‘เวียดนาม’ เกินดุลการค้า 21.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 9 เดือนแรกปี 2566

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าการส่งออกของเวียดนามในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่ารวม 259.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 8.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี และการนำเข้ามีมูลค่ารวม 237.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 13.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้า 21.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าการส่งออกของเวียดนามที่ปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ความต้องการจากทั่วโลกลดลงและภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและจีน นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังส่งเสริมให้ทำการค้าในตลาดเกิดใหม่และตลาดที่มีศักยภาพ และช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี เพื่อกระตุ้นการส่งออก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1594585/viet-nam-records-21-68-billion-trade-surplus-in-nine-months.html

‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เผชิญกับอุปสรรคมากมาย

นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวในที่ประชุมรัฐบาลว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก การส่งออกที่หดตัวลงและวิกฤติสินเชื่อ ถึงแม้จะได้รับสัญญาของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ว่าแนวโน้มของการเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะถูกขัดขวางจากการบริโภคที่อ่อนแอและอุปสรรคทางการค้าโลก ทั้งนี้  อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้สร้างแรงกดดันต่อหนี้สาธารณะและความกังวลทางการเงินยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะขัดขวางการฟื้นตัวของหลายๆประเทศ หลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค นอกจากนี้ ความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ ความไม่มั่นคงด้านอาหารโลก ผลผลิตน้ำมันที่ซบเซาและสภาพอากาศที่รุนแรง กำลังเพิ่มข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อตลาดโลก

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-faces-protracted-economic-headwinds/

จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญของกัมพูชา

หลังจากการลงนามในข้อตกลงกัมพูชา-จีน (CCFTA) เมื่อเดือนตุลาคม 2020 และเริ่มมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างจีน และเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยปริมาณการค้าของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างปี 2017-2021 เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 25.44 พันล้านดอลลาร์ เป็น 48.01 พันล้านดอลลาร์ สำหรับศักยภาพในการส่งออกของกัมพูชาไปยังตลาดในภูมิภาคยังมีจำกัด ซึ่งยังคงต้องบูรณาการอย่างต่อเนื่องในส่วนของห่วงโซ่คุณค่าระดับภูมิภาค ถึงอย่างไร แม้กัมพูชาจะได้รับความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่จีนและกัมพูชาก็ยังสามารถบรรลุเป้าหมายด้านปริมาณการค้าทวิภาคีได้เกินเป้าหมายที่ 1.11 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2021 ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับในปี 2022 จีนก็ยังคงเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวมของกัมพูชาไปยังจีน 1.24 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.5 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501320543/china-remains-the-largest-export-market-for-cambodia/

สปป.ลาว เปิด ด่านค้าชายแดน12 แห่ง หนุนส่งออกผลไม้ไทยไปจีน

ตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนแรก (ม.ค.) ปี 2566 ที่ 2.02 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว 4.5% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยังเป็น การหดตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2565 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัยจะหดตัว 3.0% ทั้งนี้อัตราการหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า จากผลกระทบการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทผันผวน สอดคล้องกัน ตัวเลขการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ผ่านด่านพรมแดนหนองคาย เดือนม.ค. 2566 หดตัวทั้งมูลค่าการค้าชายแดน การส่งออกและการค้าผ่านแดน ด้วยตัวเลขมูลค่าการค้าชายแดนรวม 7,149.38 ล้านบาท ลดลง 7.50% แต่ยอดส่งออกยังสูงกว่านำเข้าได้ดุลการค้า 4,156.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 91.50 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.25%

อีกทั้ง โอกาสนี้ไทยได้ขอให้ สปป.ลาว เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเปิดด่านพรมแดนที่ติดกับไทยเพิ่มอีก 12 แห่ง และช่วยอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าไทย ผ่านแดน สปป.ลาวไปยังจีน เพื่อให้คล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าผลไม้ ซึ่งกำลังเข้าสู่ช่วงฤดูที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากเร็วๆ นี้

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/559913

เปิดหน้าต่างบานใหม่ของการส่งออกไทยในยามเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

โดย วิชาญ กุลาตี, ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

การส่งออกสินค้าไทยหดตัวต่อเนื่อง ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกชะลอลง

การส่งออกสินค้าที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเริ่มหดตัวตามอุปสงค์โลกที่ชะลอลง ในระยะต่อไปการส่งออกไทยดูไม่สดใสนัก สะท้อนจากดัชนี Global Manufacturing PMI ในเดือนมกราคมที่ยังหดตัว กอปรกับยอดคำสั่งซื้อใหม่และยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ การส่งออกไทยจะเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้าโลก เช่น การเริ่มใช้ภาษี Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) และกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป รวมถึงการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยของอินเดียที่จะส่งผลต่อสินค้าส่งออกไทยหลายชนิด โดย SCB EIC คาดว่าการส่งออกสินค้าไทยจะขยายตัวได้เพียง 1.2% ในปี 2023 (ตัวเลขในระบบดุลการชำระเงิน)

 

ท่ามกลางวิกฤตยังมีโอกาสสำหรับการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดตะวันออกกลาง CLMV และลาตินอเมริกา

ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่จะขยายตัวชะลอลงเป็น 1.7% ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลก และการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้าโลกที่กำลังเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกไทย ภาคเอกชนและภาครัฐจึงจำเป็นต้องหาตลาดส่งออกใหม่ SCB EIC ประเมินว่า มีตลาดสามแห่งที่มีศักยภาพน่าจับตา ได้แก่ ตลาดตะวันออกกลางที่อาจได้รับอานิสงส์จากการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบีย ตลาด CLMV ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตดีและได้รับการผลักดันจากหน่วยงานภาครัฐ และตลาดลาตินอเมริกาที่เป็นตลาดส่งออกเป้าหมายใหม่ในเชิงนโยบายของไทย

 

ตลาด CLMV

SCB EIC ประเมินว่า การส่งออกจากไทยไป CLMV จะขยายตัวได้ในช่วง 6-8% ในปี 2023 โดยมีแนวโน้มที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลางตามเศรษฐกิจ CLMV ที่จะเติบโตได้สูงกว่าเศรษฐกิจโลก อีกทั้ง ไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน รวมถึงตลาดนี้ยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐต่อเนื่อง

อ่านต่อ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/trade-140223

‘ทองลุน สีสุลิด’ ประธานประเทศลาว ให้แรงบันดาลใจคนทั้งประเทศ ฟันฝ่าความท้าทาย

นายทองลุน สีสุลิด ประธานประเทศลาว กล่าวสุนทรพจน์ปีใหม่ผ่านสื่อตามช่องทางต่างๆ และกระตุ้นให้ประชาชนทั้งประเทศรวมพลังและสามัคคีกัน เพื่อให้สปป.ลาวก้าวข้ามอุปสรรคหรือความท้าทายในปี 2566 และยังได้เน้นย้ำถึงความสำเร็จของลาวในปี 2565 ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะตกต่ำก็ตาม โดยทั้งปี 2565 สปป.ลาวเผชิญกับความยากลำบากและความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงสถานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่เผชิญกับความรุนแรง แต่ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทั้งพรรค รัฐบาลและสังคม ตลอดจนความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทำให้สปป.ลาว สามารถจัดการกับความท้าทายเหล่านั้นได้ในระดับหนึ่ง และป้องกันไม่ให้ประเทศผิดนัดชำระหนี้ได้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten01_President_y23.php

ส.อ.ท. จี้รัฐรับมือเศรษฐกิจโลกยังหนัก

หลังจากประเมินสถานการณ์โดยรวมในปี 2563 ภาคเอกชนต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ เศรษฐกิจยังคงได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามค่าเงินการเมือง แม้มีมาตรการกระตุ้นการลงทุน ข้อเสนอหลักคือต้องลดภาระ โดยขอให้รัฐพิจารณาเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการรายเล็กและประชาชนบางส่วน โดยการลดค่าไฟให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และบ้านพัก 5% เป็นระยะเวลา 1 ปี ขณะเดียวกันขอให้ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรใหม่ เพื่อการผลิตในสินค้าที่ไทยผลิตเองไม่ได้ ให้เหลือ 0% เป็นระยะเวลา 1 ปี นอกจากนี้การที่รัฐใช้แนวทางดึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเข้ามา เพื่อเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือในการช่วยเศรษฐกิจฐานราก นอกจากนี้รัฐจำเป็นที่ต้องผลักดันให้แต่ละภาคถูกพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ ดึงการลงทุนเข้ามาเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยภาคเหนือควรถูกยกเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารและ Creative Economy เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน(NEEC) ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว อาหาร และLogistics Hub และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ให้เป็นเมืองอัจฉริยะและท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมฮาลาล

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-414443