‘สนง.สถิติแห่งชาติเวียดนาม’ เผยข้อมูลสำมะโน ชี้จำนวนสถานประกอบการ 683,600 แห่ง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยผลเบื้องต้นของการสำรวจสำมะโน พบว่าข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 เวียดนามมีสถานประกอบการจำนวน 683,600 แห่ง เพิ่มขึ้น 35.3% เมื่อเทียบกับปี 59 โดยในปี 64 การจ้างงานของสถานประกอบการ มีจำนวนมากกว่า 14.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบกับปี 59 ทั้งนี้ ในช่วงปี 59-63 จำนวนสถานประกอบการเพิ่มขึ้น 7.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี และยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 8.7% ตั้งแต่ปี 54-59 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. กระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยผลการสำรวจสำมะโน ปี 64 พบว่าข้อมูล ณ ปี 63 หน่วยงานราชการมีจำนวน 32,300 แห่ง ลดลง 7.25% เมื่อเทียบกับปี 59

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-has-683600-operational-firms-economic-census/220572.vnp

เรื่องที่ SME ไทยควรรู้ เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้เป็นทางการ

เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา เป็นดีเดย์ที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) หรือ ‘อาร์เซ็ป’ ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจะเริ่มมีผลบังคับใช้ด้วย

ซึ่ง 15 ประเทศที่ร่วมลงนามความตกลง RCEP ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

จุดมุ่งหมายของความตกลงดังกล่าว คือสลายอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการลงทุน เพื่อช่วยให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก้าวทันประเทศอื่นในโลก ความตกลง RCEP เป็นความตกลงที่ทันสมัย ครอบคลุม คุณภาพสูง และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน อีกทั้งมีการเพิ่มความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นจากเอฟทีเอของอาเซียนกับคู่เจรจาที่มีอยู่ก่อนหน้า

 

สินค้าประเทศไทยที่ได้รับประโยชน์จาก RCEP

1.หมวดสินค้าเกษตร เช่น แป้งมันสำปะหลัง สับปะรด สินค้าประมง เป็นต้น

2.หมวดอาหาร ผักผลไม้แปรรูป น้ำส้ม น้ำมะพร้าว รวมทั้งอาหารแปรรูปอื่น ๆ

3.หมวดสินค้าอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก กระดาษ เคมีภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องแต่งกาย รวมทั้งจักรยานยนต์

4.หมวดบริการ หมวดการก่อสร้าง ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจด้านภาพยนตร์ บันเทิง แอนิเมชัน

5.การค้าปลีก

 

โดยสมาชิก RCEP จะยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น

 

ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมตัวอย่างไร?

สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ควรให้ความสำคัญในการทำการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันก็คือ การสร้างโอกาสและแต้มต่อจากการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA รวมถึงความตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้ โดยผู้ประกอบการควรเร่งเตรียมความพร้อมเรียนรู้ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ทางการค้าต่างๆ ของความตกลง RCEP อาทิ การเปิดตลาดการค้าสินค้า อัตราภาษีศุลกากร กฎเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า และสิทธิประโยชน์ รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศสมาชิก RCEP

เพื่อเตรียมวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐาน คุณภาพ ความปลอดภัยของสินค้าและบริการมากขึ้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ สอดรับกับสถานการณ์ใหม่แบบ New Normal’ สร้างความเชื่อมั่น – ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและบริการ ของตน ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/sme-thai-should-know-rcep

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

KE และ CMA ร่วมส่งเสริมการเข้าถึงทางด้านการเงินแก่ SMEs กัมพูชา

Khmer Enterprise (KE) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ร่วมกับสมาคมการเงินรายย่อยของกัมพูชา (CMA) ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ในการส่งเสริมการเข้าถึงทางด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการ และ SMEs ในกัมพูชา โดย KE และ CMA ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อสร้างกรอบความร่วมมือสำหรับทั้งสองฝ่ายเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงินและร่วมจัดโปรแกรม/กิจกรรม เช่น การเสนอขาย งานแสดงสินค้า การจับคู่ทางธุรกิจและการสร้างเครือข่าย การส่งเสริมวัฒนธรรมผู้ประกอบการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมสัมมนาและการฝึกอบรม เพื่อพัฒนา SMEs และสตาร์ทอัพของกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประมาณ 43,276 แห่ง ยื่นจดทะเบียนกับกระทรวง โดยสร้างงานให้กับคนในประเทศกว่า 435,905 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50979560/khmer-enterprise-and-cma-enter-into-partnership-to-boosting-access-to-financial-service-for-smes/

กระทรวงเกษตรและป่าเร่งกระตุ้นส่งออกโคไปจีน

กระทรวงเกษตรและป่าไม้ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโค ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอกชนผลิตโคเพื่อส่งออกไปยังจีนมากขึ้น กรมวิชาการเกษตรและป่าไม้ทั่วประเทศได้รับคำสั่งให้เปิดตัวแคมเปญประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้เกษตรกรและผู้ผลิตทราบเกี่ยวกับการเปิดตลาดโคของจีนอย่างเป็นทางการ ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ สปป.ลาวได้รับโควตาจำนวน 500,000 ตัวเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน ทั้งนี้การเลี้ยงโคของสปป.ลาวต้องเป็นตามมาตรฐานของทางจีนกำหนด เป็นความท้าทายที่สำคัญของสปป.ลาวในการปรับปรุงพัฒนาการเลี้ยงโคให้มีประสิทธิภาพรวมถึงการพัฒนาระบบเกษตรโดยรวม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_125.php

เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) สร้างโซนนานาชาติภายใต้แนวคิด “วิน-วิน”

เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) กล่าวว่าจะยังคงเร่งโครงการภายใต้แนวคิด “วิน-วิน” เพื่อดึงดูดผู้ประกอบการระหว่างประเทศเข้ามาในเขตเศรษฐกิจพิเศษมากขึ้น สร้างการพัฒนาในท้องถิ่นและการพัฒนาสังคม ซึ่งได้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมกันกับจีน ภายใต้แนวคิด “วิน-วิน” เพื่อปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนการผลิต และการดำรงชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการบริการระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่สมบูรณ์แบบสำหรับองค์กรจากทั่วทุกมุมโลก โดยจากข้อมูลของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2020 ซึ่งจำนวนการนำเข้าและส่งออกผ่าน SSEZ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 โดยปริมาณการนำเข้าและส่งออกรวมอยู่ที่ 951 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.13 จาก 754 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50768708/ssez-to-build-an-international-zone-with-win-win-concept/

เร่งจัดอีเว้นท์ออนไลน์เพิ่มมูลค่าส่งออก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเร่งสนองนโยบายจุรินทร์ สั่งทูตพาณิชย์จัดกิจกรรมออนไลน์ดันส่งออกไทยฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) เพิ่มการจัดกิจกรรมทำตลาดส่งออกในต่างประเทศรูปแบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้นตามนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทยและเกษตรกร โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป อาหารและอื่นๆ ให้มีช่องทางในการขยายตลาดในสถานการณ์ที่ทั่วโลกประสบปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19  เน้นการจัดงานแสดงสินค้ารูปแบบออนไลน์ และการเจรจาจับคู่ธุรกิจไทยกับผู้นำเข้าจากต่างประเทศ การจัดกิจกรรมโปรโมทสินค้าและภาพลักษณ์สินค้า และการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ได้เร่งเปลี่ยนบทบาทของทูตพาณิชย์ เป็นเซลล์แมนประเทศมาก เพื่อขยายการค้าและช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ  พร้อมทั้งยังเร่งดำเนินการให้ไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาผู้ประกอบการไทยในเรื่องธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ จนสร้างโอกาส และเร่งขยายตลาดไปได้มากในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ กัมพูชา ญี่ปุ่น เมียนมา สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ล่าสุดก็ได้จัดงานแสดงสินค้าออนไลน์ดิจิทัลคอนเทนท์แบบครบวงจรของไทย โดยจัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี 

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/789001

สิงคโปร์เตรียมพร้อมจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีโควิด-19

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ กล่าวในการเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าของ NTUC Fariprice ย่าน Joo Koon เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ว่า ชาวสิงคโปร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมในการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาย COVID-19 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องเตรียมใจให้พร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ รวมถึงสิงคโปร์ต้องปรับโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีอุปทานที่เพียงพอในประเทศ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของโลกเกิดภาวะชะงักตัวลง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังและตรวจสอบสถานที่กระจายสินค้า โดยยกตัวอย่าง ในอดีตสิงคโปร์นำเข้าข้าวส่วนมากมาจากไทยหรือเวียดนาม แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าข้าวมาจากญี่ปุ่นหรืออินเดียด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่ค้าของสิงคโปร์ โดยมองหาผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศที่ไกลออกไปเพื่อช่วยให้สิงคโปร์กระจายความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หรือสินค้าในกลุ่มประเภทบะหมี่ต่าง ๆ ที่สิงคโปร์มีทั้งการนำเข้าและมีการผลิตในประเทศ ทำให้ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าประเภทนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะสามารถผลิตในสิงคโปร์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังคน แต่จะเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในรายการสินค้าสำคัญที่จำเป็นสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการ

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=9769&index

ฝ่ายอุตสาหกรรมและการพาณิชย์นครหลวงเวียงจันทน์เผยแผนส่งเสริมความสำเร็จ SMEs ปี 63

ทางการเวียงจันทน์ได้วางแผนเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการเข้าถึงการเงินและตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปีนี้ร้อยละ 10ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมและการพาณิชย์นครหลวงเวียงจันทน์ได้เปิดเผยแผนดังกล่าวในการประชุมสภาประชาชนของนครหลวงเวียงจันทน์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยแผนมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับ SMEs รวมถึงเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานของ SMEs,การเข้าถึงการเงินที่ดีขึ้น, การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEsใหม่,การเข้าถึงและขยายตลาดที่มากขึ้น,การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการใช้บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs จดทะเบียน 474รายและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดีนอกจากจะมาจากการลงทุนจากภาคต่างประเทศแล้ว สปป.ลาวจะพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้รวมถึงสนับสนุนให้เกิดธุรกิจเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นรากฐานที่ดีของเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/city-commerce-department-reveals-plan-boost-success-smes-112776

ผู้ประกอบการเวียดนามลงทุนไปยังต่างประเทศ 460 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานของหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในสังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าบริษัทเวียดนามลงทุนไปยังต่างประเทศ ด้วยมูลค่า 460 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการรวมทั้งสิ้น 177 โครงการ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคการค้าปลีก-ค้าส่ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 ของทั้งหมด รองลงมาภาคการเกษตร ป่าไม้ประมง และวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัทเวียดนามได้ลงทุนไปกว่า 31 ประเทศทั่วโลก เวียดนามได้ลงทุนไปยังประเทศออสเตรเลีย ด้วยมูลค่า 141.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่า 1 ใน 3 ของการลงทุนรวมไปยังต่างประเทศของเวียดนาม รองลงมาสหรัฐอเมริกา ส่วนจุดหมายหมายอื่นๆในการลงทุนของเวียดนาม ได้แก่ ประเทศสเปน กัมพูชา สิงคโปร์ และแคนาดา เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnamese-firms-invest-460-million-usd-abroad-in-11-months-406805.vov