ฮุน เซน คาดเศรษฐกิจกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 3 ในปีนี้

นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน คาดเศรษฐกิจกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 3 ในปีนี้ อันเนื่องมาจากการเติบโตของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดย ฮุน เซน ได้กล่าวไว้ในพิธีการเปิดสะพาน Stung Trang-Krouch Chhmar ในวันที่ 23 พ.ย. ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวแล้ว หลังจากเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ซึ่ง ฮุน เซน กล่าวเสริมว่าหากอีก 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมดำเนินไปได้ด้วยดี จะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาขยายตัวได้ถึงประมาณร้อยละ 3 ภายในสิ้นปีนี้ โดยในปีงบประมาณ 2022 รัฐบาลคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.4 โดยฟื้นตัวจากในปี 2020 ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตโควิด-19 โดยภาคบริการซึ่งส่วนใหญ่คือภาคการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบมากที่สุด คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เนื่องจากรัฐบาลอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนเดินทางมายังกัมพูชาโดยไม่ต้องกักตัว ซึ่งคาดว่าภาคส่วนนี้จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50976291/economic-growth-revised-to-3-percent-this-year/

คู่ค้ารายใหญ่โลก “อาเซียน-จีน” ร่วมลงทุน 3 แสนล้านดอลลาร์

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (ASEAN) ได้กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการลงทุนขาออกที่สำคัญของจีนและแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้ก่อตั้งความสัมพันธ์จีน-อาเซียน เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ด้วยการลงทุนร่วมกันเกิน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างทั้งสองฝ่าย นักลงทุนในอาเซียนได้เห็นโอกาสในจีน ซึ่งในปี 2020 การลงทุนของวิสาหกิจจีนในกลุ่มประเทศอาเซียนสูงถึง 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 1.059 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน การลงทุนของกลุ่มอาเซียนในจีนแผ่นดินใหญ่ก็มีการลงทุนมูลค่าสูงถึง 7.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี สำหรับช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ การลงทุนจากอาเซียนเพิ่มขึ้น 39% สู่ระดับ 7.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (2021) ปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 7.03 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 30% และคาดว่าตัวเลขปีนี้จะกลายเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่

ที่มา : https://www.banmuang.co.th/news/inter/259800

พาณิชย์ เผย 10 เดือนแรกไฟเขียวต่างชาติลงทุนในไทย 213 ราย จ้างงานกว่า 5 พันคน

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.64) คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 213 ราย เงินลงทุนรวมกว่า 11,554 ล้านบาท เกิดการจ้างงานคนไทยกว่า 5,000 คน ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 82 ราย คิดเป็น 38% สิงคโปร์ 33 ราย คิดเป็น 15% และฮ่องกง 20 ราย คิดเป็น 9%

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/148468

‘ยอดการค้าเวียดนาม-สหรัฐฯ’ มีโอกาสแตะ 100 พันล้านเหรีญสหรัฐ ปีนี้

การค้าระหว่างประเทศเวียดนาม-สหรัฐฯ มีแนวโน้มแตะ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่า 221 เท่าเมื่อเทียบกับตัวเลขในปี 2538 เมื่อทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ระดับปกติ นาย Hoang Quang Phong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) กล่าวในที่ประชุมเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ ภายใต้บริบทใหม่ ว่าแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อหวงโซ่อุปทาน แต่ในปี 2563 ถือเป็นปีแรกที่ยอดการค้าทวีภาคีระหว่างเวียดนาม-สหรัฐฯ มีมูลค่ามากกว่า 90 พันล้านเหรียญสหรัฐ

อีกทั้ง ปัจจัยทางการค้าถือเป็นเสาหลักสำคัญของความสัมพันธ์การค้าระหว่างเวียดนาม-สหรัฐฯ โดยเวียดนามสนใจที่จะทำธุรกิจในตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากจำนวนผู้บริโภคมีขนาดใหญ่กว่า 100 ล้านคน ประกอบกับนโยบายที่เปิดกว้าง มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับตลาดอาเซียนผ่านข้อตกลงการค้าเสรี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-us-trade-likely-to-reach-100-billion-usd-this-year/215948.vnp

‘เวียดนาม’ เผยสินค้าส่งออกหลัก 7 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. เปิดเผยว่าสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม จำนวน 7 รายการที่มีมูลค่าการส่งออกแต่ละรายการ มากกว่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากธุรกิจกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง โดย 2 สัปดาห์แรกของเดือน พ.ย. เวียดนามมีมูลค่าส่งออก 14.61 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ยอดการส่งออกรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ต้นปีนี้ แตะ 284.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี

โดยเฉพาะสินค้าประเภทเหล็กและเหล็กกล้าที่เข้าร่วมรายการสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นครั้งแรก ตามมาด้วยโทรศัพท์และชิ้นส่วน, คอมพิวเตอร์และส่วนประกเอบ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องจักร, เสื้อผ้าและสิ่งทอ, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ ทั้งนี้ โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ ทำรายได้จากการส่งออกสูงที่สุด ด้วยมูลค่า 48.8 และ 43.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ รองลงมาเครื่องจักร เสื้อผ้า ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ เป็นต้น

ที่มา :  https://english.vov.vn/en/economy/seven-commodities-with-export-value-hitting-over-us10-billion-each-906875.vov

สปป.ลาวเล็งเห็นรายได้จากแร่ 463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หวังผลักดันเพิ่มขึ้น

สปป.ลาวคาดว่าจะมีรายได้ 463 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จากการขายแร่ทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก หลังจากมีรายได้ 1.464 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2564 แร่ธาตุที่ผลิตในช่วงเก้าเดือนแรกของปีมีมูลค่า 12.601 ล้านล้านกีบ (1.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในขณะที่ตัวเลขตลอดทั้งปีจะสูงถึง 15.889 ล้านล้านกีบ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปี 2568 รัฐบาลสปป.ลาวคาดว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์แร่มูลค่า 7.832 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4% จากห้าปีที่ผ่านมา ในอนาคตรัฐบาลหวังที่จะเพิ่มความสามารถในการแปรรูปแร่ของประเทศเพิ่มอีกเพื่อลดจำนวนแร่ดิบที่ส่งออก หวังเพิ่มมูลค่าด้วยการส่งออกแร่แปรรูป

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/11/23/laos-to-see-mineral-earnings-of-usd-463-million-in-fourth-quarter/

ระบบการจัดการข้อมูลทรัพยากรที่ดิน (LRIMS) อนาคตการเกษตรของสปป.ลาว

มองไปในอนาคตเกษตรกรรมลาวจะได้รับประโยชน์จากระบบการจัดการข้อมูลทรัพยากรที่ดิน (LRIMS) ซึ่งสามารถคาดการณ์โดยละเอียดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยโปรแกรมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ Global Environment Facility (GEF) ที่มุ่งหวังให้การเกษตรสปป.ลาวเติบโตไปได้ในอนาคตโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อเกษตรกรในการวางแผนอนาคตของการเพาะปลูก LRIMS ได้รับการพัฒนาโดยกรมการจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (DALaM) ของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เครื่องมือดังกล่าวเป็นแกนหลักของข้อมูลทางการเกษตรสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงการหาปริมาณของผลิตภาพที่ดิน และข้อมูลสำคัญหลายประการสำหรับการวางแผนการลงทุนทางการเกษตรและในชนบท

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/11/23/mapping-present-future-of-lao-agriculture-land-use-insights-with-lrims/

25 พ.ย. 64 พร้อมเปิดชายแดนเมียนมา-จีน (Kyinsankyawt)

วันที่ 22 พฤศจิกายน การค้าผ่านแดนจะเริ่มทดสอบโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในช่วงบ่ายเป็นเวลาสามวัน หากการทดสอบเสร็จสิ้นลงแล้ว จะกลับมาเปิดดำเนินการในวันที่ 25 พ.ย. ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งรถบรรทุกสินค้าประมาณ 10,000 คันซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้าในด่านมูเซ 105 ไมล์ จะถูกวิ่งเพื่อทำการทดสอบก่อนก่อน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 2564 จีนได้ปิดชายแดน (Kyinsankyawt, Wamting) หลังแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ส่งผลให้คนงานราว 400,000-600,000 คนต้องตกงาน นอกจากนี้ ผู้ค้าจากด่านชายแดนมูเซยังสูญเสียรายได้จากการปิดด่านในครั้งนี้ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติของเมียนมาไปยังจีนยังดำเนินการผ่านพรมแดนมูเซ-รุ่ยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบ CMP เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-kyinsankyawt-border-post-to-resume-operations-on-25-nov/#article-title

ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างจีน-กัมพูชา มีผลบังคับ 1 ม.ค. 2022

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ลงนามระหว่างจีนและกัมพูชาจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2022 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ (MOC) โดยข้อตกลงซึ่งลงนามอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2020 ที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในการค้าสินค้าระหว่างจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าร้อยละ 90 สำหรับทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในการลงทุนอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตามแผนริเริ่ม the Belt and Road Initiative, อีคอมเมิร์ซ และภาคเศรษฐกิจโดยรวม ตามกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50975664/china-cambodia-fta-to-take-effect-on-jan-1-2022/

AMRO คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาปีนี้โต 2.8%

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียน+3 (AMRO) ระบุว่า เศรษฐกิจของกัมพูชาจะกลับมาฟื้นตัวจากการหดตัวที่ร้อยละ 3.1 ในปีที่แล้ว หลังจากการรณรงค์ฉีดวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศประสบความสำเร็จ ทำให้โรงงานต่างๆ สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้งและผ่อนคลายปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นส่วนช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออกของกัมพูชา โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคาดว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในปีนี้ AMRO คาดว่ากัมพูชาจะเติบโตร้อยละ 2.8 นำโดยภาคการผลิตที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากความต้องการเสื้อผ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกฟื้นตัว ซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีผู้ติดเชื้อจากโควิด-19 โดยเฉลี่ย 47 คนต่อวัน โดยประชากรกว่าร้อยละ 86 ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วนแล้ว รวมถึงรัฐบาลได้ขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้จาก 719 ล้านดอลลาร์เป็น 1.454 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายมากภายในประเทศให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50975264/economy-to-grow-2-8-percent-this-year-amro-says/