‘ค้าปลีกไทยยักษ์ใหญ่’ เดินหน้าขยายอาณาจักรธุรกิจในเวียดนาม

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เผยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. เซ็นทรัล รีเทล ได้เปิดตัวศูนย์การค้า GO! ที่เมืองท้ายบิ่ญ (Thai Binh) ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 21.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ นายคริสเตียน โอลอฟสัน ประธานฝ่ายอสังหาริมทรัพย์ของเซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่าถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของบริษัทที่จะเปิดห้างสรรพสินค้าที่สวยงาม ท่ามกลางสถานการณ์ในปัจจุบัน และจะส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ พร้อมกับดูแลความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคและพนักงานทุกคน ทั้งนี้ นายนิกรเดช พลางกูร เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย เปิดเผยว่าการขยายตัวทางธุรกิจของศูนย์การค้า GO! ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างเวียดนามและไทย นอกจากนี้ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่ายอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือน พ.ย. อยู่ที่ราว 17.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สาเหตุสำคัญมาจากกำลังซื้อของคนในพื้นที่กลับมาฟื้นตัว

ที่มา : https://vir.com.vn/thai-retail-giant-continues-expansion-in-vietnam-89960.html

CBM อนุญาตให้ใช้เงินหยวน-จัต ซื้อขาย ในเขตชายแดนจีน-เมียนมา

ธนาคารกลางเมียนมา หรือ CBM ประกาศ อนุญาตให้ใช้หยวนหรือจัตในการทำธุรกรรมในขตชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนเพื่อสนับสนุนการค้าของสองประเทศ ซึ่งผู้ค้าชาวเมียนมาสามารถเปิดบัญชีที่ธนาคารที่กำหนดโดยสามารถชำระเงินหยวน-จัต ได้โดยตรง ทั้งนี้ธนาคารต้องปฏิบัติตามแนวทางการใช้เงินหยวนหรือจัดอย่างเคร่งครัดในการค้าขายข้ามพรมแดน โดยด่านข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมา และจีน 5 แห่ง ได้แก่ ด่านมูเซ ด่านลิวจี, ด่านชินฉ่วยฮ่อ, ด่านคามาไพติ และด่านเชียงตุง ซึ่งด่านมูเซ เป็นด่านชายแดนที่มีความสำคัญมากที่สุด จากข้อมูล พบว่า เมียนมามีมูลค่าการค้าข้ามแดนผ่านด่านมูเซ 4.057 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยเป็นการส่งออกมีมูลค่า 2.9 พันดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yuan-kyat-direct-trade-allowed-in-sino-myanmar-border-areas/

รัฐบาลเตรียมรับนักท่องเที่ยวครั้ง

รัฐบาลกำลังเตรียมที่จะเปิดประเทศลาวอีกครั้งโดยมีแผนจะเริ่มดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่บางแห่งของประเทศในขั้นต้น เรื่องนี้ได้มีการหารือกันในการประชุมของคณะกรรมการที่รับผิดชอบการท่องเที่ยวแบบ kickstarting โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจะกำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการการกลับมาของผู้มาเยือนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนในการสร้างความไว้วางใจในหมู่นักท่องเที่ยว ตลอดจนมาตรการรักษาความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องร่วมมือกับภาคธุรกิจในการเตรียมตัวอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นผู้นำในการให้ข้อมูลแก่ผู้มาเยี่ยมเยือน ตลอดจนให้รายละเอียดขั้นตอนในการยื่นขอวีซ่าและช่องทางการรับข้อมูล

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt246.php

รัฐบาลกัมพูชาเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจ SMEs ภายในประเทศ

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนที่จะจัดหาเงินทุนสำหรับการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจ SMEs วงเงินรวม 250 ล้านดอลลาร์ โดยการปล่อยสินเชื่อผ่านธนาคาร SMEs ของรัฐกัมพูชา ภายใต้โครงการร่วมทุนเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจ SMEs ในกัมพูชา ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจต่อไป ภายใต้กลยุทธ์การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ รัฐบาลได้ออกแบบไว้สำหรับการพัฒนาภาคส่วนที่ถูกลำดับความสำคัญเอาไว้ ซึ่งก่อนหน้าที่รัฐบาลได้ทำการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยการรีไฟแนนซ์ร่วม 2 รอบ เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบนวงเงินกว่า 200 ล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ 26 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ 21 แห่ง ธนาคารเฉพาะกิจ 1 แห่ง สถาบันไมโครไฟแนนซ์รับฝากเงิน 3 แห่ง และสถาบันการเงินรายย่อย 1 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50988554/government-plans-additional-250-million-for-smes/

รัฐบาลกัมพูชาทุ่มงบ 2.3 พันล้านดอลลาร์ บรรเทาวิกฤตโควิดเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชาทุ่มงบประมาณมากกว่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ ในการกระตุ้นและเยียวยาเศรษฐกิจ หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี โดย รมว.กระทรวงการคลัง แถลงข่าวไปเมื่อวานนี้ (14 ธ.ค.) ณ สำนักงานคณะรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลกัมพูชากำลังวางแผนกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนและปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะ 4 ภาคส่วน ที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคการท่องเที่ยว เสื้อผ้าและสิ่งทอ และภาคการผลิต รวมถึงสนับสนุนกลไกทางการเงินในภาคเอกชน ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมเงินสำหรับการปล่อยสินเชื่อวงเงินมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์ ผ่านทางธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของกัมพูชา (SMEs) บนอัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับภาคส่วนสำคัญบางกลุ่มในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50988679/govt-spends-over-2-3-bil-to-ease-economic-crisis/

ดุลยภาพใหม่ “ไทย-อาเซียน” รับ สหรัฐฯ ทัวร์ คว่ำบาตรโอลิมปิกจีน

การทำ “อาเซียน” และ “ไทย” ให้เป็น “ดุลยภาพใหม่” คือสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เคยพูดคุยที่ “สิงคโปร์” เพื่อรับมือการแข่งขันของประเทศมหาอำนาจระหว่าง “สหรัฐ-จีน” สร้างความสมดุล ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ 10 ประเทศสมาชิก โดยล่าสุดสหรัฐฯ มีแผนการมาเยือน 3 ประเทศ แกนหลักของ “อาเซียน” อย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย ของ “แอนโทนี บลิงเคน” รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ในระหว่าง 13 -16 ธ.ค.นี้ โดยเป้าหมายแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ เพราะบางประเทศก็กำลังจะมีการเลือกตั้ง ในขณะที่บางประเทศก็อยู่ระหว่างเปลี่ยนผ่าน โดยเป้าหมายแนะนำตัวอย่างเป็นทางการเพราะบางประเทศก็กำลังจะมีการเลือกตั้ง ในขณะที่บางประเทศก็อยู่ระหว่างเปลี่ยนผ่าน รวมถึงการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ กับประเทศในเอเชีย หวังแก้ปัญหาและปรับความเข้าใจ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/politics/977558

กระทรวงสาธารณะ เร่งการค้าข้ามพรมแดน

รัฐบาลกำลังร่วมมือกันเพื่อให้การดำเนินงานด้านศุลกากรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเร่งการค้าข้ามพรมแดน ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการและกลไกการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าข้ามพรมแดน MOU จัดให้มีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับข้อมูลศุลกากร (ASYCUDA) ระบบจะใช้ระบบนี้ที่จุดผ่านแดนเพื่อให้การตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และสม่ำเสมอมากขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงร่วมซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาโปรไฟล์ความเสี่ยงแบบบูรณาการเพื่ออัปโหลดเข้าสู่ระบบ ASYCUDA ทั้งนี้ MOU ดังกล่าวเป็นความคิดริเริ่มที่สำคัญซึ่งให้กรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานชายแดนเพื่อปรับปรุงการกวาดล้างชายแดนผ่านข้อตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าขององค์การการค้าโลก (WTO-TFA) ข้อตกลงนี้กำลังดำเนินการภายใต้กองทุน Multi-donors Trust Fund- โครงการการแข่งขันและการค้าของสปป.ลาว ซึ่งได้รับทุนจากธนาคารโลก รัฐบาลของออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministries_245_21.php

เวิลด์แบงก์ คาด GDP ไทยปี 65 ฟื้นโต 3.9% จาก 1% ในปี 64 ก่อนโตเพิ่ม 4.3% ปี 66

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประจำประเทศไทย ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 65 เป็น 3.9% จากเดิมที่คาดไว้ 3.6% ซึ่งเป็นการฟื้นตัวจากปี 64 ที่คาดว่าจะเติบโตได้ราว 1% ก่อนที่ปี 66 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% ขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 65 และ 66 ได้แรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของกิจกรรมภาคบริการ การบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่กลับมาเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 7 ล้านคนในปี 65 โดยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีและเพิ่มขึ้นอีกในปี 66 เป็นประมาณ 20 ล้านคนหรือประมาณครึ่งหนึ่งของระดับนักท่องเที่ยวในปี 62 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/154784

‘ธนาคารโลก’ ชี้เวียดนามควรเร่งฉีดวัคซีนและดำเนินนโยบายการคลัง เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ตามรายงาน “Vietnam Macro Monitoring” ของธนาคารโลก เปิดเผยว่าการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยควบคู่กับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างรวดเร็ว พร้อมกับการดำเนินนโยบายการคลัง คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้ สำหรับผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมดีดตัวขึ้นในเดือน พ.ย. หลังจากปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.5% แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการกลับมาฟื้นตัว และยังสะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจังหวัดภาคใต้

ทั้งนี้ ยอดจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเดือน พ.ย. ก็เพิ่มขึ้น 45% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสองเดือนติดต่อกัน นับจากเดือน พ.ค. นอกจากนี้ ประเด็นการส่งออก พบว่ายอดส่งออกเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 31.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้เกินดุลการค้า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือน พ.ย. เป็นผลมาจากการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นจาก 6.1% ในเดือน ต.ค. มาอยู่ที่ 26.5% ในเดือน พ.ย.

อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อแผนการฉีดวัคซีนแบบเร่งด่วน การใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและการกักกันโรค เพื่อลดความเสี่ยงของการระบาดระลอกใหม่

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/wb-push-for-rapid-vaccination-and-fiscal-policy-support-to-help-reboot-economy-911545.vov

‘ADB’ หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจมาเลเซียและเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจเวียดนามและมาเลเซียในปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสที่ 3 ขณะเดียวกันปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียลงมาสู่ระดับ 7.0% ในปีนี้ และ 5.3% ในปี 2565 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.1% และ 5.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ ตามรายงาน “Asian Development Outlook” ระบุว่าในกลุ่มประเทศเอเชีย จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง และระดับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ไวรัสตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “โอมิครอน” เสี่ยงคุกคามเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม คาดว่าจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.0% ในปีนี้ จากที่คาดการณ์เดิมที่ระดับ 3.8% ก่อนที่จะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของมาเลเซีย คาดว่าจะขยายตัว 3.8% ในปีนี้ และ 5.9% ในปีหน้า

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/ADB-slashes-Malaysia-and-Vietnam-annual-growth-forecasts