และธุรกิจสัตว์น้ำ รวมถึงองค์กรใด ๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร โดยธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 6 สู่ร้อยละ 5 สำหรับเงินทุนหมุนเวียน และร้อยละ 6.5 สู่ร้อยละ 5.5 สำหรับเงินลงทุน นอกจากนี้ระยะเวลาการชำระหนี้ได้เลื่อนขึ้นเป็นระยะเวลา 7 ปี ซึ่งธุรกิจ SMEs สามารถกู้ได้มากถึง 300,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ธนาคารจะจัดฝึกอบรมให้กับธุรกิจ SMEs เกี่ยวกับแผนธุรกิจ งบการเงิน ธรรมาภิบาล แผนการตลาด การจัดการทางการเงิน และการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสนับสนุนทางเทคนิคร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802809%20/development-bank-delivers-245mn-to-agri-sector-producers-exporters-smes

กนอ.ประกาศเดินหน้าแผนปี’64 ศูนย์กลางฐานการผลิตของภูมิภาคอาเซียน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Industry Toward 2021” ถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปี 2564 หลังสถานการณ์โควิด-19 ในงานฉลองครบรอบ 48 ปี การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) “The Journey of Sustainable Partnership” ว่า ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวให้สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงฯได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายหลายประการที่เป็นจุดเปลี่ยนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนา ประการแรก คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมอาหาร อีกทั้งผลักดันมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ เพื่อขยายผลการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุม ประการที่สอง : การยกระดับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ช่วยสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากด้วยการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน ประการที่สาม : การส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมที่เป็น มิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการผ่านโครงการ Factory 4.0 การยกระดับสถานประกอบการสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย BCG ของรัฐบาล

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2486117

รัฐบาลสปป.ลาวให้คำมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า

รัฐบาลมีแผนที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจโดยกรอบของแผนจะเริ่มในปี 2564-2568 และแผนดังกล่าวรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เติบโตอย่างยั่งยืน มีการกำหนดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 4-5 ต่อปีเป็นเป้าหมายสำหรับปี 2564-2568 ขณะที่ระดับอัตราเงินเฟ้อไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน Mr.Sonexay Siphandone กล่าวว่า “มีเป้าหมายหลายประการที่จะบรรลุในอีกห้าปีข้างหน้าและยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพิ่มรายได้ของประเทศและการลดการรั่วไหลทางการเงิน” อีกด้านหนึ่งการปรับปรุงโครงสร้างของเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับ SMEs และการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาว อย่างไรก็ตามความท้าทายอย่างหนึ่งของสปป.ลาวคือภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ผันผวนปัจจัยนี้เองจะเป็นอุปสรรคที่ท้าทายต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาวในการเติบโตให้ได้ตามเป้าในอีก5 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_239.php

รัฐบาลสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 80 พันล้านกีบเพื่อช่วยเหลือ SMEs

เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมูลค่ามากถึง 80 พันล้านกีบ (มากกว่า 8.6 ล้านเหรียญสหรัฐ) ได้ถูกมอบให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอัตราดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอเพียงร้อยละ 3  คุณสมจิตร อินทมิตรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์กล่าวในการประชุมรัฐสภาของสมัชชาแห่งชาติ (NA) เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “ผู้สมัคร SMEs จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อขอรับเงินกู้ มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนการ ฝึกอบรมวิชาชีพ SMEsได้รับการรับรองจากภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี” เกณฑ์เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าเงินกู้ถูกนำไปใช้อย่างเป็นประโยชน์ในการระดมทุนอย่างต่อเนื่องและป้องกันไม่ให้กลายเป็นเงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยผู้กู้จะมีเวลาหนึ่งปีในการเตรียมตัวให้เข้าตามเกณฑ์ที่ทางธนาคารพาณิชย์กำหนดรวมถึงการวางระบบบัญชีที่ครอบคลุมและได้มาตรฐานการบัญชี รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs การให้เงินทุนสนับสนุนเป็นมาตรการที่มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจสปป.ลาว ปัจจุบัน SME คิดเป็นประมาณร้อยละ 99 ของภาคธุรกิจที่จดทะเบียนทั้งหมดในสปป.ลาวจึงถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_80232.php

เวียดนามร่วมลงนาม ‘RECEP’ ตั้งเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก

การร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เมื่อผู้นำ 15 ประเทศ จากกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก คิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ 29 ของ GDP โลก รวมถึงอาเซียน 10 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ ซึ่งการลงนามในครั้งนี้เป็นหนึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 โดยเวียดนามเป็นประธาน ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) จะช่วยให้เวียดนามสามารถเข้าถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลก และมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกไปยังตลาด ด้วยมูลค่าราว 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากข้อตกลงการค้าเสรีแล้วนั้น ยังรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา, อีคอมเมิร์ซ, การแข่งขัน, SMEs ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น เวียดนามสามารถนำเข้าชิปอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และนำเข้าวัสดุสิ่งทอจากจีน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายในกลุ่ม นอกจากนี้ สนธิสัญญาดังกล่าว จะช่วยให้เวียดนามเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-inks-world-s-largest-trade-pact-rcep-4192071.html

โฮจิมินห์เปิดตัวแผนทางการเงิน ปี 2573

สำนักงานประจำนครโฮจิมินห์ ได้จัดทำแผนเกี่ยวกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ทางการเงินที่มี่เนื้อหาครอบคลุมแผนระดับชาติในปี 2563 มีวิสัยทัศน์ถึงปี 2573 โดยแผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนและธุรกิจสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างปลอดภัย สะดวกและราคาไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2568 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมืองอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง จะต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันให้สินเชื่อ ด้วยหนี้ค้างชำระให้บริการทางการเกษตรและการพัฒนาชนบท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7 ของหนี้คงค้างทั้งหมด นอกจากนี้ โฮจิมินห์มองว่าการบริการทางการเงินที่หลากหลาย จะช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้นแก่ผู้คนและธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่อาศัยอยู่ในชนบทและนอกเมือง รวมถึงกลุ่มที่มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ยิ่งไปกว่านั้น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม จะช่วยให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-rolls-out-financial-plan-to-2030/189729.vnp