สปป.ลาว แจ้งปรับราคาน้ำมันวันนี้ เบนซินปรับขึ้น ดีเซลปรับลดลง

ทางการ สปป.ลาว แจ้งปรับราคาขายปลีกน้ำมันมีผล 06.00 น. วันที่ 18 เมษายน 2567 โดยราคาน้ำมันเบนซิน 95 ปรับขึ้น 550 กีบต่อลิตร มาอยู่ที่ 33.200 กีบต่อลิตร เบนซิน 91 ปรับขึ้น 440 กีบต่อลิตร มาอยู่ที่ 25.250 กีบต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซล ปรับลดลง 160 กีบต่อลิตร มาอยู่ที่ 21.120 กีบต่อลิตร ซึ่งเป็นราคาสำหรับขายปลีกในแขวงเวียงจันทน์ อย่างไรก็ตาม ราคาที่ปรับขึ้นเป็นไปตามราคาตลาดโลกและน้ำมันสำเร็จรูปนำเข้า และจะเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงทุกๆ 7 วัน

ที่มา : https://www.vientianetimeslao.la/%e0%bb%81%e0%ba%88%e0%bb%89%e0%ba%87%e0%ba%9b%e0%ba%b1%e0%ba%9a%e0%ba%a5%e0%ba%b2%e0%ba%84%e0%ba%b2%e0%ba%99%e0%bb%89%e0%ba%b3%e0%ba%a1%e0%ba%b1%e0%ba%99-%e0%bb%81%e0%ba%ad%e0%ba%b1%e0%ba%94%e0%ba%8a/

นักท่องเที่ยวและขาวบ้านเมืองหลวงพระบาง ร่วมงานเทศกาลปีใหม่ลาว 2567

ชาวหลวงพระบางและนักท่องเที่ยวเข้าร่วมขบวนอัญเชิญพระบาง เพื่อนำไปประดิษฐานชั่วคราวที่วัดใหม่สุวรรณภูมิมาราม สำหรับให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวได้พรมน้ำหอมและสรงน้ำพระบาง ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เนื่องในโอกาสปีใหม่ลาว โดยจะจัดงานจนถึงวันที่ 20 เมษายน 2567 นอกจากนี้ ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม รวมทั้งการแสดงของโรงละครพระลักษณ์พระราม ซึ่งจะจัดขึ้นในตอนกลางคืนเพื่อความบันเทิงแก่ผู้คนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ

ที่มา : https://kpl.gov.la/EN/detail.aspx?id=81963

‘เวียดนาม-กัมพูชา’ ยอดการค้า พุ่ง 25%

จากข้อมูลของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) รายงานว่าเวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของกัมพูชา รองจากประเทศจีน โดยปริมาณการค้าของทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มูลค่าที่ 2.32 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และเวียดนามยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของกัมพูชาไปยังตลาดเวียดนาม คือ สินค้าการเกษตร อาทิเช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะพร้าวและยางพารา เป็นต้น ในขณะเดียวกัน กัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียมและเหล็กเส้นดิบจากเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501474739/cambodias-trade-with-vietnam-rises-nearly-25/

กรมประมงเมียนมาบังคับใช้ข้อจำกัดในการทำประมงในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูตกปลา

ตามที่กรมประมงเมียนมาระบุ การออกใบอนุญาตทำการประมงในทะเลเมียนมานั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตกปลาที่ใช้ในช่วงนอกฤดูตกปลา แม้ว่าฤดูกาลที่ไม่ใช่ฤดูประมงของปีนี้ถูกกำหนดไว้เป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ก็มีการออกใบอนุญาตทำการประมงในบางภูมิภาคและรัฐ เนื่องจากประสบปัญหาของสมาคมผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่าอนุญาตให้ทำการประมงได้เฉพาะในเขตย่างกุ้งในเดือนเมษายน ในเขตตะนาวศรีเดือนเมษายนและพฤษภาคม และในเขตอิระวดีและรัฐมอญในเดือนเมษายน แต่เฉพาะกับเรือประมงบางประเภทเท่านั้น นอกจากนี้ เรือประมงนอกชายฝั่งอื่นๆ ทั้งหมดจะต้องหยุดดำเนินการเป็นเวลาสามเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งกรมประมงระบุเฉพาะเรือประมงในฝั่งเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fd-implements-fishing-restrictions-during-non-fishing-season/#article-title

การค้าชายแดนเมียนมา-ไทยมีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เผยว่า การค้าชายแดนของเมียนมากับประเทศไทยมีมูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา (เมษายน 2566 -มีนาคม 2567) โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่า 927 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าที่บันทึกไว้ในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่มีมูลค่า 5.35 พันล้านดอลลาร์โดยเมียนมาดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับไทยผ่านชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด บ้านพุน้ำร้อน และมอตอง อย่างไรก็ดี ด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อนมีการค้าขายที่ครอบคลุมมากที่สุดซึ่งมีมูลค่า 2.69 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา นอกจากนี้ ที่ด่านชายแดนเมียวดี มูลค่าการค้าอยู่ที่ 1.147 พันล้านดอลลาร์, ที่เกาะสอง 234.38 ล้านดอลลาร์, ที่ท่าขี้เหล็ก 171.66 ล้านดอลลาร์, ที่มะริด 154.3 ล้านดอลลาร์ และที่มอตอง 26.779 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-totals-us4-4-bln-in-2023-2024fy/#article-title

‘เวียดนาม’ ส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้ เผชิญกับอุปสรรคทางเทคนิค

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของแห่งเวียดนาม (VASEP) รายงานว่าการส่งออกอาหารทะเลของเกาหลีใต้ไปยังเวียดนาม ได้รับการยกเว้นภาษีหรือปลอดภาษี ในขณะที่ผู้ส่งออกกุ้งของเวียดนามเผชิญกับข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงเกษตรและกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้เกาหลีใต้ยกเลิกโควต้าการนำเข้ากุ้งเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA)  และหากสถานการณ์นี้เดินหน้าต่อไป จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจเวียดนามที่จะส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-shrimp-exports-to-south-korea-face-technical-hurdle-vasep/

‘ตลาดอสังหาฯ เวียดนาม’ ไตรมาสแรกปี 66 มีสัญญาเชิงบวก

จากข้อมูลของสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เวียดนาม (VARS) เปิดเผยผลการรายงานสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์เวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้และการคาดการณ์แนวโน้มในไตรมาสที่สอง นาย Tran Van Binh รองประธานและเลขาธิการสมาคมฯ กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามส่งสัญญาณฟื้นตัวในไตรมาสแรก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปในทิศทางที่เป็นบวก รวมถึงได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐต่างๆ

ทั้งนี้ จากผลการสำรวจของสมาคมฯ พบว่าลูกค้าและนักลงทุนส่วนใหญ่ 70% มีความต้องการที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของลูกค้า

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลฝั่งอุปทานของตลาดอสังหาฯ เวียดนาม แสดงให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 20,541 แห่ง รวมถึงที่อยู่อาศัยใหม่ 4,300 แห่ง โดยเฉพาะโครงการอสังหาฯ ที่มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ มีความพร้อมที่จะปล่อยสู่ตลาด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1654024/real-estate-market-has-positive-performances-in-q1-vars.html

แขวงบ่อแก้วปรับขึ้นค่าธรรมเนียมค่าน้ำประปา สร้างความไม่พอใจต่อประชาชนในพื้นที่

รัฐวิสาหกิจน้ำประปาแขวงบ่อแก้ว กำหนดให้ครัวเรือนต้องจ่ายเงิน 10,000 กีบต่อใบเสร็จรับเงินค่าน้ำทุกใบ ทำให้ชาวบ้านแสดงความไม่พอใจ โดยระบุว่าเป็นมาตรการที่สร้างภาระให้กับชาวบ้านที่เกิดจากรัฐบาล ชาวบ้านบางรายยังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินในอนาคต โดยกำลังจะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน 3,000 กีบ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย โดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2567 ยิ่งสร้างความไม่พอใจของชาวแขวงบ่อแก้ว หลายคนเรียกร้องความโปร่งใสและความรับผิดชอบจากรัฐบาล โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นของนโยบายที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ทางการเงิน ซึ่งมีความยากลำบากจากปัญหาเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ประกอบกับการขาดแคลนแรงงานจำนวนมากในปัจจุบัน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/11/new-water-bill-receipt-fee-sparks-outrage-among-residents-in-bokeo/

เมียนมาจัดส่งข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยัง 3 ประเทศ

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยังต่างประเทศ 3 ประเทศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 จากการที่เมียนมาเร่งความพยายามในการสนับสนุนการส่งออกเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ เมียนมาจึงส่งข้าวโพด 25,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์ทางเรือ (MV Manta Hatice) ผ่านท่าเรือ No 6 Sule Wharf ส่งออก 12,700 ตันถึงไทยทางเรือ (MV Tay Son 4) ผ่านทางท่าเรือ TMT และ 2,700 ตัน ทางเรือ (MV MCL 20) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM และส่งออกไปยังอินเดียทางเรือ 27,500 ตัน (MV Seiyo Harmony) ผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมเมียนมา 2 และ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ตามลำดับ  อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังประเทศไทยครั้งละ 5,400 ตันโดยเรือ 2 ลำ (MV MCL 8 และ MV MCL 7) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM เมื่อวันที่ 9 เมษายน และมีกำหนดส่งออกข้าวโพด 6,600 ตันไปยังฟิลิปปินส์โดยเรือ (MV. RAINBOW SYMPHONY) ผ่าน AIPT-3 วันที่ 10 เมษายน นอกจากนี้ เมียนมายังจัดส่งข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในฤดูข้าวโพดปี 2565 ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งมายังประเทศไทย และส่วนที่เหลือไปยังจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้าวโพดปลูกในรัฐฉาน กระฉิ่น คะยา และคะยิน รวมถึงภูมิภาคมัณฑะเลย์ สะกาย และมะเกว ซึ่งเมียนมามีฤดูข้าวโพด 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม ผลผลิตข้าวโพดของเมียนมาต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-around-80000-tonne-corn-to-3-countries/#article-title

ยอดขายมันสำปะหลังพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางความต้องการของจีนที่สูงแม้ราคาจะยังทรงตัว

ตามข้อมูลของผู้ปลูกมันเทศในตลาด ราคามันสำปะหลังในตลาดยังคงทรงตัว แม้ว่ายอดขายจะดีเนื่องจากมีความต้องการสูงจากประเทศจีน โดยราคาขายส่งมันสำปะหลังผงในตลาดอยู่ที่ประมาณ 3,000 จ๊าดต่อviss อย่างไรก็ดี จีนและอินเดียเป็นผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา รวมทั้งเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างประเทศทั้งสอง ดังนั้นมันสำปะหลังจึงเป็นพืชที่สามารถแสวงหารายได้จากต่างประเทศให้กับประเทศเมียนมาได้ นอกจากนี้ ในอดีตมันสำปะหลังมีการปลูกแบบดั้งเดิมแต่ได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการกำหนดกรอบการผลิตซึ่งสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้ โดยผลผลิตหัวมันเทศสามารถขุดได้ภายใน 8 เดือน และผลผลิตสำเร็จรูปอาจลดลงหากขุดหลังจากผ่านไป 15 เดือน ในการทำต้นกล้าสามารถขุดได้หลังจากผ่านไป 10 เดือน และโอกาสที่จะถึงระยะปลูกอาจต่ำหากขุดหลังจาก 15 เดือน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tapioca-powder-sales-surge-amid-high-chinese-demand-despite-steady-prices/#article-title