กัมพูชาตั้งเป้าเพิ่มปริมาณสกุลเงินเรียลในระบบ และลดมูลค่าสกุลเงินดอลลาร์

กัมพูชาดำเนินไปสู่เป้าหมายในการลดปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบลง ร่วมกับการเพิ่มการหนุนเวียนสกุลเงินเรียลเพื่อลดการผูกขาดกับสกุลเงินต่างประเทศและหันมาใช้เงินสกุลท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยรายงานของบลูมเบิร์กแสดงให้เห็นว่าสกุลเงินของประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ประสบกับภาวะตกต่ำในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคมเนื่องจากประธานาธิบดีโจไบเดนที่เพิ่งขึ้นรับดำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากการเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าขึ้นส่งผลดีมากกว่าผลเสียต่อกัมพูชาเพราะตามทฤษฎีแล้วการอ่อนค่าของสกุลเงินต่างประเทศ ส่งผลให้กัมพูชาที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักได้รับผลในเชิงบวก แม้ว่าสกุลเงินเรียลของกัมพูชาจะไม่รวมอยู่ในดัชนีของ MSCI แต่ข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ก็สนับสนุนการวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก ที่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเรียลแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 4,055 KHR / USD จาก 4,030 KHR / USD ซึ่งแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.61 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805815/rielisation-and-dollars-provide-kingdom-with-an-economic-moat/

อุตสาหกรรม 4.0 สู่ผลกระทบต่อการจ้างงานในกัมพูชา

การศึกษาใหม่ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาควรพิจารณาพัฒนาแผนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมในภาคส่วนสำคัญ ๆ และวางแผนลงทุนอย่างเพียงพอในการพัฒนาทักษะสำหรับงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจกัมพูชาเปลี่ยนไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ผ่าน 6 ข้อสำคัญที่เกิดขึ้นจากการศึกษาถึงประโยชน์ของอุตสาหกรรม 4.0 โดย ADB ทำการศึกษานี้ศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและการท่องเที่ยวในกัมพูชาเป็นลำดับแรก ซึ่งทั้งสองอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก โดยศึกษาเกี่ยวกับการจ้างงาน ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย 4IR จากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยี 4IR จะกำจัดงานในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าและการท่องเที่ยวในรูปแบบปัจจุบัน แต่การสูญเสียเหล่านี้จะถูกชดเชยด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากผลผลิตที่สูงขึ้น อาจทำให้ตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39 ในภาคการผลิตเสื้อผ้า และร้อยละ 2 ในการจ้างงานการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805649/industry-4-0-impact-will-transform-skills-and-jobs-says-adb/

กัมพูชาเปิดตัวระบบใหม่ เสริมความร่วมมือด้านภาษีและศุลกากรภายในประเทศ

กรมสรรพสามิต (GDT) และ กรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ได้เปิดตัวระบบข้อมูลอัตโนมัติระหว่างสองสถาบันอย่างเป็นทางการ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) เป็นประธานในงานเปิดตัวที่จัดขึ้นในพนมเปญ นอกจากนี้ในการเข้าร่วมยังมีเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก MEF, GDCE, GDT และสมาชิกของคณะทำงานด้านเทคนิค โดยการนำระบบส่งผ่านข้อมูลอัตโนมัติมาใช้แสดงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีใหม่ภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบัน ภายใต้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างหน่วยงานด้านภาษีทั้งสองแห่ง ให้สามารถแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญได้ทันที รวมถึงทะเบียนภาษีนิติบุคคล เอกสารนำเข้าและส่งออกของบริษัท บันทึกการขายและการซื้อตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ในปรับปรุงการแบ่งปันข้อมูลและการอัปเดตการเติบโตให้แม่นยำยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับการปฏิรูปที่กำลังดำเนินอยู่ของรัฐบาล ผ่านโครงการปฏิรูปการจัดการด้านการเงินสาธารณะและกลยุทธ์การระดมรายได้ ประจำปี 2019-2023

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805140/system-will-strengthen-tax-and-customs-cooperation/

PPSEZ ส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียน เพิ่มขึ้นในปี 2020

การส่งออกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) ภายใต้ FTA อาเซียน – สหภาพยุโรป และโครงการ GSP / MFN (Generalized System of Preferences / Most-Favored Nation) ของสหรัฐฯ มีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ประมาณ 507 ล้านดอลลาร์ ในปี 2020 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า และสินค้าสำหรับการเดินทาง ไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น คิดเป็นการส่งออกเสื้อผ้ารวม 20.34 ล้านดอลลาร์ สินค้าที่เกี่ยวกับการเดินทาง 4.637 ล้านดอลลาร์ และรองเท้าคิดเป็นมูลค่า 826,504 ดอลลาร์ ไปจนถึงหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คิดเป็น 481.68 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในปีนี้จะขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ COVID-19 นั้นจะอยู่ในทิศทางใด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805264/ppsez-exports-to-us-eu-and-asean-up-substantially-in-2020/

สนามบินนานาชาติในกัมพูชารายงานจำนวนผู้โดยสารขาเข้าประจำปี 2020

สนามบินนานาชาติสามแห่งของกัมพูชาให้การต้อนรับผู้โดยสารรวม 2.13 ล้านคน ในปี 2020 ซึ่งลดลงกว่าร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลของ State Secretariat of Civil Aviation (SSCA) โดยสนามบินนานาชาติพนมเปญให้การต้อนรับผู้โดยสารประมาณ 1.30 ล้านคน ลดลงร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับ 5.49 ล้านคนในปี 2019 สนามบินนานาชาติเสียมเรียบให้การต้อนรับผู้โดยสาร 618,663 คน ลดลงร้อยละ 83 จาก 3.57 ล้านคนในปี 2019 สนามบินนานาชาติสีหนุให้การต้อนรับผู้โดยสารจำนวน 214,969 คน ลดลงร้อยละ 86.3 จากจำนวนผู้โดยสาร 1.57 ล้านคน ในปี 2019 รวมถึงการขนส่งสินค้ารวม 49,983 ตัน ลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยการขนส่งสินค้าส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่สนามบินนานาชาติพนมเปญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50804884/2020-international-airport-arrivals-down-dramatically/

รัฐบาลกัมพูชาเร่งศึกษาหาวิธีกระตุ้นการส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าจีน

รัฐบาลกัมพูชาเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเกี่ยวกับการศึกษาและกำหนดแนวทางในการใช้ข้อตกลงทางการค้า ในการส่งเสริมการส่งออกให้เป็นประโยชน์ โดยกระทรวงพาณิชย์ประกาศว่าขณะนี้การวิจัยกำลังดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะนำเข้าและส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา (CC-FTA) ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งคณะทำงานพิเศษเมื่อปีที่แล้วเพื่อทำการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT ว่าสินค้าชนิดใดจะมีศักยภาพในการส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออก นอกจากนี้กระทรวงยังศึกษาอัตราภาษีนำเข้าที่เป็นประโยชน์ต่อกัมพูชาและมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีที่กำหนดโดยประเทศคู่ค้าหลักของกัมพูชาตามกลไกข้อตกลงการค้าพหุภาคี (MFN) ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน (ACFTA) ที่นับเป็นข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีฉบับแรกที่กัมพูชาลงนามและข้อตกลงการค้าเสรีฉบับแรกที่ลงนามระหว่างจีนและชาติสมาชิกอาเซียน นับตั้งแต่ CCFTA มีผลบังคับใช้ กัมพูชาได้จดทะเบียนสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มเติม 340 รายการเพื่อส่งออกไปยังจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50804912/ministry-studies-how-best-to-boost-exports-under-china-deal/

กระทรวงการคลังกัมพูชาวางแผนปรับปรุงการจัดประเภทผู้เสียภาษีใหม่

กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังได้ออกคำสั่ง สำหรับการแบ่งประเภทของผู้เสียภาษีภาคธุรกิจในกัมพูชา โดยคำสั่งดังกล่าวลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการและการจัดเก็บภาษีทุกประเภทให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเท่าเทียมกัน ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ซึ่งการมีสิทธิ์ได้รับระบบการประเมินจัดกลุ่มจะขึ้นอยู่กับรายได้ต่อปีของธุรกิจ ในภาคหลัก เช่น ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการและการพาณิชย์ ตามคำสั่งจะแบ่งผู้เสียภาษีประเมินตนเองออกเป็น 3 ประเภท แตกต่างกัน คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50804495/ministry-revamps-self-assessment-tax-regime-classifications/

ความร่วมมือจากหลายหน่วยงานในการพัฒนาภาคการผลิตยางกัมพูชา

WWF กัมพูชาและกรมการยางกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง (MAFF) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานยางพาราให้เกิดความโปร่งใสและยั่งยืน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (BMZ) ของรัฐบาลเยอรมนี ผ่าน Welthungerhilfe ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีเพื่อการพัฒนาระดับโลกและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาองค์กร BMZ ได้มีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับผู้มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรรายย่อยในกัมพูชา ในเมืองมณฑลคีรี เพื่อส่งเสริมการผลิตยางพาราอย่างยั่งยืน ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของคนในท้องถิ่น โดยผู้อำนวยการ WWF กัมพูชา กล่าวว่าการส่งเสริมการปลูกยางพาราของเกษตรกรรายย่อยอย่างยั่งยืนจะไม่เพียงสร้างงานและรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่น แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาส่งออกยางพาราและต้นยางพารามูลค่ารวมกว่า 482.76 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแบ่งเป็นยาง 340,000 ตันและต้นยางพารา 158,400 ลูกบาศก์เมตร ตามรายงานของกระทรวงเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803833/rubber-production-to-receive-multi-agency-effort-to-improve/

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 แห่ง ในกัมพูชากำลังจะเริ่มส่งกระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากพลังงานแสงอาทิตย์จะเริ่มส่งผ่านกระแสไฟฟ้าในกัมพูชาเร็ว ๆ นี้ จากสถานีใหม่ 4 แห่ง ที่มีกำหนดจะเชื่อมโยงกับกริดในต้นปีนี้ ขณะนี้โครงการทั้ง 4 โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 90 ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ด้านพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าโครงการดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกัมพูชาในปลายปี 2019 สำหรับการก่อสร้าง รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อื่น ๆ ทั่วประเทศ รวมขนาด 110 เมกะวัตต์ (mW) ทั่วกัมพูชา เพื่อช่วยตอบสนองต่อความต้องการในการใช้พลังงานของประเทศในไม่ช้า โดยปัจจุบันกัมพูชาผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานลม โรงไฟฟ้าถ่านหิน การผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์และการนำเข้าพลังงานบางส่วน ซึ่งกัมพูชาผลิตไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 85 ของอุปสงค์ในประเทศ โดยมีการนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803921/four-solar-power-stations-coming-online/

โรงไฟฟ้าสองแห่งในกันดาลของกัมพูชาเรื่องผลิตกระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลขนาดใหญ่ในจังหวัดกันดาลได้เริ่มเดินเครื่องยนต์ สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับกริดแห่งชาติ ตามข้อมูลของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยเครื่องยนต์ของโรงไฟฟ้ารวมกันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งเริ่มผลิตไฟฟ้าไปเมื่อต้นเดือน ม.ค. ผู้อำนวยการใหญ่ด้านพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวโรงงานดังกล่าวได้เริ่มผลิตไฟฟ้าแล้ว แต่ยังไม่สามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังการผลิตที่ 400 เมกะวัตต์ โดยการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าเริ่มในเดือนตุลาคม 2019 ประกอบด้วยโรงงานสองแห่ง แห่งแรกใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย บริษัท Wartsila ของฟินแลนด์ และได้รับการพัฒนาโดยบริษัท CGGC-UN Power Co. จากจีน ส่วนโรงงานแห่งที่สองใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย Man Group ของเยอรมนี สร้างโดย China National Heavy Machinery Corp (CHMC) ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 380 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลให้กู้ยืม 300 ล้านดอลลาร์ และส่วนที่เหลือมาจากเงินกองทุนของ EDC โดยในปี 2019 กัมพูชาใช้พลังงานทั้งหมด 12,014.59 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803643/two-power-plants-in-kandal-start-their-engines/