พาณิชย์ เดินหน้าทำเอฟทีเอใหม่สร้างโอกาสทางการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม” อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ขณะนี้ไทยกำลังเดินหน้าเร่งเจรจาเอฟทีเอทั้งที่ทำใหม่และที่ยังค้างอยู่ ประกอบ  1.เอฟทีเอระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) หรือ การเจรจาจัดทำ CEPA โดยจะมีการนัดประชุมครั้งที่ 1  ระหว่างวันที่ 16 – 18 โดยตั้งเป้าหมายว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน 2.เอฟทีไทยกับสหภาพยุโรปหรืออียู โดยจะมีการประชุมรอบแรกในเดือน ก.ย. 2566 คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี จบได้ในปี 2568 3.เอฟทีเอไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์) 4.เอฟทีเอไทย -ศรีลังกา  ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 ปัจจุบันมีการเจรจาไปแล้ว 4 รอบ  และได้นัดเจรจารอบที่ 5 ในเดือน มิ.ย. นี้ ตั้งเป้าสรุปผลต้นปี 67 และ 5.เอฟทีเออาเซียน – แคนาดา โดยเริ่มเจรจารอบแรกเมื่อปี 2565  ล่าสุดเจรจารอบ 3 เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้เตรียมจัดประชุมอีก 2 รอบ ตั้งเป้าสรุปผลเจรจา ปี 2567

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1069312

สปป.ลาว ลงนาม MoU เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางผ่านแดน

บริษัทของทั้ง สปป.ลาว และไทย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจไตรภาคี (MoU) ซึ่งได้ลงนาม ณ เวียงจันทน์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟระหว่าง สปป.ลาว-ไทย และ สปป.ลาว-จีน โดยข้อตกลงนี้ลงนามโดยผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว (LNR) ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Global Multimodal Logistics, รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Pan-asia Silk Road และประธานบริษัท Kaocharoen Train Transport ซึ่ง LNR จะประสานงาน อำนวยความสะดวก ซึ่งตั้งเป้าหมายในการขนส่งทุเรียนและผลไม้อื่นๆ อย่างน้อย 20,000 ตันต่อเดือน จากไทยไปยังตลาดจีน โดยหลังจากทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน เปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2021 ความต้องการทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสารปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากจำนวนผู้โดยสารที่พุ่งสูงขึ้น ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ แตะ 417,400 คน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 256.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การขนส่งสินค้ารวมอยู่ที่ 647,700 ตันในช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 320

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten57_Deal_y23.php

FTA ไทย-ยูเออี ประตูการค้าสู่ตะวันออกกลางของไทย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมเตรียมจัดการประชุมระดมความเห็น เปิดประตูการค้าการลงทุนผ่าน FTA ไทย-ยูเออี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับจัดทำ CEPA ไทย-ยูเออี จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสัมคม พร้อมทั้งนำเสนอผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ GCC และ CEPA ไทย-ยูเออี และรับฟังมุมมองและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย สำหรับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการค้าในตะวันออกกลาง ซึ่งพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง และยังสามารถเป็นประตูการค้าสู่กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ซึ่งมีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ยูเออี ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน โอมาน กาตาร์ และคูเวต ซึ่งปัจจุบันสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นคู่ค้าอันดับที่ 6 ของไทยในตลาดโลก และอันดับที่ 1 ในตะวันออกกลางโดยในปี 2565 การค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมูลค่า 20,824.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+73.90%) เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มีสัดส่วนการค้า คิดเป็น 3.53% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/economy/557089

จีน-เมียนมา ร่วมส่งเสริมการค้าและเศรษฐกิจในยุคหลัง COVID-19

เมื่อวันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา นายหลี่ เฉินหยาง อธิบดีกรมพาณิชย์มณฑลยูนนานของจีนได้เข้าพบและหารือกับ นาย ออง เนียง อู รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาเกี่ยวกับการเปิดชายแดนและนโยบายส่งเสริมการค้า ความร่วมมือทางการเงิน และความร่วมมือด้านการเกษตรของทั้งสองประเทศ ต่อมาวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 นายหลี่ เฉินหยาง ยังได้เข้าพบกับ นาย ยู เอ วิน ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา (UMFCCI) เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการพัฒนาภาคธุรกิจเอกชนของเมียนมาและมณฑลยูนนาน ทั้งนี้ หลังสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย เมียนมาพยายามเพิ่มการส่งออกไปยังจีนโดยเฉพาะมณฑลยูนนานให้มากขึ้นเพื่อให้การค้าระหว่างประเทศกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20230216/d51ad3ab59524454966ad689bf9eb78e/c.html

ADB กล่าวถึงกุญแจสำคัญด้านการค้าและการลงทุนในอนาคตของ สปป.ลาว

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) กล่าวว่า การค้าและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียและแปซิฟิก รวมถึง สปป.ลาว ซึ่งจะข้อความร่วมมือไปยังรัฐบาลระดับภูมิภาคทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ตามรายงานฉบับล่าสุดของ ADB โดยรายงานการบูรณาการเศรษฐกิจในเอเชีย (AEIR) ประจำปี 2023 ระบุว่า แม้ว่าการค้าและการลงทุนจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในเอเชียในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็นำไปสู่การเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาค ซึ่งมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากสภาพอากาศโลก โดย ADB มุ่งหวังว่ารัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ เช่น การส่งเสริมการค้าสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม การดูแลธุรกิจสีเขียว การพัฒนากลไกการกำหนดราคาคาร์บอน และการเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคผ่านข้อตกลงการค้าและการลงทุน เพื่อเป็นการผลักดันการลดคาร์บอนในภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Greener28.php

กรมส่งเสริมการค้าเซี่ยงไฮ้ ตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ สปป.ลาว

กรมส่งเสริมการค้า ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกับทางการเซี่ยงไฮ้ของจีนเกี่ยวกับความร่วมมือทางการค้าและทางเศรษฐกิจ โดยข้อตกลงดังกล่าวได้ลงนามระหว่างงาน China International Import Expo ตั้งแต่ในช่วงวันที่ 5-11 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งบันทึกความเข้าใจดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยหวังว่าจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงมีส่วนในการพัฒนาและการเปิดประเทศของจีน ผ่านโครงการ One Belt, One Road ในฐานะคู่ค้าสำคัญของจีน ซึ่ง สปป.ลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดเส้นทางรถไฟสายใหม่ ส่งผลทำให้ สปป.ลาว เชื่อมต่อกับประเทศคู่ค้าในภูมิภาคได้กว้างมากขึ้น โดยเฉพาะกับจีนที่มีประชากรรวมกว่า 1.4 พันล้านคน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten218_Trade.php

คาดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ “จีน-อาเซียน” ดันการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงกัมพูชา

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและประเทศกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งคาดว่าจะเป็นส่วนเสริมสำคัญต่อการพัฒนาในภูมิภาค โดยปัจจุบันจีนและอาเซียนมีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึง 544.9 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การลงทุนระหว่างประเทศในกลุ่มมีมูลค่ารวมสะสมอยู่ที่ 340,000 ล้านดอลลาร์ ด้านปลัดกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาและโฆษก Penn Sovicheat กล่าวว่า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน-อาเซียนนั้นใกล้ชิดกันมาก ด้วยการมีข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน (CAFTA) ที่เป็นส่วนเสริมสำคัญในการผลักดันการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน CAFTA ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรรวมกันกว่า 2 พันล้านคน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501157600/china-asean-economic-cooperation-contributes-to-development-prosperity-in-region-cambodian-official-experts/

“เวียดนาม-สปป.ลาว” ตั้งเป้าดันการค้าแตะ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปัจจุบัน สปป.ลาวเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 7 ของเวียดนามในกลุ่มประเทศอาเซียน และทั้งสองประเทศยังพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายทางการค้า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามและลาวมีพรมแดนร่วมกันมากกว่า 2,300 กม. โดยเฉพาะประตูชายแดนระหว่างประเทศ มีจำนวน 9 แห่ง, ประตูหลัก 6 แห่ง, ประตูอื่นๆ อีก 18 แห่ง และเส้นทางต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันของทั้งสองประเทศ รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 9 แห่ง

ทั้งนี้ การส่งออกของเวียดนามไปยังสปป.ลาว มีมูลค่า 594.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% ในขณะที่การนำเข้า 778.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 69.8%

นอกจากนี้ นาย โด ทั้งห์ หาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าเวียดนามพร้อมที่จะช่วยเหลืออุปสรรคของสปป.ลาว ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจและการเมืองทั่วโลก

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-laos-aiming-fo-2-billion-usd-in-bilateral-trade-2056831.html

พณ.เปิดตัวเลขการค้า RCEP ครึ่งปีแรกพุ่ง 169 พันล้านเหรียญสหรัฐ โตกว่า 13% หนุนใช้ประโยชน์เพิ่มช่องทางนำเข้าสินค้าทุน

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ติดตามสถิติการค้าของไทยกับกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP ในช่วงครึ่งปีแรก โดยได้รับรายงานว่า นับจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ผ่านมา การค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก RCEP ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.65) มีมูลค่ารวม 169,041 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปยังประเทศสมาชิก RCEP มูลค่า 78,172 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9% ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัวได้ดี อาทิ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ส่งออกภายใต้ความตกลง RCEP ในช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย.65 มีมูลค่า 204.13 ล้านเหรียญสหรัฐ (+2,296%) เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2565 ซึ่งเป็นเดือนแรกของการมีผลบังคับใช้ความตกลง RCEP โดยมีผู้ส่งออกขอใช้สิทธิ์ RCEP ไปยังญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ มากที่สุด และสินค้าที่ขอใช้สิทธิ์ส่งออกสูงสุด อาทิ น้ำมันดิบ ปลากระป๋องและแปรรูป มันสำปะหลัง ทุเรียนสด และรถจักรยานยนต์ สำหรับการนำเข้าโดยใช้สิทธิ์ RCEP มีมูลค่า 72.34 ล้านเหรียญสหรัฐ (+1,887%) และรายการสินค้าที่ใช้สิทธิ์นำเข้าสูงสุด อาทิ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคมีภัณฑ์ ไม้อัด เม็ดพลาสติก และส่วนประกอบเครื่องยนต์ (ลูกสูบ)

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/370441

สปป.ลาว – เวียดนาม มุ่งร่วมมือส่งเสริมการค้าและการลงทุน

สปป.ลาวและเวียดนามเร่งผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ได้มีการจัดพิธีครบรอบ 60 ปี ของความสัมพันธ์ทางการทูตและครบรอบ 45 ปี การลงนามสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือระหว่างสปป.ลาวและเวียดนาม ในพิธีการดังกล่าว ผู้นำระดับสูงของประเทศต่างๆ ได้แสดงความยินดีกับความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีมาอย่างยาวนาน ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความร่วมมือในทุกด้านของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ เหงียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีเวียดนาม กล่าวถึงความจำเป็นของทั้งสองประเทศที่จะส่งเสริมศักยภาพและทรัพยากรในประเทศ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนเป็นเสาหลักของความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ

นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีการวางแผนที่จะสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างเวียงจันทน์กับท่าเรือ และทางด่วนเพื่อเชื่อมโยงเมืองหลวงของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Laos139.php