รถไฟ‘ลาว-จีน’ใกล้เปิดหวูด ไทยวางยุทธศาสตร์รองรับค้าผ่านแดน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้ร่วมประชุมวางแผนงานและบูรณาการแผนงานของทั้งสองหน่วยงานร่วมกัน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจีน – ลาว – ไทย จากรถไฟจีน – ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย – ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งการเปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้าข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ถือเป็นความสำเร็จในการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระบบรางของทั้ง 2 ประเทศเข้าด้วยกัน ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้เป็นการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทย-ลาว ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง สปป.ลาว-จีน วันที่ 2 ธ.ค.ปีนี้

ที่มา : https://www.naewna.com/business/614387

กัมพูชา-จีน ตั้งเป้าการค้าทวิภาคีแตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2023

การส่งออกของกัมพูชาไปยังจีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีมูลค่ารวมมากกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 52.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งทั้งสองประเทศมุ่งมั่นที่จะเพิ่มปริมาณการค้าทวิภาคีให้มีมูลค่าถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2023 หลังจากในปีที่แล้วมูลค่าการค้าทวิภาคีของกัมพูชาและจีนอยู่ที่ 8.1 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 โดยกัมพูชานำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 6.8 พันล้านดอลลาร์จากจีนในช่วงไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.32 ทำให้การค้าทวิภาคีอยู่ที่ 7.9 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยส่วนใหญ่กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50966092/cambodia-china-committed-to-raising-bilateral-trade-to-10-bn-by-2023/

จีนไฟเขียวนำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมา

ประเทศจีน ไฟเขียวอนุญาตให้นำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมาได้แก่ อ้อย ยางพารา ทรากาคานกัม (tragacanth gum) และฝ้าย ผ่านมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw) ในรัฐฉาน แต่ทั้งนี้ต้องรออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเสียก่อน ซึ่งก่อนหน้าจีนปิดด่านชายแดนทั้งหมดเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยปกติแล้ว เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด อ้อย และพริก ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut Make Pack) เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค จากข้อมูลพบว่า มูลค่าการนำเข้าผ่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ อยู่ที่ 461.378 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ซึ่งลดลง 541.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-greenlights-import-of-myanmar-industrial-crops/#article-title

ไตรมาส 3 กัมพูชาส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 52

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าของกัมพูชาไปยังจีน มีมูลค่ารวมมากกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชานำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่ารวม 6.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.32 ทำให้มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาอยู่ที่ 7.9 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัน โดยรัฐบาลกัมพูชาได้ให้สัตยาบันไปเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งสินค้าของกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ถูกส่งออกไปยังจีนผ่าน FTA เป็นสินค้าเกษตร อาทิเช่น ข้าวสาร มันสำปะหลัง มะม่วง และกล้วย ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบสำหรับห่วงโซ่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะ ฯลฯ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50963082/q3-exports-to-china-see-52-increase-in-value/

‘จุรินทร์’ถกทูตจีนเร่งเปิดด่าน ผลักดันการส่งออกผลไม้-ไก่-รังนก-ข้าว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์เปิดเผยว่า ได้ขอให้จีนเปิดด่าน 2 ด่าน ที่ปิดไปในช่วงโควิด-19 คือ1.ด่านโมฮาน ที่เป็นด่านทางบก เริ่มต้นจากเชียงของทางเหนือของไทย ผ่านบ่อเต็นไปเข้าจีนทางยูนนาน ตอนใต้2.เส้นทางผ่านแม่น้ำโขง จากท่าเรือเชียงแสนของไทยไปเข้ายูนนาน ที่ด่านกวนเหล่ย หรือท่าเรือกวนเหล่ยโดยอยากให้เร่งกลับมาเปิดโดยเร็ว พร้อมขอเพิ่มเงื่อนไข คือ 1.สำหรับด่านกวนเหล่ยขอให้จีนอนุญาตนำเข้าผลไม้ 2.การนำเข้าไก่จากไทย โดยไทยมีโรงงานส่งออกไก่ไปจีน 22 โรง แต่ปิดไป 9 โรง ช่วงโควิด-19 จึงขอเร่งตรวจโรงงานส่งออกไก่ 9 โรงงาน ผ่านระบบออนไลน์รวม ขณะที่การนำเข้ารังนก ปัจจุบันนำเข้าจากไทยแค่ 2 บริษัท จึงขอให้จีนเร่งมาตรวจโรงงานเพิ่ม ส่วนเรื่องข้าวนั้นมี MOU อยู่ 1 ล้านตัน ซึ่งจีนได้นำเข้าแล้ว 7.2 แสนตัน ค้างอยู่ 2.8 แสนตัน จึงขอช่วยเร่งดำเนินการ

ที่มา: https://www.naewna.com/business/612927

 

CPTPP vs RCEP เมื่อจีนสนใจเข้าเป็นสมาชิก

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch)

การประชุม ครม. เมื่อ 12 ตุลาคม 2564 ได้หารือเรื่องความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) ซึ่งการพิจารณาเข้าร่วมความตกลงดังกล่าวกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อจีนหันมาสนใจสมัครสมาชิก เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตามมาด้วยไต้หวัน รวมถึงสหราชอาณาจักรที่สมัครเป็นสมาชิกเมื่อต้นปี โดยท่าทีของนานาชาติโดยเฉพาะจีนยิ่งทำให้ประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างใกล้ชิดกับจีนหวนกลับมาพิจารณา CPTPP อย่างจริงจังอีกครั้ง

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบใน 2 กรณี กรณีที่ 1 ปัจจุบันไทยและจีนต่างเป็นสมาชิกในความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ที่กำลังรอการเปิดเสรีอย่างเป็นทางการ กรณีที่ 2 หาก CPTPP รับอังกฤษ ไต้หวัน จีนรวมถึงไทยเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ซึ่งการที่ไทยอยู่ในกลุ่มย่อมไม่พลาดโอกาสการเข้าถึงตลาดสำคัญได้ทัดเทียมคู่แข่งในอาเซียน ทั้งยังกลายเป็น FTA ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของ GDP โลก แซงหน้า RCEP โดยภายใต้สมมติฐานว่าไทยและจีนร่วมเป็นสมาชิกในทั้ง 2 กรอบความตกลงมีข้อสังเกตความแตกต่าง ดังนี้

  • มิติของการเข้าถึงตลาด: RCEP เป็นกรอบการค้าที่ใกล้ตัวไทยมากที่สุดและไทยมี FTA กับแต่ละประเทศสมาชิกมานาน การรวมตัวที่เกิดขึ้นจึงไม่ทำให้ภาพการแข่งขันของสินค้าไทยต่างไปจากที่เป็นอยู่ ขณะที่ CPTPP จะทำให้ไทยมี FTA กับตลาดใหม่มากกว่า RCEP ได้แก่ เม็กซิโก แคนาดา อังกฤษและไต้หวัน ซึ่งเป็นโอกาสทองของไทยในการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้ อาหารทะเลไปยังแคนาดา ส่งออกยานยนต์ โทรศัพท์ HDDs ไปเม็กซิโก ส่งออกไก่แปรรูปและรถจักรยานยนต์ไปอังฤษ รวมถึงการส่งออกเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนยานยนต์ไปไต้หวัน
  • มิติของการผลิต: CPTPP และ RCEP ล้วนเป็น FTA แบบพหุภาคีที่มีจุดเด่นเหมือนกันตรงที่การเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่รวมหลายประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว อานิสงส์ให้นักลงทุนสามารถเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างคล่องตัว ต่างกันตรงที่ RCEP เป็นการกระชับฐานการผลิตและตลาดในฝั่งเอเชียได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่ CPTPP กลับมีความน่าสนใจมากกว่าด้วยการรวมแหล่งผลิตจากหลายพื้นที่ทั้งภูมิภาคอเมริกา ยุโรปและเอเชียจึงนับเป็นจุดขายสำคัญที่ยังไม่มี FTA ฉบับใดในโลกมีเอกลักษณ์เช่นนี้
  • มิติด้านกฎระเบียบ: RCEP กำหนดกฎเกณฑ์การเปิดตลาดการค้าและการลงทุนเป็นหลักเท่านั้น แต่ CPTPP เป็นการรวมตัวในเชิงลึกมากกว่า FTA ทั่วไปครอบคลุมการเปิดเสรีด้านอื่นๆ อาทิ มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อม การไหลของข้อมูลอย่างเสรีและการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า CPTPP เป็นความท้าทายในการยกระดับกฎระเบียบของแต่ประเทศสมาชิกที่ยากจะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ตามมาเพื่อให้ปฏิบัติได้ตามกรอบเวลาที่ได้ตกลงกันไว้

โดยสรุป หากทั้งไทยและจีนอยู่ในความตกลง CPTPP ภาคอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออกของไทยที่พึ่งพาเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาตินับว่าได้อานิสงส์ค่อนข้างชัดเจนจากการเข้าถึงตลาดใหม่สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมกับคู่แข่งของไทย ทั้งยังคว้าโอกาสได้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการรวบปัจจัยการผลิตจากหลายพื้นของโลก ต่างจาก RCEP ที่ไทยได้ประโยชน์จำกัดเฉพาะภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก อย่างไรก็ดี CPTPP ก็มีประเด็นอ่อนไหวที่ภาครัฐต้องชั่งน้ำหนัก โดยเฉพาะเงื่อนไขที่ไม่ได้ระบุไว้ใน RCEP ในเรื่องข้อปฏิบัติทางทรัพย์สินทางปัญญาที่อิงกับหลักเกณฑ์สากลไม่ว่าจะเป็นความเข้มงวดในการปรับใช้สิทธิบัตรยา และการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่จะส่งผลต่อประชาชนและเกษตรกรในวงกว้าง แม้ไทยต้องดำเนินการปรับตัวในเรื่องนี้อยู่แล้วแต่ก็นับเป็นเรื่องท้าทายสำหรับไทยที่จะต้องปรับตัวภายใต้กรอบเวลาที่ตกลงไว้กับ CPTPP ซึ่งโจทย์สำคัญของทางการไทยคงอยู่ที่การสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้องรวมถึงแผนงานบรรเทาผลกระทบจึงจะช่วยผ่อนคลายแรงตึงเครียดลงได้

ที่มา :

/1 https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/CPTPP-z3282.aspx

/2 https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-cptpp-rcep-01112021

รัฐบาลสปป.ลาวเร่งผลิตวัวส่งออกไปจีน

รัฐบาลกำลังส่งเสริมให้เกษตรกรใน 18 จังหวัดทั่วประเทศเลี้ยงโคเพื่อส่งออก โดยได้แรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีน ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ สปป.ลาวได้รับโควตาจำนวน 500,000 ตัวเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน โดยมีแนวทางในการใช้ประโยชน์จาโครงการรถไฟสปป.ลาว-จีนเพื่อส่งเสริมศักยาภาพในการส่งออก ปัจจุบันสปป.ลาวมีแผนที่จะผลิตโคอย่างน้อย50,000 ตัวต่อปีและเป้าหมายการเลี้ยงคู่ผสมพันธุ์ที่จะออกลูกและสนับสนุนฟาร์มเป้าหมายกว่า 100 แห่งเพื่อขยายจำนวนให้เพียงพอต่อความต้องการ ความท้าทายอย่างหนึ่งที่สปป.ลาวต้องเผชิญคือความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุน 1.76 ล้านล้านกีบเพื่อดำเนินโครงการผลิตโคเชิงพาณิชย์รวมถึงการควบคุมโรคระบาดในโคซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการขยายพันธุ์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการจากจีน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_205_21.php

ราคามันฝรั่งในเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

ราคามันฝรั่งในตลาดเมียนมาที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาผลผลิตที่ลดลงของจีน นอกจากนี้ อีกทั้งเกษตรกรยังไม่สามารถปลูกมันฝรั่งเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศได้ อีกทั้งจีนได้ปิดชายแดนเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ปีที่แล้วราคาลดลงเนื่องจากการหลั่งไหลเข้าของมันฝรั่งจีน เมื่อวันที่ 1 ก.ย.64 ราคามันฝรั่งในช่วง 500-1,200 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกริม) ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ แต่เมื่อวันที่ 7 ต.ค.64 ราคาขยับพุ่งมาเป็น 1,050-1,850 จัตต่อ viss นอกจากนี้ ราคาเครื่องครัวยังสูงขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมโควิด-19 การอ่อนค่าของเงินจัต และความต้องการจากต่างประเทศ นอกจากมันฝรั่งแล้ว ราคาหัวหอมที่เพิ่มขึ้นทำให้สร้างความไม่พอใจให้กับครัวเรือนประชาชนเป็นอย่างมาก โดยราคาของหัวหอมเมื่อวันที่ 1 ก.ย.64 อยู่ระหว่าง 200 -500 จัตต่อ viss แต่ในวันที่ 7 ต.ค.64 ราคาขยับเป็น 450 – 950 จัตต่อ viss ราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการจากบังกลาเทศที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/potato-price-soars-in-domestic-market/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_n6hH8rgDH77fex2nHcuNwVxhSWl4ukOGBcKxxDkcbJQ-1633856152-0-gqNtZGzNAvujcnBszRWl#article-title

 

กระทรวงเกษตรและป่าไม้ เตรียมส่งออกพืชผลไปจีน

กระทรวงเกษตรและป่าไม้หวังว่าจะใช้ประโยชน์จากการรถไฟลาว-จีน ซึ่งจะเปิดดำเนินการในเดือนธันวาคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่ากระทรวงกำลังแนะนำให้หน่วยงานด้านการเกษตรปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตของพืชผล 9 ชนิดเพื่อให้สามารถขายให้กับจีนได้หลังจากที่รัฐบาลลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทจีนในเดือนพฤษภาคมปีนี้ มีมูลค่ารวมกันกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อการรถไฟลาว-จีนเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม จะเป็นเส้นทางเชื่อมหลักระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งคาดว่าจะปรับปรุงการเชื่อมโยงทางการค้าและสนับสนุนกลยุทธ์ของสปป.ลาว โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระบุว่าตั้งแต่ปี 2558-2562 มูลค่าการส่งออกของลาวไปยังจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีและเมื่อรถไฟเริ่มดำเนินการ ก็จะเพิ่มมูลค่าการค้าให้ทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอีกระดับ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent /FreeConten_Ministry_195_21.php

ราคายาง รัฐมอญ พุ่งทะลุ 1,150 จัต สูงกว่าปีที่แล้ว ผลจากค่าเงินจัตอ่อนค่า

ปัจจุบันรัฐมอญ ราคายาง 1 ปอนด์มีราคา 1,150 จัต เพิ่มขึ้นจาก 700 จัตในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ผลจากการอ่อนค่าของเงินจัตและการซื้อยางทางเลือก แม้การส่งออกที่ชายแดนจีนปิดตัวลง สถานการณ์ปัจจุบันคือเมื่อเงินอ่อนค่าลง ผู้ที่ถือเงินจัตมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ามากขึ้น จึงทำให้คนเมียนมาเลือกที่จะถือเงินสกุลอื่นหรือสิ่งอื่นเพื่อซื้อสินค้าแทน ส่งผลให้ปัจจุบันราคายางต่อปอนด์จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,150 / 1,200 จัต

ที่มา : https://news-eleven.com/article/216737