ประชาชนสปป.ลาวกว่า 1 ล้านคน เผชิญปัญหาความไม่มั่งคงทางอาหาร

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) รายงานว่าประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน ต้องทนทุกข์จากความไม่มั่งคงทางอาหารอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดความกังวลต่อวิกฤตความมั่งคงทางอาหารในสปป.ลาว โดยประชาชนกว่า 1.04 ล้านคน (13.9% ของประชากรทั้งประเทศ) ได้รับการประเมินว่ามีความไม่มั่งคงทางอาหารอย่างเฉียบพลันอยู่ในระดับปานกลาง และคนกว่า 71,000 คน (0.9% ของประชากร) อยู่ในภาวะไม่มั่งคงทางอาหารเฉียบพลันขั้นรุนแรง สาเหตุของสถานการณ์ดังกล่าวมาจากราคาอาหารและเชื้อเพลิง ตลอดจนปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน กำลังซื้อและรายได้ครัวเรือนที่ลดลงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติในปี 2565

นอกจากนี้ สำนักงานสถิติประเทศลาว (LSB) ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้น และพุ่งขึ้นสู่ระดับ 41.3% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี เพิ่มขึ้นจาก 40.3% ในเดือน ม.ค.

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten56_Over_1_y23.php

‘ภาวะเงินเฟ้อ’ กดดันประเทศในเอเชีย ใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้น

รายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ฉบับใหม่ ระบุว่าแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นของหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงสปป.ลาว ผลักดันให้มีการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่มีผลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอกและทิศทางการส่งออกของภูมิภาคที่แย่ลง ทั้งนี้ สปป.ลาว มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในเอเชีย และคนจำนวนมากมีรายได้ที่ต่ำ ทำให้ต้องหันไปซื้อสิ้นค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

อีกทั้ง สำนักงานสถิติของสปป.ลาว เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อ ในเดือน ก.พ.2566 เพิ่มขึ้น 41.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. ที่ 40.3% การปรับเพิ่มขึ้นของราคาในครั้งนี้ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (49.3%) ในขณะเดียวกัน แขวงคำม่วน มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดของประเทศ (49.82%) รองลงมาแขวงเวียงจันทน์และแขวงหลวงพระบาง เป็นต้น

ที่มา : https://vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Inflation48.php

เงินเฟ้อ ก.พ. 66 ขยายตัว 3.79% ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน พาณิชย์คาดครึ่งปีหลังอาจแตะ 0%

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนก.พ.66 อยู่ที่ระดับ 108.05 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น 3.79% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนม.ค.66 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงมาจากราคาพลังงาน และอาหารสดที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้น 4.40% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนก.พ. อยู่ที่ระดับ 104.17 ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 1.93% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 2.48% โดยอัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มเป็นขาลง พร้อมคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ มีโอกาสจะได้เห็นเงินเฟ้อลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 0% เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน รวมทั้งหากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมาก

ที่มา : https://moneyandbanking.co.th/2023/27512/

รัฐบาลเวียดนามเตือนการไฟฟ้าเสี่ยงขาดทุน $2.7 พันล้านในปีนี้หากไม่ปรับขึ้นราคา

รอยเตอร์ – การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) จะขาดทุน 64,900 ล้านล้านด่ง (2,750 ล้านดอลลาร์) ในปีนี้ หากราคาค่าไฟฟ้าขายปลีกยังไม่เปลี่ยนแปลง รัฐบาลเวียดนามระบุในคำแถลงว่า หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าไฟขายปลีก จะทำให้มูลค่าการขาดทุนของการไฟฟ้าในปีนี้และปีก่อนรวมกันเป็น 93,800 ล้านล้านด่ง ทั้งนี้ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้พยายามที่จะปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าขายปลีกเพื่อสนับสนุนการลงทุนในภาคการผลิตพลังงาน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เผชิญกับแรงกดดันในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม การปรับราคาค่าไฟฟ้าใดๆ ก็ตามจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับอัตราเงินเฟ้อ ชีวิตของผู้คนและเศรษฐกิจมหภาค นอกจากนี้ เวียดนามตั้งเป้าที่จะรักษาอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่า 4.5% ในปีนี้ ส่วนราคาผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 4.55% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://mgronline.com/indochina/detail/9660000015316

จุรินทร์สวนฝ่ายค้าน! ราคาพืชเกษตรดีทุกตัว เงินเฟ้อลดลง ส่งออกยังบวก ลั่น FTA ไทย กำลังไล่แซงเวียดนาม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ชี้แจงฝ่านค้านในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เมื่อช่วงค่ำวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ว่า ประเด็นที่พาดพิงประเด็นแรกที่พูดถึงเงินเฟ้อ และของแพงทั้งแผ่นดิน เป็นประเด็นเดิมที่อภิปรายแล้ว ไทยเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเป็นลำดับ เงินเฟ้อลดลง ม.ค. เหลือ 5% อัตราเฉลี่ยของโลก IMF คาดว่าปี 66 เงินเฟ้อโลก 6.5% แต่ไทยจะเฟ้อแค่ 2.8% ดีกว่าหลายประเทศ โดยสินค้าราคาปรับตัวลดลงอย่างมากกว่า 58 รายการ จำเป็นที่ติดตามทุกวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการส่งออกไทยตัวเลขส่งออกทั้งปีบวกถึง 5.5% ทำเงินให้ประเทศถึง 9.94 ล้านล้านบาท แม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งรัฐฯ ร่วมมือทำงานกับเอกชนที่จะเดินหน้า ให้การส่งออกโต 1-2% แม้ตลาดสำคัญถดถอย แต่บางตลาดมีศักยภาพ เช่น 1.ตะวันออกกลาง 2.เอเชียใต้ 3.CLMV สุดท้ายเรื่อง FTA ขณะนี้ตามหลังเวียดนามจริง แต่รัฐฯ กำลังไล่กวดให้ทันเวียดนามและอนาคตมีโอกาสแซงหน้าเวียดนาม โดยปัจจุบันไทยมี FTA 14 ฉบับ 18 ประเทศ เวียดนามมี 16 ฉบับ 54 ประเทศ

ที่มา : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3826174

เงินเฟ้อ ‘สปป.ลาว’ สูงทุบสถิติ ทะลุ 40.3% ในเดือนม.ค

สำนักงานสถิติของสปป.ลาวเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนม.ค. พุ่งขึ้น 40.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงสุดในรอบ 23 ปี และสิ่งนี่อาจเป็นภาวะเงินเฟ้อที่เลวร้ายที่สุดที่สปป.ลาวประสบกับวิกฤตทางการเงินในเอเชีย ปี 2540-2541 ในขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินกีบเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงค่าเงินบาทไทยและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในสปป.ลาวเพิ่มขึ้น และยังทำให้ต้องใช้เงินจำนวนมากในการนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี รัฐบาลพยายามควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาสินค้าและบริการไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten26_January_y23.php

เงินเฟ้อสปป.ลาว เดือนม.ค. 66 พุ่งทะยานแตะ 40.3%

สำนักงานสถิติของสปป.ลาว เผย เดือนมกราคม 2566 เงินเฟ้อในสปป.ลาว พุ่งขึ้นไปถึง 40.3% สูงสุดในรอบ 23 ปี แม้ภาครัฐพยายามควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการที่สูงขึ้น แต่ราคาไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ซึ่งการอ่อนค่าของเงินกีบเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาท และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าที่ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านมีราคาสูงทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้นตามไปด้วย จากสถานการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย ปี 2540 -2541 ที่ส่งผลกระทบต่อสปป.ลาวอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2543 ทำให้เงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2543 พุ่งสูงสุดถึง 75.75% เป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้รัฐบาลของสปป.ลาว พยายามสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนโดยให้คำมั่นว่าในปี 2566 เศรษฐกิจของสปป.ลาว จะเติบโตอย่างน้อย 4.5% ในขณะเดียวกันได้กำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ 9%

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten26_January_y23.php

“เวียดนาม” เผยดัชนี CPI เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 0.52% ผลจากความต้องการช่วงเทศกาลเต๊ดสูง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ระบุว่าในเดือนมกราคม ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 0.52% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 4.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยแรงหนุนมาจากความต้องการของผู้บริโภคที่สูงขึ้นในช่วงเทศกาลเต๊ด (Tet) นอกจากนี้ ราคาสินค้า อาหาร และเครื่องบริโภคยังปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายทางจันทรคติ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันหยุดประจำปีที่ยาวนานที่สุด และราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงตามราคาน้ำมันตลาดโลก ส่งผลให้ดัชนีสูงขึ้น CPI เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้น 5.21%

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/january-s-cpi-increases-0-52-due-to-high-tet-demand-2104850.html

ลุ้นคลังขยับเป้าจีดีพีปี 2566 เพิ่มขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 1-16 ม.ค.ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยอยู่ที่ 78 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้ว เฉลี่ยอยู่ที่ 95.4 เหรียญ ดังนั้นในปีนี้อัตราเงินเฟ้อน่าจะลดลงและอยู่ในอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ในกรอบ 1-3% ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง จะทบทวนคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2566 ใหม่ และจะประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 27 ม.ค.นี้ โดยคาดว่า สศค.จะปรับเป้าจีดีพีไทยปี 66 ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาดการณ์เดิมไว้ว่าปี 65 จะขยายตัวได้ 3.4% และปี 66 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.8% ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปในปี 65 คาดว่าอยู่ที่ 6.2% และปี 66 อยู่ที่ 2.9% โดยปัจจัยบวกนอกจากเรื่องราคาน้ำมันดิบที่ลดลงแล้วคือ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศ ของจีน ที่เปิดให้คนจีนออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้ ซึ่งก่อนหน้านี้การคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยในปีนี้ อยู่ที่ 21.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 65 ที่มีนักท่องเที่ยว 10 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนประมาณ 2.8 ล้านคน ส่วนปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อคือเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 66 จะขยายตัว 2.5% เท่านั้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2609673

ธ.ค.65 เงินเฟ้อสปป.ลาว พุ่งขึ้นเป็น 39.3%

เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ม.ค.2566 สำนักงานสถิติสปป.ลาว ได้เผยแพร่รายงานอัตราเงินเฟ้อของประเทศพบว่า พบว่า อัตราเงินเฟ้อในสปป.ลาวเพิ่มขึ้นเป็น 39.3%  เมื่อเทียบกับเเดือนธันวาคม 2564 และมีอัตราสูงสุดในปี 2565 โดยปัจจัยสำคัญมาจากราคาที่สูงขึ้นของหมวดการสื่อสารและการขนส่ง สินค้าอุปโภคบริโภค และการอ่อนค่าเงินกีบ ซึ่งจากรายงานบ่งชี้ว่าค่าใช้จ่ายในหมวดการสื่อสารและการขนส่งเพิ่มขึ้น 50.4% (YoY) ราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นขึ้น 45.9 % (YoY) ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกประเภททำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีค่าแรงต่ำหรือมีรายได้น้อย

ที่มา: https://english.news.cn/20230108/c764a3747bfb472c9a7fb7321f81b690/c.html