โรงสีข้าว โรงงานยางพารา ในเมืองมะริด มีส่วนสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น

โรงสีข้าวโอเคยาดานา และ บริษัท โปลามินรับเบอร์อินดัสเตรียล โรงงานแปรรูปยางพารา ในอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี ยังคงเดินหน้าเปิดทำการ ซึ่งโรงสีข้าวโอเคยาดานายังคงเปิดรับซื้อข้าวเปลือกและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่ให้ผลผลิตสูงให้กับชาวนาในพื้นที่อีกทั้งยังใช้แกลบในการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วน บริษัท โปลามินรับเบอร์อินดัสเตรียล จำกัด โรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อการส่งออกไปยังจีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ยังรับซื้อยางจากเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทั้งโรงสีข้าว สวนยางพารา และโรงงานต่างๆ ได้สร้างโอกาสในการทำงานให้คนในท้องถิ่นได้มีรายได้เพื่อการยังชีพในครอบครัว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-mills-rubber-factories-contribute-to-livelihoods-of-local-people-in-myeik-district/#article-title

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) มองเศรษฐกิจลาวสามารถเติบโตท่ามกลางวิกฤตโควิด -19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) มองเศรษฐกิจลาวสามารถเติบโตท่ามกลางวิกฤตโควิด -19 และมาตรการปิดกั้นที่ส่งต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตามรายงงานแนวโน้มการพัฒนาเอเชียจัดทำโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในรายงานคาดว่าสปป.ลาวจะเติบโตได้ที่ร้อย 4.0 ในปี 2564 และร้อยละ 4.5 ในปี 2565 ADB ให้เหตุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตของภาคการเกษตรโดยเฉพาะปศุสัตว์ การเติบโตของอุตสาหกรรมที่ได้รับแรงหนุนจากการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น การลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เหมืองแร่และทรัพย์สินในเมืองคาดว่าในปี 2564 และ 2565 จะสร้างงานและกำลังซื้อของครัวเรือนจะสูงขึ้นภาคบริการในปีนี้จะได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวหลังจากโครงการทางด่วนเวียงจันทน์ – วังเวียงแล้วเสร็จ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมการบริการในประเทศอย่างไรก็ตามสปป.ลาวยังมคามท้าทายด้านสถานะการคลังที่ย่ำแย่สิ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้การเติบโตไม่เป็นไปตามกรอบที่วางไว้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_ADB81.php

จีนอนุมัติการส่งออกมะม่วงของกัมพูชาอย่างเป็นทางการ

จีนได้อนุมติให้กัมพูชาสามารถส่งออกมะม่วงที่ผลิตในท้องถิ่นของกัมพูชาและทำการแปรรูปในกลุ่มโรงงานขนาดเล็กที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ภายในประเทศกัมพูชาโดยจีน ซึ่งหน่วยงานบริหารทั่วไปของกรมศุลกากรจีน (GACC) อนุมัติโรงงานแปรรูปมะม่วง 5 แห่ง และสวนมะม่วงจำนวน 37 แห่ง อย่างเป็นทางการ โดย GACC ได้ทำการประกาศในสัปดาห์นี้และเปิดเผยรายชื่อโรงงานที่ได้รับอนุมัติได้แก่ Hyundai Mao Legacy Co Ltd., Shangda Jian Hui International Agriculture Product and Logistics Co Ltd., Al Jazeelan Food PTE Ltd., Long Wo Agriculture (Cambodia) Co Ltd. และ Boeung Ket Fresh Fruits Co Ltd. ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วเจ้าหน้าที่ของจีนและกัมพูชาได้ร่วมกันประเมินฟาร์มและโรงงานแปรรูปหลายแห่งเพื่อประเมินถึงความสามารถในการผลิตมะม่วงเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีนได้หรือไม่ โดยทั้งจีนและกัมพูชาได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งคาดว่าการส่งออกมะม่วงของกัมพูชาจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ภายใต้สนธิสัญญาการค้าฉบับใหม่

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50846766/mangoes-receive-official-approval-for-export-to-china/

รัฐบาลกัมพูชาเตรียมอนุมัติให้โรงงานตัดเย็บในเขตพื้นที่สีเหลืองกลับมาเปิดอีกครั้ง

รัฐบาลกัมพูชาระบุว่าโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและโรงงานผลิตด้านอื่น ๆ ในเขตพื้นที่สีเหลือง ได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดดำเนินกิจการใหม่ได้อีกครั้งในวันที่ 29 เมษายน 2021 ดังประกาศของรัฐบาลกัมพูชาที่ได้กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการทำงาน อาชีพ และธุรกิจทั้งหมดที่อยู่ในเขตพื้นที่สีเหลือง อนุญาตให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าทุกแห่งในพนมเปญและเมืองตาเขมาจังหวัดกันดาล ถูกสั่งให้หยุดดำเนินการเมื่อต้นเดือนนี้ หลังจากพบว่ามีคนงานหลายพันคนติดโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50846999/yellow-zone-garment-factories-may-re-open-but-with-caution/

‘ไทย’ ท็อป 3 อีคอมเมิร์ซอาเซียน

ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) ได้ประกาศผลการจัดอันดับ B2C หรือ Business-to-Customer e-Commerce ประจำปี 2563 ซึ่งเป็นการวัดความพร้อมทางเศรษฐกิจเพื่อตอบโจทย์การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Commerce จาก 152 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่ได้รับการจัดอันดับให้มีความพร้อมสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ สวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 42 ติดท็อป 10 ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย จากการจัดอันดับดังกล่าว พบว่า ประเทศไทยโดดเด่นในด้านความเชื่อมั่นการขนส่งไปรษณีย์ (Postal Reliability Index) โดยได้คะแนนสูงถึง 97 คะแนน เท่ากับคะแนนของสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมกันนี้ ประเทศไทยยังโดดเด่นในด้านจำนวนการเปิดบัญชีธนาคาร หรือมีบัญชีธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐานของการเติบโตของอีคอมเมิร์ซด้วย ความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเด็นด้านนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล กฎระเบียบและระบบต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้กับผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/935012

EDL-Generation Plc (EDL-Gen ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่สปป.ลาว กำลังมองหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ

บริษัทใหญ่ EDL-Generation Plc (EDL-Gen) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของสปป.ลาว กำลังมองหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรวม 25% เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2,435 เมกะวัตต์ภายในปี 2572 จาก 1,949 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน EDL-Generation Plc (EDL-Gen) มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายของรัฐบาลสปป.ลาวในการเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ผ่านโรงไฟฟ้าพลังน้ำซึ่งสามารถผลิตได้มากถึง 30,000 เมกะวัตต์ทั่วประเทศอีกทั้งบริษัท กำลังส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาร์ มาเลเซียและสิงคโปร์ซึ่งเป็นตลาดใหม่ของสปป.ลาวผ่านโครงการ “Asean Power Grid” EDL-Gen ไม่เพียงแค่สริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในอาเซียน แต่ยังมุ่งมันที่จะพัฒนาพลังงานควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมที่ดีอีกด้วยตามแนวทางของรัฐบาลที่วางไว้

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/2106631/lao-power-generation-firm-seeking-partners-to-boost-capacity

“EXIM BANK” ออกสินเชื่อวงเงิน 20 ล.ดอกเบี้ย 3.99% ช่วย SMEs ใน CLMV

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ธสน. ได้ดำเนินการออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SMEs) ใน ตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งประกอบด้วยมาตรการสินเชื่อ CLMV อุ่นใจ เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการไทยใน CLMV ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (Covid-19) และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.99% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 ปี ใช้เพียงหนังสือค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคลค้ำประกันได้ ทั้งนี้ ตลาด CLMV ไต่อันดับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 CLMV เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 4 ของไทย รองจากสหรัฐฯ อาเซียนเดิม 5 ประเทศ และจีน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี จากการติดตามสถานการณ์ความไม่สงบภายในเมียนมาอย่างใกล้ชิดและประเมินผลกระทบต่อลูกค้า ผู้ประกอบการไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากการชำระเงินล่าช้าและการชะลอคำสั่งซื้อของคู่ค้าในเมียนมา EXIM BANK จึงได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านมาตรการต่าง ๆ ตามความจำเป็นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/477549

‘CPTPP’ เปิดโอกาสดันส่งออกเวียดนามไปตลาดสหรัฐฯ

จากงานสัมมนา “CPTPP – โอกาสส่งออกเวียดนามในตลาดสหรัฐฯ” เมื่อวันที่ 27 เมษายน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเวียดนามและสหรัฐฯ เติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ที่มีผลบังคับใช้ในเวียดนามเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562 ซึ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกนั้น การค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐ อยู่ที่ 111.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 2562 ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวในกลุ่มประเทศ CPTPP โดยเฉพาะแคนาดา ชิลี เม็กซิโกและเปรู อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีช่วยฯ แนะให้บริษัทเวียดนามทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิก เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและกระจายตลาดส่งออกและสินค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cptpp-opens-up-prospects-for-vietnams-exports-to-the-americas/200708.vnp

ข้าวพันธุ์เวียดนาม “ST25” เป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก แต่เผชิญกับความเสี่ยงกับการสูญเสียแบรนด์

เครื่องหมายการค้า “สายพันธุ์ข้าว ST25” ของเวียดนาม ถือเป็นข้าวหอมที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2562 มีแนวโน้มที่จะตกไปอยู่กับมือนักธุรกิจชาวอเมริกันในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทเวียดนามดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าล่าช้า ข้อเท็จจริงดังกล่าว ชี้ว่ามีจำนวนบริษัทสหรัฐฯ 5 แห่งอยู่ในขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสายพันธุ์ข้าว ST25 สิ่งนี้ได้ส่งสัญญาเตือนไปยังบริษัทในท้องถิ่นให้ปกป้องสินค้าเกษตรของเวียดนามในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ คุณ Nguyen Tri Hieu นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าสินค้าส่งออกทางการเกษตรของเวียดนามในตลาดโลกนั้น ยังมีสินค้าอีกจำนวนมากที่ตามหลังประเทศอื่น ในประเด็นของความน่าเชื่อถือของตราสินค้า สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการจดทะเบียนแบรนด์และทรัพย์สินทางปัญญายังคงเป็นจุดอ่อนของผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนาม

ที่มา : http://hanoitimes.vn/local-enterprises-urged-to-learn-from-potential-loss-of-st25-rice-brand-in-us-317118.html

HLH ร่วมกับ CMEC พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 200 เมกะวัตต์ในกัมพูชา

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Hong Lai Huat Group Ltd (SGX: CTO) และ China Machinery Engineering Corp (HKG: 1829) หรือ CMEC ได้ร่วมมือกันพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 200 เมกะวัตต์ที่ Aoral Eco-City ในกัมพูชา โดย HLH และ CMEC ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน (MoU) เพื่อสร้างนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) และทำงานร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาตามที่ผู้จัดการทั่วไปและกรรมการบริหารของ HLH ได้กล่าวไว้ โดย Aoral Eco-City เป็นโครงการ “การพัฒนาเมืองเชิงนิเวศเกษตรผสมผสานขนาดใหญ่” ที่พัฒนาโดย HLH ภายในกัมพูชา ด้วยการสร้างสวนพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง CMEC จะเป็นฝ่ายกำหนดโซลูชันที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรสำหรับโครงการนี้ เมื่อเสร็จสิ้นสวนพลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถขายไฟฟ้าให้กับ Electricite du Cambodge (EDC) ของรัฐ

ที่มา : http://khmertimeskh.com/50846094/hlh-cmec-to-co-develop-200-mw-solar-project-in-cambodia/