EXIM BANK ร่วมการประชุมระดับสูงด้านเศรษฐกิจการทูตในโครงการรถไฟจีน-ลาว

นายเชิดชัย ใจไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วย นางวรังคณา วงษ์คาหลวง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ของ EXIM BANK ได้เข้าร่วมการประชุม Economic Diplomacy High-Level Meeting on the China-Laos Railroad Projects โดยมีนายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน ณ โรงแรม แบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ ในการประชุมที่จัดโดยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศของ MFA ผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลและหุ้นส่วนเอกชนรายสำคัญได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองทางเศรษฐกิจมหภาคและการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้อง แนวโน้มเศรษฐกิจไทยและการเตรียมความพร้อมของประเทศตลอดจนโอกาสและความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน ผ่านการทูตทางเศรษฐกิจ เส้นทางใหม่นี้เป็นโอกาศที่สำคัญของสปป.ลาวในการเชื่อมต่อด้านเศรษฐกิจการค้า กับนานาประเทศรอบข้างโดยเฉพาะด้านที่ใหญ่อย่างจีนที่เป็นจุดหมายปลายทางของประเทศส่งออกทั่วโลกและประเทศไทยผู้ส่งออกรายสำคัญของสปป.ลาว เมื่อเริ่มปิดใช้บริการเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางการขนส่งที่สำคัญระดับภูมิภาค

ที่มา : https://www.ryt9.com/en/prg/254377

‘เวียดนาม’ มีศักยภาพมหาศาลในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล

นาย Kitack Lim เลขาธิการองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) เข้าพบหารือกับนาย Nguyen Hoang Long เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหราชอาณาจักร กล่าวแสดงความชื่นชมเวียดนามว่ามีการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทะเลอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยเวียดนามมีประชากรจำนวนมากและแรงงานที่มีศักยภาพ รวมถึงเวียดนามมีข้อได้เปรียบทางด้านการจัดหาอุปกรณ์เรือและการต่อเรือ เนื่องจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในอินโดแปซิฟิก และเวียดนามมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเดินเรือทางทะลกับประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย สาธารณรัฐเกาหลีและจีน อีกทั้ง เอกอัครราชทูตฯ ได้ขอให้เลขาธิการฯ ช่วยเวียดนามในการปรับปรุงขีดความสามารถในการเดินเรือทางทะเล ด้วยเหตุนี้ จึงเปลี่ยนศักยภาพการเดินเรือทางทะเลให้เป็นข้อได้เปรียบของชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-boasts-huge-potential-for-maritime-development-imo-secretary-general-907082.vov

AMRO คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาปีนี้โต 2.8%

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียน+3 (AMRO) ระบุว่า เศรษฐกิจของกัมพูชาจะกลับมาฟื้นตัวจากการหดตัวที่ร้อยละ 3.1 ในปีที่แล้ว หลังจากการรณรงค์ฉีดวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศประสบความสำเร็จ ทำให้โรงงานต่างๆ สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้งและผ่อนคลายปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นส่วนช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออกของกัมพูชา โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคาดว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในปีนี้ AMRO คาดว่ากัมพูชาจะเติบโตร้อยละ 2.8 นำโดยภาคการผลิตที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากความต้องการเสื้อผ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกฟื้นตัว ซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีผู้ติดเชื้อจากโควิด-19 โดยเฉลี่ย 47 คนต่อวัน โดยประชากรกว่าร้อยละ 86 ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วนแล้ว รวมถึงรัฐบาลได้ขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้จาก 719 ล้านดอลลาร์เป็น 1.454 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายมากภายในประเทศให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50975264/economy-to-grow-2-8-percent-this-year-amro-says/

‘IHS Markit’ ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัว

จากข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปีนี้ของ IHS Markit แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังคงเผชิญกับอุปสรรคหลายประการ เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อวันกลับมาเพิ่มขึ้น รวมถึงการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อวัน เริ่มลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน ก.ย. และต้นเดือน ต.ค. การผ่อนตลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้โรงงานหลายแห่งกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคการผลิต พุ่งขึ้นแตะ 52.1 จุด ในเดือน ต.ค. นอกจากนี้ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจอีก 5 ปีข้างหน้า มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวียดนามกลายมาเป็นหนึ่งในตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย ได้แก่

(ประการแรก) เวียดนามยังคงได้รับประโยชน์จากต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่ำ,

(ประการที่สอง) เวียดนามมีกำลังแรงงานที่มีขนาดใหญ่และมีการศึกษาที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(ประการที่สาม) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(ประการที่สี่) เวียดนามได้รับประโยชย์ในฐานะตลาดที่มีศักยภาพ

(ประการที่ห้า) บริษัทต่างชาติกระจายห่วงโซ๋อุปทานการผลิตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงการหยุดชะงักด้านอุปทานและปัญหาทางการเมือง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/ihs-markit-optimistic-about-vietnams-economic-recovery-from-covid-19-wave-905282.vov

‘ธุรกิจเยอรมัน’ มองทิศทางดีต่อเศรษฐกิจเวียดนาม

ตามรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ปี 64 “AHK World Business Outlook 2021” เปิดเผยผลการสำรวจ พบว่าธุรกิจเยอรมันในเวียดนามส่วนใหญ่ 55% มีความมั่นใจต่อการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจในปีหน้า เมื่อถามถึงประเด็นการค้าการลงทุน ชี้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 83% ยังคงลงทุนขยายกำลังการผลิต หรืออัพเกรดโรงงานในอีก 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ 30% วางแผนที่จะเปิดรับสมัครแรงงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่ามีปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะและการบริโภคที่ปรับตัวลดลง ถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของธุรกิจเยอมันในเวียดนาม โดยกลุ่มตัวอย่าง 42% เผชิญกับปัญหาการจ้างงานแรงงานที่มีทักษะขั้นสูง ตลอดจนปัญหาอื่นๆ อาทิ นโยบายเศรษฐกิจ กฎหมาย โครงสร้างพื้นฐาน การปิดชายแดนและการยกเลิกกิจกรรมการค้า เนื่องจากได้รับผลกระทบของโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/german-firms-in-vietnam-optimistic-about-future-prospects-904337.vov

 

นิคเคอิ ชี้เวียดนามเป็นผู้นำการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำนักข่าวนิคเคอิของญี่ปุ่น รายงานว่าซัพพลายเชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในช่วงเร่งการฟื้นตัวอย่างเต็มกำลัง หลังจากหลายเดือนที่ผ่านมาได้ปิดโรงงานและลดกำลังการผลิตลง รวมถึงเวียดนามกำลังจะกลับมาฟื้นตัวเข้าสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว โดยโรงงานประมาณ 200 แห่งที่ดำเนินสัญญาว่าจ้างผลิตชุดกีฬาให้กับบริษัทไนกี้ “Nike” ได้กลับมาดำเนินกิจการแล้ว ขณะที่ในส่วนของผู้บริหารเขตอุตสาหกรรมในโฮจิมินห์อ้างว่าให้ความช่วยเหลือโรงงานทั้งสองบริษัท ซัมซุงอิเล็กทรอนิกและอินเทล ให้กลับมาผลิตเต็มรูปแบบในเดือนนี้ ทั้งนี้ Furukawa Electric บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น คาดว่าจะกลับมาดำเนินการผลิตในเวียดนาม ด้วยโรงงาน 3 แห่ง ผลิตสายรัดสำหรับรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะเวียดนามที่มีโรงงานผลิตชุดสายไฟ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/10745002-nikkei-vietnam-leads-recovery-in-southeast-asia-supply-chains.html

กัมพูชา-สโลวีเนีย วางแผนส่งเสริมด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน

กัมพูชาและสาธารณรัฐสโลวีเนีย เห็นชอบที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อาทิเช่น ส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว ด้านสุขภาพ และภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวลงนามโดยนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน และ นายกรัฐมนตรี ยาแน็ส ยานชา นายกรัฐมนตรีของสโลวีเนีย ผ่านการประชุมทางวิดีโอ โดยผู้นำของทั้งสองยังเห็นพ้องต้องกันในเรื่องของการแลกเปลี่ยนและการมอบหมายให้กระทรวงต่างประเทศของทั้งสองประเทศทำงานร่วมกัน ในการผลักดันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งในปัจจุบันกัมพูชาวางแผนที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อสู้กับโควิด-19 และส่งเสริมการเจรจาการค้าระหว่างอาเซียนและยุโรป เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50967956/cambodia-slovenia-to-boost-cooperation-in-economy-trade-tourism/

‘คมนาคม’ ยื่นข้อเสนอเปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศ 15 ประเทศ

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. กระทรวงคมนาคมยื่นข้อเสนอถึงนากยรัฐมนตรีเกี่ยวกับการเปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศ จำนวน 15 ประเทศทั่วโลก ระยะเวลา 3 เฟส ซึ่งได้กำหนดตลาดเป้าหมาย ประกอบไปด้วยจีน ฮ่อกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย สปป.ลาว กัมพูชา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย สหราขอาณาจักรและออสเตรเลีย วัตถุประสงค์ของการกลับมาเปิดเที่ยวบินเพื่อที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฟสแรก เริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีหน้า ผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงาน ยกเว้นกรณีขาเข้า-ขาออก และเงื่อนไขทางด้านสุขภาพ ส่วนเฟสสอง ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/65 ผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังเวียดนามในเที่ยวบินปกติ หากมีวัคซีนพาสปอร์ตจะไม่ถูกกักตัว ส่วนสุดท้ายเฟสสาม จะเปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศตามปกติ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และอัตราการฉีดวัคซีนในเวียดนามและทั่วโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ministry-proposes-resumption-of-intl-flights-to-15-countries-and-territories/214131.vnp

‘เวียดนาม’ ชี้การส่งออก กุญแจสำคัญเร่งผลักดันเศรษฐกิจโต

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 63 อยู่ที่ 2.9% ถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เริ่มดำเนินนโยบายโด่ย​ เหม่ย “Doi Moi” แต่นับว่ายังเป็นสถานการณ์ที่ดีเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังเผชิญกับภาวะถดถอยรุนแรง หดตัว 4% ทั้งนี้ ในช่วง Q3/63 – Q2/64 ภาวะเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ด้วยอัตราการเติบโตที่ 5.6% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ การระบาดของเชื้อโรค ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจ หดตัวที่ 6.2% อีกทั้ง ปัจจัยที่ทำให้เป็นแรงผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่าเมื่อแยกตัวชี้วัดของอุปสงค์ในประเทศจะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ชี้ว่าการบริโภตหดตัวอย่างมาก การลงทุนหยุดชะงัก ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อัตราการขยายตัวที่ 24%ดถอยรุนแรงภาวะเแต่เริ่มดำเนินการน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1070812/exports-of-goods-an-important-momentum-for-growth.html

ผู้เชี่ยวชาญ มองเชิงบวกต่อ ‘หุ้น’เวียดนามตามสัญญาเศรษฐกิจฟื้นตัว

แพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม (VN-Index) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ (HOSE) เมื่อวัน 27 ต.ค. ถือเป็นการเปิดโอกาสตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ดัชนี VN ปรับตัวเพิ่มขึ้น 31 จุดและทำสถิติสูงสุดอยู่ในระดับ 1,423 จุด โดยการเพิ่มขึ้นอย่างมากของดัชนีดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ธนาคาร น้ำมันและอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ Huynh Minh Tuan ผู้อำนวยการฝ่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ “Mirae Asset Securities Vietnam” ชี้ว่าการปรับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นเวียดนาม (VNI) เป็นผลมาจากแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่าราวล้านล้านดอง ซึ่งแผนกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน นอกจากนี้ กระแสเงินสดที่ไหลเข้าอย่างแข็งแกร่งจากนักลงทุนต่างชาติ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีมุมมองต่อแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/experts-believe-stock-market-highs-are-positive-signs-for-economic-recovery-901098.vov