เมียนมามุ่นมั่นส่งออกกาแฟเพิ่มเป็น 2 เท่าในปี 66

เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566  กระทรวงพาณิชย์ เผย ภายในปี 2566  เมียนมาตั้งเป้าส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็นจำนวน 10,000 ตัน ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านเมียนมาส่งออกกาแฟ 5,800 ตัน โดยตลาดนำเข้าสำคัญได้แก่  เช่น จีน ไทย สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกกาแฟของเมียนมา พบว่า มีประมาณ 50,000 เอเคอร์ แบ่งเป็น 38,000 เอเคอร์เป็นกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และ 12,000 เอเคอร์เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งไร่กาแฟส่วนใหญ่อยู่ในเขตมัณฑะเลย์ รัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง ทั้งนี้ ผลผลิตกาแฟต่อปีของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 9,000 ตัน

ที่มา : https://english.news.cn/20230323/84c83a24e49a4f049de088aadea7879f/c.html

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกหัวหอม ปีงบฯ 66-67 ทะลุ 100,000 ตัน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาตั้งเป้าในปีงบประมาณ 2566-2567 จะส่งออกหัวหอม 100,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมีแผนในการส่งออก ดังนี้ เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 จำนวน 300,000 ตัน เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 จำนวน 15,000 ตัน เดือนตุลาคมและธันวาคม  2566 จำนวน 20,000 ตัน และเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 จำนวน 35,000 ตัน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ เวียดนาม ไทย บังกลาเทศ และจีน ด้านราคาหัวหอมในประเทศจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 1,750 จัตต่อ viss จากความต้องการในประเทศลดลงทำให้ราคาตลาดดิ่งลงอย่างมาก ทั้งนี้ จากสถิติของกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทาน ในปีงบประมาณ 2561-2562 การเพาะปลูกหัวหอมในเมียนมาครอบคลุมพื้นที่กว่า 170,000 เอเคอร์ มีผลผลิตเฉลี่ย 3,600 viss ต่อเอเคอร์ โดยภาคมัณฑะเลย์มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 36 ของผลผลิตหัวหอมทั้งประเทศ รองลงมาคือภาคซะไกง์ ร้อยละ 32 และภาคมะกเว ร้อยละ 26

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-export-100000-tonnes-of-onions-in-fy-2023-2024/#article-title

เงินเฟ้อ ก.พ. 66 ขยายตัว 3.79% ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน พาณิชย์คาดครึ่งปีหลังอาจแตะ 0%

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนก.พ.66 อยู่ที่ระดับ 108.05 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น 3.79% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนม.ค.66 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงมาจากราคาพลังงาน และอาหารสดที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้น 4.40% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนก.พ. อยู่ที่ระดับ 104.17 ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 1.93% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 2.48% โดยอัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มเป็นขาลง พร้อมคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ มีโอกาสจะได้เห็นเงินเฟ้อลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 0% เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน รวมทั้งหากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมาก

ที่มา : https://moneyandbanking.co.th/2023/27512/

10 เดือนของปีงบ 65-66 การค้าทางทะเลเมียนมา พุ่งขึ้น 19.42%

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 10 เดือนของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน 2565 -ปัจจุบัน) การค้าทางทะเลของเมียนมาเพิ่มขึ้น 19.42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา (2564-2565) โดยมีมูลค่าแตะ 22,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้น 10.21% มูลค่า 9.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 26.94%  มูลค่า 13.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การค้าชายแดนมีมูลค่ารวมมาก 7.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ 10 เดือนของปีงบประมาณปัจจุบันเมียนมามีการค้าต่างประเทศรวมทั้งสิ้นกว่า 29,330 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการค้าทางทะเลส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในแถบอาเซียน ส่วนการค้าชายแดนจะทำการค้ากับจีน ไทย บังกลาเทศ และอินเดีย ทั้งนี้ สินค้าส่งออกหลักของเมียนมา คือ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การประมง แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากป่า ในขณะที่นำเข้าจะเป็น สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://english.news.cn/20230221/bd52830edaf042c7985bb93dd7134d05/c.html

เดือนม.ค 66 ค้าชายแดนเมียวดีทะลุ 151.543 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา พบว่า เดือนมกราคม 2566 มูลค่าการค้าชายแดนเมียวดีของเมียนมา อยู่ที่ 151.543 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2565 ถึง 55.310 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 48.301 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 103.242 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ แร่ธาตุ สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ฯลฯ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ คือ สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myawady-border-trade-crosses-151-543-million-in-january/#article-title

เดือนม.ค.66 เมียนมาส่งออกข้าวโพดทางทะเล ทะลุ 77,000 ตัน โกยเงินเข้าประเทศกว่า 23.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย เดือนมกราคม 2566 เมียนมาส่งออกข้าวโพดทางทะเลไปแล้วกว่า 77,620 ตัน คิดเป็นมูลค่า 23.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังไทย 22,130 ตัน รองลงมาคือเวียดนาม 19,490 ตัน, ฟิลิปปินส์ 16,980 ตัน, จีน 10,760 ตัน, บังคลาเทศ 8,100 ตัน, บรูไน 120 ตัน และที่เหลือส่งออกไปยังอินเดียและเนปาล แต่เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมาพบว่าลดลงถึง 70,000 ตัน ปัจจุบันการปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่อยู่ในรัฐฉาน รัฐกะฉิ่น, รัฐกะยา, รัฐกะเหรี่ยง, เขตมัณฑะเลย์, ภาคซะไกง์ และภาคมะกเว โดยมีฤดูในการเพาะปลูกถึง 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูมรสุม ส่วนผลผลิตข้าวโพดต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 2.3-2.6 ล้านตัน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (เดือนสิงหาคม 2565 ถึง เดือนมกราคม 2566) เมียนมาส่งออกข้าวโพดทางทะเลไปแล้วกว่า 770,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pockets-23-3-mln-from-over-77000-tonnes-of-corn-exports-in-seaborne-trade-last-month/#article-title

ค้าชายแดนเมียนมา-จีน ทะลุ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2566 การค้าระหว่างเมียนมาและจีนสูงผ่านชายแดนพุ่งถึง 2,159.412 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกอยู่ที่ 1,801.501 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าอยู่ที่ 357.911 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมูลการค้าผ่านชายแดนที่สำคัญ ได้แก่ ชายแดนมูเซ 1,762.051 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ชายแดนลวยเจ 105.735 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ชายแดนชีงชเวห่อ  215.603 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ชายแดนกัมปาตี 66.416 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และชายแดนเชียงตุง 9.607 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-trade-volume-exceeds-us2-bln-from-april-2022-to-half-of-jan-2023/

การลงทะเบียนเครื่องหมายการค้าในกัมพูชาอยู่ที่ 9,288 ราย ในปี 2022

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา รายงานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในช่วงปี 2022 ที่จำนวน 9,288 ราย ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งออกเป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านระบบภายในประเทศอยู่ที่ 4,196 รายการ ลดลงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปี 2021 ขณะที่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านระบบระหว่างประเทศที่เรียกว่า Madrid System มีอยู่ที่จำนวน 5,092 รายการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งผู้จดทะเบียนโดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ในการคุ้มครองผู้บริโภค การควบคุมและปราบปรามการปลอมแปลงสินค้าและบริการทุกประเภท

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501230307/cambodia-trademark-registration-at-9288-in-2022/

การค้าระหว่างกัมพูชา – RCEP แตะ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์

มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชากับประเทศในกลุ่มสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีมูลค่ารวมถึง 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์ โดยรายงานระบุว่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังกลุ่มประเทศ RCEP มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 6.34 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่การนำเข้าจากประเทศสมาชิก RCEP มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 24.68 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งรายงานเสริมว่าประเทศคู่ค้าหลัก 5 อันดับแรก ภายใต้ RCEP ได้แก่ จีน เวียดนาม ไทย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น โดยข้อตกลงการค้าเสรี RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501221471/cambodias-trade-with-rcep-countries-hit-31-bln-last-year/

ปริมาณการค้าระหว่าง กัมพูชา-ไทย โต 29%

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 8,589 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนของปี เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชามูลค่า 959 ล้านดอลลาร์ไปยังไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะเดียวกันการนำเข้าสินค้าของกัมพูชาจากไทยคิดเป็นมูลค่า 7,630 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ไทย ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาไปยังไทย ได้แก่ สิ่งทอ สินค้าเกษตร อัญมณี และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เป็นสำคัญ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญจากไทย ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ผัก รถยนต์ ปุ๋ยอินทรีย์ อาหาร และวัสดุก่อสร้าง โดยในปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 7.97 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.26 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501196940/cambodia-thailand-trade-surges-29/