‘นักธุรกิจแคนาดา’ เชื่อมั่นเศรษฐกิจเวียดนาม

ผู้ประกอบการชาวแคนาดามีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนาม แม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 ที่สร้างผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจและการเติบโตของประเทศ ซึ่งจากการให้สัมภาษณ์ของสำนักข่าวเวียดนาม คุณ Marc Djandji นักวิเคราะห์การเงินชาร์เตอร์ด กล่าวว่าประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดหุ้นที่มีพลวัต (dynamic) แห่งหนึ่งที่สุดในโลก และเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นจนถึงครึ่งแรกของปีนี้ ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะหยุดชะงักลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากการแพร่ระบาดไปยังอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง ถือเป็นแรงคับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเวียดนามนั้นขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีน ตลอดจนความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันของคนในประเทศ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1026159/canadian-businesses-believe-in-viet-nams-medium-term-economic-outlook.html

ธนาคารโลกเน้นย้ำโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจสปป.ลาว

ตามรายงานของธนาคารโลกฉบับใหม่ ระบุว่าเศรษฐกิจลาวคาดว่าจะเติบโตที่ 3.6% ลดลงจากการตัวเลขคาดการณ์การเติบโตที่ 4% ในเดือนมีนาคม 2564  การฟื้นตัวคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของการส่งออกที่แข็งแกร่ง เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกฟื้นตัว ด้านภาคบริการก็มีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่จะกลับมาขยายตัวได้ดีในอนาคตเมื่อมีการเปิดประเทศรับนักท่องที่ยว ด้านการลงทุนคาดว่าหลังจากการสิ้นสุดของการรถไฟลาว-จีนในปีนี้ จะมีส่วนส่งเสริมสปป.ลาวอย่างยิ่งในการเติบโตด้านเศรษฐกิจและความแข็งด้านการเชื่อมต่อกลับพรหมแดนนูมิภาค นอกจากนี้ยังมีแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น ทางด่วนระหว่างอำเภอวังเวียงในแขวงเวียงจันทน์กับชายแดนลาว-จีน และเส้นทางภาคใต้อื่นๆ ด้านการส่งออกจะได้รับประโยชน์จากช่วยเหลือและการให้โควต้าของจีนและการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตามสถานการณ์โควิดในปัจจุบันจะเป็นปัจจัยในเชิงลบต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาว ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญทั้งในด้านสาธารณะสุขที่ต้องมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับแผนการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_World176.php

อาเซียนถกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ตั้งเป้าชงผู้นำดันอาเซียนสู่ยุคดิจิทัล

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration หรือ HLTF-EI) ครั้งที่ 40 ผ่านระบบประชุมทางไกล ได้ข้อสรุปดันอาเซียนสู่ความเป็นดิจิทัล ชงแผนผู้นำเห็นชอบ ต.ค.นี้ ไทยย้ำการบังคับใช้ความตกลง RCEP ตามแผนเพื่อเร่งขยายการค้า การลงทุน

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000084343

‘Fitch Ratings’ ชี้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่ง ชั่งน้ำหนักการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม

จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนก.ค.-สิ.ค. จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม และอาจปรับลดอันความน่าเชื่อถือเวียดนามอยู่ระดับ BB และปรับ Outlook เป็น Positive ทั้งนี้ ทางการเวียดนามประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ติดเชื้อให้อยู่ในระดับต่ำก่อนที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ ด้วยเศรษฐกิจขยายตัว 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19ในเวียดนาม ปัจจุบันมากกว่า 95% ของประเทศ ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศต้องล็อกดาวน์ ด้วยเหตุนี้ ข้อจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และคงดำเนินการต่อไปหากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/jump-in-covid-19-cases-to-weigh-on-vietnams-economic-recovery-says-fitch-ratings-885400.vov

ทางการกัมพูชาคาด เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.8 ในปี 2022

การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปีหน้าเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของรัฐบาลเป็นไปได้ตามเป้าหมาย โดยการคาดการณ์การเติบโตนี้จัดทำโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ซึ่งได้รายงานในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการของรัฐสภา เรื่องการกำหนดกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการจัดสรรเงินสาธารณะในร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2022 ซึ่งทางกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังได้เคยคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 4 ในปี 2021 หลังจากหดตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2020 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งจากโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ส่งผลให้ทางการจึงต้องปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลงเหลือร้อยละ 2.4 ในปี 2021 และคาดว่ากัมพูชาจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 4.8 ในปี 2022 เนื่องจากสามารถฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนได้ครอบคลุมตามเป้าหมาย 10 ล้านรายในอนาคตอันใกล้ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50918131/economic-growth-projected-at-4-8-percent-in-2022-deputy-pm/

‘เวียดนาม’ ชี้ธุรกิจฟื้นตัว ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19

จากข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าถึงแม้เศรษฐกิจเวียดนามจะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ไปยังต่างจังหวัด โดยเฉพาะเมืองโฮจิมินห์ อย่างไรก็ดี การส่งออกและการนำเข้าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยังอยู่ในระดับสูง ด้วยมูลค่า 373.36 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ประเด็นที่โดดเด่นที่สุดในเวียดนาม คือ ไม่ขาดแคลนสินค้าและไม่มีการปรับขึ้นราคาในช่วงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแสดงความกังวลว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ หากการระบาดยังทวีความรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลให้กิจการหยุดดำเนินธุรกิจ กิจกรรมการผลิตปิดตัวลง ตลอดจนขาดแคลนอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจำนวนมากจึงต้องปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าวและคงไว้กับการป้องกันการแพร่ระบาด

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/businesses-show-relisilience-amid-econmic-fallout-883020.vov

สภาพัฒน์ คาดเศรษฐกิจไทยปี 64 ยังมีความเสี่ยง ปรับลด GDP โต 0.7-1.2%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 2/64 ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/63 และขยายตัว 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/64 โดยแรงหนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน ที่ขยายตัว 4.6% และการลงทุนรวมขยายตัว 8.1% โดยการลงทุนจากภาคเอกชนขยายตัว 9.2% และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 5.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัว 36.2% สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564 นั้น คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 0.7% – 1.2% หรือฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากการลดลง 6.1% ในปี 63 แต่เป็นการปรับลดจาก 1.5% – 2.5% ในการประมาณการครั้งก่อน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2167686

ล็อคดาวน์กค.ปี64 ทรุดดัชนีเศรษฐกิจ จากรายได้หด-การจ้างงานลดต่อเนื่อง เทียบช่วง เม.ย.ปี63

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่มีการระบาดในเดือนเม.ย.จนต่ำกว่าปีก่อนในช่วงเดือนเม.ย. 2563 ที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ขณะที่การระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่มีการแพร่ระบาดได้ง่าย และ การล็อกดาวน์ ตลอดจนจำกัดการเดินทางใน 10 จังหวัด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ จำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงกดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลงต่อเนื่องจนอยู่ที่ 34.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่าช่วงเดือนเม.ย. 63 ที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศที่ 35.1 ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายพร้อมกับเร่งเข้าควบคุมสถานการณ์รวมถึงในเรื่องของวัคซีนเพื่อให้สถานการณ์การระบาดบรรเทาลง

ถอดบทเรียนโลกสู้วิกฤตโควิดสู่มาตรการเศรษฐกิจไทย

โดย วิจัยกรุงศรี I ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

การระบาดของโควิดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มสูงกว่าที่คาด โดยตัวเลขการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันเข้าสู่กรณีเลวร้าย จากทั้งประสิทธิภาพของมาตรการล็อกดาวน์และประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันสายพันธุ์เดลตาต่ำกว่าที่คาด ทำให้มาตรการควบคุมการระบาดมีแนวโน้มลากยาวไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2564 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยค่าเฉลี่ยของการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จาก 31 สำนักวิจัยลดลงจาก 3.4% (มีนาคม 2564) อยู่ที่ 1.8% (สิงหาคม 2564)

การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนในวงกว้าง จากตัวเลขของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนพบว่า มีธุรกิจจำนวน 754,870 รายอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรืออยู่ใน 9 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง คิดเป็น 93.9% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด ซึ่งมีการจ้างงานถึง 24.8 ล้านคน คิดเป็น 65% ของแรงงานทั้งหมด และในจำนวนนี้มีแรงงานประมาณ 13.7 ล้านคนเป็นผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง

จากวิกฤตโควิดที่มีความรุนแรงและยาวนาน รวมถึงมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง มาตรการเยียวยาจึงมีความจำเป็นเพื่อควบคุมการระบาดและประคองให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนไทยอยู่รอดต่อไปได้

วิจัยกรุงศรีจึงศึกษาเปรียบเทียบการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากโควิดในประเทศต่างๆ พบว่า

  • มาตรการให้เงินสำหรับผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักตัว: เน้นการสร้างแรงจูงใจและข้อบังคับเพื่อให้คนที่มีความเสี่ยงยอมกักตัวอยู่บ้านเพื่อควบคุมการระบาด
  • มาตรการรักษาระดับการจ้างงาน: เป็นมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานผ่านภาคธุรกิจ เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนของธุรกิจและรักษาระดับการจ้างงาน เน้นการช่วยเหลือธุรกิจและแรงงานที่มีรายได้น้อย
  • มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคธุรกิจ: เป็นมาตรการให้เงินช่วยเหลือครั้งเดียวเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่อง โดยจำนวนเงินช่วยเหลือขึ้นกับผลกระทบและความอ่อนไหวของธุรกิจ
  • มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคครัวเรือน: รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี ด้านอุปกรณ์ป้องกันโรค ด้านที่อยู่ และด้านรายจ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าอาหาร และค่าการศึกษา เป็นต้น
  • มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคธุรกิจ: รวมถึงการลดต้นทุนค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์และต้นทุนค่าธรรมเนียมภาษี
  • มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคครัวเรือน: เน้นไปที่กลุ่มที่เข้าถึงความช่วยเหลือค่อนข้างยาก ได้แก่ กลุ่มเปราะบางและแรงงานนอกระบบ

อย่างไรก็ตาม มาตรการเยียวยาทั้ง 6 มาตรการที่ทำการศึกษาจะช่วยให้ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสามารถประคองตัวอยู่ที่ 3.25% โดยทั้ง 6 มาตรการมีวงเงินรวมกันประมาณ 7 แสนล้านบาทในช่วง 6 เดือนข้างหน้า การใช้มาตรการเหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น และสามารถสร้างรายได้ถึง 8.6 แสนล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า หรือระหว่างปี 2564-2568

ที่มา : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/Covid19-Response-Policy-2021

“สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด” หั่นศก.เวียดนามลดลง

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจเวียดนาม ปี 64 โต 6.5% จากเดิมที่คาดว่าโต 6.7% สะท้อนจากภาคธุรกิจในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก หากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงทวีความรุนแรงต่อไป ตลอดจนการหดตัวของภาคการท่องเที่ยว การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนแอลง แต่ว่าการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 28.4% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 36.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ธนาคารฯ คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามในปีหน้า โต 7.3% และจะเร่งตัวขึ้นหลังจากสิ้นสุดโควิด-19 และธนาคารมองว่าเวียดนามจะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค รวมถึงเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัยและเลื่อนขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/standard-chartered-revises-forecast-for-vietnam-down/205062.vnp