จีนคาดผู้โดยสาร 1 ล้านคนโดยสารรถไฟลาว-จีน

จีนคาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางด้วยรถไฟลาว-จีนมากกว่า 1 ล้านเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีน แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการเดินทางก็ตามสำนักข่าวรอยเตอร์อ้างสื่อทางการจีนว่าวันตรุษจีนจะมีการเดินทางเพิ่มขึ้นตามเส้นทางรถไฟที่เชื่อมระหว่างลาวและจีน เทศกาลตรุษจีนที่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับชาวจีน โดยในแต่ละปีมีผู้โดยสารเดินทางหลายพันล้านคน ด้านสปป.ลาวได้ประกาศว่าจะเปิดประเทศอีกครั้งเพื่อรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 1 มกราคม 2022 อย่างไรก็ตามแม้ว่ากฎระเบียบในปัจจุบันจะไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างจีนและสปป.ลาว แต่คุนหมิงรายงานว่ายอดขายตั๋วเพิ่มขึ้น นับตั้งแต่การรถไฟลาว-จีนเปิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม มีผู้โดยสารมากกว่า 300,000 คนเดินทางบนเส้นทางรถไฟสายจีน รวมทั้งบริการขนส่งสินค้าทำการเดินทางข้ามพรมแดน โดยสินค้ามูลค่ากว่า 16 ล้านเหรียญสหรัฐได้ถูกขนส่งระหว่างลาวและจีนในวันพุธ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/12/17/china-expects-1-million-passenger-trips-on-laos-china-railway/

สปป.ลาว จีน ตกลงขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ

สปป.ลาวและจีนวางแผนที่จะร่วมมือกันต่อไปในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง เจ้าหน้าที่ของสปป.ลาวและจีนได้รายงานแง่มุมต่างๆ ของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ พร้อมแบ่งปันแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การขนส่ง และการศึกษา การประชุมดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ลาวและจีนเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูต นายสะลุมไซ คมสิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสปป.ลาว กล่าวว่า “สปป.ลาวรู้สึกขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับความช่วยเหลือของจีนผ่านการจัดหาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และวัคซีนเมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงสาธารณสุขได้รับบริจาควัคซีนและเวชภัณฑ์ Sinopharm Covid-19 ของจีนจำนวน 700,000 โดส มูลค่า 17 พันล้านกีบ เพื่อช่วยรัฐบาลในการจัดการกับการระบาดของไวรัส”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_China_agree_239.php

สถานภาพความร่วมมือทางด้านการสนับสนุนและการลงทุน กัมพูชา-จีน

ตั้งแต่ปี 1992 ถึงปี 2020 จีนได้ให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนแก่กัมพูชามากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ และการลงทุนรวมของจีนภายในกัมพูชาอีกประมาณ 27,000 ล้านดอลลาร์ โดยเรื่องนี้ถูกกล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจัดโดยสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของกัมพูชา โดย Sok Chenda Sophea เลขาธิการ CDC และ Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีนักธุรกิจชาวจีนประมาณ 300 คนเข้าร่วมด้วย ในการปราศรัยของเขา เลขาธิการ CDC ได้สรุปว่าจนถึงปี 2020 จีนได้มอบเงินช่วยเหลือให้กับกัมพูชาถึง 4,655 ล้านดอลลาร์ และปริมาณการลงทุนของจีนในประเทศสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนตุลาคม โดยคาดว่ากฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์กับภาคการค้าและจากข้อตกลงการค้าเสรีต่างๆ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและจีนที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2022 และข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีอื่นๆ กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980054/china-has-provided-over-4-billion-in-grants-and-27-billion-in-investment-from-1992-to-2020/

ไทยควรเชื่อมต่อทางรถไฟสายลาว-จีน โดยด่วน

รัฐบาลไทยกำลังได้รับคำแนะนำให้เร่งพัฒนาเครือข่ายรถไฟที่เชื่อมโยงระบบรถไฟของไทยกับรถไฟลาว-จีน ซึ่งเชื่อมต่อคุนหมิงในมณฑลยูนนานของจีนกับเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสปป.ลาว ดนุชา พิชยานันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า “รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งดำเนินการข้อตกลงกับประเทศลาวและจีน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงที่ไร้รอยต่อระหว่างระบบรถไฟของไทยกับการรถไฟลาว-จีน” ทางรถไฟเป็นโครงการเชื่อมต่อระหว่างแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ที่จีนเสนอและกลยุทธ์ของลาวในการเปลี่ยนตนเองจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้เป็นศูนย์กลางทางบก เมื่อเริ่มเปิดใช้บริการคาดว่าจะสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและการค้าของการรถไฟลาว-จีนอย่างมาก นอกจากนี้การเชื่อมโยงทางรถไฟจะดึงดูดการลงทุนจากจีนและประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และเหมืองแร่ นายดานูชา เสนอให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการตามข้อตกลงไตรภาคีเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่ไร้รอยต่อระหว่างไทยกับการรถไฟจีน-ลาว การเชื่อมโยงทางรถไฟที่ดีขึ้นหรือราบรื่นจะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทย ลาว และจีน”

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/2224707/calls-to-speed-up-link-to-laos-china-line

พาณิชย์ดันใช้ประโยชน์ FTA ส่งอาหาร-เกษตรแปรรูปบุกจีน

พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการ DTN Business Plan Award 2021″ชี้ช่องโอกาส บุกตลาดด้วย FTA” ว่า การดำเนินโครงการครั้งนี้ เป็นโอกาสดีที่เกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าอาหารและเกษตรแปรรูปของไทย จะใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อเพิ่มแต้มต่อทางการค้าบุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สามารถขยายส่งออกสินค้าไปตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดคู่ FTA ของไทย ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปี 2564 นี้ ได้ย้ำให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มุ่งเน้นให้ความรู้และส่งเสริมผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จาก FTA เพื่อเพิ่มแต้มต่อทางการค้าและโอกาสขยายส่งออกไปตลาดคู่ FTA ของไทย โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก FTA อาเซียน-จีนที่จีนได้ลดเลิกการเก็บภาษีนำเข้าส่วนใหญ่ให้กับสินค้าส่งออกจากไทยแล้ว เช่น อาหาร เกษตร และเกษตรแปรรูป เป็นต้น รวมถึงใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 ขยายส่งออกสินค้าของไทยไปกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP ด้วย

ที่มา : https://www.naewna.com/business/618221

ความร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียน ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อกัมพูชา

ประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา กล่าวถึง โอกาสหลังความร่วมมือระหว่างจีนและชาติอาเซียน ได้ขยายความร่วมมือระหว่างกัน รวมถึงศักยภาพข้าวของกัมพูชาที่มีอยู่ในตลาดจีน โดยถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับกัมพูชาในการขยายปริมาณการส่งออกข้าวไปยังจีน หรือขอให้จีนขยายโควตาการนำเข้าข้าวจากกัมพูชาเพิ่มขึ้น ซึ่งผลผลิตข้าวของกัมพูชามีความได้เปรียบทั้งในด้านคุณภาพและราคา โดยความร่วมมือทวิภาคีที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นทำให้การค้าข้ามพรมแดนมีความสะดวกยิ่งขึ้น หลังจากที่ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) จะมีผลบังคับใช้ในไม่ช้า รวมถึงนับตั้งแต่การดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน (CAFTA) ในปี 2010 การค้าและบริการระหว่างจีนและอาเซียนได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านการบูรณาการอย่างลึกซึ้งของอุตสาหกรรมและห่วงโซ่คุณค่า ด้วยการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับผลิตภัณฑ์ 7,000 รายการ ระหว่างชาติอาเซียนและจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50976990/upgraded-china-asean-partnership-amplifies-rcep-co-op/

คู่ค้ารายใหญ่โลก “อาเซียน-จีน” ร่วมลงทุน 3 แสนล้านดอลลาร์

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (ASEAN) ได้กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการลงทุนขาออกที่สำคัญของจีนและแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้ก่อตั้งความสัมพันธ์จีน-อาเซียน เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ด้วยการลงทุนร่วมกันเกิน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างทั้งสองฝ่าย นักลงทุนในอาเซียนได้เห็นโอกาสในจีน ซึ่งในปี 2020 การลงทุนของวิสาหกิจจีนในกลุ่มประเทศอาเซียนสูงถึง 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 1.059 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน การลงทุนของกลุ่มอาเซียนในจีนแผ่นดินใหญ่ก็มีการลงทุนมูลค่าสูงถึง 7.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี สำหรับช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ การลงทุนจากอาเซียนเพิ่มขึ้น 39% สู่ระดับ 7.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (2021) ปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 7.03 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 30% และคาดว่าตัวเลขปีนี้จะกลายเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่

ที่มา : https://www.banmuang.co.th/news/inter/259800

25 พ.ย. 64 พร้อมเปิดชายแดนเมียนมา-จีน (Kyinsankyawt)

วันที่ 22 พฤศจิกายน การค้าผ่านแดนจะเริ่มทดสอบโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในช่วงบ่ายเป็นเวลาสามวัน หากการทดสอบเสร็จสิ้นลงแล้ว จะกลับมาเปิดดำเนินการในวันที่ 25 พ.ย. ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งรถบรรทุกสินค้าประมาณ 10,000 คันซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้าในด่านมูเซ 105 ไมล์ จะถูกวิ่งเพื่อทำการทดสอบก่อนก่อน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 2564 จีนได้ปิดชายแดน (Kyinsankyawt, Wamting) หลังแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ส่งผลให้คนงานราว 400,000-600,000 คนต้องตกงาน นอกจากนี้ ผู้ค้าจากด่านชายแดนมูเซยังสูญเสียรายได้จากการปิดด่านในครั้งนี้ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติของเมียนมาไปยังจีนยังดำเนินการผ่านพรมแดนมูเซ-รุ่ยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบ CMP เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-kyinsankyawt-border-post-to-resume-operations-on-25-nov/#article-title

ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างจีน-กัมพูชา มีผลบังคับ 1 ม.ค. 2022

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ลงนามระหว่างจีนและกัมพูชาจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2022 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ (MOC) โดยข้อตกลงซึ่งลงนามอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2020 ที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในการค้าสินค้าระหว่างจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าร้อยละ 90 สำหรับทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในการลงทุนอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตามแผนริเริ่ม the Belt and Road Initiative, อีคอมเมิร์ซ และภาคเศรษฐกิจโดยรวม ตามกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50975664/china-cambodia-fta-to-take-effect-on-jan-1-2022/

รถไฟจีน-สปป.ลาว” มองโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทย

โดย Marketeer Team

รถไฟจีน-สปป.ลาว จะเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยรถไฟสายนี้เชื่อมคุนหมิงของจีนกับเวียงจันทน์ของ สปป. ลาวเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) มีระยะทาง 1,020 กิโลเมตร (แบ่งเป็นระยะทาง 598 กิโลเมตรในจีน และ 422 กิโลเมตรใน สปป. ลาว) สามารถวิ่งทำความเร็วขนส่งผู้โดยสารได้ถึง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสำหรับการบรรทุกสินค้าสามารถวิ่งได้ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยจะเน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก สะท้อนจากจำนวนขบวนขนส่งสินค้าต่อวันที่สูงกว่าขบวนขนส่งผู้โดยสาร

การค้าระหว่างไทยกับจีนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกของไทยไปยังจีนผ่านทางถนนซึ่งมีสัดส่วนราวร้อยละ 20 ของการส่งออกไปยังจีนทั้งหมด มีการขยายตัวขึ้นอย่างน่าจับตาในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ มิติใหม่ของการขนส่งด้วยรถไฟไปจีนผ่านช่องทาง จ. หนองคาย จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าไทยด้วยความสามารถในการช่วยลดระยะเวลา และต้นทุนการขนส่งสินค้าไปยังนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน จึงนับว่ารถไฟที่เกิดขึ้นสายนี้เป็นเสมือนช่องทางขนส่งใหม่อีกทางที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ เส้นทางรถไฟยังบรรจบกับเส้นทางหลักของไทยที่ใช้ขนส่งสินค้าไปยังนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ซึ่งก็คือ เส้นทาง R3A ผ่านทาง จ. เชียงราย ที่เมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สปป. ลาว ดังนั้น รถไฟสายใหม่นี้จึงน่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้าไทยผ่านช่องทางดังกล่าวขึ้นไปอีก

ทั้งนี้ ในระยะเวลาอันใกล้ รถไฟจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการส่งออกของไทยไปยังจีน ด้วยรูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งจะขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศไทยและจีนให้เร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ยูนนานจะเป็นประตูที่เปิดโอกาสสำหรับสินค้าไทยสู่จีนตะวันตก โดยเฉพาะไปยังนครเฉิงตูและนครฉงชิ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตใหม่ (New Production Hub) และรัฐบาลจีนตั้งเป้าให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจผ่านนโยบายการพัฒนาความเป็นเมือง นอกจากนี้ ยูนนานยังสามารถเชื่อมต่อกับเมืองใหญ่หลายแห่งในจีนด้วยรถไฟความเร็วสูง

ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันจีนมีเส้นทางขนส่งสินค้าทางรางไปยังเอเชียกลาง รัสเซีย และยุโรป ดังนั้น ในระยะข้างหน้า การขนส่งทางรางจะเป็นโหมดการขนส่งศักยภาพของสินค้าไทยไปยังตลาดสำคัญอย่างยุโรปซึ่งเดิมมีการขนส่งทางเรือเป็นหลักเท่านั้น และอาจจะเป็นช่องทางในการแสวงตลาดใหม่อย่างเอเชียกลางได้ในอนาคต

ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/239559