‘เวียดนาม’ คาดส่งออกข้าวปีนี้ ทะลุ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกข้าวในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่ายอดการส่งออกข้าวในปีนี้จะสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกข้าวสาร (Milled rice) ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 7.75 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 4.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.2% และ 36.3% เมื่อเป็นรายปี ในขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ย 568 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

ทั้งนี้ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการการ นายเจิ่น แทงห์ นาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่าข้าวมีบทบาทสำคัญต่อภาคเกษตรกรรมในเวียดนามและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และในอนาคตข้างหน้า ตลาดข้าวจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความต้องการมากขึ้นจากจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มองว่าการเติบโตของปริมาณการส่งออกข้าวมีทิศทางสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อสต๊อกของประเทศผู้ส่งออก และดันราคาส่งออกข้าวปรับตัวเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1638131/rice-exports-expected-to-hit-us-5-billion-this-year.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกผักและผลไม้สูงเป็นประวัติการณ์

สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมประสบความสำเร็จจากยอดการส่งออกผักและผลไม้ที่ทำรายได้สูงถึง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุหลักมาจากความต้องการที่แข็งแกร่งของตลาดจีนและการกระจายตลาดของภาคเกษตรเวียดนาม

ทั้งนี้ ทุเรียนกลายมาเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 40% ของมูลค่าการส่งออกรวม ในขณะที่ผลไม้อื่นๆ เช่น ขนุน แตงโม ส้มโอและลำไย ทำรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก อยู่ที่ราว 50% – 200%

โดยจากข้อมูลของภาคเกษตรกรรม แสดงให้เห็นว่าภาคผักและผลไม้แซงหน้าการส่งออกสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น ข้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กาแฟ และมันสำปะหลัง ซึ่งความสำเร็จของการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนาม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการยกระดับในเรื่องคุณภาพของสินค้า และการขยายตลาด

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/fruit-veggie-exports-soar-to-all-time-high/

ACLEDA Bank ออกสินเชื่อเพื่อการเกษตรแล้วกว่า 1.21 พันล้านดอลลาร์

ธนาคาร ACLEDA กล่าวว่า ได้ทำการปล่อยสินเชื่อจำนวนมูลค่ารวมกว่า 1.21 พันล้านดอลลาร์ ให้กับภาคการเกษตร คิดเป็นกว่าร้อยละ 20.75 ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดของธนาคาร ณ เดือนมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา ด้าน In Channy ประธานและกรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท ACLEDA Bank Plc กล่าวว่า กัมพูชาถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยภาคเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการจ้างแรงงาน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาได้ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501119196/acleda-bank-loans-out-1-21bil-to-boost-agriculture/

เวียดนามเผยไตรมาสแรก ภาคเกษตรฯ ส่งออกพุ่ง

การส่งออกสินค้าการเกษตร ป่าไม้และประมงของเวียดนามเติบโตได้ดี ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ แม้เผชิญการระบาดของโควิด-19 เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม 24.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบไปยังทั่วโลก และในทิศทางเชิงลบต่อการผลิต การบริโภคและการส่งออกสินค้าการเกษตร ทั้งนี้ สินค้าส่งออกการเกษตรของเวียดนามที่มีการเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่า ได้แก่ ยางพารา ชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง อย่างไรก็ดี จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นตลาดส่งออกสินค้าการเกษตรที่สำคัญของเวียดนาม โดยสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 59.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/986726/viet-nams-agriculture-sector-gains-export-growth-in-h1.html

พิษการเมืองกระทบหนักภาคการเกษตรเมียนมา

การยึดอำนาจของกองทัพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมของประเทศอย่างรุนแรง การส่งออกและโครงการที่วางแผนไว้ถูกระงับ นาย Daw Sandar Myo ประธานสมาคมผู้ประกอบการอะโวคาโดแห่งเมียนมา เผยหลังการหารือการจัดตั้งโรงงานคัดบรรจุอะโวคาโดที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐในรัฐฉานตอนใต้ได้ถูกโต้กลับจากสหรัฐด้วยเช่นกัน ความช่วยเหลือจากนานาชาติหยุดลง ซึ่งรวมถึงความช่วยเหลือจากเดนมาร์ก ทั้งนี้โครงการที่มุ่งเน้นไปที่ MSMEหรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เช่น Responsible Business Fund จะหยุดลงหรือไม่ยังไม่มีความแน่ชัด องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ระงับโครงการการค้าเกษตรอาเซียนและความร่วมมืออื่น ๆ กับเมียนมา การส่งออกผลไม้ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันไม่ว่าจะเป็นอะโวคาโดและขิงไปที่ส่งออกไปสหราชอาณาจักรและแตงเมลอนไปยังสหภาพยุโรป แผนการส่งออกแตงโมไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักแห่งเมียนมา มีแผนจะขายผลไม้เพื่อการส่งออกในตลาดท้องถิ่น แต่อาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีผลผลิตจำนวนมาก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/political-unrest-turns-myanmars-agriculture-sector-sour.html

เมียนมาเดินหน้าตั้งศูนย์ตลาดสินค้าเกษตร ในเนปยีดอ

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน มีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ตลาดสินค้าเกษตรในเนปิดอว์เพื่อพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของประเทศ มีกำหนดเปิดทำการในวันที่ 20 มกราคม 64 ซึ่งจะได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี โดยได้รับการจัดสรรเงินทุนจำนวน 8.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรในท้องถิ่นเป็นอย่างมา ซึ่งโครงการนี้จะให้ความสำคัญกับธุรกิจหลังการเก็บเกี่ยวเป็นหลัก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาตลาดการเกษตรของเมียนมา โดยเมียนมาหวังว่าจะสร้างผลประโยชน์ร่วมกันทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคนำไปสู่การยกระดับครองชีพของเกษตรกรให้สูงขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-set-agri-market-centre-nay-pyi-taw.html

ธนาคารเพื่อการพัฒนาปล่อยเงินสนับสนุนให้กับภาคการเกษตรของกัมพูชา

ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าสถาบันการเงินได้ปล่อยวงเงินกู้รวม 245 ล้านดอลลาร์ ให้กับ ผู้ผลิตและส่งออกข้าว ภาคปศุสัตว์ และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคเกษตรกรรม โดย ARDB ได้เพิ่มกองทุนพิเศษอีก 50 ล้านดอลลาร์ สำหรับภาคธุรกิจ SMEs ซึ่งกระจายไปยังธุรกิจมากถึง 600 แห่ง เพื่อมุ่งเน้นเฉพาะด้านการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร การแปรรูปอาหาร ธุรกิจเกษตรพืชผล รวมทั้งผัก ปศุสัตว์และธุรกิจสัตว์น้ำ รวมถึงองค์กรใด ๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร โดยธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 6 สู่ร้อยละ 5 สำหรับเงินทุนหมุนเวียน และร้อยละ 6.5 สู่ร้อยละ 5.5 สำหรับเงินลงทุน นอกจากนี้ระยะเวลาการชำระหนี้ได้เลื่อนขึ้นเป็นระยะเวลา 7 ปี ซึ่งธุรกิจ SMEs สามารถกู้ได้มากถึง 300,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ธนาคารจะจัดฝึกอบรมให้กับธุรกิจ SMEs เกี่ยวกับแผนธุรกิจ งบการเงิน ธรรมาภิบาล แผนการตลาด การจัดการทางการเงิน และการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสนับสนุนทางเทคนิคร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802809%20/development-bank-delivers-245mn-to-agri-sector-producers-exporters-smes

กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังออสเตรเลียเพิ่มขึ้นในช่วง 10 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยังออสเตรเลียรวม 25,994 ตัน ในช่วง 1 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับข้าวอินทรีย์ (SRP: Sustainable Rice Platform) โดย CRF กล่าวว่าทางฝั่งกัมพูชายินดีเป็นอย่างมากที่รัฐบาลออสเตรเลียได้ให้การสนับสนุนภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา นอกจากการส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นแล้วบริษัทออสเตรเลียจำนวนหนึ่งยังให้ความสนใจในการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรในกัมพูชาอีกด้วย ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกทั้งสิ้น 536,305 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบรายปี สร้างรายได้ประมาณ 366.44 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50783475/cambodias-rice-exports-to-australia-up-by-53-percent-in-first-10-months/

เมียนมาเร่งปลูกขิงคุณภาพดีเพื่อการส่งออก

เมียนมามองเห็นความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูก เช่น ขิง น้ำผึ้ง และกาแฟ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ความต้องการขิงคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้เมียนมาสามารถส่งออกขิงได้เพียงปีละ 1 ตัน ซึ่งสหรัฐฯ มีความต้องการขิงมากกว่า 100 ตัน ดังนั้นเมียนมาจะต้องใช้เวลาในการวิจัยสายพันธุ์ขิงที่ทนทานและมีคุณภาพสูงสำหรับการเพาะปลูกปลูก นักวิจัยและนักลงทุนภาคเอกชนจำเป็นต้องจัดหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพส่วนกระบวนการผลิตและการเพาะปลูกจะตามมาเอง ขิงจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการส่งออก ปัจจุบันมีประมาณ 5,000 ครัวเรือนที่ปลูกขิงในรัฐฉานตอนใต้ ในอีกห้าปีข้างหน้าคาดว่าจะผลิตขิงได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปีในพื้นที่ 10,000 เอเคอร์ ในอดีตบังกลาเทศยังนำเข้าขิงจากเมียนมาร์ แต่ปัจจุบันบังกลาเทศสามารถส่งออกขิงแห้งไปยังยุโรป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-produce-better-quality-ginger-exports.html

AGD Bank ร่วมลงนาม Pact Global Microfinance ปล่อยเงินกู้ให้เกษตรกร

Asia Green Development Bank (AGD Bank) หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมาได้ลงนามในข้อตกลงการจัดหาเงินทุนมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (35 พันล้านจัต) กับ Pact Global Microfinance Fund (PGMF) ซึ่งจะแจกจ่ายให้กับเกษตรกรและธุรกิจการเกษตรในชนบท โดยจะมีการเบิกจ่ายเงินกู้ในสกุลเงินท้องถิ่นเป็นครั้งแรกของเมียนมา เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทห่างไกลของเมียนมาและช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ข้อตกลงดังกล่าวได้ลงนามในช่วงเวลาที่ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเกษตรและภาคการส่งออก ด้วยเหตุนี้การจัดการกับอัตราแลกเปลี่ยนจึงกลายเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก จากข้อตกลงดังกล่าวสามารถโอนเงินในรูปสกุลเงินท้องถิ่นไปยังผู้ประกอบการ 68,000 ครัวเรือน Pact Global Microfinance Fund เป็นสถาบันการเงินรายย่อยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเมียนมาและให้เงินกู้รายย่อยแก่ชุมชนในพื้นที่ชนบท นาย U Pyi Soe Htin ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจของ AGD Bank กล่าวว่าธนาคารมีเป้าหมายที่จะให้ทุนและสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/agd-bank-pact-global-microfinance-bring-foreign-funds-local-farmers.html