ชี้ช่องใช้ประโยชน์ RCEP ส่งออกตลาด เกาหลี-มาเลเซีย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เร่งรัดให้หน่วgdยงานภาครัฐดำเนินการกระบวนการภายในในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จาก RCEP กับเกาหลีใต้และมาเลเซียที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ สำหรับเกาหลีใต้จะยกเว้นภาษีสินค้าให้ไทย 90.7% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยยกเว้นภาษีทันที 7,843 รายการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 และเปิดตลาดเพิ่มเติม 413 รายการ  ส่วนมาเลเซียจะยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าให้ไทย 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยวันที่ 18 มีนาคม 2565 จะยกเว้นภาษีทันที 6,590 รายการ

ที่มา:  https://www.naewna.com/business/632118

คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว

โดย ศุทธาภา นพวิญญูวงศ์ สิรีธร จารุธัญลักษณ์ และอภิชญาณ์ จึงตระกูล

สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกบทความ “คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว” โดยให้มองว่า รถไฟจีน-ลาวที่ได้เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการขนส่ง1 ทั้งนี้ การค้าจะเป็นด้านแรกที่ได้รับโอกาสและผลกระทบ จากการทะลักของสินค้าขาเข้าได้ทันที

นอกจากนี้ เส้นทางรถไฟจีน-ลาวจะทำให้การขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-จีนผ่านภาคอีสานทางบกมีบทบาทสำคัญมากขึ้น จากเดิมการขนสินค้าผ่านทางถนนก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว จากประมาณร้อยละ 8 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 12 ในปี 25642 และหากมีเส้นทางรถไฟเข้ามาจะทำให้การขนส่งสินค้าเร็วกว่าทางถนนมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นทางเลือกที่ช่วยกระจายความเสี่ยงด้านการขนส่งได้

ดังนั้น เส้นทางรถไฟนับว่าเป็นการเปิดประตูการขนส่งเส้นทางใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสของการค้าข้ามแดนระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย-ลาว-จีน มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับมณฑลยูนนาน บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปิดเส้นทางการขนส่งใหม่เส้นนี้ต่อภาคการค้าของไทยกับจีน รวมถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ในการแข่งขันบนเส้นทางที่ท้าทายนี้

โอกาสและความท้าทาย : เบื้องต้นไทยจะเผชิญกับความท้าทายของสินค้านำเข้าจากจีน แต่ในทางกลับกันไทยก็มีโอกาสในการขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดมายังมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นปลายทางรถไฟ จากเดิมที่สินค้าไทยส่วนใหญ่จะนิยมขนส่งไปทางจีนตะวันออกผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางถนน รวมถึงมณฑลกวางตุ้งและอื่น ๆ ทางเรือ

ด้านการนำเข้า : ไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากสินค้านำเข้าของจีนที่จะมีมากกว่าสินค้าส่งออกจากไทย ซึ่งสินค้าจากจีนจะเข้ามาไทยผ่านทางรางเพิ่มขึ้น จากที่ไม่เคยขนส่งผ่านทางรางมาก่อน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบต่าง ๆ และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ

อย่างไรก็ดี ไทยสามารถคว้าโอกาสจากการเข้ามาของสินค้ากลุ่มนี้ได้ เนื่องจากการขนส่งผ่านทางรางทำให้ต้นทุนทั้งระยะเวลาและค่าขนส่งถูกลง ดังนี้ กลุ่มวัตถุดิบต่าง ๆ และกลุ่มผลผลิตทางการเกษตร และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ

ด้านการส่งออก : ไทยมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปจีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังมณฑลยูนนาน รวมทั้งมณฑลใกล้เคียง โดยระยะแรกคาดว่าสินค้าส่งออก จะเป็นสินค้าเดิมที่เคยส่งออกไปมณฑลยูนนาน หรือสินค้าที่มีการขนส่งทางถนนอยู่เดิม

 

โดยสรุปแล้ว การเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ส่งผลกระทบต่อภาคการค้าของไทย ทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า เช่น วัถตุดิบ ผลผลิตทางการเกษตร และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าในช่วงแรกยังไม่สามารถดำเนินการได้สะดวก เนื่องจากยังมีการปิดพรมแดนทั้ง สปป. ลาว และจีน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

1.โครงสร้างพื้นฐานใน สปป. ลาว อาทิ Vientiane Logistics Park (VLP) ซึ่งเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าใน สปป. ลาว และด่านรถไฟโม่ฮานในจีนที่ยังดำเนินการได้ไม่สมบูรณ์

2.มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของจีน เช่น ความเข้มงวดด้านการนำเข้าสินค้าของจีน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโคโรน่าไวรัส โดยเฉพาะอาหารสดและผลไม้ และ

3.มาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษีศุลกากร อาทิ ระเบียบพิธีการด้านการขนส่งทั้งใน สปป.ลาว และจีน อย่างไรก็ดี ข้อตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 ม.ค. 2565 จะมีส่วนช่วยบรรเทาข้อจำกัดด้านภาษีศุลกากรได้บ้าง และควรมีการหารือเรื่องการขนส่งร่วมกันระหว่าง สปป. ลาว และจีนเพิ่มเติม เพื่อให้การขนส่งไปจีนมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อ : https://thaipublica.org/2022/01/bot-regional-letter-china-lao-train/

บริษัทไทยทุ่ม 1 พันล้านดอลล์สรัฐฯ สร้างเมืองอัจฉริยะในสปป.ลาว

รัฐบาลลาวได้ให้สัมปทานแก่บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ของประเทศไทย วางแผนที่จะลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการก่อสร้างอมตะสมาร์ทแอนด์อีโคซิตี้ในภาคเหนือของสปป.ลาว จะเริ่มในต้นปีนี้ โดยมีโอกาสขยายตัวได้ถึง 20,000 เฮกตาร์ในระยะต่อไป เมืองอมตะสมาร์ทแอนด์อีโค มีเป้าหมายเพื่อให้บริการนักลงทุนต่างชาติในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เครื่องจักร การแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนเคมีภัณฑ์และยา รวมถึงโลจิสติกส์และคลังสินค้า

อีกทั้งเมืองอัจฉริยะนี้ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟนาทวย ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนจีนประมาณ 20 กม. มีสถานีรถไฟสองแห่งซึ่งทำหน้าที่เป็นประตูระหว่างอาเซียนและจีนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนทางการค้า การสร้างเมืองอัจฉริยะไม่เพียงแต่ช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว แต่ยังจะส่งเสริมให้นักลงทุนในภูมิภาคนี้ย้ายโรงงานของพวกเขามาที่นี่อมตะมีแผนจะเชิญบริษัทข้ามชาติและรัฐบาลจากจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย มาส่งเสริมโครงการอมตะสมาร์ทแอนด์อีโคซิตี้เพื่อพัฒนาโครงการนี้อย่างเต็มศักยภาพ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Thai_12_22.php

‘พาณิชย์’ ตรึงราคาไก่สดห้างค้าปลีก กก.ละ 60-75 บาท ดีเดย์เริ่ม 18 ม.ค.

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ได้หารือร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย รายใหญ่ ห้างค้าปลีกค้าส่ง สมาคมตลาดสดแห่งประเทศไทย กรมปศุสัตว์ และสมาคมที่เกี่นวข้อง เห็นตรงกันที่จะตรึงราคาจำหน่ายปลีก ณ ห้างค้าปลีกค้างส่ง ได้แก่ บิ๊กซี แม็คโคร โลตัส ให้ไก่สดรวมเครื่องใน, ไก่สดไม่รวมเครื่องใน ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่องติดสะโพก ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่อง, สะโพก ราคา 65-70 บาทต่อกิโลกรัม เนื้ออก ราคา 70-75 บาทต่อกิโลกรัม เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. ไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย หากพบเห็นว่ามีการกักตุนหรือฉวยโอกาสจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/675931/

ไทยแฉ‘อินเดีย’ตั้งกำแพง กีดกันนำเข้าแอร์/ร้อง‘WTO’ช่วย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรมเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศอินเดียกำหนดมาตรการห้ามนำเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทำความเย็น ออกกฎระเบียบการนำเข้าเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี และระงับการตรวจประเมินโรงงานผลิตสินค้าในต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ รวมทั้งเคมีภัณฑ์ของไทย จึงได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้าในการประชุม Committee on TBT เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยต่อไป จากกรณีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกซึ่งต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากการที่ต้องจ้างโรงงานในประเทศอินเดียบรรจุสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ ในขณะที่การผลิตในอินเดียสามารถบรรจุสารทำความเย็นและจำหน่ายได้ทันที

ที่มา: https://www.naewna.com/business/629075

ไทยใช้ FTA ปี 2564 10 เดือน ส่งออกโต 31% ทะลุ 6 หมื่นล้าน

กรมการค้าต่างประเทศ เผย ตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง FTA เดือนมกราคม – ตุลาคม 2564 มูลค่า 63,104.43 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 31.67% โดยมูลค่าการใช้สิทธิฯ เพื่อส่งออกไปอาเซียนยังคงครองอันดับ 1 มีสัดส่วนการใช้สิทธิ สูงถึง 78.51% ซึ่งเป็นการใช้สิทธิเพิ่มขึ้นทุกตลาดและตลาดที่มีมูลค่าการใช้สิทธิ FTA สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 อาเซียน (มูลค่า 21,539.08 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยตลาดส่งออกสำคัญของอาเซียนคือ เวียดนาม (มูลค่า 6,290.69 ล้านเหรียญสหรัฐ) อินโดนีเซีย (มูลค่า 4,805.12 ล้านเหรียญสหรัฐ) มาเลเซีย (มูลค่า 4,023.43 ล้านเหรียญสหรัฐ) และฟิลิปปินส์ (มูลค่า 3,806.20 ล้านเหรียญสหรัฐ) อันดับ 2 จีน (มูลค่า 21,372.57 ล้านเหรียญสหรัฐ) อันดับ 3 ออสเตรเลีย (มูลค่า 6,891.79 ล้านเหรียญสหรัฐ) อันดับ 4 ญี่ปุ่น (มูลค่า 5,784.20 ล้านเหรียญสหรัฐ) และอันดับ 5 อินเดีย (มูลค่า 3,990.80 ล้านเหรียญสหรัฐ) สำหรับความตกลงการค้าเสรีที่มีสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA สูงสุด ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ FTA กับมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษในการลดภาษีภายใต้กรอบ FTA 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ไทย-เปรู (100%) อันดับ 2 อาเซียน-จีน (96.06%) อันดับ 3 ไทย-ชิลี (94.54%) อันดับ 4 ไทย-ญี่ปุ่น (78.59%) และอันดับ 5 อาเซียน-เกาหลี (70.32%)

ที่มา : https://www.prachachat.net/breaking-news/news-839857

‘จุรินทร์’รุกค้าชายแดน รับรถไฟ’จีน-ลาว’เปิดวิ่ง

เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์  ได้นำคณะจากกระทรวงพาณิชย์มาประชุมร่วมกับภาคเอกชนจากส่วนกลางคือผู้แทนหอการค้า และภาคเอกชนในภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดหนองคายและใกล้เคียง ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์รถไฟจีน-ลาวเพื่อใช้ขนส่งสินค้าของไทยไปยังลาวและจีนเพื่อเพิ่มการส่งออก และตัวเลขการค้าชายแดนไทย-ลาว โดยปีที่ผ่านมาการค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเกือบ 200,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.58% ไทยส่งออกไปลาว 112,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.13% ประเทศไทยได้ดุลประมาณ 31,000 ล้านบาท และหวังว่าจะใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ส่งสินค้าต่างๆไปยังจีนได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเส้นทางรถไฟนี้อนุญาตให้ส่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินแร่ ยางพาราและมันสำปะหลัง ไปยังจีนได้ แต่ผลไม้ต้องเจรจากันต่อไป

ที่มา: https://www.naewna.com/business/627734

ดีมานด์ตลาดสิ่งทอพุ่ง หนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยและกัมพูชา

อุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาไม่สามารถรองรับกับสถานการณ์การขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอของไทยปรับตัวพุ่งสูงขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 ในปีนี้ ทางด้านสื่อไทยรายงานถึงการส่งออกสิ่งทอที่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการในสินค้าทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น รวมถึงภาคการผลิตในภูมิภาคเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง อาทิเช่น กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย รวมถึงจากโซนยุโรป และสหรัฐฯ โดยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอของไทยกลับมามีกำลังการผลิตเต็ม 100% อีกครั้ง แต่ยังคงติดอยู่กับปัญหาการขาดแคลนแรงงานหลังจากแรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศของตนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันโรงงานภายในประเทศไทยขาดแคลนแรงงานสูงถึง 30,000-50,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001754/soaring-demand-from-cambodia-other-countries-leads-to-thai-textile-industry-exports-surging/

เรื่องที่ SME ไทยควรรู้ เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้เป็นทางการ

เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา เป็นดีเดย์ที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) หรือ ‘อาร์เซ็ป’ ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจะเริ่มมีผลบังคับใช้ด้วย

ซึ่ง 15 ประเทศที่ร่วมลงนามความตกลง RCEP ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

จุดมุ่งหมายของความตกลงดังกล่าว คือสลายอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการลงทุน เพื่อช่วยให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก้าวทันประเทศอื่นในโลก ความตกลง RCEP เป็นความตกลงที่ทันสมัย ครอบคลุม คุณภาพสูง และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน อีกทั้งมีการเพิ่มความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นจากเอฟทีเอของอาเซียนกับคู่เจรจาที่มีอยู่ก่อนหน้า

 

สินค้าประเทศไทยที่ได้รับประโยชน์จาก RCEP

1.หมวดสินค้าเกษตร เช่น แป้งมันสำปะหลัง สับปะรด สินค้าประมง เป็นต้น

2.หมวดอาหาร ผักผลไม้แปรรูป น้ำส้ม น้ำมะพร้าว รวมทั้งอาหารแปรรูปอื่น ๆ

3.หมวดสินค้าอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก กระดาษ เคมีภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องแต่งกาย รวมทั้งจักรยานยนต์

4.หมวดบริการ หมวดการก่อสร้าง ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจด้านภาพยนตร์ บันเทิง แอนิเมชัน

5.การค้าปลีก

 

โดยสมาชิก RCEP จะยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น

 

ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมตัวอย่างไร?

สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ควรให้ความสำคัญในการทำการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันก็คือ การสร้างโอกาสและแต้มต่อจากการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA รวมถึงความตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้ โดยผู้ประกอบการควรเร่งเตรียมความพร้อมเรียนรู้ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ทางการค้าต่างๆ ของความตกลง RCEP อาทิ การเปิดตลาดการค้าสินค้า อัตราภาษีศุลกากร กฎเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า และสิทธิประโยชน์ รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศสมาชิก RCEP

เพื่อเตรียมวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐาน คุณภาพ ความปลอดภัยของสินค้าและบริการมากขึ้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ สอดรับกับสถานการณ์ใหม่แบบ New Normal’ สร้างความเชื่อมั่น – ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและบริการ ของตน ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/sme-thai-should-know-rcep

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สมาคมผู้ค้าปลีกวอนรัฐคุมโอมิครอนให้อยู่หมัด เร่งมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกำลังระบาดทั่วโลก ซึ่งจากการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโอมิครอนพบว่า โอกาสของการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าโควิดสายพันธุ์อื่นๆ โดยไทยเองก็ได้มีการแพร่กระจายไปยัง 47 จังหวัดทั่วประเทศไทย ดังนั้นการทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อของโอมิครอนลดลง เราต้องใช้ระบบป้องกันแบบปูพรม หรือ Innate Immunity เพิ่มความช่วยเหลือให้ SMEs ไทยมีสภาพคล่อง และการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมร่วมมือกับภาครัฐชู 5 แนวทางปฏิบัติพลิกฟื้นเศรษฐกิจ 1. สนับสนุนพื้นที่จุดฉีดวัคซีนทั่วประเทศ 2. ยกระดับมาตรฐานสาธารณสุข 3. ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยเร่งผลักดันให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่านแฟลตฟอร์ม Digital Supplychain Finance 4. ตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค 5. เร่งการลงทุนในประเทศ

ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics

/2279500