กัมพูชาคาดโครงการรูปแบบ Mixed-Use จะเป็นตัวผลักดันการเติบโตภาคอสังหาฯ

ภาคการก่อสร้างคาดว่าจะเติบโตในปีนี้ตามการคาดการณ์ของทางการ ซึ่งคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับอาคารแบบผสมผสาน (Mixed-Use) โดยภาคการก่อสร้างหดตัวในปีที่แล้ว มีส่วนทำให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชาหดตัวตามไปด้วย ซึ่งหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ตามรายงานของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา เนื่องจากภาคการก่อสร้างที่ถือเป็นเสาหลักในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกระทรวงฯ คาดว่าโครงการภาคอสังหารมทรัพย์ต่างๆจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2021 และมีส่วนช่วยในการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศที่คาดการณ์ไว้ที่ประมาณร้อยละ 3.3 ในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50825395/mixed-use-buildings-forecast-to-drive-construction-growth/

Fitch Solutions ชี้เศรษฐกิจเวียดนามโต 6.5% ต่อปีในอีก 10 ปีข้างหน้า

Fitch Solutions คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโต 6.5% ต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากรัฐบาลส่งเสริมการกระจายตลาดส่งออกและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน โดยข้อตกลงการค้าเสรีจะเป็นแรงผลักดันให้เวียดนามเข้าถึงตลาดต่างประเทศและลดการพึ่งพาคู่ค้ารายเดียว อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการผลักดันไปข้างหน้า คือการที่ภาครัฐฯ ตั้งเป้าที่จะก้าวไปสู่ห่วงโซ่คุณค่าและส่งเสริมอุตสาหกรรมไฮเทค ทั้งนี้ ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า เวียดนามเล็งสร้างทางด่วนเหนือ-ใต้ และช่วงเฟสแรกจะเป็นของสนามบินนานาชาติลองแถ่ง (Long Thanh) และถนนเลียบชายฝั่งกว่า 1,700 กม. จากจังหวัดกว๋างนิญไปยังจังหวัดก่าเมา นอกจากนี้แล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม เติบโต 2.9% ในปีที่แล้ว เหตุจากสถานการณ์การแพร่เชื้อของไวรัสโควิด-19 ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่บรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-to-grow-6-5-pct-annually-in-next-decade-fitch-4245706.html

เศรษฐกิจเวียดนามโต 5.8% หากควบคุมพิษโควิด-19 ระบาดได้

สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจและนโยบายเวียดนาม (VEPR) คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 5.8% ในปีนี้ หากไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเขตชุมชน และส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศจะกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่าที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 6.5% อย่างไรก็ตาม สถาบันฯ ได้ทำการประเมินอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไว้ที่ 1.8% หากมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและขัดขวางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เวียดนามมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากถึง 679 ราย นับตั้งแต่มีการระบาดในพื้นที่ชุมชน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/economy-to-expand-5-8-pct-if-covid-19-outbreak-contained-4235863.html

มองเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ โอกาสของทุนไทย

โดย SME Social Planet I ธนาคารกรุงเทพ

ความเนื้อหอมของ ‘เวียดนาม’ ในประเด็นด้านการค้าและการลงทุน จากปัจจัยแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจากเดิมที่ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2562 จากข้อมูล World Economic Outlook, October 2019 ซึ่งเทียบได้กับราว 44 % ของเศรษฐกิจไทย ขณะที่ปี 2563 เศรษฐกิจเวียดนามที่คาดว่าจะขยายตัวแค่ 2.91% แต่เมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ตัวเลขการเติบโตดังกล่าวนั้นกลับสวนทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ติดลบ และยิ่งไปกว่านั้นมีการประเมินว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาขยายตัวได้ร้อยละ 6.5-7 ในปี 2564 เลยทีเดียว

นายฟัน จิ้ ทัน เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย กล่าวว่า แม้ว่าปี 2563 เศรษฐกิจทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 แต่เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงบวก (GDP) มีการเติบโตถึง 2.91% ในปี 2020 เนื่องจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่ช่วงแรก โดยอัตราการเติบโตของ GDP เวียดนามในช่วงปี 2559-2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 5.9% ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ ปัจจัยที่เอื้อให้มีการเข้ามาลงทุนจำนวนมากเพราะเวียดนามมีเสถียรภาพทางการเมืองสูง อาทิ

  1. มีแรงงานจำนวนมาก และด้วยขนาดของตลาดในประเทศที่มีประชากรสูงถึง 100 ล้านคน
  2. เวียดนามยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับตลาดอาเซียน จีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก
  3. เวียดนามเป็นเป้าหมายของนักลงทุนกว่า 132 ประเทศ ที่สนใจเข้ามาลงทุน

ไทยมองการลงทุนเวียดนามอย่างไร

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เวียดนามยังเป็นจุดหมายปลายทางของการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงนักลงทุนไทยเพราะเป็นตลาดที่ใหญ่และเติบโตต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม กล่าวว่า ประเทศเวียดนามมีประชากรในวัยทำงานจำนวนมาก และมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่ำ ทำให้ตลาดเวียดนามมีกำลังซื้อสูง อีกทั้งการส่งออกสินค้ามีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปีที่ผ่านมามีการส่งออกรวมมูลค่าถึง 281,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ดุลการค้า 19,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการทำความตกลงด้านการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 17 ฉบับ ขณะเดียวกันเวียดนามให้สิทธิพิเศษในด้านภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุน (Ease of doing business) ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการลงทุน การก่อสร้างสาธารณูปโภค และอื่นๆ

นางสมหะทัย พานิชชีวะ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อมตะวีเอ็น (AMATAV) กล่าวในมุมมองของผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามว่า อมตะเชื่อในการเติบโตของเวียดนาม นั่นคือเหตุผลที่อมตะอยู่ในเวียดนามมานานกว่า 26 ปี และถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ

เห็นได้ว่าทั้งหน่วยงานรัฐ สถาบันเอกชนที่เข้มแข็ง และตัวแทนเอกชนที่เป็นแนวหน้าไปลงทุนในเวียดนาม ต่างมีความเห็นที่น่าสนใจกับการลงทุนในเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสทางเศรษฐกิจ ภายใต้การที่เอเชียจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่หลังโควิด 19 รวมทั้งประเด็นการลดข้อจำกัดในการลงทุนต่างชาติ และการจูงใจนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้หากสามารถปรับแผนให้โครงการ EEC ของไทย เป็นศูนย์กลางในการกระจายการลงทุนในภูมิภาคได้ ก็จะยิ่งเกิดเป็นประโยชน์คู่ขนาดของสองชาติได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokbanksme.com/en/look-vietnam-economy-opportunities-thai-capital

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดเศรษฐกิจเวียดนาม ปี 64 โต 7.8%

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปีนี้โต 7.8% อานิสงค์จากการผลักดันของอุตสาหกรรมการผลิต นายทิม ลีฬหะพันธุ์ (Tim Leelahaphan) นักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว ซึ่งการลงทุนจากต่างประเทศและภาคบริการถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ หลังจากประสบความสำเร็จในการควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบกับเวียดนามได้รับประโยชน์จากสมรภูมิการค้าสหรัฐ-จีน แต่ว่าน่าจะไม่สิ้นสุดในรัฐบาลโจ ไบเดน นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดเศรษฐกิจเวียดนามโต 6.1% ตามมาด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าโต 6.5% และธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) คาดว่าจะขยายตัว 7.6% อย่างไรก็ตาม รัฐบาลตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 6.5%

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-to-grow-at-7-8-pct-in-2021-standard-chartered-4225459.html

สถาบันเศรษฐศาสตร์ เผย GDP เวียดนาม ปี 64 โต 5.49% กรณีสถานการณ์ปกติ

จากหน่วยงาน  Vietnam Academy of Social Sciences (VASS) ระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2564 เติบโต 5.49% ในสถานการณ์ปกติ, 6.9% กรณีสถานการณ์ปัจจุบันดีขึ้น และ 3.48% กรณีสถานการณ์เลวร้าย โดยอัตราการเติบโตขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั้งนี้ นาย Bui Nhat Quang ประธานหน่วยงานดังกล่าว กล่าวว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปี 2563 และเศรษฐกิจส่วนใหญ่หดตัวลง อย่างไรก็ตาม เวียดนามยยังป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ พร้อมกับฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ สถานการณ์ทั่วโลกส่งสัญญาเขิงบวก เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เริ่มนำไปใช้ในประเทศต่างๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย สวิตเซอร์แลนด์และจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-one-of-fastest-growing-economies-wb/194979.vnp

หัวหน้าพรรคปฎิวัติประชาชนสปป.ลาวเรียกร้องให้นักการเมืองเพิ่มความรับผิดชอบทางการเมือง

นายทองลุน สีสุลธิ์ เลขาธิการพรรคปฎิวัติประชาชนสปป.ลาวคนใหม่ ได้เรียกร้องให้ผู้นำพรรคทุกคนเสริมสร้างความรับผิดชอบทางการเมืองและทำตัวเป็นแบบอย่างของผู้นำเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประเทศชาติ แม้ว่าสปป.ลาวจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหลายประการในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาสปป.ลาวยังคงดำเนินตามแนวคิดสังคมนิยม แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลกก็ตาม การกำหนดนโยบายของพรรคมีรากเหง้าจากประเพณีอันดีงามของพรรคและแรงบันดาลใจของประชาชนสปป.ลาวทุกเชื้อชาติเป็นรากฐาน สปป.ลาวได้ดำเนินนโยบายปรับปรุงใหม่เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยว สิ่งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งโครงการลดความยากจนและการพัฒนาการศึกษาของสปป.ลาว ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจสปป.ลาวเติบโตในอัตราเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 5.8 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ GDP ต่อหัวก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามความท้าทายต่อการเติบโตเศรษฐกิจยังรออยู่ข้างหน้าตามกลางบริบทของโลกที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งต้องอาศัยความมุ่งมั่นทางการเมืองที่แข็งแกร่งเพื่อเอาชนะปัญหาทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Party_11.php

Oxford Economics คาด GDP เวียดนามปี 64 โต 8%

ตามรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจของ Oxford Economics คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะกลับมาฟื้นตัว 6.2% ในปี 2564 แต่ว่าเวียดนามยังคงขยายตัวได้ดีถึง 8% ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภูมิภาคในปีที่แล้ว หดตัว 4.1% โดยประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนั้น ได้แก่ เวียดนามและสิงคโปร์ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 ขึ้นอยู่กับการการผ่อนคลายการปิดเมืองหรือล็อกดาวน์ลง และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการประสบความสำเร็จในการเปิดตัววัคซีน ซึ่งความคืบหน้าของวัคซีนจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นาย Mark Billington ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน ICAEW กล่าวถึงความกังวลต่อกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อ ในขณะเดียวกัน ค่อยๆนำภาคสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวให้เร็วขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/856708/viet-nam-gdp-to-grow-by-8-per-cent-oxford-economics.html

เวียดนามตั้งเป้าเศรษฐกิจโตเฉลี่ย 7% ในปี 64-73

เวียดนามตั้งเป้าหมายผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เติบโตราว 7% ในอีก 10 ปีข้างหน้า นับว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ที่มีอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในโลก นาย Tran Hong Quang ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์เวียดนาม กล่าวถึงการร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสำหรับในปี 2564-2573 จากการประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยในปี 2573 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว จะเพิ่มขึ้น 4,700-5,000 เหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันอยู่ที่ 3,521 เหรียญสหรัฐ และตั้งเป้าว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีระดับรายได้สูงในปี 2588 ทั้งนี้ ภายใต้ร่างยุทธศาสตร์นั้น รัฐบาลได้นิยามถึง 3 สิ่งที่จะผลักดันการเติบโตของเวียดนามในอีก 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ กรอบเชิงสถาบัน ทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) กำหนดหลักเกณฑ์แก่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ต้องมีมูลค่าการผลิตเพิ่มต่อหัวที่ 1,000-2,500 เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการผลิตทั้งหมดทั่วโลก

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-aims-for-average-annual-growth-of-7-in-2021-30-315839.html

ภาคอสังหาฯ มีสัดส่วน 7.6% ของเศรษฐกิจเวียดนาม

สมาคมอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเวียดนาม (VNREA) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 7.62% ของ GDP เวียดนามในปี 2562 ในแง่ของสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์นั้น มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 20.8% ของสินทรัพย์รวมของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2563 ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ทั้งประเทศ 986.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 ทั้งนี้ ตามงานวิจัย ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระ ชี้ให้เห็นว่าภาคอสังหาริมทรัพย์มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะกระจายไปอยู่ในการก่อสร้าง อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเงินและการธนาคาร อย่างไรก็ตาม นาย Vo Tri Thanh นักเศรษฐศาสตร์และสมาชิกสภาที่ปรึกษาด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางเวียดนาม กล่าวว่าควรจะจัดลำดับความสำคัญของนโยบายในการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ สมาคมดังกล่าว มีแผนที่จะส่งงานวิจัยและข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล คณะกรรมการธิการ สมัชชาแห่งชาติ กระทรวงก่อสร้าง กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดนโยบายระยะยาวต่อภาคอสังหาริมทรัพย์

ที่มา : http://hanoitimes.vn/real-estate-accounts-for-76-of-vietnam-economy-315846.html