รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลุยหารือฟื้นเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงกลางเดือนก.ย.2564 ที่ผ่านมา ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ผ่านการประชุมทางไกล เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และติดตามความคืบหน้าความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยการประชุมร่วมกับกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า ได้เห็นชอบแผนงานด้านการค้าและการลงทุนร่วมกัน การหารือเกี่ยวกับการเตรียมการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป โดยจะจัดประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในประเด็นการค้าใหม่ ๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และการค้าและพัฒนาที่ยั่งยืน และเห็นพ้องที่จัดประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงกิจกรรมความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้แน่นแฟ้นขึ้น

ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/118394

‘เวียดนาม’ เผยการเติบโตทางเศรษฐกิจดิ่งลง เหตุโควิด-19 ระบาดหนัก

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)  ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1.42% เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการเว้นระยะทางสังคม โดยเฉพาะอัตราการขยายตัวของจีดีพีในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คาดว่าจะลดลง 6.17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรก การผลิตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 4.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่เงินลงทุนไหลเข้ารวมจากต่างประเทศ มีมูลค่าราว 22.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออก-นำเข้า ประมาณ 53.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 69.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-gdp-growth-sees-sharp-decrease-in-first-nine-months-of-2021-due-to-pandemic-36326.html

 

IMF คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาโตร้อยละ 2.2

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของกัมพูชา (GDP) ว่าจะมีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ในปีนี้ ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 4.2 โดยได้รายงานเพิ่มเติมว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับว่ากัมพูชาจะควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีเพียงใด จนสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางกลับมาท่องเที่ยวในกัมพูชาอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาได้ทำการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชากรแล้วกว่าร้อยละ 83 ของประชากรทั้งหมดประมาณ 16 ล้านคน โดยตั้งเป้าการกระจายวัคซีนไว้อย่างน้อยร้อยละ 91 ของประชากร ซึ่ง IMF กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าการขาดดุลทางการคลังของกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบร้อยละ 6 ในปีนี้ เนื่องจากรายรับทางด้านภาษีที่ลดลงและความต้องการใช้จ่ายด้านสุขภาพและความช่วยเหลือทางสังคมที่สูงขึ้น โดยคากว่าหนี้สาธารณะจะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 36 ของ GDP ซึ่งในปี 2019 ปริมาณหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละ 29

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50944430/economy-will-grow-2-2-before-recovery-says-imf/

เศรษฐกิจภูมิภาคยังชะลอตัว ด้านสปป.ลาวเศรษฐกิจเริ่มมีฟื้นตัว

ธนาคารโลกระบุ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงในสปป.ลาว ซึ่งสร้างลกระทบให้กับบริษัทและภาคครัวเรือนยาวนานขึ้น ตามข้อมูลอัปเดตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในฤดูใบไม้ร่วงปี 2564 ของธนาคารโลกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสที่สองของปี 2564 และการคาดการณ์การเติบโตได้รับการปรับลด ในส่วนสปป.ลาวการเติบโตของ GDP ในสปป.ลาวคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 2.2% ในปี 2564 เพิ่มขึ้นจาก 0.5% ในปี 2563 การคาดการณ์นี้ได้รับการแก้ไขลงจากการเติบโต 4% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากการระบาดของโควิดครั้งล่าสุดยังคงรุนแรงและควบคุมไม่ได้ ปัจจัยภาคเกษตรและอุตสาหกรรมคาดว่าจะขับเคลื่อนการเติบโตของสปป.ลาว จากการสนับสนุนจากอุปสงค์จากภายนอก เนื่องจากคู่ค้ารายสำคัญจะค่อยๆ ฟื้นตัว

ที่มา : เศhttps://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Economic_190.php

ธ.โลกหั่นคาดการณ์ศก.เอเชียตะวันออกเหตุโควิดสายพันธุ์เดลตาฉุดการเติบโต

ธนาคารโลกเปิดเผยรายงาน “East Asia and Pacific Fall 2021 Economic Update” โดยระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจอ่อนแรงลง และเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันในภูมิภาคเหล่านี้ ทั้งนี้ ‘มานูเอลา เฟอร์โร’ ประธานธนาคารโลกฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับความพลิกผันในอนาคต ในปี 2563 นั้น ภูมิภาคแห่งนี้สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ยังไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในปี 2564 นี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งให้การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคอ่อนแอลง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/962527

นักธุรกิจชาวต่างชาติเสนอกักตัวเหลือ 7 วัน ต่อรัฐบาลกัมพูชา

ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศกล่าวว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะได้รับผลประโยชน์เชิงบวก หากรัฐบาลนำข้อเสนอแนะในการให้กักตัวเหลือ 7 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักธุรกิจและผู้ถือวีซ่านักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันประเทศปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ส่วนผู้ถือวีซ่าธุรกิจจำเป็นต้องกักตัวในโรงแรมอย่างน้อย 14 วัน โดยหวังว่าเศรษฐกิจจะได้รับประโยชน์อย่างมากหากนักธุรกิจและนักลงทุนสามารถเดินทางมากัมพูชาได้อย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งสะดวกต่อการเยี่ยมชมสถานที่จริง การประชุมกันโดยไม่ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และในฐานะแขกที่มักจะใช้จ่ายสูงระหว่างการเดินทางและการเข้าพัก โดยเชื่อว่าสิ่งนี้อาจมีบทบาทสำคัญในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทางด้านประธาน EuroCham Cambodia กล่าวว่าประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงพอๆ กับกัมพูชากำลังทยอยเปิดประเทศกันแล้ว แม้ว่าความเปราะบางของระบบการรักษาพยาบาลจะต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกัมพูชาได้ทำการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรไปแล้วมากกว่าสามในสี่ของจำนวนประชากร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50938538/foreign-businesses-welcome-seven-day-quarantine-suggestion/

‘เวิลด์แบงก์’ ชี้เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัว หลังคลายล็อกดาวน์

Dorsati Madani นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวจากการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจหลายประการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เศรษฐกิจเวียดนามก็ได้รับข้อพิสูจน์แล้วว่าเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นและมีพลวัต ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และการที่วัคซีนมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมาตรการเยียวยาทางการเงินเพื่อช่วยเหลือธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์หวังว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาฟื้นตัวได้ในอนาคตข้างหน้า อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ จีนและสหภาพยุโรป เป็นต้น

ที่มา : http://baobinhduong.vn/en/vietnam-s-economy-will-recover-after-lockdown-is-lifted-wb-economist-a256151.html

 

‘นักธุรกิจแคนาดา’ เชื่อมั่นเศรษฐกิจเวียดนาม

ผู้ประกอบการชาวแคนาดามีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนาม แม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 ที่สร้างผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจและการเติบโตของประเทศ ซึ่งจากการให้สัมภาษณ์ของสำนักข่าวเวียดนาม คุณ Marc Djandji นักวิเคราะห์การเงินชาร์เตอร์ด กล่าวว่าประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดหุ้นที่มีพลวัต (dynamic) แห่งหนึ่งที่สุดในโลก และเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นจนถึงครึ่งแรกของปีนี้ ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะหยุดชะงักลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากการแพร่ระบาดไปยังอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง ถือเป็นแรงคับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเวียดนามนั้นขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีน ตลอดจนความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันของคนในประเทศ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1026159/canadian-businesses-believe-in-viet-nams-medium-term-economic-outlook.html

ธนาคารโลกเน้นย้ำโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจสปป.ลาว

ตามรายงานของธนาคารโลกฉบับใหม่ ระบุว่าเศรษฐกิจลาวคาดว่าจะเติบโตที่ 3.6% ลดลงจากการตัวเลขคาดการณ์การเติบโตที่ 4% ในเดือนมีนาคม 2564  การฟื้นตัวคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของการส่งออกที่แข็งแกร่ง เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกฟื้นตัว ด้านภาคบริการก็มีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่จะกลับมาขยายตัวได้ดีในอนาคตเมื่อมีการเปิดประเทศรับนักท่องที่ยว ด้านการลงทุนคาดว่าหลังจากการสิ้นสุดของการรถไฟลาว-จีนในปีนี้ จะมีส่วนส่งเสริมสปป.ลาวอย่างยิ่งในการเติบโตด้านเศรษฐกิจและความแข็งด้านการเชื่อมต่อกลับพรหมแดนนูมิภาค นอกจากนี้ยังมีแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น ทางด่วนระหว่างอำเภอวังเวียงในแขวงเวียงจันทน์กับชายแดนลาว-จีน และเส้นทางภาคใต้อื่นๆ ด้านการส่งออกจะได้รับประโยชน์จากช่วยเหลือและการให้โควต้าของจีนและการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตามสถานการณ์โควิดในปัจจุบันจะเป็นปัจจัยในเชิงลบต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาว ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญทั้งในด้านสาธารณะสุขที่ต้องมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับแผนการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_World176.php

อาเซียนถกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ตั้งเป้าชงผู้นำดันอาเซียนสู่ยุคดิจิทัล

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration หรือ HLTF-EI) ครั้งที่ 40 ผ่านระบบประชุมทางไกล ได้ข้อสรุปดันอาเซียนสู่ความเป็นดิจิทัล ชงแผนผู้นำเห็นชอบ ต.ค.นี้ ไทยย้ำการบังคับใช้ความตกลง RCEP ตามแผนเพื่อเร่งขยายการค้า การลงทุน

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000084343