ราคาหัวหอมในประเทศพุ่ง ผลจากความต้องการของบังคลาเทศเพิ่มขึ้น

ความต้องการหัวหอมเมียนมาที่เพิ่มขึ้นจากบังกลาเทศ ทำให้ราคาหัวหอมในตลาดเมียนมาสูงขึ้น ในเดือนมี.ค.64 ราคาอยู่ระหว่าง 250-300 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกรัม) จากนั้นราคาก็แตะระดับต่ำสุดที่ 200 วอนต่อครั้ง จึงไม่สามารถส่งออกไปยังจีนได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ด้านบังคลาเทศมักจะนำเข้าหัวหอมจากอินเดีย แต่ในตอนนี้อินเดียได้ระงับการส่งออกหัวหอม ดังนั้นบังคลาเทศจึงหันนำเข้าจากเมียนมาแทน ส่งผลให้ ตอนนี้ราคาหัวหอมได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 จัตต่อ viss ปัจจุบันสต๊อกหัวหอมในตลาดมัณฑะเลย์ลดน้อยลง ดังนั้นราคาค้าปลีกจึงอยู่ที่ 700 จัตต่อ viss ปัจจุบันหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-onion-price-rises-due-to-demand-from-bangladesh/#article-title

เอกชนวอนรัฐบาลยกเลิกข้อจำกัดโรงงาน

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) ได้ขอให้คณะทำงานด้านโควิด-19 พิจารณาเปิดโรงงานในเมืองหลวงอีกครั้ง เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและเศรษฐกิจปัจจุบันจนถึงขณะนี้ โรงงานเหล่านี้ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอีกครั้งภายหลังการแพร่กระจายของไวรัสร้ายแรง หอการค้าอธิบายถึงความท้าทายที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและโรงงานผลิตอื่น ๆ เผชิญเนื่องจากการปิดตัวลง โดยชี้ให้เห็นว่านักลงทุนบางรายอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังกัมพูชาหรือบังคลาเทศ หากการระบาดของไวรัสยังดำเนินต่อไปอีกนาน ดังนั้นการผ่อนคลายนโยบายเกี่ยวกับโรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การปิดโรงงานที่เกิดจากการระบาดของโควิด ทำให้ธุรกิจต่างๆ สูญเสียโอกาสทางการตลาดและเงินที่จำเป็นในการรักษาการดำเนินงานของพวกเขา ด้วยโครงการฉีดวัคซีนที่กำลังดำเนินไปได้ดี การยกเลิกการจำกัดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวตาม LNCCI

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Private196.php

กัมพูชาส่งออกพริกไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 563%

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกพริกไทยมากกว่า 27,316 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 563 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรกัมพูชา โดยพริกไทยจำนวนนี้ส่งออกไปกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ เวียดนาม เยอรมนี ไทย ฝรั่งเศส เบลเยียม เป็นสำคัญ ตามรายงานสถิติ เวียดนามถือเป็นผู้นำเข้าพริกไทยรายใหญ่ของกัมพูชาด้วยจำนวน 26,686 ตัน ตามด้วยเยอรมนี 314 ตัน ไทย 180 ตัน ฝรั่งเศส 31 ตัน และเบลเยียมเกือบ 16 ตัน ซึ่งพริกไทยถูกปลูกอยู่ในหลายพื้นที่ของกัมพูชา โดยเฉพาะในจังหวัดกำปงจาม ตบูงขมุม กำปอต และแกบ ซึ่งพริกไทยที่ถูกปลูกในจังหวัดกำปอตถือเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาสูง โดยพริกไทยกัมพูชาได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากสหภาพยุโรป (EU) ในปี 2016 และจากองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2010

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50947511/pepper-exports-up-nearly-563-percent/

กัมพูชาฉีดวัคซีนให้กับประชากรแล้วกว่า 84.1%

ปัจจุบันยอดรวมการฉีดวัคซีนของประเทศกัมพูชา อยู่ที่ร้อยละ 84.10 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวันจันทร์ที่ผ่านมา (4 ต.ค.21) ที่อยู่ที่ร้อยละ 84.09 ของประชากรภายในประเทศ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโด๊ส อยู่ที่ 9,913,548 คน ในจำนวนนี้คิดเป็น 9,501,811 คน ได้รับการฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 โด๊ส รวมถึงได้ทำการฉีดบูสเตอร์หรือฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับกลุ่มนี้ไปแล้วกว่า 907,671 คน ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข แนวหน้าใน 7 จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย โดยได้รายงานเพิ่มเติมว่า 2 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 2,418 คน ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50947512/cambodia-has-vaccinated-84-10-percent-of-its-entire-population-against-covid-19/

‘ศักดิ์สยาม’ หารือ ‘สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน’ ร่วมมือภาคขนส่ง ยกระดับโครงข่ายคมนาคม-โลจิสติกส์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง Mr.Martin Hayes รองประธานสภาธุรกิจสหภาพยุโรป–อาเซียน และ Mr.Jan Eriksson ประธานสมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์ ประจำประเทศไทย และคณะเข้าพบ วันนี้ (6 ต.ค. 2564) ว่า ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อลดอุปสรรคการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ ได้มีการนำเสนอความคืบหน้าของโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และการพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ของไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รวมถึงการดำเนินงานเพื่อรองรับการเดินทางระหว่างประเทศในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ความปลอดภัยด้านคมนาคม การขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเป้าหมายและความมุ่งมั่นของกระทรวงคมนาคมที่จะขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านแนวนโยบายการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ อีกทั้งการสนับสนุนและส่งเสริมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในภาคการขนส่งครอบคลุมทางถนน ทางราง และทางน้ำ รวมทั้งนโยบายในการแก้ปัญหาการจราจร ทั้งการพัฒนาระบบ M-Flow

ที่มา : https://www.trjournalnews.com/35757

สรท.มั่นใจทั้งปี’64 ปิดจ๊อบส่งออก 12% จับตาปัญหาค่าระวางเรือ-โควิด หวั่นส่งผลระยะยาว

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ระบุภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนสิงหาคม 2564 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 21,976.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.93% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 715,416.40 ล้านบาท ขยายตัว 12.83% ทั้งนี้ สรท. มั่นใจว่าการส่งออกไทยในปี 2564 เติบโต 12% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ เศรษฐกิจประเทศคู้ค้าสำคัญฟื้นตัวต่อเนื่องและอุปสงค์ยังคงทรงตัวในระดับสูง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากที่สุดในระยะ 4 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1.สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงในประเทศ และการกระจายวัคซีนยังไมทั่วถึง 2.ค่าระวางเรือมีทิศทางทรงตัวในระดับสูงจนถึงปลายปี 2565 และ 3.ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ ชิป, เหล็ก ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2974556

ธนาคารโลกชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามชะลอตัว ตามอายุของประชากร

ตามรายงานภายใต้ชื่อ “เวียดนาม: การปรับตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย” ร่วมจัดจัดทำโดยธนาคารโลก (WB) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เวียดนามกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากรของสังคมผู้สูงวัยไปก่อนหน้าของการยกระดับเศรษฐกิจและรายได้ต่อหัวที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการเกิดที่ลดลงและอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุอาจมีสัดส่วนของประชากร 10-20% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2578 ในขณะที่ด้านการใช้จ่ายของสังคมสูงวัย จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.4-4.6% ของ GDP นอกจากนี้ เวียดนามจำเป็นต้องหาแนวทางจัดการกับสังคมผู้สูงวัย โดยอิงจากบทเรียนของประเทศอื่นที่เคยประสบปัญหากับการเปลี่ยนแปลงของประชากร โดยเฉพาะญี่ปุ่น ตลอดจนปรับปรุงกำลังแรงงานและดำเนินตามนโยบาย 4 ด้านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเติบโตของผู้สูงอายุ ได้แก่ ตลาดแรงงาน เงินบำนาญ สุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1052936/viet-nams-economy-to-slow-as-population-ages-wb-report.html

‘เวียดนาม’ เผยเดือน ก.ย. ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการ พุ่ง

ตามข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่ายอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการในเดือน ก.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากกิจกรรมการผลิตและการค้ากลับมาดำเนินได้ในบางพื้นที่ หลังสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยอดค้าปลีกและบริการในเดือนก่อนยังคงลดลง 28.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ กระทรวงฯ ชี้ว่าการระบาดของเชื้อไวรัส ระลอกที่ 4 นี้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตและการค้า โดยเฉพาะภาคใต้ที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ เช่น นครโฮจิมินห์, บิ่นห์เยือง, ด่งนายและลองอัน นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการทั้งประเทศ เดือน ม.ค.-ก.ย. มีมูลค่าอยู่ที่ 3.37 พันล้านดอง ลดลง 7.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/retail-sales-of-goods-services-inch-up-in-september/

กระทรวงเกษตรและป่าไม้ เตรียมส่งออกพืชผลไปจีน

กระทรวงเกษตรและป่าไม้หวังว่าจะใช้ประโยชน์จากการรถไฟลาว-จีน ซึ่งจะเปิดดำเนินการในเดือนธันวาคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่ากระทรวงกำลังแนะนำให้หน่วยงานด้านการเกษตรปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตของพืชผล 9 ชนิดเพื่อให้สามารถขายให้กับจีนได้หลังจากที่รัฐบาลลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทจีนในเดือนพฤษภาคมปีนี้ มีมูลค่ารวมกันกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อการรถไฟลาว-จีนเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม จะเป็นเส้นทางเชื่อมหลักระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งคาดว่าจะปรับปรุงการเชื่อมโยงทางการค้าและสนับสนุนกลยุทธ์ของสปป.ลาว โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระบุว่าตั้งแต่ปี 2558-2562 มูลค่าการส่งออกของลาวไปยังจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีและเมื่อรถไฟเริ่มดำเนินการ ก็จะเพิ่มมูลค่าการค้าให้ทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอีกระดับ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent /FreeConten_Ministry_195_21.php

ปีงบฯ 64-65 เมียนมา เร่งปลูกกาแฟบนพื้นที่กว่า 600 เอเคอร์ ในเขตซะไกง์

กรมวิชาการเกษตรเขตซะไกง์ เผย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 เขตซะไกง์เริ่มปลูกกาแฟในเดือนมิ.ย. 2564 มีการปลูกกาแฟโดยใช้พื้นที่ประมาณ 622 เอเคอร์ และกำลังส่งเสริมการปลูกกาแฟในพื้นที่ของนาคาเพราะได้ผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพสูงแต่กำลังประสบปัญหาด้านการขนส่ง ในปีนี้ มีพื้นที่ปลูกกาแฟในเขตซะไกง์รวม 35 เอเคอร์ อำเภอมอไล 18 เอเคอร์ อำเภอตะมู่ 16 เอเคอร์ในอำเภอ กะเล่ 103 เอเคอร์ อำเภอคำตี 132 เอเคอร์ พื้นที่ปกครองตนเองนาคา 260 เอเคอร์ อำเภอกะตา และ 44 เอเคอร์ในอำเภอกอลี่น ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรได้สร้างองค์ความรู้ในเรื่องการรักษาดิน การใช้ปุ๋ยธรรมชาติ วิธีการปลูก เพื่อให้สามารถเพิ่มพื้นที่ปลูก และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-600-acres-of-coffee-cultivated-in-sagaing-region-this-year/#article-title