‘เวียดนาม’ เผยเขตเศรษฐกิจในภาคใต้ แม่เหล็กดึงดูดต่างชาติลงทุน FDI

ข้อได้เปรียบหลายอย่างทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและทรัพยากรมนุษย์ของเวียดนาม หลังจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้แล้ว เขตเศรษฐกิจในภาคใต้ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนชั้นนำของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยกิจการอย่างแพนดอร่า “Pandora” ผู้ผลิตเครื่องประดับสัญชาติเดนมาร์ก ประกาศว่าจะลงทุนก่อสร้างโรงงานใหม่ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม VSIP (Vietnam Singapore Industrial Park) จังหวัดบิน เยือง ภาคใต้ของประเทศ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) สาเหตุสำคัญที่กิจการเข้ามาลงทุนในครั้งนี้เนื่องมาจากความพร้อมด้านทักษะของแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานและสนามบิน ทั้งนี้ ตามรายงานของคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัด เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ จังหวัดบิน เยือง (Binh Duong) ดึงดูดเม็ดเงินทุนกว่า 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนโครงการใหม่ 16 โครงการ และโครงการปัจจุบัน 9 โครงการจากจำนวนกิจการรวมทั้งสิ้น 53 แห่ง ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 20 เม.ย. นครโฮจิมินห์ได้ดึงดูดเม็ดเงินทุนได้แล้วกว่า 1.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/key-southern-economic-region-a-magnet-for-fdi/229153.vnp

ยอดจำหน่ายข้าวสาลีในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผู้ค้าธัญพืชและถั่ว เผย ทุกวันนี้ข้าวสาลีเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดมัณฑะเลย์ ทำให้ราคายังพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยราคาเมื่อเดือน ม.ค.65 ที่ผ่านมาราคาอยู่ที่ 90,000 จัตต่อถุง (สามตะกร้า) แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาราคาพุ่งขึ้นเป็น 125,000 จัตต่อถุง ซึ่งข้าวสาลีเป็นพืชที่นิยมบริโภคสูงเป็นอันดับ 2 ในประเทศรองจากข้าว โดยปกติแล้วเมียนมาจะอาศัยการนำเข้าเป็นหลัก เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ผู้ค้าข้าวสาลีจึงแนะนำให้เกษตรเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกให้มากขึ้นและปรับปรุงกระบวนการการผลิต เพราะการบริโภคข้าวสาลีในประเทศก็เพิ่มขึ้นทุกปีและกลายเป็นพืชผลสำคัญชนิดหนึ่งหนึ่งของประเทศ ทั้งนี้ เมียนมาสามารถปลูกข้าวสาลีได้ปีละครั้ง และพบได้ทั่วไปในรัฐฉานทางตอนใต้และตอนเหนือ รัฐชิน และรัฐกะยา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-market-sees-brisk-sales-of-wheat-crops/#article-title

รัฐบาลสั่งดำเนินการอำนวยความสะดวกทางการค้า กระตุ้นการขนส่งและการส่งออก

รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการที่ดูแลการอำนวยความสะดวกทางการค้า ลงนามคำสั่งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงขั้นตอนเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและเร่งรัดการขนส่งสินค้าและการส่งออกสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าที่ไม่ใช่ไม้ และแร่ธาตุ ดร.ซนไซ สิภาโดน แนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจนและคล่องตัว เพื่อลดขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและลดการใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การขนส่งพืชผลทางการค้า เช่น ข้าว กาแฟ ถั่ว มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน ผลไม้ และผัก ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ขนส่งต้องขออนุญาตจากทางการอีกต่อไป ซึ่งหมายความว่าสามารถขนส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพื่อความคล่องตัว การปรับปรุงวิธีการและกฎระเบียบต่างๆ เป็นไปเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าสอดรับกับการเติบโตของประเทศและการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt99.php

คาดราคาข้าวในกัมพูชาพุ่งสูงขึ้น

คาดราคาข้าวสารในกัมพูชาอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 20 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ที่ยืดเยื้อ และต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตข้าวที่สูงขึ้น ด้าน Lun Yeng เลขาธิการสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ระหว่างร้อยละ 10-20 ของราคาปัจจุบัน หลังจากราคาน้ำมันเบนซินและปุ๋ยยังเป็นปัจจัยผลักดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงสต็อกข้าวสารในตลาดต่างประเทศกำลังลดต่ำลง เนื่องจากการผลิตลดลงจากเหตุผลข้างต้น โดยราคาข้าวพรีเมียมของกัมพูชาในปัจจุบันอยู่ที่ 840 ดอลลาร์ต่อตัน ด้าน CRF ก็ได้พยายามอย่างมากในการกระตุ้นการส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป แม้ว่าค่าขนส่งจะสูงขึ้นก็ตาม โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2022 กัมพูชาส่งออกข้าวมากกว่า 220,000 ตันไป ยังตลาดต่างประเทศ โดยมีรายได้มากกว่า 139 ล้านดอลลาร์ รายงานโดย CRF นอกจากนี้ กัมพูชายังได้ส่งออกข้าวเปลือกปริมาณรวมกว่า 1.6 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันไปยังเวียดนาม สร้างรายได้ 376.6 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501081588/rice-price-expected-to-go-up/

กัมพูชา-เมียนมา เร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า 2 ฉบับ

เมียนมาและกัมพูชาเร่งการเจรจาร่างข้อตกลง 2 ฉบับ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางด้านการค้า โดย Pan Sorasak รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ภายใต้กรอบระดับภูมิภาคและทวิภาคีที่มุ่งเพิ่มปริมาณการค้าและส่งเสริมการฟื้นทางเศรษฐกิจ ซึ่ง Aung Naing Oo รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเมียนมา เห็นด้วยกับความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น หลังเห็นถึงความสำคัญของข้อตกลงที่ผ่านมา โดยเฉพาะครั้งล่าสุดของกัมพูชาที่ได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งการเจรจาร่างข้อตกลงการลงทุน กัมพูชา-เมียนมา และข้อตกลงการยกเว้นภาษีระหว่างสองประเทศกำลังอยู่ในกระบวนการ โดยปริมาณการนำเข้าและส่งออกของกัมพูชาไปยังเมียนมาร์ในปี 2020 อยู่ที่ 24.93 ล้านดอลลาร์ และ 3.27 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจากปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501081773/myanmar-cambodia-expedite-talks-on-two-trade-cooperation-deals/

‘อาเซียน’ เร่งขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจก้าวสู่ยุคดิจิทัล คาดปีหน้า GDP อาเซียนโตถึง 5.2%

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ร่วมถกแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจภูมิภาค เน้นเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งสานสัมพันธ์กับประเทศนอกกลุ่ม ย้ำจุดยืนการเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส ยึดมั่นในหลักเกณฑ์ การใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมหนุนศึกษาข้อริเริ่มที่ช่วยรับมือกับความมั่นคงทางอาหารและสาธารณสุข มั่นใจ ปีหน้า GDP อาเซียนจะขยายตัวเพิ่มถึง 5.2% ด้าน ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำหรับกลไกในการขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่อนาคต ควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค (APEC) ของไทยในปีนี้ด้วย สำหรับในช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค. 2565) การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 31,125.2 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17.2% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกจากไทยไปอาเซียน มูลค่า 17,906.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17% และการนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 13,218.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17.4%

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3325478

เร็วๆ นี้ รถไฟลาว-จีนจะเชื่อมท่าเรือแห้งธนาเล้ง

ทางการกำลังเตรียมเชื่อมต่อทางรถไฟลาว-จีน จากสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังท่าเรือแห้งธนาเล้ง เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าโดยใช้รถไฟได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ถึงเมษายน 2565 ท่าเรือแห้งธนาเล้งได้ให้บริการขนส่งสินค้าลาว-จีนจำนวน 11,000 เที่ยว นับตั้งแต่เปิดทำการอย่างเป็นทางการ นายสาคน พิลังกาม กรรมการผู้จัดการท่าเรือแห้งธนาเล็ง กล่าวว่า จากตู้สินค้า 11,000 ตู้ ร้อยละ 80 ขนส่งสินค้าระหว่างทางจากจีนผ่านลาวไปยังประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย สินค้าที่จัดส่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ ปุ๋ย เสื้อผ้าและสิ่งทอ ทั้งนี้เพื่อให้การขนส่งสินค้าสะดวกยิ่งขึ้น บริษัท ท่าโบกธนาเลง จำกัด ได้ลงทุนก่อสร้างรางรถไฟระยะทาง 1.2 กิโลเมตร จากทางรถไฟลาว-ไทย ไป ท่าบกธนาเลง ขณะที่ บริษัท ลาว-จีน เรลเวย์ จำกัด กำลังลงทุนในการก่อสร้าง ของทางรถไฟจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ถึงธนาเลนระยะทาง 2.8 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างลาว-จีนกับสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังท่าเรือแห้งทนาเล้งนั้นใช้สำหรับการขนส่งสินค้าเท่านั้น  เมื่อทางรถไฟสายใหม่เสร็จสิ้น จะช่วยให้การขนส่งสินค้าผ่านธนาเล้งจากจีนมาไทย จากไทยไปจีน ผ่านธนาเล้งได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten98_Laoschina.php

พิษเงินเฟ้อลาวพุ่ง-กีบอ่อนค่าทุบค้าชายแดน7หมื่นล.หงอย

เศรษฐกิจลาวฝืดหนัก ปม “เงินเฟ้อพุ่ง-กีบอ่อนค่า” ต่อเนื่อง ทำการค้า 7 หมื่นล้าน สะเทือน “ทูตพาณิชย์ สปป.ลาว” หวั่น สินค้าไทย รถยนต์-อุปโภคบริโภค โดนหางเลข ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ปัญหาลามกระทบค้าขายชายแดนเงียบเหงา “ตั้งงี่สุ่น” ค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่อุดร ลูกค้าลดวูบ เศรษฐกิจของประเทศลาวที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 และถูกซ้ำเติม จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา และล่าสุดผลพวงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินกีบกลับอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ยิ่งทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของลาวมีอาการที่หนักขึ้น อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลให้ธุรกิจการค้าชายแดนลาว-ไทย ได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ทั้งนี้ ปัญหาเงินกีบที่อ่อนค่า เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อกำลังซื้อและทำให้ผู้บริโภคระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ล่าสุดพบว่า ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของไทย โดยเฉพาะรถยนต์ ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคแม้จะยังมีความต้องการ แต่ผู้บริโภคระวังการจับจ่าย ทำให้ผู้นำเข้าระวังมากขึ้นและสต๊อกสินค้าตามความต้องการ

ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 – 27 พ.ค. 2565

‘ศก.เวียดนาม’ เผิชญกับความท้าทายใหม่ ท่ามกลางความไม่แน่นอนโลก

The Economic Information Daily ซึ่งเป็นสื่อในเครือของสำนักข่าวซินหัวที่เป็นสื่อของรัฐบาลจีน ได้ตีพิมพ์บทความระบุว่าเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ทั่วโลกที่มีความผันผวน ตามรายละเอียดชี้ให้เห็นว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจท้องถิ่นได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ เศรษฐกิจของประเทศมีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 เวียดนามก็เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีการเติบโตของ GDP เป็นบวก นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการดำเนินใช้ชีวิตกำลังจะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนก่อนเกิดโรคระบาด แต่ก็กำลังเผชิญกับอุปสรรคใหม่ อาทิ ปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและปัจจัยดังกล่าวเริ่มที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-economy-facing-new-challenges-amid-global-uncertainties-post946020.vov

รองนายกฯ เวียดนาม ตั้งเป้า GDP โต 6.5%

การประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 15 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 นาย เล วัน แถ่ง (Le Van Thanh) รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามปี 2565 ให้โตได้ตามเป้าหมาย 6-6.5% ถือเป็นเป็นความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ในปัจจุบันเวียดนามมุ่งรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในระดับมหภาคและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แสดงได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 2.1% นอกจากนี้ รัฐบาลจะดำเนินงานตามมติของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและมุ่งป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ตลอดจนขอความร่วมมือกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามนโยบายการเงินและการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ควบคุมเงินเฟ้อและเพิ่มรายรับงบประมาณของภาครัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/growth-target-of-65-remains-big-challenge-deputy-pm-post945860.vov