กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่ม GFT เพิ่มขึ้น 17% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า รองเท้า และกระเป๋าเดินทาง (GFT) มูลค่ารวม 3,763 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากมูลค่าราว 3,211 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าประเภทเสื้อผ้าและสิ่งทอ มีการส่งออกมากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 2,748 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ขณะที่การส่งออกรองเท้ามีการส่งออกมูลค่ารวม 453.7 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และการส่งออกกระเป๋าเดินทางมีการส่งออกมูลค่า 562 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ซึ่งภาคอุตสาหกรรม GFT ถือเป็นแหล่งรายได้เงินด้านการส่งออกที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา ด้านธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่าภาค GFT จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตร้อยละ 5.8 ภายในปี 2024 สำหรับภาคอุตสาหกรรม GFT ยังเป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ โดยมีโรงงานและสาขาประมาณ 1,680 แห่ง จ้างแรงงานราว 918,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501489411/cambodia-records-17-pct-rise-in-garment-footwear-travel-goods-export-in-first-four-months/

การส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มขึ้น 16% ใน 4 เดือน

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังประเทศสมาชิกเขตเศรษฐกิจครอบคลุม (RCEP) มูลค่ากว่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16.2 จากมูลค่า 2.89 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ซึ่งคาดว่าการเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากภาษีศุลกากรทางด้านการค้าที่ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ ส่งผลให้ผู้ส่งออกสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้า กระตุ้นให้การส่งออกและนำเข้าจากกัมพูชาปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านความตกลงเขตการค้าเสรี RCEP มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 โดยสามอันดับแรกของประเทศที่กัมพูชาส่งออกไปยัง RCEP ได้แก่ เวียดนาม ไทย และจีน โดยมีมูลค่าการส่งออก 1.25 พันล้านดอลลาร์, 958 ล้านดอลลาร์ และ 328 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ขณะที่แหล่งนำเข้าของกัมพูชายังคงมาจากจีนที่มูลค่ารวม 2.53 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 6.34 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีกก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501489447/cambodias-exports-to-rcep-countries-up-16-percent-in-4-months/

ข้าวเหนียวมะม่วงไทยสุดฮอต จีน-อาเซียน ดันส่งออกมะม่วงสดโต 130%

นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า “ข้าวเหนียวมะม่วง” เป็นขนมหวานไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคนานาประเทศ ล่าสุด เว็บไซต์จัดอันดับอาหารระดับโลก “TasteAtlas” ได้จัดอันดับให้ข้าวเหนียวมะม่วงไทย ติดอันดับ 2 ของโลก ในฐานะพุดดิ้งข้าวที่ดีที่สุด ทำให้สินค้าดังกล่าว รวมทั้งมะม่วงสดและข้าวเหนียว ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสทองที่ผู้ประกอบการไทยจะขยายการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ

ทั้งนี้ จากสถิติการค้าระหว่างประเทศ ไทยส่งออกมะม่วงสดไปตลาดโลกปริมาณเฉลี่ยกว่าปีละ 1 แสนตัน มูลค่ามากกว่า 3 พันล้านบาท โดยในช่วง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค. 2567) ไทยส่งออกมะม่วงสดไปตลาดโลก มูลค่า 1,626 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกไปตลาดคู่ค้า FTA มูลค่าถึง 1,580 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 130 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 97 ของการส่งออกมะม่วงทั้งหมด

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1565498

‘ข้าวเวียดนาม’ ราคาพุ่ง แต่กลับขายดี

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) รายงานว่าการส่งออกข้าวของเวียดนาม มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านตันในเดือน เม.ย. ปี 2566 คิดเป็นมูลค่ากว่า 620 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ายอดการส่งออกข้าวของเวียดนามสูงถึง 3.17 ล้านตัน มูลค่า 2.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.5% และ 33.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ โดยราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 644 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 22% ถึงแม้ว่าราคาข้าวจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ฟิลิปินส์ที่เป็นตลาดนำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่กลับซื้อข้าวปริมาณมาก

นอกจากนี้ นาย Phung Van Thanh ที่ปรึกษาการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ กล่าวว่าเวียดนามมีศักยภาพและโอกาสที่จะส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ และแนะนำว่าผู้ส่งออกข้าวเวียดนามควรร่วมมือกับผู้นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพข้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ได้ ตั้งแต่ผู้ที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงผู้ที่มีรายได้สูง

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/prices-stay-high-but-vietnam-s-rice-selling-well-2281252.html

‘เวียดนาม’ ดาวรุ่งในอินโดแปซิฟิก

สำนักงานพัฒนาการส่งออกแคนาดา (EDC) เผยแพร่บทความเรื่อง ‘การทำธุรกิจในเวียดนาม: จับตาดาวรุ่งในอินโดแปซิฟิก’ รายงานว่าเวียดนามกลายมาเป็นดินแดนแห่งมังกร รวมถึงกลายมาเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในอุดมคติ ในขณะที่จากข้อมูลของการประชุม World Economic Forum (WEF) เปิดเผยว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 8% ต่อปีแบบทบต้นในปีที่แล้ว และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม ขยายตัว 5% โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้า จะขยายตัว 6% และ 7% ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ จากตัวเลขเศรษฐกิจจึงทำให้สำนักงานฯ เลือกเวียดนามเป็นตัวแทนดาวรุ่งในเอเชียแปซิฟิก

นอกจากนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุว่าถึงแม้ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้น แต่ค่าแรงของเวียดนามยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่ากลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก อีกทั้งการเติบโตของคนชนชั้นกลางเวียดนาม แซงหน้าประเทศในภูมิภาค ถึงแม้ว่าขนาดของเศรษฐกิจเวียดนามจะมีขนาดเล็กกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางแห่ง แต่ประชากรเวียดนามมีจำนวนเกือบ 100 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาว่ากลุ่มประชากรครึ่งหนึ่งมีอายุต่ำกว่า 30 ปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-rising-star-in-indo-pacific-canadian-agency-post286074.vnp

ผู้ประกอบการท่าเรือบก สปป.ลาว – ทางการมณฑลยูนนาน หารือปรับปรุงระบบขนส่งข้ามพรมแดน

ผู้ประกอบการท่าเรือบกและศูนย์โลจิสติกส์แห่งเวียงจันทน์ และคณะผู้แทนจากมณฑลยูนนานของจีน จัดการเจรจาเรื่องการปรับปรุงระบบขนส่งทางรางและการค้าข้ามพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ โดยนายหลิว หงเจียน สมาชิกคณะกรรมการประจำคณะกรรมการพรรคมณฑลยูนนาน และเลขาธิการคณะกรรมการเทศบาลคุนหมิง นำคณะเยี่ยมชมศูนย์โลจิสติกส์บูรณาการของ สปป.ลาว ซึ่งเป็นจุดที่เส้นทางรถไฟลาว-จีน และลาว-ไทยมาบรรจบกัน โดยโครงการ Lao Logistics Link มีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความพยายามของรัฐบาล สปป.ลาว ในการเปลี่ยนประเทศลาวที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้กลายเป็นประเทศเชื่อมโยงการขนส่งทางบก

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_92_Lao_y24.php

ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราที่ได้รับอนุญาตจะต้องขายสกุลเงินต่างประเทศในราคาควบคุม: ธนาคารกลางเมียนมา

ตามประกาศของ ธนาคารกลางเมียนมา ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตรามีหน้าที่ขายสกุลเงินต่างประเทศตามอัตราที่กำหนดของธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) หากไม่ทำเช่นนั้นจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากบัตรเดบิตและบัตรเครดิตสำหรับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศแล้ว CBM ยังอนุญาตให้ผู้แลกเงินที่ได้รับอนุญาตขายสกุลเงินต่างประเทศได้ที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) หรือเคาน์เตอร์ที่กำหนดของตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินสดย่อยและควบคุม โดยเริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำหรับธุรกรรมที่ผิดกฎหมายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศ ไปรับการรักษาพยาบาล และศึกษาต่อต่างประเทศ และเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2566 สำหรับผู้แสวงบุญและเข้าร่วมเวิร์คช็อปหรือการประชุมตามคำเชิญขององค์กรภาครัฐต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หากชาวเมียนมาต้องการแลกเปลี่ยนสกุลเงินมากกว่าเงินสดที่มีอยู่ สามารถใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีการเยี่ยมเยียนร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งและข้อบังคับที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/authorized-money-changers-must-sell-foreign-currencies-at-regulated-prices-cbm/

อาเซียนวางแผนที่จะช่วยเหลือเมียนมาในการแก้ไขปัญหาปัจจุบันอย่างสันติ

ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย ให้การต้อนรับคณะผู้แทน นำโดย นายอลุนแก้ว กิตติคุณ ทูตพิเศษของประธานอาเซียนด้านเมียนมา และเลขาธิการอาเซียน ดร.เกา คิม ชั่วโมง ณ หอรับรองประจำสำนักงาน ก.ล.ต. ที่กรุงเนปิดอว์เมื่อเช้าวานนี้ โดยในการประชุมดำเนินแผนงาน 5 ประการเพื่อประกันสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาของประเทศ พวกเขาหารือถึงความร่วมมือของเมียนมาในอาเซียน เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของเมียนมาในการประชุมอาเซียน การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยอาเซียนแก่เมียนมา และความร่วมมือที่ดีที่สุดของเมียนมาในการกระจายความช่วยเหลือให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความพยายามของเมียนมาในการดำเนินการตามระบบประชาธิปไตยหลายพรรคที่ประชาชนปรารถนาอย่างมั่นคง การเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปตามระบอบประชาธิปไตยหลายพรรคที่เสรีและยุติธรรม และข้อกำหนดให้ทุกคนทราบสภาพที่แท้จริงของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/asean-plans-to-assist-myanmar-in-peacefully-solving-current-issues/