กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยการส่งออกข้าวโพดมีแนวโน้มดีขึ้น

ในขณะที่ความต้องการของต่างประเทศในนำสินค้าอุปโภคของเมียนมาบางส่วนในปีนี้ลดลงต่ำกว่าที่คาดไว้ในปีนี้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 แต่การส่งออกพืชผลหลายชนิดยังคงเพิ่มขึ้นและบางส่วนก็ดูมีแนวโน้มดี กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การส่งออกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณปัจจุบันและแนวโน้มการเติบโตดูสดใส การส่งออกในปีนี้อยู่ที่ 2.5 ล้านตันเทียบกับ 1.5 ล้านตันในปีที่แล้ว โดยปกติแล้วข้าวโพดจะส่งออกไปยังจีน แต่ความต้องการจากไทยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ 2562-2563 กว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกข้าวโพดในปีนี้ผ่านชายแดนท่าขี้เหล็กและเมียวดี ความต้องการจากประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนามและฟิลิปปินส์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน  ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากำลังเชื่อมโยงเกษตรกรกับธนาคารเพื่อหาทุนในการปลูก ส่วนพืชอื่น ๆ ของที่มีความต้องการในต่างประเทศมากคืออะโวคาโด ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากสิงคโปร์และจีน โดยอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) เป็นอะโวคาโดที่ปลูกกันมากที่สุดในโลก ซึ่งมักจะพบทางตอนใต้ของรัฐฉาน และถือว่าอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) มีสัดส่วนร้อยละ 80 ของอะโวคาโดที่บริโภคกันทั่วโลก การปลูกอะโวคาโดในปีนี้ประสบความสำเร็จและล่าสุดจีนเสนอให้นำเข้า 500 ตันต่อปี และสิงคโปร์ 15 ตันต่อสัปดาห์เช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/commerce-ministry-myanmar-says-corn-exports-very-promising.html

เร่งจัดอีเว้นท์ออนไลน์เพิ่มมูลค่าส่งออก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเร่งสนองนโยบายจุรินทร์ สั่งทูตพาณิชย์จัดกิจกรรมออนไลน์ดันส่งออกไทยฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) เพิ่มการจัดกิจกรรมทำตลาดส่งออกในต่างประเทศรูปแบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้นตามนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทยและเกษตรกร โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป อาหารและอื่นๆ ให้มีช่องทางในการขยายตลาดในสถานการณ์ที่ทั่วโลกประสบปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19  เน้นการจัดงานแสดงสินค้ารูปแบบออนไลน์ และการเจรจาจับคู่ธุรกิจไทยกับผู้นำเข้าจากต่างประเทศ การจัดกิจกรรมโปรโมทสินค้าและภาพลักษณ์สินค้า และการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ได้เร่งเปลี่ยนบทบาทของทูตพาณิชย์ เป็นเซลล์แมนประเทศมาก เพื่อขยายการค้าและช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ  พร้อมทั้งยังเร่งดำเนินการให้ไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาผู้ประกอบการไทยในเรื่องธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ จนสร้างโอกาส และเร่งขยายตลาดไปได้มากในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ กัมพูชา ญี่ปุ่น เมียนมา สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ล่าสุดก็ได้จัดงานแสดงสินค้าออนไลน์ดิจิทัลคอนเทนท์แบบครบวงจรของไทย โดยจัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี 

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/789001

ไทยเรียกร้องหน่วยงานสปป.ลาวศึกษาผลกระทบเขื่อนชนะคาม

รองนายกรัฐมนตรีประวิทย์วงษ์สุวรรณวอนขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือและหาแนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการเขื่อนชนะคามในสปป.ลาว ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของเขื่อนเนื่องจากอยู่ห่างจากชายแดนไทยเพียง 2 กิโลเมตรดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับคำสั่งให้มุ่งเน้นและวิเคราะห์ผลกระทบของเขื่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสมบูรณ์ของโครงสร้างถึงแม้โครงการดังกล่าวจะเป็นของสปป.ลาว แต่เพื่อร่วมกันจัดการแม่น้ำโขงในลักษณะที่ยั่งยืนในฐานะทรัพยากรร่วมประเทศสมาชิกที่วางแผนจะสร้างโครงการตามแม่น้ำโขงต้องดำเนินการปรึกษาหารือล่วงหน้ากับผู้อยู่อาศัยและหน่วยงานท้องถิ่นก่อน เขื่อนชนะคามเป็นโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 6 โครงการล่าสุดที่รัฐบาลสปป.ลาววางแผนไว้ ผู้พัฒนาคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเขื่อนได้ในปีนี้ เมื่อเขื่อนนี้แล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 684 เมกะวัตต์จะมีมูลค่าประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (62.4 พันล้านบาท) และจะขายไฟฟ้าที่ผลิตให้ประเทศไทยเป็นหลัก 

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1962023/agencies-told-to-find-ways-to-mitigate-laos-dam-impact

บีโอไอนำผู้ประกอบการไทยจับมือรับช่วงผลิตกับบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์

นางสาวซ่อนกลิ่น  พลอยมี ผู้อำนวยการกองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน (BUILD) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 3 จากซ้าย) จับมือกับสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นำคณะผู้ประกอบการ SMEs ไทยเข้าเยี่ยมชมสายการผลิต พร้อมรับฟังนโยบายการจัดซื้อชิ้นส่วนจากบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก เช่น อีวี ชาร์จเจอร์ สวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย และให้บริการการจัดการระบบความร้อนและกำลังไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ เป็นต้น โดยกิจกรรมนี้จะก่อให้เกิดการสั่งซื้อชิ้นส่วนระหว่างผู้ประกอบการ SMEs ไทย กับบริษัทเดลต้าต่อไป

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/444169?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ

เวียดนามอาจส่งออกข้าวแซงไทย

เวียดนามอาจส่งออกข้าวแซงไทยในปีนี้ เนื่องจากราคาที่แข่งขันกันได้และการยกเลิกโควต้าส่งออกข้าว โดยข้อมูลทางสถิติจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่าปริมาณการส่งออกข้าวของไทยอยู่ที่ 2.57 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 54.2 พันล้านบาท (1.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 31.9 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 13.2 ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) ระบุว่าช่วงเวลาเดียวกันนั้น ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ที่ราว 2.9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 18.9 ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยมองว่าในปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวจะอยู่ที่ 6.5 ล้านตัน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาและต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 7.5 ล้านตัน เป็นผลมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ความต้องการทั่วโลกที่หดตัวลงจากการระบาดของไวรัส เงินบาทแข็งค่าและผลผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ จากภัยแล้งที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะช่วยให้เวียดนามสามารถกระจายตลาดการส่งออกข้าวให้หลากหลายมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-may-surpass-thailand-in-rice-export/179355.vnp

เวียดนามเผยยอดส่งออกผักผลไม้พุ่ง 230% ไปยังไทย

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนมิ.ย. การส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามไปยังไทย มีมูลค่ามากกว่า 11.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้มูลค่าส่งออกรวมในช่วง 6 เดือนแรกอยู่ที่ 79.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้อัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 230 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (23.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2562) ทั้งนี้ ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. มูลค่าส่งออกรวมของเวียดนามไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 2.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปี 2562 โดยรายการสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในขณะเดียวกัน สินค้าที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน ถึงแม้ว่ามูลค่าลดลงอย่างหนัก 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการค้าผักผลไม้ดิ่งลงราว 408 ล้านดอลลาร์สหรัฐ “ปัจจุบันไทยเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ที่มา : https://customsnews.vn/exports-of-fruits-and-vegetables-to-thailand-surge-230-15268.html

อาเซียนถกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด จ่อลงนามความตกลงยอมรับร่วมด้านยานยนต์ ส.ค.นี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 3/51 ผ่านระบบทางไกล หารือแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 และมาตรการที่ออกมาใหม่ช่วงการแพร่ระบาด เตรียมพร้อมความตกลงยอมรับร่วม APMRA ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจลงนามในเดือนสิงหาคม 2563 พร้อมถก 11 คู่เจรจา หาแนวทางจัดทำ FTA กับประเทศใหม่ๆ  และเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 ในเดือนสิงหาคม และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ในเดือนพฤศจิกายน 2563 การประชุม ครั้งนี้ จะหารือประเด็นผลกระทบทางเศรษฐกิจตลอดจนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 รวมถึงมาตรการที่แต่ละประเทศออกมาในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ รวมทั้งหารือเรื่องการดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเตรียมพร้อมเพื่อลงนามความตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน (APMRA) ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะลงนามความตกลงร่วมกันในเดือนสิงหาคมนี้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนจะพบกับ 11 คู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคนาดา อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหภาพยุโรป รวม 12 การประชุม โดยจะหารือประเด็นสำคัญ เช่น การเปิดเสรีเพิ่มเติมภายใต้ความตกลงที่มีอยู่เดิมกับจีน ความเป็นไปได้ในการเจรจาทำความตกลง FTA ใหม่ๆ กับแคนาดาและสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ที่มีรัสเซียเป็นหัวเรือใหญ่ รวมถึงความคืบหน้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ความคืบหน้าการจัดทำขอบเขตการเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป และการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่าการค้ารวม 107,928 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยเกินดุล 17,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 62,904 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 45,024 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค. – พ.ค.) มีมูลค่าการค้ารวม 41,218 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอาเซียนมูลค่า 24,697 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียนมูลค่า 16,522 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-493979

ส่งออกข้าวไทยปี 63 เสี่ยงหล่นอันดับ 3 โลก

ผู้ส่งออกข้าวแนะ“ตลาดนำการผลิต” ไทยต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ สู้ศึก ระบุกว่าจะเพียงพอความต้องการของเกษตรกรต้องใช้เวลา 3-5 ปี ปี 63 ไทยเสี่ยงสูงหล่นอันดับ 3 ส่งออกข้าวโลก จากที่กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศจับมือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” เป้าหมายเพื่อสร้างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก และผลักดันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารติด 1 ใน 10 อันดับแรกของโลกนั้น สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ชี้ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต”เป็นเรื่องที่ไทยเองจะต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากการค้าของโลกในยุคโลกาภิวัตน์นี้มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ตลาดผู้บริโภคเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคอยากจะได้คือสิ่งที่เราต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำได้แค่ช่วงข้ามคืน ทั้งนี้ต้องเริ่มจากการพัฒนาไม่ว่าจะในการศึกษาวิจัยตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ จนมาถึงการทดลองปลูกจนมีผลเป็นที่น่าพอใจและลูกค้ายอมรับ จากนั้นก็ต้องขยายเมล็ดพันธุ์จนมีเพียงพอที่จะปลูกจนได้จำนวนที่สามารถนำไปจำหน่ายในตลาดได้ โดยรวมแล้วน่าจะใช้เวลาในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี เพราะฉะนั้นคงไม่สามารถที่จะทำให้บังเกิดผลได้ในปีนี้หรือปีหน้า ซึ่งยังไม่รวมถึงการพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรวมถึงภาคการแปรรูป ระบบสุขอนามัยและอื่น ๆ  อย่างไรก็ดีเป็นนิมิตหมายที่ดีถ้ามีการทำงานประสานกันระหว่างกระทรวงหลักรวมถึงภาคเอกชนที่จะมีข้อมูลที่ถูกต้องของตลาดซึ่งเอกชนจะใกล้ชิดมากกว่าหน่วยงานรัฐ แต่อย่างไรก็ตามก็มีหลายผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นข้าวซึ่งปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ไม่เกิน 6.5 ล้านตันจาก 7.5 ล้านตันในปีที่แล้วและอาจจะหล่นไปเป็นที่ 3 ของโลกในเรื่องตัวเลขส่งออกรองจากอินเดียและเวียดนาม ด้วยเหตุผลที่ข้าวไทยมีราคาที่แพงกว่าคู่แข่งในระดับค่อนข้างมากและพันธุ์ข้าวที่ไม่หลากหลายเหมือนที่คู่แข่งมีทำให้ตลาดข้าวของไทยหดตัวมาโดยต่อเนื่อง เราต้องมีพันธุ์ข้าวที่หลากหลายและมีผลผลิตต่อไร่ที่สูงถึงจะสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้  สิ่งเหล่านี้จะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถึงจะช้าก็ต้องทำเพราะนี่คือความอยู่รอดของอุตสาหกรรมข้าวไทยในอนาคต หากมิเช่นนั้นข้าวไทยในตลาดโลกก็คงเหลือแค่เป็นตำนาน สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดว่าจะผลักดันให้ไทยกลับมาเป็นอันดับ 1 ผู้ส่งออกข้าวโลกโลกภายใน 2 ปีคงไม่ใช่สิ่งที่น่าจะทำได้ แต่ถ้าเรามีความตั้งใจและพยายามผลักดันสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นและต่อเนื่อง ในอนาคตก็อาจจะมีความเป็นไปได้ ข้อมูลในปี 2562  ผู้ส่งออกข้าวโลก 3 อันดับแรกได้แก่  อินเดีย ปริมาณ 9.7 ล้านตัน , ไทย 7.5 ล้านตัน และเวียดนาม 6.5 ล้านตัน ขณะที่ช่วง 6 เดือนแรกปี 2563 อินเดียส่งออกได้ 5.5 ล้านตัน, เวียดนาม 3.4 ล้านตัน และไทย 3 ล้านตัน

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/442502?utm_source=sub_category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=trade

“เวียดนาม-ไทย” มุ่งมั่นกระชับความร่วมมือทางการค้า

สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยที่นครโฮจิมินห์ เป็นเจ้าภาพในงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้า ณ วันที่ 14 กรกฎาคม เพื่อหาช่องทางแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคและโอกาสสำคัญในการยกระดับความร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนาม ทั้งนี้ คุณสภาพร สุขมาก ผู้อำนวยการสำนักงานการค้าในต่างประเทศที่นครโฮจิมินห์ กล่าวว่าสำนักงานฯ ได้จัดงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้าผ่านทางออนไลน์และโดยตรง เพื่อให้การสนับสนุนแก่บริษัทต่างๆ ในขณะที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ยังคงมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจระหว่างไทยกับเวียดนาม อีกทั้ง คุณศรัณยา สกลธนารักษ์ ประธานสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนาม กล่าวว่าในฐานะสมาชิกของอาเซียน ไทยและเวียดนามควรส่งเสริมความหลากหลายทางเศรษฐกิจในหลายด้านด้วยกัน เพื่อที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นและสร้างซัพพลายเชนทั่วภูมิภาค เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่จะกลายเป็นประตูสำคัญสู่อาเซียน รวมถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน การลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-thailand-strive-to-intensify-trade-exchange-activities-416087.vov

ไทยร่วงเบอร์ 1 ในการจัดหาผักผลไม้ไปยังเวียดนาม

สมาคมผักผลไม้แห่งเวียดนาม (Vinafruit) เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามนำเข้าผักผลไม้รวมที่ 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐอเมริกา จีน ออสเตรเลีย เมียนมาและไทย เป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ เลขาธิการสมาคมผักผลไม้แห่งเวียดนาม กล่าวว่าการส่งออกผักและผลไม้กำลังเผชิญกับช่วงเวลาอันยากลำบาก ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องกระตุ้นการบริโภคในประเทศ จากการที่ผักมีราคาถูกกว่ามาก ด้วยเหตุนี้เอง คนเวียดนามส่วนใหญ่หันมาบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เวียดนามส่งออกไปยังไทยเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ ร้อยละ 233 มูลค่าราว 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้ามากกว่า 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จากข้อมูลข้างต้น เป็นผลมาจากความพยายามในการผลักดันขยายตลาด เพื่อชดเชยการส่งออกผักผลไม้ที่ลดลงไปจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนไทยในเวียดนาม ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) ที่มีการนำเข้าผักเวียดนามไปไทยเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/thailand-beaten-out-of-no1-in-fruit-and-vegetable-supply-to-vietnam-22295.html