‘เวียดนาม’ เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ม.ค. เพิ่มขึ้น 0.4%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) ของเวียดนาม เดือนมกราคม 2568 ลดลง 9.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) โดยเมื่อพิจารณาสาขาการผลิตภาคอุตสาหกรรม เห็นได้ว่าการผลิตและแปรรูป ขยายตัว 1.6%YoY ตามมาด้วยการผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้า ขยายตัว 0.4% การประปา การจัดการขยะและการบำบัดน้ำเสีย ขยายตัว 9.2% ในขณะที่ภาคการเหมืองแร่ ลดลง 10.4%

ทั้งนี้ การผลิตอุตสาหกรรมหลักของประเทศในเดือนมกราคม พบว่าการผลิตยานยนต์ เพิ่มขึ้น 33.8% ขณะที่การผลิตเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้น 10.6% และการผลิตเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 10.3% การผลิตอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และการผลิตอาหาร เติบโตเล็กน้อยที่ 3.8% และ 2.1% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตยา ปรับตัวลดลง 29.1% การทำเหมืองถ่านหิน 20.1% และการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า 11.5%

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-industrial-production-inches-up-04-in-january-post309588.vnp

ธนาคารกลางเมียนมา อัดฉีดเงิน 23 ล้านเหรียญเข้าสู่ภาคส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ประกาศเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 ว่าจะอัดฉีดเงิน 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ภาคส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางเมียนมา ขายเงิน 490,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และ 500,000 หยวน มากกว่าเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 105,900 หยวน และเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 500,000 หยวน สำหรับในเดือนมกราคม 2025 ที่ผ่านมาธนาคารกลางเมียนมา อัดฉีดเงิน 124 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 13.8 ล้านบาท และ 4.8 ล้านหยวน เข้าสู่ตลาดการเงิน อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางเมียนมา มีเป้าหมายที่จะควบคุมความไม่มั่นคงในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการลดค่าเงิน ตามประกาศของ ธนาคารกลางเมียนมา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 ธนาคารได้ร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามและดำเนินคดีผู้ที่พยายามบิดเบือนตลาดสกุลเงินภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ รวมถึงอนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) ดำเนินการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศออนไลน์ได้อย่างอิสระตามอัตราตลาดขึ้นอยู่กับอุปทานและอุปสงค์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2566

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/cbm-to-pump-23m-into-fuel-oil-sector/#article-title

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ชวนนักธุรกิจขยายเครือข่าย MSME

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เมียนมา กล่าวถึง งานมหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระดับสหภาพครั้งที่ 78 ซึ่งจะจัดขึ้นใกล้กับเจดีย์อุปปาตสันติ เมืองเนปิดอว์ ระหว่างวันที่ 10 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานการเข้าถึงตลาดในประเทศ หน่วยงานสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ และหน่วยงานจัดหาเงินทุนเพื่อเข้าร่วมการจับคู่ธุรกิจ วาระการประชุมจะประกาศไว้ในเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ โดยวัตถุประสงค์ของงานมหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระดับสหภาพครั้งนี้คือเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ส่งเสริมผลิตภัณฑ์หนึ่งภูมิภาคหนึ่งผลิตภัณฑ์จากแต่ละภูมิภาคและรัฐ มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองของสินค้าที่จำหน่ายได้ กระตุ้นการส่งออก สำรวจผลิตภัณฑ์และตลาดที่มีศักยภาพใหม่ และขยายตลาดในต่างประเทศ

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/moc-invites-businesspeople-to-grow-msme-network/

งาน MSME Expo ระดับสหภาพฯ เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงในประเทศและส่งออก

คณะกรรมการกลางเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะจัดนิทรรศการและการแข่งขันผลิตภัณฑ์ MSME ระดับสหภาพระหว่างวันที่ 10 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของประมุขแห่งรัฐ ธุรกิจ MSME ไม่ควรตอบสนองความต้องการในประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องผลิตสินค้าคุณภาพสูงที่เหมาะสำหรับการส่งออกด้วย และเพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ MSME ในประเทศคุณภาพสูงใหม่ จึงเพิ่มเติมกระบวนการคัดเลือกและมอบรางวัล นำโดยรองรัฐมนตรี U Myint Soe ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะอนุกรรมการคัดเลือกและมอบรางวัล อย่างไรก็ดี ปัจจุบันการแข่งขันกำลังจัดขึ้นที่กระทรวงสหกรณ์และการพัฒนาชนบทระหว่างวันที่ 7 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีเจ้าของธุรกิจทั้งหมด 193 ราย จากรัฐและภูมิภาคต่างๆ เข้าร่วมการแข่งขัน และมีการมอบรางวัลผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก 29 ราย รางวัลผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก 34 ราย รางวัลผลิตภัณฑ์ขนาดกลาง 28 ราย รางวัลหนึ่งภูมิภาคหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OROP) 35 ราย นอกจากนี้ ยังมีรางวัลสหกรณ์การผลิตเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน 25 แห่ง และรางวัลหัตถกรรมขนาดเล็กและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 42 แห่ง และจะมีการมอบรางวัลทั้งหมด 31 รางวัลใน 6 ประเภท และจะประกาศผู้ชนะในพิธีมอบรางวัลในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ณ สถานที่จัดนิทรรศการ

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/union-level-msme-expo-to-promote-high-quality-domestic-and-export-ready-products/#article-title

กัมพูชา-สปป.ลาว ตกลงขยายความสัมพันธ์ด้านการประกันภัย

หน่วยงานกำกับดูแลการประกันภัยของกัมพูชา (IRC) และกรมวิสาหกิจและการกำกับดูแลการประกันภัย (SOEI) กระทรวงการคลังของ สปป.ลาว ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เมื่อวานนี้ (4 ก.พ.) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการประกันภัย โดยในพิธีลงนามจัดขึ้น ณ อาคารสำนักงาน Non-Bank Financial Services Authority ในกรุงพนมเปญ โดยมี Bou Chanphirou ผู้อำนวยการทั่วไปของ IRC และ Phaitoun Thienglamay ผู้อำนวยการทั่วไปของ SOEI เป็นผู้ลงนาม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมในพิธีลงนามประกอบด้วยผู้บริหารของ NBFSA ผู้กำกับดูแลภายใต้ NBFSA สมาคมประกันภัยกัมพูชา และบริษัทประกันภัยต่างๆ โดย MoU ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้กำกับดูแลการประกันภัยทั้งสองรักษากลตลาดประกันภัยที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ปลอดภัย และมีเสถียรภาพใน สปป.ลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา นอกจากนี้ ยังกำหนดกรอบการทำงานที่มุ่งเน้นการสนับสนุนซึ่งกันและกันผ่านความช่วยเหลือ การสร้างขีดความสามารถฉุกเฉิน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการประกันภัยและที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนด รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการจัดตั้งผู้รับประกันภัยต่อแห่งชาติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501634556/cambodia-laos-agree-to-amplify-insurance-ties/

กระทรวงคมนาคมและยูเนสโกเห็นพ้องที่จะยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกัมพูชา

กระทรวงการท่องเที่ยว (MoT) และองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในกัมพูชา ได้ให้คำมั่นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (3 ก.พ.) ถึงการเสริมสร้างความร่วมมือในภาคการท่องเที่ยวโดยการเชื่อมโยงในด้านต่างๆ และพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีอยู่ รวมถึงพื้นที่ธรรมชาติ และเมืองอื่นๆ ซึ่งคำมั่นสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมอย่างเป็นทางการระหว่าง Huot Hak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และ Sardar Umar Alam ผู้แทนยูเนสโกประจำกัมพูชา ขณะที่ Hun Dany เลขานุการรัฐมนตรีและโฆษกของ MoT ได้แบ่งปันมุมมองเชิงลึก รวมถึงเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนและยกระดับภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา โดยจากข้อมูลของ Dany การประชุมนี้มีส่วนสำคัญในการจัดทำแนวทางใหม่ๆ เพื่อเพิ่มเสน่ห์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชาที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มรดก และประวัติศาสตร์ ซึ่งดึงดูดผู้ที่ต้องการสำรวจประเพณีและประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501634546/mot-and-unesco-agree-to-beef-up-tourism-cooperation/

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ณ สนามบินนานาชาติกัมพูชาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2024

รายงานจากกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าในปี 2024 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมายังสนามบินนานาชาติทั้งสามแห่งของกัมพูชาประมาณ 2.39 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 28.4 จากจำนวน 1.86 ล้านคนในปี 2023 โดยการเพิ่มขึ้นล่าสุดของนักท่องเที่ยวต่างชาตินี้ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งสนามบินนานาชาติพนมเปญให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 1.75 ล้านคนในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 จากปีก่อน ขณะที่สนามบินนานาชาติเสียมราฐอังกอร์ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 615,126 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 จากปีก่อนหน้า และสนามบินนานาชาติพระสีหนุให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวถึงร้อยละ 85.5 หรือคิดเป็นจำนวน 29,228 คน ตามรายงาน ด้าน Sinn Chanserey Vutha รัฐมนตรีช่วยและโฆษกของสำนักเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐานของสนามบินเพื่อรองรับความต้องการของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501634554/airports-see-record-footfall-of-foreign-tourists-in-2024/

CDC เร่งทบทวนโครงการลงทุนใหม่ 12 โครงการในกัมพูชา

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (CIB) ของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้จัดการประชุมในวันอังคารที่ผ่านมา (4 ก.พ.) เพื่อทบทวนและหารือเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนโครงการลงทุนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจำนวน 12 โครงการ นำโดย Chea Vuthy เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงฝ่ายบริหารจังหวัดเข้าร่วมด้วย โดยโครงการลงทุนทั้ง 12 โครงการนี้ มีมูลค่าทุนรวมประมาณ 135 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะสร้างงานได้ประมาณ 7,000 ตำแหน่ง ครอบคลุม 11 สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตอุปกรณ์การแพทย์ การประกอบและติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน การแปรรูปโลหะ การผลิตไฟฉาย การผลิตโครงสร้างโลหะ เครื่องมือโลหะกรรมต่างๆ การตัดเย็บเสื้อผ้า การย้อมสี และหนึ่งโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการเหล่านี้ตั้งอยู่ในจังหวัด Kampong Speu, Takeo, Kandal, Kampot และ Kampong Chhnang

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501634840/cdc-is-reviewing-12-investment-projects-worth-135m/

‘อีคอมเมิร์ซเวียดนาม’ แข่งเดือด กระทบยอดสั่งซื้อออนไลน์ ดิ่ง 20%

จากรายงานตลาดอีคอมเมิร์ซของ Metric ประจำปี 2567 เปิดเผยว่ารายได้ของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในเวียดนาม 5 อันดับแรก ได้แก่ Shopee, Lazada, TikTok Shop, Tiki และ Sendo มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 318.9 ล้านล้านด่อง เพิ่มขึ้น 37.36% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยตลาดอีคอมเมิร์ซของเวียดนามมีการเติบโตอย่างโดดเด่นมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงกำลังซื้อของคนเวียดนามเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ยอดคำสั่งซื้อของร้านค้าออนไลน์ กลับปรับตัวลดลง 20.25% แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ผู้ค้าปลีกรายย่อยจำนวนมาก จำเป็นที่จะต้องออกจากตลาดออนไลน์ ทั้งนี้ จากตัวเลขจำนวนร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Shopee ในปี 2567 ลดลง 86,300 แห่ง ตามมาด้วย TikTok Shop 55,300 แห่ง Lazada 7,000 แห่ง Tiki 800 แห่ง และ Sendo 15,500 แห่ง

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-s-e-commerce-sector-20-of-online-shops-lose-customers-2369502.html

‘ศึกทุเรียน’ เวียดนาม-ไทย แข่งเดือดชิงตลาดส่งออกจีน

จีนยังคงเป็นผู้บริโภคทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยสัดส่วนสูงถึง 91% และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกหลายราย รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เข้ามาแข่งขันสูงขึ้นในการส่งออกทุเรียนไปยังจีน อย่างไรก็ดี ทุเรียนไทยที่เป็นผู้นำตลาดนี้ เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม

ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติ พบว่าการส่งออกทุเรียนเวียดนามไปยังตลาดจีนในกลางปี 2565 เติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นผลมาจากการลงนามข้อตกลงระหว่างเวียดนาม-จีน ทำให้มูลค่าการส่งออกในปี 2565 อยู่ที่ 421 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นมาอยู่ที่ 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า ด้วยเหตุนี้ ส่วนแบ่งตลาดทุเรียนของเวียดนามในตลาดจีน เพิ่มขึ้นจาก 5% ในปี 2565 ขึ้นมาอยู่ที่ 35% ในปี 2566

นอกจากนี้ ทางการไทยได้เตือนว่าทุเรียนไทยเผชิญกับความท้าทายในอนาคต เนื่องจากการส่งออกทุเรียนเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนเวียดนาม มีแนวโน้วที่จะเท่ากับทุเรียนไทยในระยะเวลาไม่ถึง 1-2 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-thailand-in-fierce-competition-exporting-durian-to-china-2369200.html