‘ก.คลัง’ ปัดข้อเสนอเพิ่ม VAT

กระทรวงการคลัง (MoF) ปัดข้อเสนอขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของประชาชนและธุรกิจในครัวเรือน มูลค่า 300 ล้านดองเวียดนาม หรือประมาณ 12,500 เหรียญสหรัฐ ต่อปี เนื่องมาจากกังวลว่าหากปรับขึ้นภาษีแล้ว จะส่งผลให้ธุรกิจในครัวเรือนแปรสภาพมาเป็นวิสาหกิจหรือกิจการ โดยจากการร่างกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับนี้ กระทรวงฯ เสนอให้คงอัตราของประชาชนและธุรกิจในครัวเรือนที่มีรายได้เกินกว่า 150 ล้านดองต่อปี จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มขึ้น 50 ล้านดองจากระดับเดิม ทั้งนี้ จากการประชุมครั้งล่าสุดเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางด้านตัวแทนของจังหวัดกว๋างหงายได้เสนอให้เพิ่มอัตราเป็น 300 ล้านดอง ในขณะที่หน่วยงานอื่นๆ เสนอระดับที่ต่ำกว่า โดยกระทรวงคมนาคมเสนอ 250 ล้านดอง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1651252/ministry-of-finance-rejects-proposal-to-raise-vat-threshold.html

ทุเรียนกลายเป็น ‘ผลไม้ทอง’ ส่งออกของเวียดนาม

จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 110,000 เฮคเตอร์ และผลผลิตประมาณ 850,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เพาะปลูกอยู่ในพื้นที่ราบสูงตอนกลาง คิดเป็นสัดส่วนราว 47% ของพื้นที่ทั้งหมด และสาเหตุที่ทำให้เวียดนามผลักดันการส่งออกทุเรียน เนื่องมาจากมีความได้เปรียบทางด้านการตั้งราคาขายสูงและความต้องการนำเข้าของตลาดต่างประเทศ ทำให้ทุเรียนเวียดนามกลายมาเป็นผลไม้สำคัญเมื่อเทียบกับผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วยเหตุนี้พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นประมาณ 25% ต่อปี

นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติแสดงให้เห็นว่าทุเรียนของเวียดนามส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดจีน มีสัดส่วนกว่า 99% ของการส่งออกผลไม้รวม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1651246/durian-emerging-as-golden-fruit-among-viet-nam-s-exports.html

สปป.ลาว และติมอร์-เลสเต กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคี

ประธานาธิบดี สปป.ลาว และติมอร์-เลสเต เห็นพ้องที่จะกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคีในภาคส่วนต่างๆ ที่ทั้งสองประเทศมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น เกษตรกรรม พลังงาน การบริการและการท่องเที่ยว และการลงทุนในด้านอื่นๆ เป็นต้น โดยข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างเดินการเยือน สปป.ลาว ของ ดร.โฮเซ่ รามอส-ฮอร์ตา ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต และคณะผู้แทน ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ถึง 2 มีนาคม ตามคำเชิญของประธานาธิบดีทองลุน สีสุลิด ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่าง สปป.ลาวและติมอร์-เลสเต เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือ ตลอดจนติดตามและดำเนินการตามข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างรัฐบาลทั้งสอง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อตกลงดังกล่าวได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_44_LaosTimor_y24.php

อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว แตะระดับ 25.35% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567

สปป.ลาว ยังคงเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ขยายตัวอยู่ที่ 25.35% เพิ่มขึ้นจาก 24.44% ในเดือนก่อน โดยเงินเฟ้อในหมวดโรงแรมและร้านอาหารมีการปรับขึ้นราคาสูงสุด ขยายตัวที่ 35.1% แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตัวเลขในเดือนก่อน ขณะที่สินค้าหมวดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในเดือนนี้ ได้แก่ เสื้อผ้าและรองเท้า การรักษาพยาบาลและยา อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และการสื่อสารและการขนส่ง สินค้าทั้งหมดนี้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ 22.6% ถึง 35.1% โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ประการแรก ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล เช่น เทศกาลเวียดนามและตรุษจีน ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น ประการที่สอง ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น โดยดีเซลเพิ่มขึ้น 7% และน้ำมันเบนซิน 5% ส่งผลให้สถานการณ์เลวร้ายลง ประการสุดท้าย การอ่อนค่าของเงินกีบเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐฯ และบาทไทย ส่งผลให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจตึงตัวมากขึ้น โดยเงินกีบอ่อนค่าลง 1.70% และ 0.61% ตามลำดับ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/03/01/laos-inflation-hits-25-35-percent-in-february/

ความร่วมมือด้านเทคโนโลยียานยนต์เมียนมา-อินเดีย โดดเด่นที่งาน Mach Auto Expo 2024

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมารายงานว่า เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำอินเดีย ได้เข้าร่วมงาน Mach Auto Expo ครั้งที่ 13 ประจำปี 2567 ที่เมืองลูเธียนา จังหวัดปัญจาบ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีบูธ 650 บูธจาก 12 ประเทศ จัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการมากกว่าหมื่นรายการ ภายในงานได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการค้าและการลงทุนระหว่างเมียนมาร์และอินเดีย โดยเน้นที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนตลาดเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งได้มีการหารือเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนและความร่วมมือที่มีศักยภาพในด้านเทคโนโลยียานยนต์ระหว่างเมียนมาและอินเดีย อย่างไรก็ดี งานแสดงสินค้าดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 ถึง 26 กุมภาพันธ์ โดยเอกอัครราชทูต U Moe Kyaw Aung เข้าร่วมพิธีเปิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ในฐานะแขกพิเศษ ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Invest Punjab เอกอัครราชทูตและนักการทูตจากอิหร่าน คีร์กีซสถาน มาดากัสการ์ บุรุนดี มองโกเลีย และเอธิโอเปีย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการชาวอินเดียก็เข้าร่วมด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-auto-tech-collaboration-spotlighted-at-mach-auto-expo-2024/#article-title

รัฐมนตรีสหภาพ MoSWRR เข้าร่วมการประชุมเมียนมา-ไทยเรื่องการค้ามนุษย์

ดร. โซ วิน รัฐมนตรีสหภาพแรงงานเพื่อสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์ และการตั้งถิ่นฐานใหม่ เข้าร่วมการประชุมเมียนมา-ไทย ครั้งที่ 29 เรื่องการส่งตัวกลับประเทศและการกลับคืนสู่สังคมของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ งานนี้จัดขึ้นโดยกระทรวงสวัสดิการสังคมฯ เมียนมา และกระทรวงสังคมฝั่งไทย โดยจัดขึ้นที่โรงแรม Park Royal ในเขตย่างกุ้ง ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุม รัฐมนตรีสหภาพได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ โดยพิจารณาว่าเป็นตัวอย่างเชิงบวกสำหรับภูมิภาค วัตถุประสงค์หลักของการประชุมคือเพื่อดำเนินการบันทึกความเข้าใจที่มุ่งต่อต้านการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ดี ภายใต้ความคิดริเริ่มนี้ กระทรวงได้ให้การสนับสนุนเงินเป็นจำนวน 500 ดอลลาร์สหรัฐแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งรัฐบาลไทยมีบทบาทสำคัญในการจัดหาที่พักพิงแก่เหยื่อที่ถูกค้ามนุษย์จากเมียนมา ช่วยเหลือพวกเขาในการได้งานทำ และให้การสนับสนุนและค่าชดเชย นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการค้ามนุษย์ต่อสิทธิมนุษยชนและความซื่อสัตย์ ซึ่งจุดยืนเชิงรุกของรัฐบาลไทยในการป้องกันและต่อสู้กับปัญหานี้ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moswrr-union-minister-attends-myanmar-thailand-meeting-on-human-trafficking/#article-title

‘FDI’ ไหลเข้าเวียดนาม ช่วง 2 เดือนแรก พุ่ง 39%

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ระบุว่าเวียดนามดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มากกว่า 4.29 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 38.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในช่วงเวลาดังกล่าว โครงการใหม่ที่ได้รับการจดทะเบียน มีจำนวน 405 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่โครงการที่มีการปรับทุน มีจำนวน 159 โครงการ มูลค่ารวมที่ 442.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการจัดสรรเงินทุนและการซื้อหุ้น ลดลง 68% เหลืออยู่ที่ 255.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ฮานอยเป็นเมืองที่ได้รับเงินทุนจากต่างประเทศมากที่สุด มูลค่ากว่า 914.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.4 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันสิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใกญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่าการลงทุนมากกว่า 2.08 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาฮ่องกง ญี่ปุ่นและจีน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-fdi-inflow-surges-nearly-39-in-two-months/280102.vnp

‘เวียดนาม’ เตรียมต้อนรับอาคารสำนักงาน อุปทานใหม่พุ่ง

คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ (Cushman & Wakefield) ธุรกิจที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2567 เปิดเผยว่าอุปทานพื้นที่สำนักงานใหม่ในเมืองฮานอย อยู่ที่ 80,700 ตารางเมตร ในปี 2567 และที่ตั้งของสำนักงานส่วนใหญ่อยู่ในใจกลางเมือง ในขณะที่เมืองโฮจิมินห์ คาดว่าจะมีอุปทานใหม่เกรด A อยู่ในย่านใจกลางเมือง ซึ่งมีการเปิด 3 โครงการในปี 2567-2568 ด้วยพื้นที่สำนักงานระดับพรีเมียม 118,700 ตารางเมตร นอกจากนี้ ความไม่มั่งคงทางด้านเศรษฐกิจ ได้ส่งผลกระทบต่อความต้องการสำนักงานในเมืองโฮจิมินห์ เนื่องจากผู้เช่ามีความกังวลในเรื่องของภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-to-welcome-large-amount-of-new-office-supply-cushman-wakefield/280094.vnp

ส.อ.ท. ร้องรัฐบาลสกัดเหล็กจากจีน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมของประเทศไทยกำลังเผชิญกระแสสินค้าจากจีนเข้ามาแย่งตลาด โดยอุตสาหกรรมเหล็กเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดจากการทุ่มตลาดและการทะลักของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กจากจีน จนการใช้กำลังการผลิตเหล็ก ในปี 2566 ตกต่ำเหลือเพียง 31% เท่านั้น และแนวโน้มยังแย่ลงอีกในปีนี้จนเป็นที่น่ากังวลยิ่งว่าหากภาครัฐยังดำเนินการต่างๆไม่ทันการณ์ โรงงานเหล็กไทยจะต้องปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานอีกจำนวนมาก ส.อ.ท.จึงได้นำเสนอแนวทางแก้ไขวิกฤติอุตสาหกรรมเหล็กต่อรัฐบาล ดังนี้ 1.กระทรวงอุตสาหกรรม ใช้มาตรการห้ามตั้ง ห้ามขยายโรงงานเหล็ก โดยมุ่งไปที่เหล็กที่มีกำลังการผลิตมากล้นเกินความต้องการ รวมทั้งบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ควบคุมคุณภาพส่วนประกอบของสินค้าโครงสร้างสำเร็จรูป 2.กระทรวงพาณิชย์ไต่สวนและบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (CVD) อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล และพิจารณาความจำเป็นในการใช้มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard : SG) โดยเก็บอากร SG สินค้าเหล็กทุกประเภทสูงถึง 25% 3.ปรับปรุง/แก้ไข พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ให้มีการบังคับใช้มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) 4.ขยายผลใช้มาตรการใช้สินค้าเหล็กที่ผลิตภายในประเทศจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไปยังการก่อสร้างประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ด้านนายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) และผู้แทนกลุ่ม 10 สมาคมเหล็ก เปิดเผยว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเหล็กวิกฤติยิ่งขึ้น จากเหล็กจีนทะลักเข้ามาไทยทั้งการทุ่มตลาด การอุดหนุน และการหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเหล็กไทยซึ่งมีการจ้างงานทั้งระบบกว่า 330,000 คน ได้รับผลกระทบรุนแรงจนบางโรงงานต้องปิดกิจการและเลิกจ้าง 10 สมาคมเหล็กจึงได้เร่งประสานทำงานร่วมกับกระทรวงต่างๆ เพื่อให้มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหาวิกฤติอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้วิจัยพบว่าการผลิตเหล็กในประเทศไทยที่หายไปทุกๆ 1 แสนตัน จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของไทย ลดลง 0.19% และอัตราการจ้างงานในอุตสาหกรรมเหล็กลดลง 1.2%

ภาพจาก : Thaipubilca

ที่มา : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2766803

เมียนมาบรรลุเป้าการค้าชายแดน มูลค่า 26.567 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์

รายงานระบุว่า เมียนมาดำเนินการค้าขายมูลค่ารวม 25.9768 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านด่านการค้าชายแดน มอตอง เกาะสอง และกัมไปติ เมื่อจำแนกตัวเลขแล้ว ชายแดนมอตองมีมูลค่าการค้ารวม 0.9648 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นการส่งออก 0.6582 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 0.3066 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ ด่านการค้าเกาะสอง มีการส่งออกรวม 4,922.645 ตันและการนำเข้า 1,354.572 ตัน ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 6.065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกหลักประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมายังประเทศไทยภายใต้ระบบ FOB สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ปลา กุ้ง ปลาหมึกยักษ์ ปลาหมึก ปู และน้ำมันปาล์ม ในช่วงระหว่างวันที่ 20 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ในทำนองเดียวกัน ชายแดนกัมไปติก็มีปริมาณการค้าเป้าหมายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 123.91 โดยมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 18.947 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี จำนวนการค้าเป้าหมายสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ตั้งไว้ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ มูลค่าการค้าที่แท้จริงอยู่ที่ 26.567 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายถึง 130 เปอร์เซ็นต์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exceeds-border-trade-targets-achieving-us26-567m-in-feb-third-week/